1 / 152

เทคนิคเทคโนโลยีวิทยุชุมชน

โครงการสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ 9/9 ถนนวิภาวดีรังสิต , หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 วันที่ 30  เมษายน –1 พฤษภาคม 2554. เทคนิคเทคโนโลยีวิทยุชุมชน. ณัฐ กิจ สินธุยี่.

phyre
Download Presentation

เทคนิคเทคโนโลยีวิทยุชุมชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ณโรงแรมรามาการ์เด้นส์ 9/9 ถนนวิภาวดีรังสิต , หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 วันที่ 30  เมษายน –1 พฤษภาคม 2554 เทคนิคเทคโนโลยีวิทยุชุมชน ณัฐกิจ สินธุยี่ nattakit@ru.ac.th hs0xwn@hotmail.com

  2. เทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชนเทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชน

  3. เทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชนเทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชน 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ 3. ระบบการกระจายเสียง 4. เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสาร 5. ส่วนสนับสนุน (Supporting) สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ

  4. เทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชนเทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชน 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ 3. ระบบการกระจายเสียง 4. เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสาร 5. ส่วนสนับสนุน (Supporting) สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ

  5. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งเสียงรบกวนอาจเกิดขึ้นได้ทั้งเสียงรบกวนภายในและเสียงรบกวน ภายนอก

  6. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ รูปแบบการจัดห้องสำหรับวิทยุชุมชนนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3รูปแบบ คือ • แบบมีการแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วน • แบบเบ็ดเสร็จในห้องเดียว • แบบนอกสถานที่

  7. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ รูปแบบการจัดห้องสำหรับวิทยุชุมชนนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3รูปแบบ คือ • แบบมีการแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วน • แบบเบ็ดเสร็จในห้องเดียว • แบบนอกสถานที่

  8. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ แบบมีการแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วน คือ ส่วนของห้องควบคุมเสียงและส่วนของห้องจัดรายการวิทยุ การดำเนินการแบบนี้จะมีช่างเทคนิคเป็นผู้ควบคุมเสียง ทำให้ นักจัดรายการวิทยุไม่ต้องคอยกังวลกับงานด้านเทคนิคที่มีความยุ่งยากซับซ้อน สามารถดำเนินรายการได้อย่างเต็มที่ มีการจัดโต๊ะเก้าอี้ให้สามารถดำเนินรายการได้หลากหลายรูปแบบตามต้องการ • 1. แบบมีการแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วน

  9. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ รูปแบบการจัดห้องสำหรับวิทยุชุมชนนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3รูปแบบ คือ • แบบมีการแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วน • แบบเบ็ดเสร็จในห้องเดียว • แบบนอกสถานที่

  10. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ แบบเบ็ดเสร็จในห้องเดียว ช่างเทคนิคหรือนักจัดรายการวิทยุเองก็สามารถเป็นผู้ควบคุมและมีอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อมสำหรับการทำงาน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างห้องควบคุมทั้งยังสามารถ ดำเนินรายการได้หลากหลายรูปแบบตามต้องการได้อีกด้วย • 2. แบบเบ็ดเสร็จในห้องเดียว

  11. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ รูปแบบการจัดห้องสำหรับวิทยุชุมชนนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3รูปแบบ คือ • แบบมีการแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วน • แบบเบ็ดเสร็จในห้องเดียว • แบบนอกสถานที่

  12. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ แบบนอกสถานที่ คือการถ่ายทอดเสียง การประชุม อบรม สัมมนา หรือกิจกรรมต่างๆในชุมชนเข้ามายังสถานีเพื่อการออกอากาศซึ่งสามารถเชื่อมสัญญาณเสียง จากระบบเสียงภายนอกเข้ามาได้ • 3. แบบนอกสถานที่

