831 likes | 2.49k Views
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย. ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี E-mail: rastj@mahidol.ac.th. วัตถุประสงค์. อธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของกฎหมายได้ อธิบายระบบ ประเภท และลำดับชั้นของกฎหมายได้
E N D
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี E-mail: rastj@mahidol.ac.th
วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของกฎหมายได้ • อธิบายระบบ ประเภท และลำดับชั้นของกฎหมายได้ • อธิบายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย และการอุดช่องว่างของกฎหมายได้
ทำไมพยาบาลต้องเรียนกฎหมายทำไมพยาบาลต้องเรียนกฎหมาย กฎหมายคืออะไร
ความหมายของกฎหมาย • “กฎหมาย” ต้องพิจารณาว่าเป็น • “กฎหมายตามพิธี” หรือ • “กฎหมายตามเนื้อความ” • “กฎหมายตามเนื้อความ” กฎเกณฑ์ข้อบังคับ ออกโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจในองค์กร เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลหากฝ่าฝืน ย่อมมีความผิด อาจได้รับโทษ หรือเสียผลประโยชน์บางประการ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ลักษณะ/ องค์ประกอบของกฎหมาย • ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ • ออกโดยรัฐ รัฐฐาธิปัตย์ หรือผู้มีอำนาจในองค์กร • บังคับพฤติกรรมของมนุษย์ • มีสภาพบังคับ/ โทษ (sanction) แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ปุจฉา • คณะรักษาความสงบแห่งชาติห้ามประชาชนชุมนุมทางการเมือง มิฉะนั้นมีความผิดตามกฎอัยการศึก ผู้มีอำนาจ ->……….. คำสั่ง -> .................. สั่งใคร -> ………….. สภาพบังคับ ->.........
ปุจฉา • สภาการพยาบาลห้ามบุคคลภายนอกประกอบวิชาชีพการพยาบาล มิฉะนั้นต้องได้รับโทษจำคุกหรือปรับ ผู้มีอำนาจ ->……….. คำสั่ง -> .................. สั่งใคร -> ………….. สภาพบังคับ ->......... ใช่ กฎหมายหรือเปล่านะ!
ปุจฉา ข้อใดไม่ใช่กฎหมาย ก. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข. ประกาศสภาพยาบาลเชิญชวนสมาชิกเดินเทิดพระเกียรติ ค. ข้อบังคับสภาพยาบาลว่าด้วยการสะสมหน่วยกิตการศึกษา ง. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการป้องกันเชื้อไข้หวัดนก
ความสำคัญของกฎหมาย • ควบคุมและกำหนดบทบาทและพฤติกรรมของบุคคลในสังคม • สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย และความสงบในสังคม • ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม • รู้สิทธิหน้าที่ของตน และระวังการกระทำความผิดจากการไม่รู้กฎหมาย แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ระบบของกฎหมาย • กฎหมายจารีตประเพณี / กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (common law system) • กำเนิดจากชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศอังกฤษ • อาศัยบรรทัดฐานจากคดีที่คล้ายคลึงกัน • คำตัดสินของผู้พิพากษา (judge made law) -> กฎหมาย • พิจารณาคดีเฉพาะเรื่อง ไปสู่เรื่องทั่วไป (induction) • สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย • กฎหมายลายลักษณ์อักษร/ ประมวลกฎหมาย (civil law system) แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ระบบของกฎหมาย • กฎหมายลายลักษณ์อักษร/ ประมวลกฎหมาย (civil law system) • กำเนิดจากชาวโรมัน • คำพิพากษาของศาล และการตีความของนักปราชญ์ทางกฎหมาย • อธิบายการใช้กฎหมาย เพื่อปรับเข้ากับคดี • การตีความต้องพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย และใช้หลักเหตุผล • พิจารณาคดีจากหลักเกณฑ์ทั่วไปสู่เฉพาะรื่อง (deduction) • รัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมาย • ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี เยอรมัน เดนมาร์ค ออสเตรีย สเปน โปรตุเกสสวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ไทย จีน แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ประเภทของกฎหมาย: ความสัมพันธ์ • กฎหมายมหาชน -> รัฐเหนือเอกชน มุ่งสาธารณะประโยชน์ • รัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายปกครอง ธรรมนูญศาลยุติธรรม • กฎหมายเอกชน-> คู่กรณีเท่าเทียมกัน • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ • กฎหมายระหว่างประเทศ -> กำเนิดจากประเพณี สนธิสัญญาระหว่างประเทศ • แผนกคดีเมือง -> ความสัมพันธ์ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่มหาชน • แผนกคดีบุคคล -> ความสัมพันธ์ของบุคคลต่างรัฐในทางแพ่ง สิทธิหน้าที่ • แผนกคดีอาญา -> ความสัมพันธ์ในคดีอาญาของบุคคล ที่กระทำผิดต่อเนื่องในหลายประเทศ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ประเภทของกฎหมาย: พื้นฐานกฎหมาย • กฎหมายวิธีสารบัญญัติ (Substantive law) -> ลักษณะความผิด และโทษ • ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ • กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective law หรือ Procedural Law) -> วิธีการดำเนินอรรถคดีตั้งแต่แรกเริ่มจนเสร็จสิ้น • กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ปุจฉา ข้อใดเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและเอกชน ก. รัฐธรรมนูญ ข. ประมวลกฎหมายอาญา ค. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ง. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2540
ลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษรลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญ กฎหมายแม่บท ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหาร พระราช กำหนด พระราช บัญญัติ ประมวล กฎหมาย ออกโดยฝ่ายบริหาร พระราชกฤษฎีกา ออกโดยรัฐมนตรี กฎกระทรวง ออกโดยหน่วยงาน/ องค์กร ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2555; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556
ลำดับชั้นของกฎหมาย(Hierarchy of law) • รัฐธรรมนูญ • กฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นขัดแย้งไม่ได้ • กฎหมายแม่บทของกฎหมายปกครองประเทศ • วางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย • หากต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ได้บัญญัติไว้ • พระราชบัญญัติ • เสนอร่างโดย คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร • ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา • นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ลำดับชั้นของกฎหมาย • ประมวลกฎหมาย • รวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรเรื่องเดียวกันอย่างเป็นระบบ • ง่ายต่อการศึกษา ค้นคว้า นำไปประยุกต์ ปรับปรุง หรือแก้ไขกฎหมาย • พระราชกำหนด • ออกโดยฝ่ายบริหาร กรณีฉุกเฉิน / กรณีจำเป็น • เพื่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ • เสนอพระราชกำหนดต่อรัฐสภา • ถ้าได้รับอนุมัติ จะมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติ • ถ้าไม่อนุมัติ ยกเลิก แต่ไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมที่ได้กระทำไป แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ลำดับชั้นของกฎหมาย • พระราชกฤษฎีกา • ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติ • ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ • มีอำนาจบังคับใช้ แต่ไม่สามารถมีบทกำหนดโทษ • กฎกระทรวง • ออกโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวง • อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ • ไม่ต้องผ่านรัฐสภา แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี • ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ลำดับชั้นของกฎหมาย • กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร/ เมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ และข้อบังคับสุขาภิบาล • แนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน • Tip • กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า จะออกตามฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า และมีเนื้อหาไม่เกินขอบเขตอำนาจ • กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะลบล้าง หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่าไม่ได้ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ปุจฉา สภาการพยาบาลต้องการออกกฎหมาย เพื่อให้พยาบาลต้องต่อใบอนุญาตฯ ต้องออกเป็นกฎหมายใด • ประมวลกฎหมาย • ข้อบังคับสภา • กฎกระทรวง • พระราชกฤษฎีกา
ปุจฉา พระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด ก. นับแต่วันที่รัฐสภาเห็นชอบ ข. ตามวันเวลาที่ระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา ค. ตามวันเวลาที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงกำหนด ง. นับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย
