1 / 27

บทที่ 5

บทที่ 5. การบริหารการเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์. เนื้อหาในบทเรียน. - เป้าหมายในการบริหารการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ - หน้าที่ในการบริหารการเงิน - หลักการบริหารการเงินสหกรณ์ - ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารการเงิน - แหล่งที่มาของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ - ทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์

Download Presentation

บทที่ 5

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5 การบริหารการเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ เนื้อหาในบทเรียน - เป้าหมายในการบริหารการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ - หน้าที่ในการบริหารการเงิน - หลักการบริหารการเงินสหกรณ์ - ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารการเงิน - แหล่งที่มาของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ - ทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ - สถานการณ์แหล่งที่มาของเงินทุนและทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ - กฎแห่งความสอดคล้องกับการบริหารแหล่งที่มาและทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ - ต้นทุนเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และการคำนวณต้นทุนเงินทุน - งบประมาณเงินสด

  2. เป้าหมายในการบริหารการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์เป้าหมายในการบริหารการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ เป้าหมายในการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ย่อมไม่แตกต่างไปจากเป้าหมายในการบริหารการเงินขององค์การธุรกิจอื่นซึ่งได้แก่ - ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) - การรักษาสภาพคล่อง (Liquidity) - การดำรงความเสี่ยง (Risk) ในระดับต่ำสุด - ความมั่นคงและมีเสถียรภาพ(Security & Stability)

  3. หน้าที่ในการบริหารการเงินหน้าที่ในการบริหารการเงิน ผู้บริหารการเงิน การวิเคราะห์ การวางแผน และการควบคุมทางการเงิน การสรรหาเงินทุนและ การจัดสรรเงินปันผล การจัดสรรเงินทุน หรือ การจัดการทรัพย์สิน การวิเคราะห์ การวางแผน การควบคุม เงินทุนระยะสั้นและ ปานกลาง เงินทุนระยะยาว โครงสร้างเงินทุน การบริหารเงินทุน หมุนเวียน การจัดทำงบประมาณเงินทุน

  4. หลักการบริหารการเงินสหกรณ์หลักการบริหารการเงินสหกรณ์ หลักการบริหารการเงินที่อาจกล่าวถึงในที่นี้อาจเรียกว่าเป็นหลักการเงินซึ่งนักสหกรณ์คนสำคัญคือMarvin A. Schaars ได้ประมวลข้อสรุปของหลักการเงินไว้10 ประการซึ่งหลักการเงินดังกล่าวนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากอุดมการณ์หลักและวิธีการสหกรณ์ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติที่จะทำให้การดำเนินงานของสหกรณ์เป็นไปในแนวทางของสหกรณ์ซึ่งแตกต่างไปจากองค์การธุรกิจประเภทอื่นหลักการเงินทั้ง10 ประการมีรายละเอียดดังนี้

  5. 1. สมาชิกผู้อุดหนุนเป็นผู้ควบคุมสหกรณ์ หลักการข้อนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดในการบริหารการเงินของสหกรณ์ที่แตกต่างไปจากธุรกิจรูปอื่นในธุรกิจรูปอื่นการควบคุมสหกรณ์เป็นของผู้ลงทุนแต่ในสหกรณ์การควบคุมสหกรณ์เป็นหน้าที่ของสมาชิกซึ่งให้การอุดหนุนทั้งด้านเงินทุน (ในฐานะเจ้าของสหกรณ์) และอุดหนุนบริการการควบคุมสหกรณ์ในแนวทางของนักสหกรณ์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยแท้

  6. 2. สมาชิกทุกคนต้องให้ทุนแก่สหกรณ์มากที่สุดที่จะทำได้ตามส่วนการใช้บริการสหกรณ์ หลักการข้อนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นจิตสำนึกให้สมาชิกสหกรณ์มีความรับผิดชอบในเรื่องการให้ทุนในฐานะที่เป็นเจ้าของสหกรณ์ซึ่งจะช่วยให้สหกรณ์มีความมั่นคงมากกว่าที่จะไปพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอก

  7. 3. การให้ผลตอบแทนแก่เงินทุนในรูปของเงินปันผลควรให้แต่แต่น้อยเมื่อสหกรณ์มีส่วนเหลื่อม หลักการข้อนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดของนักสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญกับคนมากกว่าเงินกล่าวคือการดำเนินงานของสหกรณ์นั้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่คนจะมาร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งและกันเพื่อการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันการให้ทุนแก่สหกรณ์ให้เป็นไปตามความรับผิดชอบของสมาชิกในฐานะเจ้าของเพื่อให้สหกรณ์มีทุนดำเนินงานในการให้บริการสมาชิกในทางปฏิบัตินักสหกรณ์เห็นว่าหากสหกรณ์ดำเนินงานและมีส่วนเหลื่อม (กำไรสุทธิ) ก็ควรจะให้ผลตอบแทนแก่ทุนเรือนหุ้นแต่น้อยทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ที่หวังประโยชน์จากการลงทุนเข้ามายุ่งเกี่ยวกับสหกรณ์อันอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ในที่สุด