  13. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ ในบางพื้นที่อาจจะยังเข้าไม่ถึงจึงจำเป็นต้องใช้ระบบไฟจากเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้มีกระแสไฟฟ้าตก เดินไม่เรียบ เครื่องส่งทำงานได้ไม่เต็มที่และมีผลทำให้เครื่องส่งและอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความเสียหายได้ จึงจำเป็นต้องมีระบบสำรองไฟฟ้าและระบบป้องกันปัญหาไฟฟ้าเกินและระบบแสงสว่างในยามฉุกเฉิน โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุภัยพิบัติต่างๆสถานีก็ยังสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแก้ปัญหาต่างๆได้อีกด้วย • ระบบไฟฟ้า

  14. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ระบบไฟฟ้า ระบบสำรองไฟฟ้าหรือ UPS ระบบไฟฉุกเฉิน

  15. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ ระบบปรับอากาศควรเลือกใช้แบบที่มีเสียงรบกวนน้อยที่สุดและมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถดูดเก็บเสียงได้เป็นอย่างดี ไม่ควรติดตั้งในบริเวณใกล้ไมโครโฟนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เสียงลมเข้าไปรบกวนการออกอากาศได้ และไม่ควรติดตั้งเหนืออุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าและเครื่องเสียงเพราะเมื่อท่อน้ำตันอาจมีน้ำแอร์หยดลงไป ทำให้เกิดความเสียหายได้ ส่วนคอมเพรสเซอร์ควรติดตั้งให้ห่างออกไปไกลพอที่จะไม่มีเสียงดังเข้ามารบกวนภายในห้องจัดรายการวิทยุได้ • ระบบปรับอากาศ

  16. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ระบบปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศแบบติดผนังจะเสียงเบากว่าแบบแขวน

  17. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ คือป้ายที่แสดงว่าอยู่ระหว่างการออกอากาศมักจะเชื่อมโยงกับเครื่องผสมสัญญาณเสียง(Mixer) เมื่อเปิดไมโครโฟนไฟที่ป้าย ON AIR จะติดสว่าง ป้ายนี้ควรติดไว้ที่หน้าห้องให้มองเห็นอย่างชัดเจนด้วย • ป้าย ON AIR

  18. 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ป้าย ON AIR ป้ายที่แสดงว่าอยู่ระหว่างการออกอากาศ

  19. เทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชนเทคโนโลยีที่สนับสนุนการกระจายเสียงสำหรับวิทยุชุมชน 1. ห้องสำหรับการจัดรายการวิทยุ 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ 3. ระบบการกระจายเสียง 4. เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสาร 5. ส่วนสนับสนุน (Supporting) สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ

  20. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ • ส่วนเตรียมการผลิต • ส่วนนำเข้า • ส่วนควบคุม • ส่วนนำออก

  21. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ • ส่วนเตรียมการผลิต • ส่วนนำเข้า • ส่วนควบคุม • ส่วนนำออก

  22. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ส่วนเตรียมการผลิต ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับงานบันทึกเสียงและโปรแกรมตัดต่อและบันทึกเสียง AUDACITY ไมโครโฟนสำหรับการบันทึกเสียง ลำโพง/หูฟัง

  23. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ไมโครโฟน ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่รับคลื่นเสียง เช่น เสียงร้อง เสียงพูด เสียงบรรยาย เสียงสนทนา เสียงปรบมือ ฯลฯ เพื่อแปลงคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานบันทึกเสียง เป็นส่วนแรกในการรับเสียงมาจากแหล่งกำเนิดเสียง เราจึงควรเลือกไมโครโฟนที่มีคุณภาพดีมีการตอบสนองในย่านความถี่เสียงที่ครอบคลุม คือ 20 ถึง 20,000 HZ และควรเลือกไมโครโฟนที่ระบุว่าใช้สำหรับงานบันทึกเสียงก็จะได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า

  24. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ไมโครโฟนและส่วนประกอบต่างๆ ไมโครโฟน ตัวจับยึดไมโครโฟนสำหรับงานบันทึกเสียง ขาตั้งไมโครโฟนแบบบูม

