300 likes | 446 Views
พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 “มาตรา 39 วรรค 2” ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้ว จะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
E N D
พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 “มาตรา 39 วรรค 2” ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้ว จะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน หมายเหตุ : ศึกษารายละเอียด พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 ได้ที่ www.gpf.or.th
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 (1) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และมาตรา 39 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
(ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 1 ในประกาศนี้ “เงินสะสมส่วนเพิ่ม” หมายความว่า เงินสะสมที่สมาชิกประสงค์จะส่งเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนด ในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2539
(ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 2 สมาชิกที่มีความประสงค์จะส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์เป็นอัตราร้อยละของ เงินเดือนที่เป็นจำนวนเต็มแบบไม่มีทศนิยมตามแบบ ที่เลขาธิการกำหนดต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหักเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้น ได้รับตามอัตราที่สมาชิกแจ้ง และส่งเข้ากองทุน ในวันที่มีการจ่ายเงินเดือนตั้งแต่เดือนถัดไป
(ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 3 สมาชิกที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกอัตรา เงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์ได้ปีละ 1 ครั้ง ตามแบบที่เลขาธิการกำหนดต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดในเดือนธันวาคมของทุกปี และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามความประสงค์ ของสมาชิกผู้นั้นตั้งแต่เดือนมกราคมปีถัดไป กรณีที่สมาชิกมีเหตุจำเป็นจะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่มแตกต่างไปจากกรณีในวรรคแรก ให้เป็นดุลยพินิจ ของส่วนราชการต้นสังกัดที่จะดำเนินการ
(ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 4 การนำส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มของส่วนราชการ ให้ดำเนินการพร้อมการส่งเงินสะสมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยนำส่งตามกระบวนการและขั้นตอนเดียวกับการส่งเงินสะสมและเงินสมทบตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
(ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 5 สมาชิกจะมีสิทธิได้รับเงินสะสมส่วนเพิ่มพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เมื่อ สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
ขั้นตอนการออมเพิ่ม • สมาชิกสามารถขอแบบฟอร์มการออมเพิ่ม “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ได้ 3 ช่องทาง คือ • 1. หน่วยงานต้นสังกัด • (ผ่านเจ้าหน้าที่กองการเงิน • หรือเจ้าหน้าที่กองการเจ้าหน้าที่) • 2. WebSite กบข. www.gpf.or.th • 3. ติดต่อ กบข. 1179 กด 6
การกรอก “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” กรอกรายละเอียด ในส่วนที่ 1 ให้ครบถ้วน
การกรอก “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” เลือกความประสงค์ ที่จะออมเพิ่ม (ส่วนที่ 2)
การกรอก “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” อ่านเงื่อนไข พร้อมลงลายมือชื่อ (ส่วนที่ 3)
การจัดส่ง “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ในส่วนของการจัดส่งแบบฟอร์ม สมาชิกจะต้อง ยื่นเอกสารต่อหน่วยงานต้นสังกัดเท่านั้น โดยหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้เก็บรักษา “แบบแจ้ง ความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ไว้เป็นหลักฐานไม่ต้องนำส่งให้ กบข.
การดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัดการดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้มีหน้าที่หักเงินสะสมส่วนเพิ่มของสมาชิกจากเงินเดือนและนำส่งให้ กบข. ด้วยช่องทางเดียวกับระบบการนำส่งเงินที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงาน ต้นสังกัดจะบันทึกข้อมูลในระบบ MCS / ระบบจ่ายตรงตามที่สมาชิกกรอกไว้ในแบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม ที่สมาชิกแจ้งในแบบ พร้อมจัดส่งข้อมูลการนำส่งเงินประจำเดือนมายัง กบข. ตามระบบงานที่ใช้
การตรวจสอบข้อมูล การนำส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม สมาชิกสามารถตรวจสอบยอดเงินนำส่งเงินสะสม และเงินสะสมส่วนเพิ่มได้จาก 1. สลิปเงินเดือน 2. ผ่านบริการ GPF WEB SERVICE เมนู ตรวจสอบยอดเงินปัจจุบัน และ เมนู ใบแจ้งยอดเงินสมาชิก 3. ใบรับรองใบแจ้งยอดเงินประจำปี
สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่มสรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม 1. เป็นสมาชิก กบข. ประเภทส่งเงิน “สะสม” เท่านั้น 2. เพิ่มจากเงินสะสมเดิม ตั้งแต่ 1% – 12% (โดยไม่มีจุดทศนิยม) ยกตัวอย่าง นาย ก เงินเดือน 9,780 บาท ต้องการสะสมเพิ่มอีก 2% = (ใหม่) สะสม 2% = 195.6 บาท (เดิม) สะสม 3% = 293.4 บาท เพราะฉะนั้น นาย ก สะสม 5% = 2% ที่ไม่มีทศนิยม + 3% ที่ไม่มีทศนิยม = 195 + 293 ดังนั้น นาย ก ถูกหักเงินสะสม = 488 บาท / เดือน 3. คำนวณเงินสะสมส่วนเพิ่ม แยกจากเงินสะสมปกติ (3%) 4. เงินสมทบและเงินชดเชย ในส่วนรัฐบาลคงเดิม คือ เงินสมทบ 3% เงินชดเชย 2%
สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่มสรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม 5. แจ้งความประสงค์ที่ต้นสังกัด โดยใช้แบบฟอร์ม “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” 6. เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่ 7. เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่ม หรือยกเลิกเงินสะสมส่วนเพิ่ม ทุกเดือนมีผลใช้เดือนมกราคม ธันวาคมของปีถัดไป เดือนมีนาคม เป็นต้นไป หักเงินสะสม ส่วนเพิ่มเดือนถัดไป
สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่มสรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม 8. หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้เก็บ “แบบแจ้งความประสงค์ ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ไว้เป็นหลักฐาน 9. หน่วยงาน ต้นสังกัด 10. เงินสะสม ส่วนเพิ่ม นำส่งเงิน กบข. ทำหน้าที่หักเงินสะสมส่วนเพิ่มจากสมาชิก ได้รับเมื่อ พ้น สมาชิกภาพ
? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถออมเงินสะสมส่วนเพิ่มจากเดิมได้อีกกี่เปอร์เซ็นต์ คำตอบ ออมเงินสะสมส่วนเพิ่มได้ ตั้งแต่ 1% ถึง 12% โดยต้องเป็นตัวเลขจำนวนเต็มไม่มีจุดทศนิยม และเมื่อรวมกับเงินสะสมปกติแล้วจะไม่เกิน 15%
? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถขอเอกสารแบบแจ้งความประสงค์ ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มได้จากไหน คำตอบ ดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ กบข. ที่ www.gpf.or.th หน่วยงานต้นสังกัด และ ที่ กบข. 1179 กด 6
? คำถามเด่นออมเพิ่ม เงินสะสมส่วนเพิ่มของสมาชิกจะได้รับการ ยกเว้นภาษีด้วยหรือไม่ คำตอบ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในส่วนของเงินสะสมส่วนเพิ่มรวมกับเงินสะสมเดิม 3% ที่ส่งเข้า กบข. ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน และไม่เกิน 300,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
? คำถามเด่นออมเพิ่ม การคิดผลประโยชน์ในส่วนของเงินสะสมส่วนเพิ่มคิดอย่างไร คำตอบ สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของ กบข. ตามอัตราผลประกอบการในปีนั้น ๆ ซึ่งผลประโยชน์ของเงินสะสมส่วนเพิ่มจะได้รับในอัตราเดียวกันกับ เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย โดยคำนวณ ผลประโยชน์ตั้งแต่วันแรกที่ กบข.ได้รับเงินจากสมาชิก
? คำถามเด่นออมเพิ่ม เอกสารแบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มจะต้องส่งที่ไหน คำตอบ ส่งได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด และควรสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งชุด
? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถแจ้งความประสงค์เงินสะสมส่วนเพิ่มได้ตั้งแต่เมื่อไร คำตอบ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นไป โดยหน่วยงานต้นสังกัดจะทำการหักเงิน สะสมส่วนเพิ่มนำส่ง กบข. ในเดือนถัดไป
? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่ม หรือยกเลิกได้หรือไม่ คำตอบ สามารถทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยยื่นแบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม (ซึ่งเป็นแบบฟอร์มเดียวกันกับการกรอกแบบในครั้งแรก และส่งเอกสารภายใน เดือนธันวาคม และจะมีผลในเดือนมกราคมของปีถัดไป
? คำถามเด่นออมเพิ่ม หน่วยงานภาครัฐจะสมทบเงินเพิ่มเติมเท่ากับ เงินสะสมส่วนเพิ่มหรือไม่ คำตอบ ไม่มีการสมทบเงินเพิ่มเติมให้แก่เงินสะสมส่วนเพิ่ม หน่วยงานภาครัฐจะยังคงส่งเงินสมทบให้แก่สมาชิก ในอัตราเท่าเดิม คือ 3%
? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถขอเงินคืนในส่วนของเงินสะสม ส่วนเพิ่มก่อนลาออกจากราชการได้หรือไม่ คำตอบ ไม่สามารถขอรับเงินสะสมส่วนเพิ่มคืน ระหว่างการเป็นสมาชิก กบข. ได้ ซึ่งการรับเงินสะสมส่วนเพิ่มนี้สมาชิก จะได้รับเมื่อพ้นสมาชิกภาพเท่านั้น
? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถนำส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มให้ กบข. โดยตรงได้หรือไม่ คำตอบ ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากหน่วยงานต้นสังกัด จะเป็นผู้มีหน้าที่หักเงินสะสมส่วนเพิ่มของสมาชิก จากเงินเดือน และนำส่งให้ กบข. ด้วยช่องทางเดียวกับระบบการนำส่งเงินที่ใช้ในปัจจุบัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายสื่อสารสมาชิกและประชาสัมพันธ์ โทร. 1179 กด 6 หรือที่ member@gpf.or.th