1.48k likes | 1.71k Views
ประภาศ คงเอียด น.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2 ) (ม.ร. ) รุ่นที่ 12 น.บ.ท. ITP/LL.M. (Harvard University) U.S.A. ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง. กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร LW 406. โครงสร้างการบรรยาย. 1. ลักษณะและโครงสร้างทั่วไปของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. เงินได้พึงประเมิน
E N D
ประภาศ คงเอียด น.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2)(ม.ร.) รุ่นที่ 12 น.บ.ท. ITP/LL.M. (HarvardUniversity) U.S.A. ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร LW 406
โครงสร้างการบรรยาย 1. ลักษณะและโครงสร้างทั่วไปของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. เงินได้พึงประเมิน 3. ความรับผิดในการเสียภาษี 4. หน่วยภาษี 5. ประเภทของเงินได้พึงประเมิน 6. การเสียภาษี 7. การยกเว้นภาษี 8. การหักค่าใช้จ่าย 9. การหักลดหย่อน 10. การคำนวณภาษี 11. ปัญหาการเสียภาษีบางประเภท
1. เป็นภาษีอากรประเมิน (มาตรา 38) 2. โครงสร้างหลักในการคำนวณภาษี เงินได้พึงประเมิน (ไม่รวมที่ได้รับยกเว้นภาษี) หัก ค่าใช้จ่าย = เงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน (หักด้วยจำนวนที่ได้รับยกเว้นภาษี) = เงินได้สุทธิ (หักด้วยจำนวนที่ได้รับยกเว้นภาษี) เงินได้สุทธิ X อัตราภาษี = จำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ลักษณะทั่วไปของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มาตรา 39 "เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย เงินได้พึงประเมิน
1. เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี 2. ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจ คิดคำนวณได้เป็นเงิน 3. เงินภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 4. เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ เงินได้พึงประเมิน
1. มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) 2. จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 3. การคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หารด้วย (ผลต่างของ หนึ่งร้อย ลบด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) = 30= 3 100 - 30 7 เงินปันผล 210,000 บาท คิดเป็นเครดิตภาษีเงินปันผล = 210,000X3 7 = 90,000 บาท เครดิตภาษีเงินปันผล
นาย ก. มีรายได้ในปีภาษี 2547 จากเงินเดือนในการรับราชการจำนวน 800,000 บาท และมีเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทจำนวน 210,000 บาท อยากทราบว่า นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำนวนเท่าใด เครดิตภาษีเงินปันผล = 210,000 X3 7 = 90,000 บาท เงินได้พึงประเมินของนาย ก. คือ 800,000 + 210,000 + 90,000 = 1,100,000 บาท เครดิตภาษีเงินปันผล
กรมสรรพากร (จำเลย) โจทก์ - โจทก์ขายที่ดินราคา 6,300,000 บาท - โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คของผู้ซื้อได้แล้วในปีภาษีที่ถูกประเมินจำนวน 4,046,000 บาท - ส่วนที่เหลือจำนวน 2,254,000 บาท ผู้ซื้อจ่ายเช็คลงวันที่สั่งจ่ายล่วงหน้าในปีภาษีถัดไป ยังเรียกเก็บเงินไม่ได้ และโจทก์ก็ได้ฟ้องคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อผู้สั่งจ่าย - จำเลยประเมินภาษีโดยนำจำนวนเงินตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าในปีภาษีถัดไปมารวมเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ - จำเลยอ้างว่า เงินได้พึงประเมินตาม ป.ร.ฎ. มาตรา 39 รวมถึงตราสารที่มีค่าเหมือนเงินสด เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวเงินอย่างหนึ่งด้วย (มาตรา 39) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2548
ส่งมอบที่ดิน อาคาร และส่วนปรับปรุงอาคาร โจทก์ ทศท ประเมินภาษี กรมสรรพากร (จำเลย) - โจทก์ประกอบกิจการเป็นผู้รับสัมปทานตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์กับ ทศท. - โจทก์ส่งมอบโอนการคอบครองที่ดิน อาคาร และส่วนปรับปรุงอาคาร เพื่อใช้ในกิจการร่วมการงานและร่วมลงทุนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ทศท. - ไม่มีการชำระราคาและมิได้จดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2548
โจทก์ พนักงาน - โจทก์หักเงินเดือนของพนักงานที่เป็นสมาชิกทุกเดือน ตามข้อบังคับว่าด้วยเงินทุนสะสม - นำเงินเข้าฝากธนาคารในบัญชีสมทบทุนที่เปิดไว้ในชื่อสมาชิกเป็นรายบุคคล - โจทก์จะจ่ายเงินทั้งสิ้นในบัญชีสมทบทุนของสมาชิก ให้แก่สมาชิกเมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลง โดยมีกรรมการผู้จัดการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นผู้ควบคุมในการถอนเงิน ** ปัญหาคือดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินฝากเป็นเงินได้ของโจทก์หรือไม่ ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535
