1 / 23

มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ

มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ. ความหมาย.

qamra
Download Presentation

มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะมารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ

  2. ความหมาย โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมสำหรับนักเรียนในการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติและค้นคว้าด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้การแนะนำและการดูแลของครูหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นและอาจใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆช่วยในการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้การศึกษาค้นคว้านั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์

  3. จุดมุ่งหมายของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์จุดมุ่งหมายของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงในการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยเบื้องต้น ทางวิทยาศาสตร์ภายในขอบเขตของความรู้และประสบการณ์ระดับชั้น ของตน 2.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรักและสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ 3.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และมีโอกาสแสดงออก 4.เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  4. หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักเรียน ริเริ่ม วางแผน และดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะ 2.เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3.เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาด้วยตนเอง 4.มุ่งฝึกให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการศึกษาค้นคว้าและแก้ปัญหาด้วยตนเอง มิใช่การส่งเข้าประกวด

  5. ประเภทต่างๆของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทต่างๆของโครงงานวิทยาศาสตร์ • โครงงานประเภทการสำรวจ • โครงงานประเภทการทดลอง • โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ • โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย

  6. โครงงานประเภทการสำรวจโครงงานประเภทการสำรวจ เป็นกิจกรรมการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยวิธีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลต่างๆแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดกระทำ

  7. ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่ -การศึกษามลพิษของอากาศ น้ำและดิน -การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดโยการนำมาเลี้ยงไว้ -การศึกษาโครงกระดูกของสัตว์บางประเภท -การศึกษาลักษณะของอากาศในท้องถิ่น

  8. โครงงานประเภทการทดลองโครงงานประเภทการทดลอง เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการออกแบบการทดลองและดำเนินการทดลอง เพื่อหาคำตอบที่ต้องการทราบหรือเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ลักษณะสำคัญ จะต้องมีการออกแบบการทดลองเพื่อหาคำตอบที่ต้องการศึกษา มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้นเพื่อดูผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นๆที่ไม่ต้องการศึกษาด้วย

  9. ตัวอย่างโครงงานประเภทการทดลองตัวอย่างโครงงานประเภทการทดลอง -การศึกษาอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายในไก่ตัวเมีย -การเจริญเติบโตของพืชในสนามแม่เหล็ก -ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีม่วงในพืชบางชนิด -การใช้ผักตบชวาในการกำจัดน้ำเสีย

  10. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นการประดิษฐ์เครื่องใช้อุปกรณ์ต่างให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยอาศัยความรู้หรือหลักการทาง วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือการปรับปรุงอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีกว่าเดิม หรืออาจเป็นการเสนอสร้างแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

  11. ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทนี้ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทนี้ -เตาอบพลังแสงอาทิตย์ -บ้านยุคนิวเคลียร์ -เครื่องกันขโมย -แนวคิดในการจัดการระบบจราจรบริเวณทางแยก

  12. โครงงานประเภททฤษฎีหรือการอธิบายโครงงานประเภททฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือคำอธิบายสิ่งต่างๆหรือปรากฏการณ์ต่างซึ่งเป็นแนวคิดต่างๆโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ทฤษฎีอื่นหรือแนวคิดต่างๆสนับสนุน ทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าวอาจใหม่หรือขัดแย้งหรือขยายแนวคิดหรืออธิบายความคิดเดิมที่มีผู้คิดไว้ก่อน แต่ต้องมีข้อมูลหรือทฤษฏีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้เช่นโครงงานเรื่องกำเนิดทวีปและมหาสมุทร

  13. ทฤษฎีแบบพอเพียง

  14. ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.การเลือกปัญหาที่ต้องการศึกษา นักเรียนต้องฝึกตั้งคำถาม ฝึกหาหัวข้อ แล้วเลือกปัญหาที่เหมาะสมเพื่อศึกษา 2.การวางแผนในการทำโครงงาน โดยการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ การออกแบบการทดลอง การควบคุมตัวแปร วิธีการรวบรวมข้อมูล วางแผนปฏิบัติงานเป็นขั้นตอน

  15. 3.การลงมือทำโครงงาน เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนงาน โดยการเก็บรวบรวม ข้อมูล การสร้างหรือประดิษฐ์ การค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูล ตีความหมายข้อมูล และสรุปผลการค้นคว้าสรุปผลการค้นคว้า 4.การเขียนรายงาน เป็นการเสนอผลงานเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้อื่นทราบผลการทำโครงงาน ซึ่งควรจะมีหัวข้อต่อไปนี้

  16. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้จัดทำ ชื่อที่ปรึกษา บทคัดย่อ(วัตถุประสงค์/วิธีการศึกษาและสรุปผล) กิตติกรรมประกาศ ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน วิธีดำเนินการ ผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง และข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง 5.การแสดงผลงาน เป็นการเสนอผลงานที่ได้ทำการค้นคว้าแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยการจัดนิทรรศการ อาจทำในห้องเรียน ภายในโรงเรียน ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับเขตการศึกษาหรือระดับชาติ

  17. สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จาการทำโครงงานสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จาการทำโครงงาน 1.ความรู้ในเนื้อหาวิชา นักเรียนจะได้รับความรู้ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆและผู้รู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่เป็นข้อค้นพบของการทำโครงงาน 2.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ นักเรียนจะได้มีโอกาสใช้ทักษะต่างๆ เช่น การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลองและควบคุมตัวแปร การวัด การรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะทำให้ นักเรียนพัฒนาความสามารถในทักษะต่างๆเหล่านั้น

  18. 3.ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา3.ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา จากการที่นักเรียนได้ลงมือศึกษาค้นคว้าทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองตลอด นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จนทำให้สามรถนำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาอื่นๆได้ 4.เจตคติ นักเรียนได้มีโอกาสเลือกเรื่องที่ตนสนใจจะศึกษาเอง ลงมือค้นคว้าด้วยตนเองและค้นพบคำตอบด้วยตนเองจะทำให้เกิดความชอบ และสนใจในวิชานั้นและจะค่อยๆพัฒนาเจตคติ และค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ ให้เกิดขึ้น

  19. 5.เพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา5.เพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา 6.เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 7.เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  20. 8.คุณสมบัติอื่นๆ เช่นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเชื่อมั่นในตนเอง มีวินัยในการทำงาน มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

  21. ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี 1.ผู้เรียนมีโอกาสเลือกประเด็นที่จะปรึกษา วิธีการและแหล่งความรู้ด้วยตนเอง 2.ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอน 3.การศึกษาค้นคว้านั้นมีการเชื่อมโยงหรือบูรณาการระหว่างความรู้/ทักษะ/ประสบการณ์เดิมกับสิ่งใหม่ 4.ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น 5.ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาในการทำงาน

  22. ข้อจำกัด 1.ใช้เวลาในการเรียนรู้มาก เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 2.ผู้สอนอาจให้คำปรึกษาและดูแลไม่ทั่วถึง 3.ถ้าผู้เรียนวางแผนการทำงานไม่ดีอาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ 4.ถ้าผู้สอนขาดความเอาใจใส่หรือขาดความอดทน อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ

  23. เอกสารอ้างอิง http://www.jstp.org/methodology6.htm http://members.tripod.com/thaivit/page1.htm http://www.geocities.com/sakont2000/http://www.thaipr.cjb.net http://www.rimhk.ac.th/~udomsin/elearning/content/lesson1/103.html

More Related