290 likes | 578 Views
รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1. สถานภาพธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. คณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. 21 ธันวาคม 2552. วิธีการดำเนินงาน.
E N D
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 สถานภาพธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 21 ธันวาคม 2552
วิธีการดำเนินงาน 1. สุ่มเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏที่จะใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 แห่ง และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวม 11 แห่ง 2. ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร ประกอบด้วย 2.1 รายงานประจำปี 3 ปีย้อนหลัง 2.2 บันทึกรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย 3 ปีย้อนหลัง 2.3 ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 3 ปีย้อนหลัง 2.4 พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2527 2.5 พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 2.6 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 3. สัมภาษณ์ 4. การสนทนากลุ่ม
มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษา ผู้วิจัยจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏตามการจัดกลุ่มของ สหวิทยาลัยเดิมที่มี 8 กลุ่ม และผู้วิจัยเพิ่มกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏที่จัดตั้งขึ้นใหม่ 5 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 รวมเป็น 9 กลุ่ม 11 แห่งที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รายชื่อของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
สถานภาพธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากการวิเคราะห์เอกสาร
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสารผลที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสาร 1. ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2. ข้อมูลพื้นฐาน 3. สถานภาพธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย 3.1 ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ช่วงที่เป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และวิทยาลัยครู (พ.ศ. 2435 - 2517) 3.2 ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ช่วงประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 (พ.ศ. 2518 - 2537) 3.3 ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ช่วงประกาศใช้ พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 (พ.ศ. 2538 - 2546) 3.4 ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ช่วงประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 (พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน)
ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันราชภัฏ วิทยาลัยครู โรงเรียนฝึกหัดครู
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2497 - 2534 ระยะที่ 1 พ.ศ. 2435 - 2496 วิทยาลัยครู โรงเรียนฝึกหัดครู 2547 ภูมิภาค 14 แห่ง กทม 7 แห่ง 2540 ภูมิภาค 15 แห่ง เป็นส่วนราชการสังกัดกรมการฝึกหัดครู 2538 เป็นส่วนราชการ ผู้บริหารแต่งตั้งจากส่วนกลาง 2535 พรบ.วิทยาลัยครูฉบับที่ 2 พรบ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2528 พรบ.วิทยาลัยครู ต่ำกว่าปริญญาตรี 2527 ชัยภูมิ มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ 2518 วิทยาลัยครู 7 แห่ง เป็นนิติบุคคล สังกัด สกอ. 2516 วิทยาลัยครู 4 แห่ง สวนดุสิต 2515 พรบ. สถาบันราชภัฏ จัดตั้ง สหวิทยาลัย วไลยอลงกรณ์ 2507 ระยะที่ 4 พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” 2497 นครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันราชภัฏ 2477 เพชรบูรณ์ พระนคร จันทบุรี ระยะที่ 3 พ.ศ. 2535 - 2546 2475 กาญจนบุรี สกลนคร 2457 เชียงราย เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ สุราษฎร์ธานี กรมฝึกหัดครู 2435
ข้อมูลพื้นฐาน จำนวนบุคลากร จำนวนผู้บริหาร วุฒิการศึกษาของคณาจารย์ประจำ ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ประจำ งบประมาณจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย งบประมาณแผ่นดิน จำนวนหลักสูตร จำนวนนักศึกษา จำนวนหลักสูตรที่เปิดสอน การประเมินผลการปฏิบัติงานของ กพร.
ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏช่วงที่เป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และวิทยาลัยครู (พ.ศ. 2435 - 2517)
รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนฝึกหัดครู และวิทยาลัยครู ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
1. ยึดหลักการบริหารที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในรูปแบบของการเป็นส่วนราชการ 2. เคารพนับถือและให้ความสำคัญกับตัวบุคคลผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การปฏิบัติ การกำหนดแนวปฏิบัติ ตลอดจนการกำหนดแนวนโยบาย 3. ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามคำสั่ง หรือปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา 4. การปฏิบัติงานโดยยึดกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ของทางราชการ มีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ 5. การบริหารจัดการหน่วยงาน เป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแต่ระดับของการบังคับบัญชา เช่นระดับกรมการฝึกหัดครู หรือระดับกระทรวง