เจ้าของ ลิขสิทธิ์ โจทก์ - เจ้าของลิขสิทธิ์ให้โจทก์จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่น ตามที่บอกให้โจทก์จ่าย - แบ่งจ่ายให้แก่บุคคลหลายคน - ผู้รับไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในลิขสิทธิ์ ** ปัญหาว่าต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535
รับฝากขายสินค้า โจทก์ บริษัท อ. Consignment Fee คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
โจทก์ บริษัท อ. - โจทก์รับฝากขายผงชูรสและผลิตภัณฑ์พลอยได้จากผงชูรสให้แก่บริษัท อ. - ได้รับค่าตอบแทนคือ “ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น” (Consignment Fee) เป็นรายเดือนจำนวนแน่นอน โดยไม่คำนึงถึงยอดขาย - บริษัท อ. ได้มอบรถยนต์จำนวน 60-70 คัน ให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทน ** ปัญหาว่ารถยนต์ที่โจทก์ใช้เป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์หรือไม่ ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
ผู้จะซื้อ ผู้จะขาย -ผู้จะซื้อจ่ายเงินมัดจำ 1,000,000 เป็นส่วนหนึ่งของเงินชำระค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย - เงินจำนวน 5,000,000 บาท เป็นเงินส่วนหนึ่งของค่าที่ดิน - ส่วนอีก 477,500 บาท เป็นดอกเบี้ยที่ผู้จะซื้อจ่ายให้แก่ผู้จะขายเพื่อตอบแทนในการที่ผู้จะขายผัดการชำระเงินออกไป - ต่อมาผู้จะซื้อจะได้ยื่นฟ้องผู้จะขายขอให้บังคับผู้จะขายจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน หากโอนไม่ได้ให้ผู้จะขายคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไว้พร้อมเบี้ยปรับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2536
ผู้จะขาย ผู้จะซื้อ -ผู้จะซื้อวางเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน - ผู้จะขายบอกริบมัดจำ - ผู้จะซื้อยื่นฟ้องผู้จะขายเรียกมัดจำคืน คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539
โจทก์ พนักงาน - โจทก์ให้บริการรับประทานอาหารฟรีแก่พนักงานบนเรือขุดแร่ ** ปัญหาว่าค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออาหารของโจทก์ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานหรือไม่ ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2540
โจทก์ พนักงาน -โจทก์หักเงินได้ของลูกจ้างไว้และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลย - ตั้งยอดลูกหนี้ไว้ในงบดุลของสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย - สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีได้โอนยอดเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของสำนักงานใหญ่ เพราะลูกจ้างถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมแล้วยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรอีก - สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม **เป็นกรณีที่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ลูกจ้างหรือไม่** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540
1. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) (มาตรา 41 วรรค 1) 2. หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule) (มาตรา 41 วรรค 2 และ 3) 3. หลักสัญชาติหรือความเป็นพลเมือง (ไม่มีกำหนดในประมวลรัษฎากร) ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มาตรา 41 ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ ความรับผิดในการเสียภาษี
1. หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย 2. กิจการที่ทำในประเทศไทย 3. กิจการของนายจ้างในประเทศไทย 4. ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย *จะจ่ายเงินได้ที่ใดมิใช่สาระสำคัญ* ความรับผิด ตามหลักแหล่งเงินได้
มาตรา 41 ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะรวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ความรับผิดในการเสียภาษี
1. เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย 2. มีเงินได้พึงประเมินเนื่องจาก - หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ - กิจการที่ทำในต่างประเทศ - ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ 3. นำเงินได้พึงประเมินเข้ามาในประเทศไทย ความรับผิดตามหลักถิ่นที่อยู่
ตัวอย่างกรณีศึกษา 1.Mr. A เป็นวิศวกรทำงานในประเทศไทยให้แก่บริษัทนายจ้างที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 2.Mr. A เป็นวิศวกรทำงานในประเทศไทยให้แก่บริษัทนายจ้างที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 3. Mr. A เป็นวิศวกรทำงานในต่างประเทศให้แก่สาขาของบริษัทนายจ้างที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในต่างต่างประเทศ 4. Mr. A ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าจ้างให้มาติดต่อหาลูกค้า และมาประจำอยูในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี
ตัวอย่างกรณีศึกษา 5.Mr. A เป็นคนอเมริกัน มอบหมายให้ นายไก่ลูกจ้างเป็นผู้ดำเนินการเปิดร้านอาหาร Fast Food ในประเทศไทย 6.Mr. A ถือหุ้นในบริษัทไทย และได้รับเงินปันผล 7. Mr. A ขายหุ้นของบริษัทไทยในตลาดหลักทรัพย์ มีกำไรจากการขายหุ้น 8. Mr. A เปิดกิจการโรงเรียนสอนภาษาในประเทศไทย