  25. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ไมโครโฟนและส่วนประกอบต่างๆ อุปกรณ์เสริมสำหรับการบันทึกเสียง ที่ประยุกต์มาจากสดึงและถุงน่อง อุปกรณ์เสริมสำหรับการบันทึกเสียงที่มีจำหน่ายทั่วไป

  26. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับงานบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์สำหรับงานบันทึกเสียงควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่แยกออกมาจากการทำงานทั่วๆไปและไม่ควรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือลงโปรแกรมใดๆที่ทำให้เครื่องต้องทำงานหนักเกินไป แม้กระทั้งโปรแกรมสแกนไวรัส ควรใช้เครื่องที่มีประสิทธิภาพ ซีพียูมีความเร็วค่อนข้างดี มีจำนวนแรมมากกว่าปกติที่ใช้งานทั่วไป และมีพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก และควรมีอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ที่สำคัญคือควรใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีและมีช่องสำหรับการต่อไมโครโฟนและหูฟังด้วย

  27. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับงานบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ การ์ดเสียงและช่องต่ออุปกรณ์

  28. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • โปรแกรมตัดต่อและบันทึกเสียง โปรแกรมสำหรับการบันทึกและตัดต่อเสียงมีให้เลือกเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่ต้องซื้อและให้ใช้ฟรีในที่นี้ขอแนะนำโปรแกรม Audacity ที่สามารถหาดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยและไม่ต้องกังวลในเรื่องของลิขสิทธิ์อีกด้วย การใช้งานก็ไม่ยุ่งยากสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมีคู่มือแจกฟรีในอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก

  29. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • โปรแกรมตัดต่อและบันทึกเสียง โลโก้โปรแกรม Audacity โปรแกรม Audacity

  30. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ลำโพง/หูฟัง ลำโพงหรือหูฟังเป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงมาจากการ์ดเสียง(ช่องต่อสีเขียวในการ์ดเสียงทั่วไป) หากต้องการต่อหูฟังมากกว่า 1 ตัวจำเป็นต้องมีเครื่องกระจายหูฟังและขยายสัญญาณด้วย สำหรับหูฟังของแนะนำให้เป็นแบบครอบหูเพราะจะได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าและไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย

  31. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ลำโพง/หูฟัง หูฟัง เครื่องกระจายหูฟังและขยายสัญญาณ ลำโพงมอนิเตอร์

  32. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ • ส่วนเตรียมการผลิต • ส่วนนำเข้า • ส่วนควบคุม • ส่วนนำออก

  33. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ คอมพิวเตอร์พร้อมการ์ดเสียง • ส่วนนำเข้า ส่วนควบคุม

  34. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ไมโครโฟนสำหรับจัดรายการวิทยุ ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่รับคลื่นเสียงจากการจัดรายการ ในห้องจัดรายการหรือสตูดิโอเพื่อแปลงคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงเข้าสู่เครื่องผสมสัญญาณเสียงซึ่งเป็นส่วนแรกในการรับเสียงมาจากแหล่งกำเนิดเสียง เราจึงควรเลือกไมโครโฟนที่มีคุณภาพดีมีการตอบสนองในย่านความถี่เสียงที่ครอบคลุม คือ 20 ถึง 20,000 HZ และควรเลือกไมโครโฟนที่ระบุว่าใช้สำหรับงานออกอากาศก็จะได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า

  35. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • ไมโครโฟนสำหรับจัดรายการวิทยุ ไมโครโฟนสำหรับการจัดรายการวิทยุ

  36. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นต่างๆ เช่น เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นเอ็มพีสาม เครื่องเล่นเอ็มพีสี่ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นอย่างมากถึงแม้ว่าปัจจุบันเราจะให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมในการเล่นเพลงและเปิดเนื้อหาต่างๆแล้วก็ตามแต่ในคราวฉุกเฉินแล้วถ้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่สามารถทำงานได้เราก็สามารถมาใช้เครื่องเล่นเหล่านี้ได้

