270 likes | 1.4k Views
Design of Drill Jigs . JIG. เดิมทีเดียว jig เป็นคำที่ใช้เรียกเพื่อให้แตกต่างจาก fixture เพราะ fixture ส่วนมากต้องยึดให้ติดแน่นกับโต๊ะ หรือหัวจับ ของเครื่องจักร Fixture ยึดติดกับโต๊ะเพื่อจุดประสงค์ในการต้านแรงตัด
E N D
JIG • เดิมทีเดียว jig เป็นคำที่ใช้เรียกเพื่อให้แตกต่างจาก fixture เพราะ fixture ส่วนมากต้องยึดให้ติดแน่นกับโต๊ะ หรือหัวจับ ของเครื่องจักร • Fixture ยึดติดกับโต๊ะเพื่อจุดประสงค์ในการต้านแรงตัด • Jig เป็นเครื่องมือกลที่โดยทั่วไปจะไม่ยึดติดแน่นกับโต๊ะด้วยวัตถุประสงค์เพื่อต้านแรงตัดหรือต้านอาการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร • บางครั้ง jig ก็สามารถยึดติดกับโต๊ะเหมือนกัน แต่ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการตั้งตำแหน่ง
ขาของ Jig • Jig ที่ดีต้องมีขามากพอที่จะตั้งอยู่บนโต๊ะเครื่องเจาะได้อย่างถูกต้อง คือ ได้ระดับ ส่วนมากมันมี 4 ขา • การใช้ 4 ขา ทำให้ทราบได้ว่า jig เอียงหรือไม่ได้ระดับเมื่อมีสิ่งสกปรกหรือเศษโลหะเข้าไปหนุนขาใดขาหนึ่ง • ขาแบบ 3 ขา ไม่ควรนำมาใช้อย่างยิ่ง เพราะมันจะไม่แสดงอาการเมื่อไม่ได้ระดับให้เห็น • ขาที่ออกแบบก็ควรประกันได้ว่าแกนของ bushing เจาะตั้งตรงและฉากกับพื้นโต๊ะ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับขา jig • ขนาดของขา jig ต้องใหญ่กว่าร่องใดๆ บนโต๊ะเจาะและขาต่างๆ ต้องอยู่ห่างกันมากจนกระทั้งเมื่อลากเส้นโยงขาทั้งหมดแล้ว แรงตัดอยู่ภายในกรอบของเส้นโยงต่อกันนี้ • ขาของ jig มีใช้กันหลายแบบ เช่น แบบทำจากงานหล่อ, แบบแยกส่วนแล้วนำมาประกอบอัดเข้ากับฐานของตัว jig และแบบที่นำฐานมาตัดร่องเป็นรูปกากะบาด
ข้อสังเกตเกี่ยวกับขา jig • ในกรณีที่ต้องออกแบบ jig ให้มีขายาว จำเป็นต้องพลิกคว่ำพลิกหงายขณะทำงาน ดังรูป • อาศัยเกลียวตัวผู้คู่กับเกลียวตัวเมีย และมีข้อควรจำ คือ หัวหกเหลี่ยมทั้งสองควรอยู่ด้านในหรือใกล้ฐานให้มากที่สุด จะได้ไม่ยืด-หด ขณะขันแน่น
วิธีการควบคุมความลึกของงานเจาะวิธีการควบคุมความลึกของงานเจาะ • การเจาะสามารถควบคุมให้มีความลึกเท่าใดได้โดยใช้อุปกรณ์ตั้งระยะความลึก ลักษณะดังรูปเป็นการคั้งความลึกแบบหนึ่งซึ่งง่ายมากและประหยัดด้วย • ในกรณีที่เจาะทะลุตลอดชิ้นงาน ดอกสว่านจะเลยจากชิ้นงานไปตัดเอาบางส่วนของตัว jig ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ • ควรเว้นช่องว่างบริเวณให้รูเจาะไว้ด้วย และช่องว่างดังกล่าวต้องมีสัมพันธ์กับระบบตั้งตำแหน่งด้วย
รอยเยินและร่อง • รอยเยินมักเป็นเหตุให้ชิ้นงานติดแน่นกับตัวตั้งตำแหน่งและเอาออกยาก จึงจำเป็นต้องทำร่องเผื่อไว้สำหรับป้องกันการติดแน่น
Plate Jigs • ตัวตั้งตำแหน่งและการยึดจับทำแบบง่ายๆ เหมาะที่จะใช้กับงานชิ้นใหญ่ น้ำหนักมาก