CASE หารือกรมสรรพากร Bangkok Bank (Thailand) จ้างแรงงาน นาย ก ส่งไปทำงานประจำ 1. ค่าจ้างจ่ายจากสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย 2. ค่าจ้างจ่ายโดยสาขาฮ่องกง Bangkok Bank (HongKong)
1. หน่วยบุคคล (ที่มิใช่นิติบุคคล) - บุคคลคนเดียว (ม. 56 ว. 1) - คณะบุคคล (ม. 56 ว. 2) - ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ม. 56 ว. 2) - ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี (ม. 57 ทวิ ว. 1) 2. หน่วยทรัพย์สิน - กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง (ม. 57 ทวิ ว. 2) หน่วยภาษี (Tax Unit) และผู้มีหน้าที่เสียภาษี (Tax Payer)
หน่วยภาษี มาตรา 56 ให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถ้าบุคคลนั้น (1) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท (2) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 50,000 บาท (3) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท หรือ (4) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 100,000 บาท
หน่วยภาษี ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
หน่วยภาษี มาตรา 57 ทวิ ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง หรือก่อนที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 57 ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี ปฏิบัติแทน และโดยเฉพาะในการยื่นรายการเงินได้พึงประเมินของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้พึงประเมินของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตายเป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่จะต้องยื่นทั้งสิ้น
หน่วยภาษี สำหรับในปีต่อไป ถ้ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่งและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตามมาตรา 56(1) ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในส่วนนี้ในชื่อกองมรดกของผู้ตาย
1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน (ม. 40 (1)) 2. เงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ (ม. 40 (2)) 3. เงินได้เนื่องจากค่าแห่งสิทธิ เงินรายปี (ม. 40 (3)) 4. เงินได้จากดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์จากการลงทุน (ม. 40 (4)) 5. เงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน (ม. 40 (5)) 6. เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ (ม. 40 (6)) 7. เงินได้จากการรับเหมา (ม. 40 (7)) 8. เงินได้จากธุรกิจ หรือเงินได้อื่น ๆ (ม. 40 (8)) ประเภทของ เงินได้พึงประเมิน
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้นคือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (4) เงินได้ที่เป็น (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไปไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้นเป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว
โจทก์ นายจ้าง 1. โจทก์ได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างในการเลิกจ้าง 2. ค่าชดเชยดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2530
ผู้รับเหมา โจทก์ 1. โจทก์ก่อสร้างตึกแถวโดยจัดหาวัสดุก่อสร้างเอง 2. ค่าแรงงานเหมาจ่ายให้แก่ผู้รับเหมาไปจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้าง ลูกจ้าง 3. ผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่ลูกจ้างเอง 4. หากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532
โจทก์ บริษัท พ. 1. โจทก์จ้างบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาและให้บริการทางเทคนิค 2. โจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด และค่าส่งเสริมการลงทุนให้บริษัท พ. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533
แพทย์ โรงพยาบาล 1. ค่าตรวจรักษาแพทย์จะเรียกจากผู้ป่วยได้ไม่เกินอัตราที่โรงพยาบาลกำหนด 2. ค่าตรวจรักษาเป็นเงินได้ของแพทย์ทั้งหมด 3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่ายา ค่าพยาบาล ค่าห้อง เป็นรายรับของโรงพยาบาลทั้งหมด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2543
การไฟฟ้า ฝ่ายผลิต โจทก์ 1. โจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่ประจำในการรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คลินิก 2. โจทก์เปิดคลินิกรับรักษาผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2526
โจทก์ บริษัท ฮ. 1. บริษัท ฮ. ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการผลิตกระดาษ 2. บริษัท ฮ. ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการให้ความช่วยเหลือจากโจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531
บริษัทฮอนชูเปเปอร์ (ญี่ปุ่น) สัญญาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance Agreement) การผลิตกระดาษ บริษัทสยามคราฟท์ (ไทย) หมายเหตุ - ฎ. 3867/2531 (บริษัทสยามคราฟท์ จำกัด โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย) - ฎ. 2519-2522 ส่งผู้เชี่ยวชาญ 15 คน เข้ามาประจำอยู่ที่โรงงานสยามคราฟท์ที่จังหวัดราชบุรี