350 likes | 2.16k Views
โครงงาน. โครงงาน เรื่อง ไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง จัดทำโดย 1.เด็กหญิง ปวีณ์ธิดา เตชะวิทย์ ชั้นป.6/7 เลขที่ 34 2.เด็กหญิง วรรณพร บุญตามช่วย ชั้นป.6/7 เลขที่35 3.เด็กหญิงนันท์นภัส จริยา ชั้นป.6/7 เลขที่ 40 4.เด็กหญิง สิริกาญจน์ ทิพย์รงค์ ชั้นป.6/7 เลขที่29
E N D
โครงงาน โครงงาน เรื่อง ไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง จัดทำโดย 1.เด็กหญิง ปวีณ์ธิดา เตชะวิทย์ ชั้นป.6/7 เลขที่ 34 2.เด็กหญิง วรรณพร บุญตามช่วย ชั้นป.6/7 เลขที่35 3.เด็กหญิงนันท์นภัส จริยา ชั้นป.6/7 เลขที่ 40 4.เด็กหญิง สิริกาญจน์ ทิพย์รงค์ ชั้นป.6/7 เลขที่29 5.เด็กหญิง ศิรดา แก้วมัน ชั้นป.6/7 เลขที่34 6.เด็กหญิงนันทิกานต์ มิตรช่วยรอด ชั้นป.6/7เลขที่ 31 7.เด็กหญิง กัญญาณัฐ สุขเกิด ชั้น6/7 เลขที่ 30 8.เด็กชาย กริตย์ธชา รักคง ชั้นป.6/7 เลขที่ 8 เสนอ ครู ชญานี ขัตติยะมาณ โรงเรียนอนุบาลสงขลา
ที่มาความสำคัญ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มชอบทำอาหาร มีความสนใจการทำไข่เค็ม เป็นอาหารที่รับประทานได้ ทุกเพศทุกวัย แต่เนื่องจากไข่เค็มโดยทั่วไปใช้เวลาในการทำนานถึง 10 -15 วัน จึงคิดศึกษาวิธีการทำไข่เค็มให้รับประทานได้เร็วขึ้น และเพื่อเพิ่มคุณค่าของไข่เค็มจึงศึกษาการทำไข่เค็มสูตรสมุนไพร และใช้กาก ถั่วเหลืองซึ่งเป็นของเหลือใช้จากการทำน้ำเต้าหู้ มาพอกแทนดินเหนียว ไข่เค็มสมุนไพร
วัตถุประสงค์ • 1.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาการทำไข่เค็มด้วยวิธีการแช่ไข่ในน้ำส้มสายชูกับไข่ที่ไม่ได้แช่น้ำส้มสายชู • 2.เพื่อศึกษาชนิดของพืชสมุนไพรที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มสมุนไพร • 3.เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง 4.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง
สมมติฐานการศึกษา • ไข่ที่แช่น้ำส้มสายชูจะมีรสชาติเค็มเร็วกว่าไข่เป็ดที่ไม่ได้แช่น้ำส้มสายชู • พืชสมุนไพรที่เหมาะสมสำหรับการทำไข่เค็มสมุนไพร ได้แก่ มะกรูด และตะไคร้ • กากถั่วเหลืองใช้เป็นส่วนผสมพอกไข่เค็มแทนดินเหนียวได้ • อัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลืองคือ สูตรที่ 2 • ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อไข่เค็มสมุนไพรที่แตกต่างกัน
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาการทำไข่เค็มด้วยวิธีการแช่ไข่ในน้ำส้มสายชูกับไข่ที่ ไม่ได้แช่ในน้ำส้มสายชู ตัวแปรต้น ไข่เป็ดที่แช่น้ำส้มสายชูก่อนทำไข่เค็ม ไข่เป็ดที่ไม่ได้แช่น้ำส้มสายชูก่อน ทำไข่เค็ม ตัวแปรตาม ระยะเวลาที่ไข่มีรสชาติเค็ม ตัวแปรควบคุม ชนิดของไข่เป็ด ขนาดของไข่เป็ด ตอนที่ 2 ศึกษาชนิดของพืชสมุนไพรที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มสมุนไพร ตัวแปรต้น ขิง กระชาย ตะไคร้ ใบและผิวมะกรูด ตัวแปรตาม รสชาติและกลิ่นของสมุนไพรที่เกิดขึ้นในไข่เค็ม ตัวแปรควบคุม ปริมาณของสมุนไพรที่ใช้
