240 likes | 537 Views
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย. แผนการ จัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สื่อและอุปกรณ์เครือข่าย. สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล. 1. สายคู่ตีเกลียว ( Twisted pair).
E N D
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สื่อและอุปกรณ์เครือข่าย
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลสื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted pair) ในการส่งข้อมูลจะต้องมีสายหนึ่งเป็นสายข้อมูล และอีกสายหนึ่งเป็นสายกราวน์ (ground) เมื่อมีข้อมูลหรือมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายด้วยความ เร็วสูงจะทำให้มีสัญญานรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้น ดังนั้นจึงต้องนำสายทั้งสองเส้นมาพันเป็นเกลี่ยวเพื่อลดสัญญานรบกวนดังกล่าว จึงเรียนกว่าสายคู่ตีเกลียว สายคู่ตีเกลียวจะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ 1. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) 2. สายคู่บิดเกลียวชนิดมีหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP)
1. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) สายประเภทนี้เรียกสั้นๆว่า สาย UTP เป็นสายโทรศัพท์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สายทองแดงแต่ละเส้นจะมีฉนวนหุ้ม แต่จะไม่มีฉนวนหุ้มระหว่างชั้นนอกกับสายทองแดง
1. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) มาตรฐานของสาย UTP นั้นจะมีการแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ (Category)
1. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) สาย UTP จะมีสายสัญญาณอยู่จำนวน 4 คู่ 8 เส้น ประกอบด้วย • เขียว - ขาวเขียว • ส้ม - ขาวส้ม • น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน • น้ำตาล – ขาวน้ำตาล
2. สายคู่บิดเกลียวชนิดมีหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) • สายสัญญานแบบ STP จะมีฉนวนพิเศษหุ้มเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนจากมอเตอร์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า หรือจากแหล่งอื่นๆ • นอกจากฉนวนที่หุ้มรอบลวดทองแดงแล้ว สาย STP ยังมีชั้นโลหะหุ้มรอบลวดทองแดงทั้งหมดอีกด้วย ชั้นโลหะนี้อาจเป็นแผ่นฟอยล์ หรือโลหะถักรอบ • ซึ่งชั้นโลหะที่เป็นแบบถักจะเป็นฉนวนดีกว่า แต่จะทำให้สายมีน้ำหนักมาก ขนาดใหญ่ และมีราคาที่สูงขึ้นอีกด้วย
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial) • นิยมเรียกกันสั้นๆว่า สายโคแอก มีลักษณะเป็นสายกลม ใช้ลวดทองแดง • เป็นแกนกลางของสายสัญญานเพื่อนำสัญญาน • รอบๆลวดทองแดงจะมีการหุ้มด้วยฉนวนกันไฟฟ้า เพื่อแยกแกนกลาง • ออกจากลวดทองแดงด้านนอกที่ทำหน้าที่เป็นสายดินเพื่อช่วยลดคลื่นรบกวน และป้องกันการช็อตจากการที่ลวดทองแดงทั้งสองสัมผัสกัน
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial) • สายโคแอกเชียลมีความหนาเนื่องจากขนาดของลวดทองแดงที่เป็นแกนกลาง • และฉนวนภายในที่หุ้มรอบลวดทองแดง ทำให้สายโคแอกเชียลมีความหนาและมีน้ำหนักมาก ซึ่งยากต่อการติดตั้งและการใช้งาน • สายโคแอกเชียลยังมีจุดอ่อนด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่าย • อีกด้วย • เพราะสายสัญญานจะมีความเร็วจำกัดที่ 10 Mbps และไม่สามารถเพิ่ม • ความเร็วให้มากขึ้นไปได้อีก
3. สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) • สายใยแก้วนำแสงหรือสายไฟเบอร์ออปติกถูกสร้างจากซิลิกอนออกไซต์ทำให้มีลักษณะคล้ายท่อแก้วหรือพลาสติก • เป็นสายสัญญานแบบพิเศษ เพราะไม่ใช้สัญญานไฟฟ้าในการรับส่งข้อมูล • แต่สายใยแก้วนำแสงจะใช้คลื่นแสง (Photon) ในการส่งชุดข้อมูลจาก • โหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง
3. สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) • สายใยแก้วนำแสงจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลได้สูงที่สุดกว่าสายประเภทอื่นๆ • สายใยแก้วนำแสงจะเป็นสายสัญญานที่เกือบจะไม่มีปัญหาเรื่อง สัญญานรบกวนภายในสายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า • สายใยแก้วนำแสงเหมาะสำหรับการใช้เป็นแบ็กโบน (Backbone) ที่ต้องส่งข้อมูลในปริมาณมาก และต้องการความเร็วสูงๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
1.โมเด็ม (Modem) • โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางโทรศัพท์ • โมเด็มจะทำงานในการแปลงสัญญานระหว่างสัญญานดิจิตอลและสัญญาน • อนาล็อก เพื่อส่งข้อมูลดิจิตอลผ่านสายโทรศัพท์นั่นเอง • ในปัจจุบันมีโมเด็มให้เลือกใช้อยู่ 3 ชนิด คือ
1.โมเด็ม (Modem) (ต่อ) 1. โมเด็มแบบอินเทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นแผงวงจรติดตั้งอยู่ภายในเคส (Case) 2. โมเด็มแบบ เอ็กซ์เทอร์นอล (External modem) เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกมาต่างหาก อาศัยช่องเสียบด้านหลังเคส (Case) ที่เรียกว่า “พอร์ต (Port)” เป็นจุดเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด 3. โมเด็มแบบไร้สาย (Wireless Modem) ใช้การสื่อสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ปัจจุบันจะมีราคาสูงกว่าโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลและอินเทอร์นอล
1.โมเด็ม (Modem) (ต่อ) ภาพการทำงานของโมเด็ม
2. รีพีตเตอร์(Repeater) ทำหน้าที่ในการเดินสัญญาณ คือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย Lan ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพื้ยนให้กลับเป็นเหมือนเดิม
3. ฮับ(Hub) ทำหน้าที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่กระจายข้อมูล ช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างๆบนเครือข่ายสามารถสื่อสารถึงกันได้
3. ฮับ(Hub) ภาพการทำงานของฮับ
4. บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่เชื่อมเครือข่าย LAN 2 เครือข่ายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่าง 2 เครือข่าย บริดจ์มีความสามารถมากกว่าฮับและรีพีตเตอร์ กล่าวคือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งได้
4. บริดจ์ (Bridge) ภาพการทำงานของบริดจ์
5. เราท์เตอร์ (Router) เราท์เตอร์(Router) มีหน้าที่สำคัญคือ สามารถกำหนดหรือแลกเส้นทางในการรับ-ส่งข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลไป
6. เกตเวย์(Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงกว่าเราท์เตอร์ ถ้าหากระบบเครือข่ายมีโปรโตคอลสำหรับการสื่อสารที่แตกต่างกัน หรือมีขนาดเครือข่ายต่างกัน แต่ต้องการสื่อสารถึงกัน ตัวเกตเวย์นี้จะช่วยให้ระบบเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้
7. สวิตซ์(Switch) สวิตซ์(Switch) มีความฉลาดมากกว่าฮับ จะใช้สำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยๆเข้าด้วยกัน การทำงานของสวิตซ์นี้ เมื่อโหนดใดส่งข้อมูลเข้ามายังสวิตซ์ มันจะรับข้อมูลที่เข้ามาทางพอร์ตนั้น และตรวจสอบที่อยู่ของผู้รับ จากนั้นจะส่งข้อมูลไปยังพอร์ตของผู้รับเท่านั้น โดยจะไม่ส่งไปยังพอร์ตอื่นๆในเครือข่าย