610 likes | 890 Views
ประเทศไทยกับ ทิศทางการดำเนินการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ดร.รวีวรรณ ภูริเดช รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. หัวข้อการนำเสนอ. ทิศทางการดำเนินการระดับสากล ทิศทางการดำเนินการของประเทศไทย.
E N D
ประเทศไทยกับทิศทางการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเทศไทยกับทิศทางการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดร.รวีวรรณ ภูริเดช รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หัวข้อการนำเสนอ ทิศทางการดำเนินการระดับสากล ทิศทางการดำเนินการของประเทศไทย
ทิศทางการดำเนินการระดับสากลทิศทางการดำเนินการระดับสากล
ผลลัพธ์ของการประชุม Rio+20ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นย้ำให้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับเป็นเรื่องระดับโลกที่จำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ริเริ่มให้มีการตั้งกองทุน Green Climate Fund เรียกร้องให้ภาคีสมาชิก UNFCCC และ KP ปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตัดสินใจที่ได้มีมติร่วมกันไว้ และดำเนินการต่อยอดจากความคืบหน้าที่ได้บรรลุไปแล้ว
การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 17 (Seventeenth session of the Conference of the Parties: COP17) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 7 (Seventh session of the Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Kyoto Protocol: CMP7) ได้มีข้อตัดสินใจที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ในหลายประเด็น เช่น การขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลไกทางการเงิน กลไกเทคโนโลยี และกรอบการดำเนินงานด้านการปรับตัว เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกลไกต่างๆ เหล่านั้น อย่างไรก็ดี ในข้อตัดสินใจต่างๆ มีบางประเด็นที่มีแนวโน้มเพิ่มเติมความรับผิดชอบในการดำเนินงานให้แก่ประเทศกำลังพัฒนามากยิ่งขึ้น เช่น การจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นใหม่เพื่อเจรจาผลลัพธ์ที่ตกลงกันที่มีผลบังคับทางกฎหมายต่อทุกประเทศ หรือข้อตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกโดยประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศไทยต้องเพิ่มพูนการดำเนินงานภายในประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมต่อประเด็นต่างๆ ที่จะมีผลต่อไทยในอนาคต
ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียนความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียน กำหนดให้ประเด็น “การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ” เป็นหนึ่งใน แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Blueprint) สำหรับปี 2552-2558 จัดตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Working Group on Climate Change: AWGCC) โดย ในช่วงปี 2553-2555 ประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน
ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียนความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียน เห็นชอบในหลักการต่อแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน (ASEAN Action Plan on Joint Response to Climate Change: AAP-JRCC)ครอบคลุมการดำเนินงาน 6 สาขา คือ 1. การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. การลดก๊าซเรือนกระจก 3. การเงินและการลงทุน 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี 5. การเสริมสร้างสมรรถนะ 6. ประเด็นอื่นๆ เพื่อความร่วมมือภายในภูมิภาค
ทิศทางการดำเนินการของประเทศไทยทิศทางการดำเนินการของประเทศไทย
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรน้อยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรน้อยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ UNEP เสนอว่าแนวคิด Decoupling เป็นหัวใจของ Green Economy ที่มา: UNEP (2011)
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การใช้พลังงาน และการปล่อยก๊าซ CO2 ของประเทศต่างๆ CO2: 6.67 CO2: 4.18 CO2: 9.85 CO2: 10.4 CO2: 5.28 CO2: 2.05 ที่มา: ข้อมูลจาก World Development Indicators, ประมวลผลโดย SIGA โดยให้ปี 1980 เป็นปีฐาน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งของภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจ สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ 2. เพื่อขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศก้าวไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ 3. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นสิ่งแวดล้อมโลก 4. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของประเทศจากข้อตกลงและพันธกรณีระหว่างประเทศ
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 1. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพโดยรักษาพื้นที่อนุรักษ์ไว้ ไม่ < 19 % เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ 40 % ของพื้นที่ประเทศ และเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนไม่ < ปีละ 5,000 ไร่ 2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและการบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ชลประทานเฉลี่ยปีละ 200,000 ไร่ เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 3. สร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากการพัฒนา โดยควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลักและแม่น้ำสายสำคัญให้อยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่พอใช้ขึ้นไปไม่ < 80 % ฟื้นฟูคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนในไม่ให้อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก คุณภาพอากาศในเขตเมืองและเขตอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การจัดการขยะชุมชนถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น > 50 % ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น และมีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ไม่ < 30 %