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง ตัวแปรต้น อัตราส่วนสูตรที่ 1 อัตราส่วนสูตรที่ 2 ตัวแปรตาม รสชาติและกลิ่นของสมุนไพรที่เกิดขึ้นในไข่เค็ม ตัวแปรควบคุม ผู้ประเมินชุดเดียวกัน ปริมาณไข่เค็มที่ชิม ตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง ตัวแปรต้น ไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง ตัวแปรตาม ความพึงพอใจของผู้บริโภคไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง ตัวแปรควบคุม ปริมาณของไข่เค็มสมุนไพรแต่ละชนิด
ขอบเขตการศึกษา • 1.ไข่ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ไข่เป็ด ขนาดเบอร์ 2 • 2.สถานที่ทดลอง โรงเรียนอนุบาลสงขลา • 3.ระยะเวลา 25 มิถุนายน 2556 – 2 กรกฎาคม 2556
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง มะกรูด สรรพคุณ : ราก - กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย ผล, น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด ผิวจากผล - ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น - เป็นยาบำรุงหัวใจ
ขิง • ราก 1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ 2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ 3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา • ใบสด - มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ • ต้น - มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่น • คาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ
ถั่วเหลือง รสชาติและสรรพคุณ รสหวาน บำรุงม้าม ขับแห้ง สลายน้ำ ขับร้อน ถอนพิษ แก้ปวด มักใช้บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ โรคบิด แน่นท้อง ผอมแห้ง แผลเปื่อย คุณค่าของถั่วเหลือง มีโปรตีน เลซิทิน และกรดแอมิโน รวมทั้งมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี1 และบี2 วิตามินเอและอี ซึ่งสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ป้องกันการขาดแคลเซียมในกระดูก และบำรุงระบบประสาทในสมอง
เกลือ เกลือโซเดียมคลอไรด์เรียกตามแหล่งที่มา มี 2 ประเภท ได้แก่ • เกลือสมุทร (Sea salt) คือ เกลือที่ได้จากสูบน้ำทะเลเข้ามาขังไว้ในที่นา ผึ่งแดดและลมจนน้ำระเหยเหลือแต่ผลึกเกลือสีขาว • เกลือสินเธาว์ หรือ เกลือหิน คือ เกลือที่ได้จากดินเค็ม โดยการปล่อยน้ำลงไปละลายหินเกลือที่อยู่ใต้ดินแล้วจึงสูบน้ำกลับขึ้นมาตากหรือต้มให้น้ำระเหยไป
ไข่ คุณค่าโภชนาการของไข่ ไข่จัดอยู่ในอาหารประเภทโปรตีน ไข่ 1 ฟองให้โปรตีนประมาณ 7 กรัม โปรตีนในไข่เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีกรดอะมิโนครบทุกชนิดตามที่ร่างกายต้องการในปริมาณสูง ร่างกายสามารถนำโปรตีนจากไข่ไปใช้ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเกลือแร่ที่สำคัญมากมาย เช่น เหล็ก วิตามินดี และบีสอง
น้ำส้มสายชู น้ำส้มสายชู(Vinegar) เป็นของเหลวที่ได้จากกระบวนการหมัก มีองค์ประกอบหลัก คือกรดน้ำส้ม น้ำส้มสายชูทั่วไปมีความเข้มข้นของกรดตั้งแต่ 4% ถึง 8% โดยปริมาณ น้ำส้มสายชูหมักโดยธรรมชาติยังมีกรดชนิดอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย เช่นtartaric acidและcitric acidมนุษย์รู้จักการผลิตและใช้น้ำส้มสายชูมาตั้งแต่สมัยโบราณ น้ำส้มสายชูเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารยุโรป อาหารเอเชีย และตำรับอาหารอื่นๆ
