860 likes | 1.09k Views
ยินดีต้อนรับ. ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ทุกท่าน. ด้วยความยินดียิ่ง. ประชุมสัมมนา “ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย กับการเตรียมความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียน ” 16 กันยายน 2554 ณ โรงแรมได มอนด์ พลาซ่า. ยุทธศาสตร์ การพัฒนา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. การจัดตั้งกลุ่มจังหวัด. วัตถุประสงค์.
E N D
ยินดีต้อนรับ ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ทุกท่าน ด้วยความยินดียิ่ง
ประชุมสัมมนา “กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย กับการเตรียมความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียน” 16 กันยายน 2554 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า
ยุทธศาสตร์การพัฒนา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดการจัดตั้งกลุ่มจังหวัด วัตถุประสงค์ รวมกลุ่มจังหวัดเป็นพื้นที่ในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ประสานความร่วมมือสรรพกำลังและทรัพยากรระหว่างจังหวัดในกลุ่มให้สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพ ทั้งนี้ กลุ่มจังหวัดมิได้เป็นพื้นที่ทางการปกครองแต่อย่างใด
การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดในปัจจุบันการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดในปัจจุบัน • พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 52 วรรคสาม กำหนดให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ และให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ • พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 มาตรา 26 ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ(ก.น.จ.) พิจารณาตั้งกลุ่มจังหวัด และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
การพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะกลุ่มจังหวัดการพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะกลุ่มจังหวัด การพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะกลุ่มจังหวัด โดยใช้แผนพัฒนา จังหวัดเป็นเครื่องมือในการบริหาร การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๖ ยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ในปัจจุบันมีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นเครื่องในการกำหนดวิธีการ โดยมาตรา ๒๖ กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ หรือ ก.น.จ. (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด และกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด
แนะนำผู้บริหารของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยแนะนำผู้บริหารของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 1 2 3 4 2 นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี/หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 1 3 4 นายพินิจ เจริญพาณิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายพิสิษฐ บุญช่วง ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
การพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะกลุ่มจังหวัดการพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะกลุ่มจังหวัด การแบ่งกลุ่มจังหวัดตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ ได้แบ่งออกเป็น ๑๘ กลุ่มจังหวัด โดย กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย ๔ จังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง
แผนพัฒนา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
ข้อมูลทั่วไป ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง) • พื้นที่ 32,268ตารางกิโลเมตร • ประชากร 3,522,442คน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม่รวม 7,976.79 ตารางกิโลเมตร ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีความหลากหลายของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสูงมาก
โครงสร้างพื้นฐาน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาการคมนาคม และขนส่ง มีโครงข่ายคมนาคมและขนส่งเชื่อมโยงระหว่างภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงประเทศมาเลเซีย และภาคใต้ฝั่งอันดามัน การคมนาคมและ ขนส่งทางน้ำ ส่วนการคมนาคมและขนส่ง ทางอากาศ ประกอบด้วย ท่าอากาศยาน สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ ท่าอากาศยานสมุย
สถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญสถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยภาคการผลิตที่สำคัญ คือ ภาคการเกษตร มีมูลค่า 111,970ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.74รองลงมาเป็นสาขาอุตสาหกรรม มีมูลค่า 39,949ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.10 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (ราคาตลาดปี พ.ศ. 2551) มีมูลค่าเท่ากับ 330,111ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 38.07
สถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญสถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย พืชเศรษฐกิจ 1) ยางพารา ในปี 2552 ผลผลิต 3,722,423 ตัน คิดเป็น 38.81 ของ ประเทศ ปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และชุมพร ตามลำดับ
สถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญสถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย พืชเศรษฐกิจ 2) ปาล์มน้ำมัน ปี 2552 ผลผลิต 1,644,171 ตัน คิดเป็นร้อยละ 57.14 ของประเทศ ผลิตได้มากเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ ปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และพัทลุง ตามลำดับ
สถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญสถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย พืชเศรษฐกิจ 3) ข้าว ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย ปลูกมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง โดยปี 2552ผลผลิตรวม 956,103 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53.75 ของภาคใต้
สถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญสถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย พืชเศรษฐกิจ 4) ไม้ผล เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญ ในปี 2552 สามารถผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ ได้แก่ ทุเรียน เงาะ และมังคุด โดยมีผลผลิต 203,982ตัน 101,115 ตันและ 40,761ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 73.70 ร้อยละ 71.63, และร้อยละ 64.82 ของภาคใต้ตามลำดับ
สถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญสถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย การประมง กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ยังคงเป็นแหล่งผลิตกุ้งที่สำคัญของประเทศ โดยในปี 2552 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สามารถผลิตกุ้งได้ 128,545 ตัน คิดเป็นร้อยละ 22.09 ของประเทศ
สถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญสถานการณ์การพัฒนาที่สำคัญ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย การท่องเที่ยว ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวค่อนข้างสูง มีแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นที่รู้จักภายในประเทศและระดับโลก ปี 2552มีรายได้จากการท่องเที่ยว 44,523.98ล้านบาท เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 14,923.49ล้านบาท และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 29,600.49ล้านบาท
ประเด็นปัญหาของพื้นที่ประเด็นปัญหาของพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ด้านเศรษฐกิจ 1. ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ (ยางพารา) โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ผลผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มจังหวัด 2. ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ (ปาล์มน้ำมัน) ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเด็นปัญหาของพื้นที่ประเด็นปัญหาของพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ด้านเศรษฐกิจ 3. ผลผลิตไม้ผลล้นตลาดในช่วงฤดูกาล โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช 4. เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีข้อจำกัดในด้านความรู้ ทักษะ ในการเพิ่มปริมาณ / คุณภาพ ของผลผลิต
ประเด็นปัญหาของพื้นที่ประเด็นปัญหาของพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ด้านเศรษฐกิจ 5. ขาดการสร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับการแข่งขัน โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน 6. การท่องเที่ยวยังคงกระจุกตัวหนาแน่นอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหลัก
ประเด็นปัญหาของพื้นที่ประเด็นปัญหาของพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ด้านสังคม 1. ปัญหาอาชญากรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีสัดส่วนการเกิดคดี ต่ำกว่าระดับภาค 2. ปัญหายาเสพติดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีสัดส่วน คดีต่ำกว่าระดับภาค
ประเด็นปัญหาของพื้นที่ประเด็นปัญหาของพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • 1. ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช • 2. ปัญหาดินถล่มในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร
ประเด็นปัญหาของพื้นที่ประเด็นปัญหาของพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ปัญหาน้ำเสียและขยะในเมืองใหญ่และ เมืองท่องเที่ยวหลัก 4. ปัญหาการทำประมงและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งเกินกว่าศักยภาพของพื้นที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรม ลดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
จุดยืนการพัฒนายุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) 1. เมืองแห่งศูนย์กลางการผลิต แปรรูป และการพัฒนาพืชเกษตร พืชเศรษฐกิจ ผลผลิตจากสัตว์น้ำ ให้ได้มาตรฐานคุณภาพระดับการส่งออก และเติบโต บนพื้นฐานองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการรักษาสิ่งแวดล้อม
จุดยืนการพัฒนายุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) 2. เมืองแห่งศูนย์กลางการค้าการขนส่ง และการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มาตรฐานระดับนานาชาติที่มีความยั่งยืน 3. เมืองสีเขียวที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม
จุดยืนการพัฒนายุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) 4. เมืองแห่งการเรียนรู้ และสุขภาวะ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีงาม มีความสุข 5. เมืองชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มั่งคั่งเติบโต ด้วยความมั่นคงบนพื้นฐานความพอเพียง
จุดยืนการพัฒนา (Strategic Positioning) ปีพ.ศ. 2555 – 2556 เป็นเมืองแห่งศูนย์กลางการผลิต แปรรูป และพัฒนาพืชเกษตร พืชเศรษฐกิจ ผลผลิตจากสัตว์น้ำให้มีมาตรฐาน และคุณภาพระดับการส่งออก ด้วยองค์ความรู้ และเทคโนโลยี และเมืองชุนชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มั่งคั่งเติบโตด้วยความมั่นคงบนฐาน ความพอเพียง
แผนพัฒนา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
วิสัยทัศน์ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย “เมืองศูนย์กลางการเกษตร และพืชเศรษฐกิจของประเทศ ที่เติบโตอย่างมั่นคง บนพื้นฐานของชุมชนเข้มแข็ง และเมืองท่องเที่ยวระดับนานาชาติที่ยั่งยืน”
เป้าประสงค์รวม (Objectives) • 1. สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการ และระบบเศรษฐกิจ • ของกลุ่มจังหวัด ด้วยระบบการบริหารจัดการการเกษตร และพืชเศรษฐกิจ • (ยางพารา / ปาล์มน้ำมัน ) ที่มีประสิทธิภาพ • 2. ยกระดับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยให้เป็นแหล่งผลิต แหล่งการค้า • แหล่งเรียนรู้ การพัฒนายางพาราและปาล์มน้ำมันของประเทศ • 3. พัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด สู่การท่องเที่ยวนานาชาติที่ยั่งยืน • 4. สร้างและพัฒนากลุ่มจังหวัดให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน (Green Area) • 5. จัดระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคมและสาธารณูปโภค ให้มีศักยภาพ • ในการรองรับการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดในทุกๆด้าน
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1: การผลิต แปรรูปและ การบริหารจัดการพืชเศรษฐกิจ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่มีคุณภาพแบบครบวงจร
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ ตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 กลยุทธ์ : 1) พัฒนาเกษตรกรให้มีศักยภาพด้านการผลิต การแปรรูปและการตลาด 2) พัฒนาระบบการเกษตร ของกลุ่มจังหวัดให้เติบโตอย่างมั่นคง สมดุลบนฐานทรัพยากรธรรมชาติ และ การรักษาสิ่งแวดล้อม 3) เสริมความรู้ เติมศักยภาพทางการบริหารจัดการผลผลิตแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการยางพาราและปาล์ม น้ำมัน เน้นการลดต้นทุนด้วยภูมิปัญญา และมาตรฐานสากล 4) การพัฒนาด้านการตลาดภายในประเทศและเพิ่มขีดความสามารถเพื่อการส่งออก 5) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นชุมชนการเกษตรที่เข้มแข็ง มีพลังทางการผลิต ทางการค้า เป้าประสงค์ เป็นศูนย์กลางการเกษตร พืชเศรษฐกิจยางพารา และปาล์มน้ำมันของประเทศ ที่มีศักยภาพทางการผลิต การพัฒนาเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลก ตัวชี้วัด 1) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของปริมาณผลผลิตยางพารา/ ผลผลิตปาล์มน้ำมัน 2) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของ กลุ่มจังหวัดด้านยางพาราและปาล์มน้ำมัน ประเด็นยุทธศาสตร์ : การผลิต แปรรูปและ การบริหารจัดการพืชเศรษฐกิจยางพารา และปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพแบบครบวงจร
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 : การท่องเที่ยวนานาชาติที่ยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ ตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ตัวชี้วัด 1) จำนวนของแหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดที่มี ระบบการบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของปริมาณนักท่องเที่ยว 3) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว ประเด็นยุทธศาสตร์ : การท่องเที่ยวนานาชาติที่ยั่งยืน กลยุทธ์ : 1) ส่งเสริมการพัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ การตลาด 2) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดในกลุ่มจังหวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก 3) จัดระบบเส้นทางการท่องเที่ยว เสริมระบบโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับพื้นที่ตอนบน และฝั่งอันดามัน 4) การจัดระบบการบริการนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เน้นการดูแลทั่วถึง สร้างการท่องเที่ยวแบบอุ่นใจ ปลอดภัย ประทับใจและมาเที่ยวซ้ำ 5) พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ/คุณภาพและเพียงพอต่อการรองรับการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม และ การบริการ ของกลุ่มจังหวัด เป้าประสงค์ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่หลากหลาย เติบโตบนฐานการอนุรักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 : การพัฒนาการเกษตรที่มีศักยภาพในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง (ข้าว ,ไม้ผล ,ปศุสัตว์ , ประมง)