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 4. เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติให้มีความพร้อมทั้งระดับประเทศ พื้นที่และชุมชน 5. เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนา: ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน มีแนวทางสำคัญ • การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับฐานการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชนในทุกระดับ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5:การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ มุ่งเน้นการสร้างศักยภาพและความพร้อมของทุกภาคส่วนในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรักษาความมั่นคงในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป้าหมายยุทธศาสตร์ มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 5:การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ แผนงานที่ 5.1:การสร้างความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ แผนงานที่ 5.2:การวางรากฐานสู่การพัฒนาแบบปล่อยคาร์บอนต่ำ
แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพ.ศ. 2555 - 2593
แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555- 2593 แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นกรอบแนวทางการบูรณาการนโยบายและแผนงานต่างๆ ร่วมกับในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และปรัชญาการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงของไทย
ขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บทฯขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บทฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในฐานะหน่วยประสานงานหลักการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ จัดตั้งคณะทำงาน 2 คณะ คือ ติดตามประเมินผล/ปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด 1. คณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ด้าน Adaptation 2.คณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ด้าน Mitigation องค์ประกอบ: จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อำนาจหน้าที่ : ยกร่างแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... (ร่าง) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... การรับฟังความคิดเห็นภาคประชาสังคม จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ ๒ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๓ ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ ๔ ภาคเหนือตอนบนจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ ๕ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ ๖ ภาคกลางตอนล่าง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การประชุมคณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ด้าน Adaptation และด้าน Mitigation (ร่าง)แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ฉบับผ่านการปรับปรุงแก้ไขจากการรับฟังความคิดเห็นภาคประชาสังคมและจากข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นคณะทำงานฯ ทั้ง 2 ชุด การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง)แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ในระดับภูมิภาค 5 ภูมิภาค ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ....... ครั้งที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ....... ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออก........ ครั้งที่ 5 ภาคใต้....... แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555 - 2593 คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านวิชาการ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555 - 2593 คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านวิชาการ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บทฯ ขณะนี้แผนแม่บทฯ ได้ผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นทั้ง 5 ภูมิภาคแล้ว และกำลังนำเข้าคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาต่อไป
หลักการ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการป้องกัน แก้ไข รองรับและปรับตัวต่อปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะภาคส่วนที่มีความเสี่ยงและความเปราะบางทางชีวภาพ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่สูง เช่น ภาคการเกษตรรายย่อย การประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยความสมัครใจในระดับที่แตกต่างและขีดความสามารถ (Common but differentiated responsibility and capacity) ในการดำเนินงานตามหลักการของ UNFCCC ประเทศไทยใช้วิกฤตและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นโอกาสในการส่งเสริมและพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน และตามแบบวิถีชีวิตพอเพียงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการ (ต่อ) ยึดหลักภาครัฐเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Public-sector Stewardship) พร้อมทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Public-Private Partnership หรือ P-PP) และการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้มแข็ง รวมทั้ง หลักการของผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle: PPP) แบ่งกรอบระยะเวลาดำเนินงานเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว และจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ ตลอดจนปรับปรุงแผนแม่บทฯ ทุกๆ 10 ปี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของแผนแม่บทฯ และการดำเนินงาน
กรอบแนวคิดการจัดทำแผนแม่บทฯกรอบแนวคิดการจัดทำแผนแม่บทฯ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Development factors กลไก Mechanism ผลสัมฤทธิ์ของแผนแม่บทฯ Accomplishments • การพัฒนาอย่างยั่งยืน • เศรษฐกิจและวิถีชีวิต พอเพียง • ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น การเมือง ภาวะเศรษฐกิจ โลก ภัยพิบัติ ฯลฯ • สถาบัน • การเงิน • เทคโนโลยี • การจัดการ • ความร่วมมือภายในและระหว่างประเทศ • ส่งเสริมสวัสดิการที่ดีของ สังคมไทย • สร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศให้ สังคมไทย • ส่งเสริมความร่วมมือภายใน และระหว่างประเทศ • ส่งเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขัน
แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555- 2593 วิสัยทัศน์ ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการลดและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาประเทศไปสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียงและสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พันธกิจ 1. สร้างความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันระหว่างแต่ละภาคส่วนในสังคม 2. สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลประโยชน์ร่วมกัน (Co-benefits) บนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทของสังคมไทยที่ยึดหลักเศรษฐกิจและวิถีชีวิตแบบพอเพียงและเป็นธรรมตามหลักการการรับผิดชอบร่วมในระดับที่แตกต่าง 3. เสริมสร้างองค์ความรู้และกลไกในการผลักดันการวางแผนแบบบูรณาการในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศอย่างมีประสิทธิผลและเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ
พันธกิจ (ต่อ) 4. ดำเนินงานร่วมกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของประเทศ 5. ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้มีภูมิคุ้มกันเพื่อการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำและเสมอภาคโดยพิจารณารูปแบบการพัฒนาและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นกรอบแนวทางและกลไกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ทั้งด้านการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วนและทุกระดับ 2. เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนและทุกระดับสามารถจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม 3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่อย่างยั่งยืนของประเทศไทยโดยมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของนานาชาติในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อนำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างยั่งยืนภายใต้บริบทการพัฒนาประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมาย ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนและเป็นธรรม ควบคู่ไปกับการลดอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่กระทบต่อ สวัสดิการสังคมของประชาชนโดยสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง ไม่สูญเสียขีดความสามารถในพัฒนาและการแข่งขันของทุกภาคส่วนและทุกระดับ ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)
ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. แผนการดำเนินงาน/แผนปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทุกภาคส่วนและทุกระดับ ทั้งในระยะเร่งด่วนระยะกลาง และระยะยาว 2. อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงของทุกภาคส่วนและทุกระดับภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ. 2548 หรือ ค.ศ. 2005)
ผลสัมฤทธิ์ 1. ประเทศไทยสามารถรักษาสวัสดิการสังคม ทั้งด้านคุณภาพชีวิต ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และทุนธรรมชาติ (Nature capital) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศที่ดีขึ้น สามารถเผชิญกับความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการร่วมมือกับนานาชาติในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะ การกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4. ประเทศไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและการแข่งขันโดยอาศัยโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กรอบยุทธศาสตร์รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรอบยุทธศาสตร์รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่กำหนดหลักและแนวทางในการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1:การตั้งรับปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ 2: การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ยุทธศาสตร์ที่ 3:ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues) การเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ยุทธศาสตร์ที่ 1: การปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับให้มีความสามารถในการรับมือและป้องกันเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะกลางและระยะยาว 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับอย่างแท้จริง และผลักให้ทุกภาคส่วนในทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในการจัดทำแผนการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการด้านการตั้งรับปรับตัว (Adaptation) อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 1: การปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย แนวทางเช่น สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบให้แก่สาธารณะชนในทุกภาคส่วนและทุกระดับ สร้างกลไกทางการเงินเพื่อการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการชดเชยความเสียหายจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรม พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันได้สะดวกรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์ที่ 2:การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและทุกระดับในการลดการปล่อยและเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก 2. เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และทรัพยากรภายในประเทศแบบสมประโยชน์ (win-win) ทั้งในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก 3. เสริมสร้างองค์ความรู้และผลักดันด้านการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง สร้างศักยภาพรายสาขาที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทางเลือกอื่นๆ ในการบรรเทาผลกระทบ