ไข่เป็ด เก็บไข่เค็มเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยมากมักจะใช้ไข่เป็ดแล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือหรือนำไปพอกด้วยวัสดุที่ผสมเกลือเพื่อให้เกลือซึมเข้าไปในเนื้อของไข่ เพื่อให้สามารถไข่ไว้ได้นานขึ้น
อุปกรณ์และวิธีดำเนินการอุปกรณ์และวิธีดำเนินการ วัสดุ อุปกรณ์ 1.เครื่องปั่น 2.กะละมัง 3.จาน 4. ขวดพลาสติก 5.เตาไฟฟ้า 6.มีด 7.เขียง 8.เกลือ 9.เครื่องชั่ง 10. ขวดพลาสติก 11.ถุงพลาสติก 12.ไข่เป็ด 13.ไข่ไก่ 14. น้ำส้มสายชู 15. โหลแก้ว 16. น้ำ 17. กากถั่วเหลือง พืชสมุนไพรที่ใช้ 1.ขิง2. กระชาย 3. ตะไคร้4. ใบมะกรูด 5. ผลมะกรูด ไข่แช่น้ำส้มสายชู
ขั้นตอนการศึกษา การศึกษาวิธีการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง แบ่งการศึกษาทดลอง เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของไข่เป็ดที่แช่ในน้ำส้มสายชูกับไข่เป็ดที่ไม่ได้แช่ใน น้ำส้มสายชูมีขั้นตอนการศึกษา ดังนี้ 1.นำไข่เป็ด 6 ฟอง ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่ในน้ำส้มสายชู 3 ฟอง โดยใส่ไว้ในภาชนะโหลแก้ว เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ส่วนอีก 3 ฟองไม่ต้องแช่น้ำส้มสายชู 2.นำไข่เป็ดที่แช่ในน้ำส้มสายชูขึ้นมาล้างน้ำเปล่า สังเกตลักษณะของเปลือกไข่ เปรียบเทียบกับเปลือกไข่ที่ไม่ได้ผ่านการแช่น้ำส้มสายชู 3. นำไข่ที่ผ่านการแช่น้ำส้มสายชู และไม่ผ่านการแช่น้ำส้มสายชู พอกกากถั่วเหลืองผสมเกลือ เป็นเวลา12 ชั่วโมง เอากากถั่วเหลืองออก แล้วนำไปต้ม เพื่อชิมรสชาติ
ตอนที่ 2 ศึกษาชนิดของพืชสมุนไพรที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มสมุนไพร มีขั้นตอนการศึกษา ดังนี้ 1. ปรึกษาคุณแม่ และคุณครูที่โรงเรียน ถึงสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 2. ค้นคว้าเรื่องสมุนไพรจากอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม 3. คัดเลือกพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมในท้องถิ่น 4 ชนิด ได้แก่ ขิง กระชาย ตะไคร้ใบและผลมะกรูด ตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง 1.กำหนดอัตราส่วนผสมสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 โดยใช้กากถั่วเหลือง เป็นตัวประสาน ชั่งให้ได้ตามสูตรที่กำหนด ดังนี้ สูตรที่ 1 สมุนไพรชนิดละ100 กรัม : กากถั่วเหลือง150 กรัม: เกลือ 50 กรัม สูตรที่ 2 สมุนไพรชนิดละ 150 กรัม : และกากถั่วเหลือง 150 กรัม : เกลือ 50 กรัม
2.นำส่วนผสมแต่ละสูตรผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปพอกไข่เป็ดที่ผ่านการแช่น้ำส้มสายแล้ว 3 ฟอง ต่อสมุนไพร 1 ชนิดและพอกไข่เป็ดที่ไม่ผ่านการแช่น้ำส้มสายชู 3 ฟองต่อสมุนไพร 1 ชนิดแล้วนำไปบรรจุลงในขวดพลาสติก ขวดละ 3 ฟอง ตั้งทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง 3. เอากากถั่วเหลืองผสมสมุนไพรออก แล้วนำไข่ไปต้มจนสุก4. ชิมรสชาติ ตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง มีขั้นตอน