  37. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ • เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นซีดีแบบคู่

  38. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ • ส่วนเตรียมการผลิต • ส่วนนำเข้า • ส่วนควบคุม • ส่วนนำออก

  39. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ ส่วนควบคุม เครื่องกระจายสัญญาณเสียงสำหรับหูฟัง ระบบวิทยุกระจายเสียง (เครื่องส่งวิทยุ) เครื่องผสมสัญญาณเสียง ชุดสำหรับคอมพิวเตอร์และงานบันทึกเสียงโปรแกรมบันทึกและวิทยุอินเตอร์เน็ต เครื่องบันทึกเสียง

  40. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ เครื่องผสมสัญญาณเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) ทำหน้าที่รวมสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆเข้ามา ควรเป็นเครื่องที่มีคุณภาพเสียงที่ดีตอบสนองย่านความถี่เสียงคือ 20 ถึง 20,000 Hz ช่องต่อสัญญาณเข้าเพียงพอสำหรับแหล่งกำเนิดเสียงตามความจำเป็น ปุ่มปรับเสียงควรเป็นแบบเลื่อนจะทำให้คล่องตัวกว่าในการควบคุม

  41. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ เครื่องผสมสัญญาณเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง

  42. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ เครื่องกระจายสัญญาณเสียงสำหรับหูฟัง ตัวกระจายหูฟังและขยายสัญญาณ (Headphone Distribution Amp) ทำหน้าที่กระจายและขยายหูฟังที่มีมากกว่า 1 ตัว เพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพและสามารถแยกปรับระดับความดังของเสียงได้แบบอิสระต่อกัน

  43. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ เครื่องกระจายสัญญาณเสียงสำหรับหูฟัง Headphone Distribution Amp

  44. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ ระบบวิทยุกระจายเสียง (เครื่องส่งวิทยุ) ระบบวิทยุกระจายเสียงหรือเครื่องส่งวิทยุจะทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงที่ผสมแล้วจากเครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) เข้ามาทำการแปลงเป็นสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุแล้วทำการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณและส่งออกไปยังสายอากาศเพื่อแพร่สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุตามที่ได้กำหนดไว้ โดยมีกำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ ตามกฎหมาย

  45. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ ระบบวิทยุกระจายเสียง (เครื่องส่งวิทยุ) เครื่องส่งวิทยุ

  46. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ คอมพิวเตอร์และงานบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์สำหรับงานบันทึกเสียงการออกอากาศควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่แยกออกมาจากการทำงานทั่วๆไปและอาจมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อส่งออกอากาศทางออนไลน์ได้อีกด้วย โปรแกรมที่แนะนำคือโปรแกรม Windows Media Encoder เป็นโปรแกรมฟรีสำหรับเครื่องมีการใช้โปรแกรม ประเภท Windows อยู่แล้ว

  47. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ คอมพิวเตอร์และงานบันทึกเสียง โปรแกรม Windows Media Encoder โปรแกรม Donar MP3 Recorder

  48. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง การบันทึกเสียงอย่างง่ายและประหยัดงบประมาณขอแนะนำให้ใช้เครื่องบันทึกแบบเอ็มพีสามที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป โดยเลือกเครื่องที่มีความแข็งแรง ทนทาน มีช่องต่อสัญญาณเสียงเข้า มีความจุมากหน่อยก็จะสามารถบันทึกได้ยาวนานขึ้นและถ้าสามารถต่อเข้ากับไฟฟ้ากระแสสลับได้ก็จะไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะหมดเมื่อใด

  49. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกเสียง

  50. 2. ระบบเสียงสำหรับการจัดรายการวิทยุ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ • ส่วนเตรียมการผลิต • ส่วนนำเข้า • ส่วนควบคุม • ส่วนนำออก

More Related