420 likes | 1.36k Views
เรียนรู้ตัวเรา. นาง จารุณี คำวันดี โรงเรียนประชา นิมิตร พิทยานุ กูล. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์. การเจริญเติบโต หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระโครงสร้างของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ. การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกาย.
E N D
เรียนรู้ตัวเรา นางจารุณี คำวันดี โรงเรียนประชานิมิตรพิทยานุกูล
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ การเจริญเติบโตหมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระโครงสร้างของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกาย นักเรียนทั้งเพศชายและเพศหญิงกำลังเจริญเติบโต อยู่ในช่วง อายุ 9 -12 ปี นี้บางทีเรียกว่า "วัยแรกรุ่น" หรือ วัยก่อนวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่สังเกตได้ชัดก็คือจะมีการเพิ่มของน้ำหนัก ส่วนสูง ขนาดลำตัว ศีรษะ กระดูก ฟัน อวัยวะเพศ และกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อต่างๆ การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายดังกล่าวเหล่านี้ จะมีความแตกต่างจากการเจริญเติบโตในช่วงอายุ 7-9 ปี อย่างชัดเจน
น้ำหนัก อัตราการเพิ่มน้ำหนักในช่วงวัยเรียนค่อนข้างจะคงที่ โดยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วงอายุ 6-9 ปี แต่จะเพิ่มเร็วขึ้นเมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 10 ในเรื่องของน้ำหนักนี้ เราสามารถจะทราบได้ว่าน้ำหนักของตัวเราจะเป็นไปอย่างปกติหรือไม่ โดยดูจากมาตรฐานของเด็กวัยเรียนที่กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้ทำไว้ซึ่งเป็นการพิจารณาจากน้ำหนักเทียบกับอายุ
ส่วนสูง โดยทั่วไปส่วนสูงของเด็กวัยเรียนนั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมแล้ว สภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ โดยจะเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 4-5 เซนติเมตร ส่วนสูงของเราก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆในช่วงแรก และจะเพิ่มขึ้นเร็วเมื่ออายุ 10-12 ปี แต่จากนั้นไปแล้วส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น
ตาราง เกณฑ์น้ำหนักและส่วนสูงของเด็กไทยอายุ 9- 12 ปี
รูปร่าง 1. ระยะยืดตัว เป็นการเจริญเติบโตทางด้านความสูง ซึ่งระยะนี้จะสูงมากจึงดูลักษณะค่อนข้างจะผอมสูง ซึ่งทั้งหญิงและชายจะมีรูปร่างผอมโปร่งคล้ายกัน ดังจะพบได้ในเด็กหญิงอายุประมาณ 9-12 ปี และเด็กชายอายุประมาณ 12 - 14 ปี
รูปร่าง 2. ระยะค่อนข้างอ้วน เป็นช่วงที่ร่างกายมีเนื้อหนังเต็มขึ้น น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นมากจึงทำให้มองดูอ้วนกว่าในระยะยืดตัว ซึ่งจะพบในเด็กหญิงอายุราว 12-13 ปี และเด็กชายราว 14-15 ปี
ความหมายของพัฒนาการและพัฒนาการด้านต่างๆความหมายของพัฒนาการและพัฒนาการด้านต่างๆ พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่แรกจนตลอดชีวิต ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจควบคู่กัน
พัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาการทางด้านร่างกาย วัยแรกรุ่น (อายุ 9- 12 ) เป็นวัยที่เริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในเพศหญิง เริ่มตั้งแต่อายุ 10 ปี ส่วนเพศชายเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยมีลักษณะทางเพศชัดเจนขึ้น การพัฒนาทางสมองถึงขั้นสูงสุด การทำงานของฮอร์โมนเพศมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง น้ำหนัก และทรวดทรงร่างกายอย่างรวดเร็ว
พัฒนาการด้านสติปัญญา วัยแรกรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางสติปัญญามากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น เช่น • มีความเข้าใจในสัญลักษณ์และสิ่งที่เป็นนามธรรมมากกว่าวัยเด็ก • มีความกระตือรือร้นมากขึ้น • มีความสามารถในใช้ความคิดของตนเอง ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล • สามารถจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ • เริ่มสนใจการอ่านหนังสือต่าง ๆ เช่น นวนิยาย การ์ตูน
พัฒนาการทางด้านอารมณ์ วัยแรกรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์ของวัยรุ่นมักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่ค่อยมีเหตุผล เช่น โกรธง่าย ดีใจง่าย เป็นต้น ทำให้เกิดการแสดงออกที่ไม้เหมาะสม
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์ของวัยรุ่น 1. สนใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จึงเอาใจใส่ตนเองและเริ่มมองเพศตรงข้าม โดยเด็กหญิงจะเริ่มสนใจเพศตรงข้ามเร็วกว่าเด็กชาย 2. เลียนแบบคนที่ประทับใจ เช่น ครูอาจารย์ ดารา เป็นต้น 3. ไม่ชอบบังคับ ต้องการเป็นตัวของตนเองมากขึ้น ต้องการตัดสินใจด้วยตนเอง 4. ชอบอยู่กับกลุ่มเพื่อน ต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
การทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย มีการแบ่งเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ กล้ามเนื้อยึดกระดูก เป็นกล้ามเนื้อที่ติดกับโครงกระดูก เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง
กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง
กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายใน เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา
การดูแลรักษาระบบกล้ามเนื้อการดูแลรักษาระบบกล้ามเนื้อ • 1. รับประทานอาหารที่มีสารอาหารประเภทโปรตีนเพื่อให้กล้ามเนื้อ เจริญเติบโตเต็มที่ 2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3. ใช้กล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี เช่นไม่ใช้กล้ามเนื้อในการทำงานหนักเกินไป
ระบบกระดูก ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นระบบที่มีความแข็งแรงแต่สามารถยืดหยุ่นได้ จึงทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ แล้วยังช่วยป้องกันอวัยวะภายในด้วย โครงกระดูก เป็นโครงร่างส่วนแข็งของร่างกาย และมีน้ำหนักเบา กระดูกมีส่วนประกอบของน้ำ แคลเซียมคาร์บอเนต และแคลเซียมฟอตเฟสในช่วงวัยเด็ก ร่างกายจะมีโครงกระดูกอยู่ประมาณ 300 ชิ้น
วิธีการดูแลกระดูก 1. การออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงครับไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง แอโรบิคเล่นเทนนิส ยกเวท กระโดด เชือก ช่วยเสริมความหนาแน่นให้กระดูกได้ 2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับกระดูกและฟัน โดยเฉพาะแคลเซียมในนมและผลิตภัณฑ์จากนม