  8. 4. สมาชิกผู้อุดหนุนในปัจจุบันควรให้ทุนสหกรณ์ หลักการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะให้สมาชิกสหกรณ์ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันในการให้ทุนแก่สหกรณ์เพื่อไปใช้ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 5. สหกรณ์ต้องมีทุนอย่างเพียงพอ ความเพียงพอของเงินทุนนั้นอาจพิจารณาได้จากการที่สหกรณ์มีเงินทุนพอเพียงสำหรับการให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกเพื่อการดำรงสภาพคล่องอย่างเหมาะสมตลอดจนเพื่อการพัฒนาธุรกิจตามนโยบายของสหกรณ์

  9. 6. การเพิ่มทุนจากการดำเนินธุรกิจ อาจดำเนินการโดยการจัดสรรกำไรสุทธิแต่ละปีไว้เป็นเงินสำรองเพื่อนำไปใช้หมุนเวียนในสหกรณ์เพื่อความมั่นคงและมีเสถียรภาพตลอดจนให้มีทุนหมุนเวียนในการพัฒนาบริการแก่สมาชิกให้มากขึ้น 7. หุ้นของสหกรณ์มีราคาตามดวง เพื่อป้องกันมิให้นักลงทุนหรือนักเก็งกำไรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการดำเนินงานสหกรณ์นักสหกรณ์จึงเห็นชอบที่จะให้หุ้นของสหกรณ์มีราคาตามดวง (Par Value) หรือตามราคาที่กำหนดไว้แต่แรก (Original Face Value)

  10. 8. สหกรณ์ควรได้รับสิทธิเป็นอันดับแรกที่จะรับซื้อหุ้นคืนจากสมาชิก หลักการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อมิให้หุ้นตกอยู่ในมือของผู้ที่ขาดแรงจูงใจและไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับสมาชิกตลอดจนผู้ที่มีผลประโยชน์ขัดกับสมาชิกสหกรณ์ในทางปฏิบัติหุ้นสหกรณ์มิอาจโอนสิทธิให้ทายาทหรือบุคคลอื่นใดยกเว้นแต่สหกรณ์และการขายหุ้นคืนสหกรณ์นั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกสหกรณ์ลาออกจากสหกรณ์เท่านั้น 9. การกำหนดวิถีทางที่เหมาะสมในการคืนเงินทุนแก่สมาชิกที่เลิกการอุดหนุน หลักการปฏิบัติข้อนี้จะช่วยให้สมาชิกสหกรณ์มีความมั่นใจในการลงทุนในสหกรณ์มากขึ้นและยังเป็นการสนับสนุนหลักสหกรณ์ข้อแรกที่ต้องการให้การเข้า-ออกของสมาชิกสหกรณ์เป็นไปโดยความสมัครใจไม่มีข้อกีดกันการเข้าออกจากการเป็นสมาชิกอีกด้วย

  11. 10. การกำหนดมูลค่าหุ้นหรือค่าธรรมเนียมสมาชิกในสหกรณ์ที่ไม่มีหุ้นควรให้สัมพันธ์กับรายได้ของประชาชนที่สนใจจะเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ หลักการข้อนี้กำหนดไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและสนใจจะเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์สามารถซื้อหุ้นหรือจ่ายค่าธรรมเนียมสมาชิกได้โดยไม่เดือดร้อนทั้งนี้การกำหนดมูลค่าหุ้นหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้าอาจปรับให้มากขึ้นได้หากเป็นสหกรณ์ที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่ประชาชนมีฐานะดี

  12. ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารการเงินความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารการเงิน   1.Cash Profit and Liquidity กำไรกับสภาพคล่อง 2.Time Value of Money ค่าของเงินตามเวลา 3.Risk Return Trade-off ผลตอบแทนและความเสี่ยง 4.The Matching Principle กฎแห่งความสอดคล้องกัน 5.Financial Leverage or Trade on Equity การจัดสัดส่วนโครงสร้างการเงิน 6.Diversification การกระจายความเสี่ยง 7. Revision and Follow-up การติดตามประเมินผล