Angle Plate Jig • ชิ้นงานขนาดใหญ่จำเป็นต้องติดตั้งบนฐานพิเศษ ซึ่งปรับให้อยู่ในลักษณะต่างๆ ได้ • เอา plate jig ไปจับยึดอยู่เฉพาะบริเวณที่จะเจาะเท่านั้น
Angle Plate Jig • ใช้เสาแบบนอนเป็นตัวตั้งตำแหน่ง ตัวตั้งตำแหน่งไม่ต้องยาวมาก • เพื่อสะดวกแก่การถอด-ใส่ชิ้นงาน และยังทำหน้าที่เป็นช่องว่างให้กับรอยเยินไปในตัว และให้ดอกสว่านเจาะเลยไปได้ด้วย
Modified Angle –Plate Jig • เป็น jig ที่สร้างขึ้รนด้วยวิธีเชื่อมและนำเอา มือหมุนเกลียวอย่างเร็วมาใช้ • ชิ้นงานมีรูคว้านเล็ก จึงออกแบบให้ bushing ยื่นยาวลงมากดชิ้นงานด้วย • Bushing เจาะนี้เลื่อนขึ้น ลงเพื่อหลีกให้นำชิ้นงานผ่านเข้า ออก ได้
Solid Jigs • ส่วนมากใช้กับงานชิ้นเล็ก ตัว jig ทำจากแท่งโลหะตัน แล้วนำมาแปรรูปตามลักษณะของชิ้นงาน
Post Jigs • แบบเสา เป็นแบบที่ตั้งตำแหน่งโดยใช้เสา ควรออกแบบให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ • แต่บางกรณีต้องใช้เสายาวก็ควรลดขนาดกลางลำตัวให้เล็กลงเหลือไว้ให้ต้ำตำแหน่งเฉพาะปลายทั้งสองของเสาเท่านั้น • ถ้ารูคว้านของชิ้นงานใหญ่มาก เสาที่ใช้ก็ใหญ่ตามไปด้วย
Post Jigs • เป็น jig แบบเสาที่ใช้ปลายเสาตั้งตำแหน่งชิ้นงานและตั้งตำแหน่งแผ่นเจาะด้วย นอกจากนั้นการจับยึดอาศัยปีกของชิ้นงานรองรับและทำช่องว่างไว้ตรงรอยเจาะด้วย
Pot Jigs • เป็น jig เจาะงานชนิดถ้วย ในรูปเป็น jig ที่ตั้งตำแหน่งจากผิวภายนอกของชิ้นงานและจับยึดที่ปีกของชิ้นงาน • เนื่องจากงานถูกเจาะที่ปีก จึงได้ทำเว้าที่ตัว jig เพื่อหลบให้สว่านผ่านไปได้ และเป็นช่องว่างให้เศษโลหะจากการตัดออกได้สะดวก
Pot Jigs • ลักษณะแตกต่างกับรูปแรก คือ แผ่นเจาะตั้งตำแหน่งเจาะภายในรูคว้านของชิ้นงานและเสาทำหน้าที่จับยึดอย่างเดียวไม่ได้ทำหน้าที่ตั้งตำแหน่งแผ่นเจาะ
Sandwich Jigs • ประกอบด้วยแผ่นฐานอยู่ข้างล่าง และมีแผ่นเจาะอยู่ข้างบนส่วนชิ้นงานอยู่ตรงกลาง การจับยึดใช้สลักเกลียวเหวี่ยงได้ 2 ตัว • ตัวตั้งตำแหน่งชิ้นงานและตัวตั้งตำแหน่งแผ่นเจาะเป็นคนละตัวแต่สัมพันธ์กัน
Leaf Jigs • แบบฝาบานพับ ลักษณะเหมือนบานพับโดยชิ้นงานอยู่ในกล่องที่ฝาเปิด-ปิดได้ • ข้อควรระวังในการออกแบบ คือ ต้องทำตำแหน่ง x กับตำแหน่ง y ให้ประกอบกันแล้วรูของ bushing อยู่ในแนวดิ่ง • ฝาบานพับปิดลงและอยู่ได้ด้วยมือหมุนเกลียว ก. ส่วนสลัก ข. ทำหน้าที่จับยึดชิ้นงาน • ถ้าออกแบบให้ฝาบานพับจับยึดงานโดยตรง รูของ bushing ก็อาจจะไม่ได้แนวดิ่งและแปรเปลี่ยนไปตามขนาดของชิ้นงานที่แตกต่างกันด้วย
Box Jigs • เหมาะสมที่จะใช้กับงานชิ้นเล็กๆ และจำเป็นต้องเจาะรูในแนวแกนที่ต่างกันหลายรู โดยตั้งตำแหน่งและจับยึดครั้งเดียว • ข้อควรระวังในการออกแบบ คือ ต้องแน่ใจว่ามีช่องว่างมากพอให้มือช่างทำงานได้สะดวกขณะเอางานเข้า-ออก • จัดเตรียมช่องทางเอาเศษโลหะออก ภายใน jig ไม่ควรมีเว้าหรือลดระดับใดๆ เพราะจะเป็นที่สะสมของเศษโลหะและสิ่งสกปรก