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ ตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของเกษตรกรที่ผ่านการเตรียมความพร้อม ตามกรอบมาตรฐานความปลอดภัย GAP 2. จำนวนฟาร์มที่ผ่านการรองรับมาตรฐานอาหาร ปลอดภัยด้านอาหาร (GAP) ประเด็นยุทธศาสตร์ : การพัฒนาการเกษตรที่มีศักยภาพในพื้นที่ ให้มีความเข้มแข็ง (ข้าว ,ไม้ผล ,ปศุสัตว์ ,ประมง) กลยุทธ์ : ๑) พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ/คุณภาพและเพียงพอต่อการรองรับการพัฒนาทางด้านการเกษตร ประมง และปศุสัตว์ของ กลุ่มจังหวัด ๒) เสริมความรู้ เติมศักยภาพทางการบริหารจัดการผลผลิตแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการการเกษตร เน้นการลดต้นทุนด้วยภูมิ ปัญญา และมาตรฐานสากล ๓) สร้างช่องทางการตลาดและศูนย์กลางการผลิต แปรรูป การค้า การส่งออกไม้ผล ผลผลิตสัตว์น้ำ ปศุสัตว์ มาตรฐาน การค้าระดับสากล ๔) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นชุมชนการเกษตรที่เข้มแข็ง มีพลังทางการผลิต ทางการค้า เป้าประสงค์ การเกษตรที่มีศักยภาพในพื้นที่ (ข้าว ,ไม้ผล ,ปศุสัตว์ ,ประมง) มีความเข้มแข็ง ความมั่นคง ความมั่งคั่ง
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 4 : การพัฒนาสู่เมืองสีเขียว ชุมชนเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ ตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ตัวชี้วัด 1) ร้อยละของชุมชนที่มีการบริหารจัดการชุมชนตามเกณฑ์กำหนด 2) ร้อยละของชุมชนที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาในการดำเนินชีวิต 3) จำนวนชุมชนต้นแบบ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ ประเด็นยุทธศาสตร์: การพัฒนาสู่เมืองสีเขียว ชุมชนเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน กลยุทธ์: 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ร่วมสร้างแกนนำการเปลี่ยนแปลงในชุมชนเพื่อการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน 2) สร้างชุมชนต้นแบบระบบบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนน่าอยู่ ด้วยหลักการของปัญญาแห่งปรัชญาความ พอเพียง ผ่านการสร้างแหล่งเรียนรู้การพัฒนา 3) ส่งเสริมการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาของชุมชนให้อยู่คู่กับกลุ่มจังหวัด 4) ยกระดับการเรียนรู้ในชุมชน เสริมสร้างองค์ความรู้ ขยายฐานการศึกษา การเรียนรู้ สู่การเป็นการเป็นกลุ่มจังหวัด อุดมปัญญา 5) สร้างผู้นำชุมชนที่มีคุณธรรม และศักยภาพในการนำชุมชนด้วยหลักธรรมาภิบาล สู่ชุมชนวิถีประชาธิปไตยเข้มแข็ง เป้าประสงค์ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ระบบการจัดการชุมชนมีความเข้มแข็งบนฐานปรัชญาความพอเพียง
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 5 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางการคมนาคม และการ โลจิสติกส์
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ ตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ตัวชี้วัด จำนวนโครงข่ายการคมนาคมที่ได้รับการ ปรับปรุงและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ประเด็นยุทธศาสตร์: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคม และการโลจิสติกส์ กลยุทธ์: 1. พัฒนา ปรับปรุงการคมนาคมการขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ ทางราง ให้มีการเชื่อมต่ออย่างเป็น ระบบ ประสานกับการพัฒนาของประเทศ 2. ส่งเสริมท้องถิ่นร่วมเชื่อมต่อระบบการคมนาคม และการโลจิสติกส์สู่ชุมชน 3. วางระบบโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมโลจิสติกส์ การสาธารณูปโภครองรับการขนส่งสินค้าทางการ เกษตร การท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานโดยการบูรณาการกับท้องถิ่น และแนวทางการพัฒนาระดับชาติ 4. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ/คุณภาพและเพียงพอต่อการรองรับการพัฒนาทางโลจิสติกส์ เป้าประสงค์ : โครงสร้างการคมนาคมและโลจิสติกส์ของกลุ่มจังหวัดเอื้อต่อการท่องเที่ยว และการเกษตร
งบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรร ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
สรุปภาพรวมของโครงการตามแผนปฏิบัติราชการสรุปภาพรวมของโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้รับการจัดสรร จำนวน 18 โครงการ งบประมาณ 116,461,700 บาท
สรุปภาพรวมของโครงการตามแผนปฏิบัติราชการสรุปภาพรวมของโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้รับการจัดสรร จำนวน 19 โครงการ งบประมาณ 261,775,000 บาท
สรุปคำของบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 18 โครงการ งบประมาณ 542,484,000บาท
ปัญหาและอุปสรรค การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด 1. ปัญหาโครงสร้างการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ : คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) ตามโครงสร้าง มีองค์ประกอบของภาคเอกชนในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม (น้อย) เมื่อเทียบกับภาคราชการและภาคประชาสังคม
ปัญหาและอุปสรรค การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด แนวทางการแก้ปัญหา ควรปรับโครงสร้าง ก.บ.ก. ให้เหมาะสมโดยเพิ่มสัดส่วนของภาคเอกชนให้มากขึ้น เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดสามารถนำไปสู่การแข่งขันได้อย่างแท้จริง
ปัญหาและอุปสรรค การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด 2. กลไกการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 2.1 แผนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดยังขาดการบูรณาการ , ภาคราชการยังให้ความสำคัญกับแผนปฏิบัติงานของกระทรวงมากกว่าแผนปฏิบัติงานของจังหวัด กลุ่มจังหวัด