  13. แหล่งที่มาของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์แหล่งที่มาของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ การพิจารณาแหล่งที่มาของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ว่าประกอบด้วยเงินทุนของสหกรณ์เงินทุนจากสมาชิกและหนี้สินจะชี้ให้เห็นส่วนประกอบของทุนดำเนินงานโครงสร้างทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ได้อย่างชัดเจน โครงสร้างทางการเงินหมายถึงเงินทุนทั้งหมดที่สหกรณ์จัดหามาเพื่อใช้สำหรับการลงทุนได้แก่รายการต่างๆที่ปรากฏอยู่ในงบดุลด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุนของสหกรณ์) โครงสร้างเงินทุนหมายถึงเงินทุนที่หามาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวรวมกับส่วนของเจ้าของซึ่งได้แก่รายการต่างๆที่ปรากฏในงบดุลด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของหักออกด้วยรายการหนี้สินหมุนเวียน

  14. ภาพที่5.2 ส่วนประกอบของทุนดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์จำแนกตามแหล่งที่มาของเงินทุน

  15. ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนอาจแสดงให้เห็นดังนี้ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนอาจแสดงให้เห็นดังนี้ โครงสร้างทางการเงิน = หนี้สินหมุนเวียน + โครงสร้างเงินทุน โครงสร้างเงินทุน = โครงสร้างทางการเงิน - หนี้สินหมุนเวียน

  16. ทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ การพิจารณาทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์จะชี้ให้เห็นถึงรายการสินทรัพย์ต่างๆที่สหกรณ์มีกรรมสิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าของซึ่งจะประกอบไปด้วย 1) สินทรัพย์หมุนเวียนได้แก่เงินสดเงินฝากธนาคารเงินลงทุนชั่วคราว (สำหรับสหกรณ์ที่มีเงินทุนเหลือจากการให้สมาชิกสหกรณ์กู้ลูกหนี้เงินกู้แก่สมาชิกลูกหนี้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่น 2) สินทรัพย์ถาวร - สุทธิได้แก่ยานพาหนะเครื่องใช้สำนักงานอาคารสำนักงานที่ดินซึ่งได้ตัดค่าเสื่อมราคาออกจากมูลค่าสินทรัพย์แล้ว 3) สินทรัพย์อื่นได้แก่หุ้นชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยจำกัดหุ้นบริษัทสหประกันชีวิตจำกัดเงินประกันทรัพย์สินต่างๆเป็นต้น

  17. ภาพที่ 5.3 สัดส่วนแหล่งที่มาของเงินทุนสหกณ์ออมทรัพย์ในภาพรวมปี2546

  18. ภาพที่ 5.4สัดส่วนทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ในภาพรวมปี2546

  19. กฎแห่งความสอดคล้องกับการบริหารแหล่งที่มาและทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์กฎแห่งความสอดคล้องกับการบริหารแหล่งที่มาและทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ กฎแห่งความสอดคล้องกันเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณากำหนดสัดส่วนเงินทุนจากแหล่งต่างๆของสหกรณ์ (โครงสร้างทางการเงินของสหกรณ์) และโครงสร้างการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆของสหกรณ์โดยยึดหลักการที่ว่า“การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นและระยะยาวจะต้องให้มีความสอดคล้องกับความต้องการใช้เงินทุน”หมายความว่าหากสหกรณ์จำเป็นต้องใช้เงินทุนในสินทรัพย์ระยะยาวเป็นเงินให้กู้แก่สมาชิกระยะยาวเป็นจำนวนมากก็ควรจัดหาเงินทุนส่วนใหญ่จากแหล่งเงินทุนระยะยาวในทางตรงกันข้ามสหกรณ์ใดที่มีการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากก็ควรจัดหาเงินทุนส่วนใหญ่จากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเพื่อป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่องโดยทั่วไปสหกรณ์ไม่ควรจะปล่อยให้มีการใช้เงินทุนที่ไม่สอดคล้องกัน (Mismatch) เกินกว่าร้อยละ 5 -10 ของมูลค่าสินทรัพย์ในแต่ละเวลา

  20. กฎแห่งความสอดคล้อง สินทรัพย์ระยะสั้นแหล่งที่มาของเงินทุนระยะสั้น (หนี้สินระยะสั้น) สินทรัพย์ระยะยาวแหล่งที่มาของเงินทุนระยะยาว ภาพที่ 5.5 กฎแห่งความสอดคล้องในการบริหารแหล่งที่มาและทางใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์

  21. ต้นทุนเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และการคำนวณต้นทุนเงินทุนต้นทุนเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และการคำนวณต้นทุนเงินทุน 1. ความหมายต้นทุนเงินทุนหมายถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่สหกรณ์ต้องจ่ายให้กับทุนดำเนินงานของสหกรณ์โดยจะแสดงในรูปอัตราส่วนร้อยของเงินทุนของสหกรณ์และคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้ TC = C X 100 Io TC = ต้นทุนเงินทุน (Total cost) Io = จำนวนเงินทุนที่ได้จากแหล่งเงินทุน (Investment) C = จำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปสำหรับเงินลงทุน Io (Cost)