ยุทธศาสตร์ที่ 2:การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย แนวทางเช่น • ส่งเสริมศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทางเลือก พลังงานสะอาดมลพิษต่ำ และลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และส่งเสริมศักยภาพของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่นและการใช้พลังงานหมุนเวียนให้เต็มศักยภาพในแต่ละพื้นที่ • การดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกี่ยวข้องกับภาคป่าไม้ (REDD) หรือมีผลกระทบต่อชุมชุนที่อาศัยในพื้นที่ป่าจะต้องจัดให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นที่สะท้อนหลักการการได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนในระยะเวลาที่พอเพียง การมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และมีกลไกเพื่อนำผลการับฟังความคิดเห็นนั้นประกอบการตัดสินใจทางนโยบาย
ยุทธศาสตร์ที่ 2:การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย แนวทางเช่น • ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดทำฉลากคาร์บอน (carbonfootprint) สำหรับสินค้าและบริการทุกประเภท • พัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีคาร์บอนและภาษีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยยึดหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle) ในรูปแบบที่เป็นธรรม • ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองและชุมชนให้สามารถก้าวไปเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Cities) ไดอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ถูกต้องเหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 3: ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues): การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร บุคลากร และประเทศ เพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2. สร้างกลไกที่จะขับเคลื่อนแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.๒๕๕๕- ๒๕๙๓ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการกำหนดท่าทีการเจรจาระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศประชาชนไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 3: ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues): การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับ ประกอบด้วย แนวทางเช่น • ปรับปรุงแก้ไขและบังคับใช้กฎระเบียบ กฎหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทุกภาคส่วน • กำหนดให้มีแผนงานการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างต่างประเทศ และการเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการเจรจาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลประโยชน์ร่วมกัน (Co-benefits)
ยุทธศาสตร์ที่ 3: ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues): การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับ • การจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารความรู้ที่เป็นปัจจุบันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเผยแพร่ให้กับชุมชน โดยเป็นสื่อที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย และชุมชนสามารถเข้าถึงได้ • พัฒนากลไกและเครื่องทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • เปิดโอกาสให้กับภาคประชาสังคม และองค์กรชุมชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กลไกลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Clearing House Mechanism: CHM)
ที่มา ความตื่นตัวต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานมีการดำเนินงานอย่างแพร่หลาย ในลักษณะต่างคนต่างทำ การกระจายของข้อมูลที่ขาดการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ขาดหน่วยงานกลางในการกลั่นกรองข้อมูล เชื่อมโยงให้สอดคล้อง ทันสมัย เชื่อถือได้
วัตถุประสงค์ สร้างระบบการกลั่นกรองและความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานในการจัดเก็บข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับรองรับการพัฒนาฐานข้อมูล การบริหารจัดการฐานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างบูรณาการ และเป็นระบบ
แนวทางการดำเนินการ 1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ♠ ฐานข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ♠ ฐานข้อมูลด้านผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับโลก ภูมิภาค และประเทศไทย ♠ ฐานข้อมูลด้านอนุสัญญาฯ และพิธีสารฯ และกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ♠ ฐานข้อมูลการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ♠ ฐานข้อมูลคู่มือและวิธีการ(Guidelines and Methodologies) ♠ ฐานข้อมูลแบบจำลองการเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แนวทางการดำเนินการ (ต่อ) 2. พัฒนาเว็บไซต์เพื่อรองรับการเผยแพร่ฐานข้อมูล 3. การเผยแพร่ผ่านกลไกผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Coordinator: CCC) จากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 30 หน่วยงาน
แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทยแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทย 1. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านบัญชีก๊าซเรือนกระจก รวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคการผลิตต่างๆ ตามกรอบ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) นำเสนอภาพรวมและข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ตามรายงานบัญชีแห่งชาติ(National Communications) นำเสนอข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รายภาคการผลิต (พลังงาน อุตสาหกรรม เกษตร ของเสีย และป่าไม้)
แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทย (ต่อ) 2. ฐานข้อมูลด้านผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ นำเสนอรายงานข่าวและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ นำเสนอบทวิเคราะห์ บทความ และรายงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำเสนอข้อมูลในปัจจุบัน และทิศทางของปัญหาในอนาคต
แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทย (ต่อ) 3. ฐานข้อมูลด้านอนุสัญญาฯ พิธีสารฯ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลด้านอนุสัญญาฯ พิธีสารฯ และกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา ศึกษา และอ้างอิง ข้อมูลผลการประชุมรัฐภาคี (COP)และการบรรลุข้อตกลงที่สำคัญและที่เกี่ยวข้องกับประเทศภาคี เพื่อสะดวกต่อการค้นหา ศึกษา และอ้างอิง ข้อมูลการดำเนินการและสถานะของการดำเนินงานของประเทศไทย เพื่อตอบสนองต่อข้อตกลงต่าง ๆ