320 likes | 719 Views
บทที่ 4 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. เนื้อหาประจำบท. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
E N D
บทที่ 4พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เนื้อหาประจำบท • ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ขั้นตอนพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ระบบการชำระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การรักษาความปลอดภัยให้กับระบบการชำระเงิน • ภัยคุกคามในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือ การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีผู้ให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันออกไป เช่น • กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์” • สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความหมายไว้ว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำการค้าขายและธุรกรรมซื้อขายผ่านทางระบบออนไลน์หรือทางอินเทอร์เน็ต” • สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์”
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) • โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการซื้อสินค้า ขายสินค้า จัดส่งสินค้า การแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ หรือสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต” กล่าวโดยสรุป “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกรรมทางการค้า การบริการ ทั้งในการซื้อขายสินค้าบริการ การชำระเงิน การโฆษณา การแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อินเทอร์เน็ต”
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) นอกจากจะมีรูปแบบการทำธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีรูปแบบการทำธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น คือ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เรียกว่า Mobile Commerce หรือ M-Commerce เช่น การดาวน์โหลดเกม การสั่งซื้อสินค้าและบริการ การทำธุรกรรมทางธนาคาร เป็นต้น นอกจากคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว อาจจะมีคำศัพท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีก ได้แก่ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ซึ่งตามพ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้นิยามไว้ว่า “ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน”
e-Business การดำเนินธุรกรรมใด ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย ทั้งภายในองค์กรหรือระหว่างองค์กร รวมถึงการบริการลูกค้า การทำงานร่วมกันระหว่าง คู่ค้าทางธุรกิจที่สามารถสื่อสารกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต e-Commerce การดำเนินธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการซื้อสินค้า ขายสินค้า จัดส่งสินค้า การแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ หรือ สารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะมีความหมายที่กว้างกว่า คือ เป็นการดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง เมนู
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : ออนไลน์ : http://nanavagi.blogspot.com/2010/01/e-commerce.html เมนู
ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี • ขาดมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งในเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ • ความกว้างของช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดธ์ของระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ • เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเร็ว • ความซับซ้อนและความยากต่อการนำระบบต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เช่น ระบบฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่ โปรแกรมประยุกต์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น • จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เฉพาะมาติดตั้งเป็นเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติม เพื่อเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่าย
ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) • ข้อจำกัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี • ปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่นำมาบังคับใช้ โดยเฉพาะเรื่องรายละเอียดการจัดเก็บภาษีที่ยังคงคลุมเครือ ไม่ชัดเจน • ขาดข้อบังคับทางกฎหมายทั้งภายในและระหว่างประเทศ และมาตรฐานอุตสาหกรรม • ผู้ขายและผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยที่ยอมรอให้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความเสถียรมากกว่านี้ ก่อนที่จะมีการใช้งานจริง • พฤติกรรมและความรู้สึกของผู้บริโภคที่ยังคงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากร้านค้าที่มีอยู่จริง มาเป็นร้านค้าแบบเสมือน อีกทั้งผู้คนส่วนใหญ่ยังขาดความเชื่อมั่นต่อการซื้อขายสินค้าที่มิได้สัมผัสกับตัวสินค้าจริง ๆ รวมถึงการที่ผู้ซื้อมิได้พบปะกับผู้ขายโดยตรง เมนู
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ • บริกแอนด์มอร์ตาร์ (Brick and Mortar) เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม มีเพียงโครงสร้างที่เป็นกายภาพ คือ เมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจะต้องเดินทางมาที่ร้าน จากนั้นก็เลือกซื้อสินค้าและคำระเงินที่นั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินธุรกิจแบบออฟไลน์ที่มิได้ซื้อขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) • คลิกแอนด์มอร์ตาร์ (Click and Mortar) เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบผสมผสาน มีทั้งโครงสร้างเชิงกายภาพและดิจิตอลรวมเข้าด้วยกัน ตัวอย่าง ร้านหนังสือนายอินทร์มีหน้าร้านเปิดดำเนินการจริงในขณะเดียวกันก็เปิดเว็บไซต์ www.naiin.comในส่วนของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการบริการออนไลน์เข้าไปด้วย
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) • คลิกแอนด์คลิก (Click and Click) เป็นการดำเนินธุรกิจแบบดิจิตอลเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีร้านค้าตั้งอยู่จริง เมื่อลูกค้าต้องการซ้อสินค้าต้องดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ จากนั้นผู้ขายก็จะจัดส่งสินค้าถึงผู้รับ เมนู
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์กับคู่ค้า สามารถแบ่งได้ 6 ประเภท • ภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ (Business to Business : B2B) • ภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) • ภาคธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) • ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) • รัฐบาลกับประชาชน (Government to Citizens : G2C) • รัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government : G2G)
ภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ(Business to Business : B2B)
ภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C)
ภาคธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G)
ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C)
รัฐบาลกับประชาชน (Government to Citizens : G2C)
รัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government : G2G)
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) แบ่งตามรูปแบบการค้า สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท • รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) • ร้านค้าปลีกออนไลน์ (E-Retailing) • การประมูลสินค้า (Auction) • ประกาศซื้อขายสินค้า (Web Board/e-Classified) • ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace)
รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue)
ร้านค้าปลีกออนไลน์ (E-Retailing)
ประกาศซื้อขายสินค้า (Web Board/e-Classified)
ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) เมนู
ขั้นตอนพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นตอนพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ • สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Search Engines) • วางแผนการตลาดและพัฒนาเว็บไซต์ (Planning and Development) • นำเว็บไซต์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต (Install) • โฆษณาและประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion) • บริการหลังการขาย การปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ (Evaluation and Maintenance) เมนู
ระบบการชำระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระบบการชำระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีวิธีการชำระเงินอยู่ 2 รูปแบบ คือ • การชำระเงินแบบออนไลน์ เป็นระบบที่ผู้ซื้อสามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที เช่น การใช้บัตรเดบิต การใช้บัตรเครดิตหรือชำระผ่านธนาคารมือถือ (M-Banking) • การชำระเงินแบบออฟไลน์ เป็นระบบที่ผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าหรือบริการให้กับผู้ขายโดยวิธีปกติ เช่น การโอนเงินผ่านธนาคาร
ตัวอย่างระบบการชำระเงินตัวอย่างระบบการชำระเงิน • ระบบการชำระเงินแบบโอนผ่านบัญชีธนาคาร • การโอนผ่านธนาคารแบบปกติและ ATM • ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Internet Banking หรือ I-Banking) • ระบบการชำระเงินแบบโอนผ่านบัตรเครดิต • ระบบชำระเงินผ่านเว็บไซต์ตัวกลาง • เพย์พาล (Paypal) • เพย์สบาย (PaySbuy) • การชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Payment) เมนู
การรักษาความปลอดภัยให้กับระบบการชำระเงินการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบการชำระเงิน โดยทั่วไปการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบชำระเงิน ได้แก่ • Secure Sockets Layer (SSL) • ระบบความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต (Secure Electronic Transaction : SET) • ระบบ MasterCard Secure Code เมนู
ภัยคุกคามในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภัยคุกคามในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา • การโกง • การโกงของมือสองออนไลน์ • สแปม (Spam) • การละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค เมนู