6. ไม่พบว่ามีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการโดยองค์การต่างๆ 7. ไม่พบการมีส่วนร่วมในระดับบุคคล หรือระดับองค์การในการบริหารจัดการ การกำหนดนโยบาย การกำกับติดตาม การตรวจสอบประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน 8. ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ความเป็นอิสระในการดำเนินงานมีน้อย เพราะต้องดำเนินการบริหารจัดการหน่วยงานให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ หรือมอบหมาย 9. ความเป็นอิสระทางวิชาการไม่มี เพราะไม่สามารถสร้างหลักสูตรขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้
สถานภาพธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏช่วงประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 (พ.ศ. 2518 - 2536)
รูปแบบการบริหารจัดการวิทยาลัยครู ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527
1. มีการควบคุมการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการใช้องค์คณะบุคคลร่วมกับบุคคลในการบริหารวิทยาลัยครู 2. มีระบบการตรวจสอบ การกำกับติดตามการปฏิบัติงานของวิทยาลัยครู 3. ผู้บริหารสูงสุดของวิทยาลัยครูเปลี่ยนจากผู้อำนวยการเป็นอธิการ 4. กำหนดให้มีองค์คณะบุคคลที่เรียกว่า "สภาการฝึกหัดครู" ทำหน้าที่บริหารวิทยาลัยครูทั้งหมด 5. องค์ประกอบของคณะบุคคลที่เรียกว่า "สภาการฝึกหัดครู" มาจากหลายหน่วยงานทั้งที่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ และนอกกระทรวงศึกษาธิการ มีบุคคลภายนอกระบบราชการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของสภาการฝึกหัดครู
6. กำหนดให้มีคณะบุคคลที่เรียกว่า "คณะกรรมการประจำวิทยาลัยครู" ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นกรรมการบริหารวิทยาลัยครู 7. อำนาจบังคับบัญชารับผิดชอบในการบริหารงานของวิทยาลัยครูยังเป็นของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการ 8. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสภาการฝึกหัดครู และคณะกรรมการประจำวิทยาลัยครูอย่างชัดเจน 9. มีระบบการตรวจสอบการปฏิบัติงาน รวมถึงการเปิดโอกาสให้บุคลากรในวิทยาลัยครูแต่ละแห่งมีส่วนร่วมในการบริหารวิทยาลัยครู 10. ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ความเป็นอิสระในการดำเนินงานมีมากขึ้น เพราะสามารถดำเนินการบริหารจัดการภายในวิทยาลัยครูได้ตามอำนาจหน้าที่ของผู้เป็นอธิการ
11. กฎ ระเบียบที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการภายในวิทยาลัยครู สามารถจัดทำขึ้นมาได้โดยผ่านความเห็นชอบของสภาการฝึกหัดครู 12. ความเป็นอิสระทางวิชาการมีมากขึ้น เพราะวิทยาลัยครูแต่ละแห่งสามารถพัฒนาหลักสูตร รวมถึงระเบียบการวัดและประเมินผลขึ้นมาใช้เอง หรือใช้ร่วมกันได้ภายในกลุ่มวิทยาลัยครู
การตรวจสอบการดำเนินงานของวิทยาลัยครู ในเรื่องการพิจารณาอนุมัติหลักสูตร
สถานภาพธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏช่วงประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2537 (พ.ศ. 2537 - 2546)
อยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
สถานภาพธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 (พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน)
อยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
การสัมภาษณ์/การสนทนากลุ่มการสัมภาษณ์/การสนทนากลุ่ม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมีการเมืองข้างใน มหาวิทยาลัยราชภัฏมีการเมืองข้างใน • มาเป็นผู้บริหารเพราะคิดว่ามีเงินประจำตำแหน่ง มีผลประโยชน์ • มหาวิทยาลัยราชภัฏตั้งขึ้นมาบนความไม่พร้อมในทุกๆ ด้าน • มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความหลากหลายในอัตลักษณ์ • สภามหาวิทยาลัยไม่มีกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร • ใช้ประสบการณ์ของกรรมการสภาในการพิจารณาเรื่องต่างๆ • ใช้ข้อมูลที่ฝ่ายบริหารเตรียมให้ ถ้าตองการเพิ่มต้องขอ หรือซักถามในที่ประชุม • สภาไม่มีข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่จะใช้ประกอบการพิจารณา • กรรมการสภาที่เป็นบุคคลในมหาวิทยาลัยควรมีให้น้อย ควรเพิ่มกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒภายนอกให้มาก
ผู้ทรงคุณวุฒิไม่มีเวลามาประชุม • ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น • หาผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ยาก โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างจังหวัด • การตีความกฎหมายขาดความถูกต้อง ชัดเจน มีผลต่อการบริหาร • ผู้แทนคณาจารย์ ประธารสภาคณาจารย์และข้าราชการถูกมองว่าเป็นฝ่ายค้านในสภามหาวิทยาลัย • ฝ่ายบริหารเป็นผู้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณา • คณาจารย์ บุคลากรมีส่วนร่วมกับการบริหารน้อยเพราะเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารเท่านั้น • สำนักงานเลขานุการสภามหาวิทยาลัยจะมีหรือไม่มีขึ้นอยู่กับบริบทการบริหารของมหาวิทยาลัย
บุคลากรของมหาวิทยาลัยไม่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย • เรื่องที่เสนอสภามหาวิทยาลัยมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร การพิจารณานโยบาย การเสนอแนวทางการบริหารไม่มี หรือมีน้อยมาก • มีการตั้งอนุกรรมการพิจารณาเรื่องต่างๆ บ้างเหมือนกัน • กฎ ระเบียบ ข้อบังคับเป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารจะพิจารณานำเสนอสภาเพื่อการอนุมัติ • มีความซ้ำซ้อนกันของกรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภาวิชาการ • กรรมการผู้แทนคณาจารย์เป็นผู้บริหาร(รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยอธิการบดี) โดยอ้างว่าข้อบังคับไม่ได้ห้าม
สรุป สถานภาพธรรมภิบาลมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 1. ธรรมาภิบาลที่เกิดจากการดำเนินงานของ สภามหาวิทยาลัย 2. ธรรมาภิบาลที่เกิดจากการบริหารจัดการของผู้บริหาร