ปุจฉา พระราชกำหนดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ของรัฐบาล ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร • ยกเลิก ทำให้กิจการต่างๆ กลับคืนฐานะเดิม • ยกเลิก กิจการต่างๆ ที่ทำไปแล้ว ไม่เกิดผลกระทบ • รอ ๓๐ วัน แล้ว รัฐสามารถประกาศเป็น พรบ. • เสนอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา
การบังคับใช้กฎหมาย • ใช้บังคับกับประชาชนชาวไทยทุกคน และคนต่างชาติที่อยู่ในอาณาเขต ยกเว้น • พระมหากษัตริย์ ประมุขของรัฐต่างประเทศ และข้าราชบริพารที่เยี่ยมเยียนทางการฑูต สมาชิกในสถานฑูต ครอบครัว และบริวาร • ในกรณีปกติจะมีผลบังคับใช้ • ตามวันที่ระบุในกฎหมาย • หากไม่ระบุ ให้ถือวันถัดไปจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา • ในกรณีเร่งด่วน จะมีผลบังคับใช้ทันที • ห้ามออกกฎหมายลงโทษ หรือเพิ่มโทษแก่บุคคลเป็นการย้อนหลัง ยกเว้น • กรณีที่ย้อนหลังเป็นคุณ • เพื่อเป็นมาตรการป้องกันภยันตราย แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
การยกเลิกกฎหมาย • โดยชัดแจ้ง • ระบุวันที่ยกเลิกกฎหมาย • กฎหมายฉบับใหม่ที่มีศักดิ์เท่าทียมหรือสูงกว่า • รัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด • โดยปริยาย • กฎหมายเรื่องเดียวกัน 2 ฉบับ มีข้อความขัดแย้ง ไม่ระบุวัน • ถ้าศักดิ์เท่ากัน ฉบับเก่าจะถูกยกเลิก • ถ้าศักดิ์ต่างกัน กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะถูกยกเลิก แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
การตีความกฎหมาย • ใคร? -> บุคคลที่จะตีความกฎหมาย ได้แก่ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ • เมื่อไร? -> เมื่อเกิดความสงสัยเกี่ยวกับความหมายของบทบัญญัติ • อะไร? -> การตีความของกฎหมาย • การตีความตามอักษร -> การถอดความหมายของถ้อยคำหรือคำศัพท์ • การตีความตามเจตนารมณ์ -> การพิจารณาถึงเหตุผลหรือความมุ่งหมายของกฎหมาย แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
การอุดช่องว่างของกฎหมายการอุดช่องว่างของกฎหมาย • ช่องว่างของกฎหมาย -> ปัญหาของกฎหมายลายลักษณ์อักษร • สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง • ผู้บัญญัติกฎหมายตั้งใจให้มีช่องว่าง -> อาจเกิดผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหา แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
การอุดช่องว่างของกฎหมาย: กฎหมายอาญา • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรค 1 ระบุว่า "บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้" • ภาษิตกฎหมาย “ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย (no penalty without a law)” • ในทางอาญา: กฎหมายต้องบัญญัติว่า การกระทำของบุคคลนั้นเป็นความผิด อันมีโทษ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีผิด และโทษ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
การอุดช่องว่างของกฎหมาย: กฎหมายแพ่ง • กฎหมายแพ่ง -> เมื่อรับฟ้องคดี ศาลต้องตัดสิน แม้ไม่มีบทบัญญัติ • การอุดช่องว่างของกฎหมายแพ่ง • จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น • บทกฎหมายที่ใกล้เคียง • หลักกฎหมายทั่วไป (ปพพ. มาตรา 4 วรรค 2 ) ปพพ. มาตรา 134 ระบุว่า "ไม่ว่าในกรณีใดๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษา หรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี โดยอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้น เคลือบคลุมหรือไม่บริบูรณ์“ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548
ปุจฉา ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย • กฎหมายอาญาเพิ่มโทษ ย้อนหลังได้ • กฎหมายอาญาต้องมีระบุความผิด จึงมีโทษ • เมื่อศาลรับฟ้อง หากไม่มีกฎหมายแพ่งระบุ ยกประโยชน์ให้จำเลย • กฎหมายไทยบังคับใช้กับทุกคนในประเทศไทย เว้นเด็ก
ปุจฉา หากไม่มีกฎหมายแพ่งระบุว่าการกระทำมีความผิด ศาลที่รับฟ้องต้องใช้หลักกฎหมายใดอันดับแรก ก. จารีตประเพณี ข. กฎหมายทั่วไป ค. กฎหมายใกล้เคียง ง. รัฐธรรมนูญ
รายการอ้างอิง แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2556). กฎหมายสำหรับพยาบาล. สมุทรปราการ: Offset Plus, หยุด แสงอุทัย. (2548). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพรึก.
วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของกฎหมายได้ • อธิบายระบบ ประเภท และลำดับชั้นของกฎหมายได้ • อธิบายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย และการอุดช่องว่างของกฎหมายได้