ดังนี้1. นำไข่เค็มสมุนไพรที่ต้มสุกแล้ว ไปให้คุณครู 10 คน และเพื่อน 10 คน ชิม เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านกลิ่นและรสชาติ2. วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการดำเนินการ การศึกษาการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของไข่เป็ดที่แช่ในน้ำส้มสายชูกับไข่เป็ดที่ไม่ได้แช่ใน น้ำส้มสายชู ตอนที่ 2 ศึกษาชนิดของพืชสมุนไพรที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มสมุนไพร ตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง ตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง ได้ผลการศึกษา ดังนี้
ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาการทำไข่เค็มด้วยวิธีการแช่ไข่ในน้ำส้มสายชูกับไข่ ที่ไม่ได้แช่ในน้ำส้มสายชู จากหัวข้อที่ 1 พบว่าไข่เป็ด ก่อนแช่น้ำส้มสายชู เปลือกมีลักษณะแข็ง มีสีขาว หลังแช่น้ำส้มสายชู เปลือกของไข่เป็ด บางขึ้น มีความยืดหยุ่น และเมื่อนำไปต้ม ไข่เป็ดที่ผ่านการแช่น้ำส้มสายชูก่อน มีรสเค็ม ส่วนไข่เป็ดที่ไม่ได้ผ่านการแช่น้ำส้มสายชู มีรสจืด ตอนที่ 2 ศึกษาพืชสมุนไพรที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง หัวข้อที่ 2 แสดงพืชสมุนไพรที่เลือกใช้ในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง จากหัวข้อที่ 2 พบว่า พืชสมุนไพรที่นำมาใช้ ได้แก่ ขิง กระชาย ตะไคร้ ใบ และผลมะกรูด มีสรรพคุณทางยา ทั้ง 4 ชนิด
ตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลืองหัวข้อที่ 3 แสดงข้อมูลการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพร พอกกากถั่วเหลือง จากหัวข้อที่ 3 พบว่า สูตรที่ 2 กลิ่นของ ขิง, กระชาย, ตะไคร้ ใบและผลมะกรูด กลิ่นแรงกว่าสูตรที่ 1 รสชาติความเค็ม ของสูตร 1 และสูตร 2 เท่ากัน แตกต่างกันที่กลิ่นสมุนไพรของสูตรที่ 2 แรงกว่าสูตร ที่ 1 ตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง หัวข้อที่ 4 แสดงข้อมูลความพึงพอใจของคุณครู และนักเรียนที่ชิมไข่เค็มสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง • จากตารางที่ 4 พบว่า ครู 10 คน พึงพอใจต่อรสชาติ ของไข่เค็มมะกรูดสูตรที่1 และสูตรที่ 2 มากที่สุด จำนวน 6 คน เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมา ได้แก่ ไข่เค็มขิง สูตรที่ 1 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และพึงพอใจต่อไข่เค็มกระชาย และไข่เค็มตะไคร้ น้อยที่สุด ชนิดละ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 เท่ากัน สำหรับนักเรียนพึงพอใจต่อไข่เค็มเร็วสมุนไพรสูตรที่ 1 มากที่สุด ได้แก่ ไข่เค็มมะกรูด จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมา ได้แก่ไข่เค็มตะไคร้ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และไข่เค็มขิง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ส่วนไข่เค็มกระชาย ไม่มีนักเรียนชอบ สำหรับสูตรที่ 2 นักเรียนพึงพอใจต่อไข่เค็มตะไคร้มากที่สุด 6 คน คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาได้แก่ไข่เค็มมะกรูด 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และไข่เค็มขิง 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ส่วนไข่เค็มกระชายไม่มีนักเรียนชอบ