  22. ในความเป็นจริงทุนดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ได้มาจากหลายแหล่งดังนั้นในการคำนวณจึงต้องใช้วิธีการคำนวณด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักด้วยแหล่งเงินทุนต่างๆซึ่งวิธีการนี้ผลที่ได้ออกมาจะเรียกว่าต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Cost of Capital : WACC)

  23. 2. การคำนวณต้นทุนเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ในที่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประมาณการต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับทุนดำเนินงานของสหกรณ์ซึ่งมีแหล่งที่มาของเงินทุนต่างๆกันขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางการเงินของสหกรณ์แต่ละแห่ง ขั้นตอนการคำนวณต้นทุนเงินทุนมีดังต่อไปนี้ 1) สำรวจรายการแหล่งที่มาของเงินทุนของสหกรณ์ข้อมูลที่นำมาพิจารณาในที่นี้ได้แก่แหล่งที่มาของเงินทุนแต่ละรายการพร้อมอัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน/ค่าเสียโอกาสที่จะต้องจ่ายให้กับเงินทุนแต่ละรายการ 2) คำนวณสัดส่วนของเงินทุนแต่ละรายการโดยคิดเป็นอัตราร้อยละและให้ทุนดำเนินงานรวมเท่ากับร้อยเปอร์เซ็นต์ 3) คำนวณต้นทุนเงินทุนจากอัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน/ค่าเสียโอกาสที่จะต้องจ่ายในแต่ละรายการของเงินทุนโดยใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยสัดส่วนของเงินทุนตามที่คำนวณไว้ในข้อ 2) ก็จะได้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของสหกรณ์

  24. งบประมาณเงินสด การจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นเครื่องมือในการรายงานทางการเงินที่จะช่วยให้ทราบปริมาณเงินสดที่สหกรณ์จำเป็นต้องใช้ไปในช่วงเวลาที่ประมาณการซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายบริหารจัดการสหกรณ์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

  25. ตัวอย่างงบประมาณเงินสดของสหกรณ์ออมทรัพย์ A จำกัด สำหรับงวด 3 เดือน (ม.ค. - มี.ค. 2542) หน่วย : ล้านบาท

  26. รายการ ม.ค. ก.พ. มี.ค. 1. รายการดำเนินการ เงินสดรับ - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า - เงินค่าหุ้น - รับชำระหนี้เงินให้กู้ (เงินต้น) - รับชำระหนี้เงินให้กู้ (ดอกเบี้ย) - เงินรับฝาก - เงินสดรับอื่นๆ รวมเป็นเงินสดรับ เงินสดจ่าย - จ่ายเงินกู้ - ถอนเงินรับฝาก - ถอนเงินค่าหุ้น - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม - ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน - เงินสดจ่ายอื่นๆ รวมเงินสดจ่าย เงินสดรับสุทธิ (จ่ายสุทธิ) 2. รายการทางการเงิน - เงินสดต้นงวด - เงินสดรับสุทธิ (จ่ายสุทธิ) - เงินสดคงเหลือ - เงินสดขั้นต่ำ - เงินกู้เพิ่ม - เงินสดคงเหลือปลายงวด - เงินกู้สะสม 100 900 700 96 500 - 2,296 1,900 298 18 10 62 - 2,288 8 2,480 8 2,488 800 0 2,488 - 40 1,000 880 128 1,360 - 3,408 2,620 980 40 12 100 - 3,752 (344) 2,488 (344) 2,144 800 0 2,144 - 60 1,700 1,260 224 1,380 - 4,624 5,000 900 100 12 132 - 6,144 (1,520) 2,144 (1,520) 624 800 200 824 200

  27. คำถามประเมินผลหลังเรียนคำถามประเมินผลหลังเรียน 1.จงกล่าวถึงเป้าหมายการบริหารการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์มาให้เข้าใจโดยละเอียด 2.จงอธิบายหน้าที่การบริหารการเงินมาให้ทราบโดยสังเขป 3.หลักการบริหารการเงินมีรายละเอียดอย่างไรและส่งผลให้การจัดการการเงินสหกรณ์แตกต่างจากสถาบันการเงินอื่นในเรื่องใดบ้างจงยกตัวอย่างมาให้เห็นสัก 2-3 ประเด็น 4.การคำนวณต้นทุนเงินทุนสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง 5. จงอธิบายให้เห็นประโยชน์ของการจัดทำงบประมาณเงินสดในการวางแผนทางการเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์มาให้เข้าใจโดยสังเขป Main Menu

More Related