บทที่ 5สรุปผลการศึกษา การศึกษาการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1.ไข่เป็ดที่ผ่านการแช่น้ำส้มสายชู สามารถทำไข่เค็มที่รับประทานได้ในเวลา 12 ชั่วโมง2. พืชสมุนไพรที่เหมาะสมในการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลืองมากที่สุด ได้แก่ มะกรูด และตะไคร้ 3. ไข่เค็มเร็วสมุนไพร สูตร 2 มีกลิ่น และรสชาติดีกว่าสูตรที่ 1 4. ครูมีความพึงพอใจต่อไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง มะกรูด ทั้งสูตรที่ 1 และสูตรที่สำหรับนักเรียนมีความพึงพอใจต่อไข่เค็มเร็วสมุนไพรตะไคร้ สูตรที่ 2 มากที่สุด กากถั่วเหลือง
อภิปรายผล1.ไข่เป็ด เมื่อเปลือกถูกกัดกร่อนจากน้ำส้มสายชู เนื้อเยื่อที่หุ้มไข่ขาว และไข่แดงจึงไม่เสียหาย สามารถนำไปทำไข่เค็มได้และทำให้ไข่เค็มเร็วกว่าไข่เค็มที่ไม่ได้แช่น้ำส้มสายชู ถึง ๑๓ วัน ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการทำไข่เค็มที่ใช้เวลาเพียง 1วัน ก็สามารถรับประทานได้2. มะกรูด และตะไคร้ เป็นพืชสมุนไพรในท้องถิ่น ที่มีกลิ่นหอม และใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน เมื่อนำมาปั่น ผสมกับกากถั่วเหลือง เกลือ แล้วนำไปพอกไข่ กลิ่น และรสชาติของสมุนไพร ผสมความเค็มของเกลือ สามารถผ่านเยื่อของไข่เข้าไปผสมกับไข่ขาว และไข่แดง ทำให้ไข่เค็มมีกลิ่นหอม ชวนรับประทานและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับกากถั่วเหลือง จะช่วยทำให้พืชสมุนไพรจับตัวกันได้ดี สามารถพอกไข่ได้สะดวกขึ้น ใช้แทนดินเหนียวได้ดีมาก และไม่สกปรก 3. ปริมาณของตะไคร้ และมะกรูดมีผลทำให้กลิ่นและรสชาติของไข่เค็มมีความแตกต่างกัน ส่วนผสมสูตรที่ ๒ ซึ่งมีปริมาณตะไคร้ และมะกรูดมากว่าสูตรที่ 1 จึงทำให้ครู และนักเรียนที่ชิมมีความพึงพอใจมาก
นิยามเชิงปฏิบัติการ ไข่เค็มเร็ว หมายถึงไข่เค็มที่ได้จากการนำไข่เป็ดไปแช่ในน้ำส้มสายชูเพื่อให้ เปลือกสลาย เปลือกไข่มีลักษณะบาง ก่อนนำไปพอกด้วยสมุนไพรตะไคร้ ใบและผลของมะกรูด ผสมเกลือ และกากถั่วเหลือง ใบและผิวของมะกรูด ตะไคร้
ประโยชน์ที่ได้รับ1.ได้สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำไข่เค็มเร็วสมุนไพรที่ใช้เวลาเพียง 1 วัน ก็สามารถรับประทานได้2.ได้นำกากถั่วเหลืองซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์แทนดินเหนียวได้3.ได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์4.ได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน5.ได้แนวทางในการประกอบอาชีพ ข้อเสนอแนะ1.ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการทำไข่เค็มที่ใช้วิธีการพอก กับวิธีการดอง2.ควรนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ในการทำไข่เค็มสมุนไพรอย่างหลากหลาย
ภาพประกอบการทำโครงงานภาพประกอบการทำโครงงาน เพื่อนชิมเพื่อประเมินไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง
ภาพประกอบการทำโครงงานภาพประกอบการทำโครงงาน คุณครูชิมเพื่อประเมินไข่เค็มเร็วสมุนไพรพอกกากถั่วเหลือง