1 / 15

การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล สู่ท้องถิ่น (อปท.)

การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล สู่ท้องถิ่น (อปท.). นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพ็ญ. ความเป็นมา.

rad
Download Presentation

การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล สู่ท้องถิ่น (อปท.)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล สู่ท้องถิ่น (อปท.) นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพ็ญ

  2. ความเป็นมา เริ่มแรก ได้กำหนดพระราชบัญญัติ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ แผนปฏิบัติการฯ พ.ศ. 2545 โดย ได้กำหนดรายละเอียดที่สำคัญไว้ 2 กลุ่ม คือ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ขึ้นมารองรับการถ่ายโอนสถานบริการสุขภาพ 2. การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวม 34 ภารกิจ จาก 7 กรม

  3. ความเป็นมา (ต่อ) จนถึงกุมภาพันธ์ 2548 ได้มีการถ่ายโอนภารกิจบางส่วน ได้ดำเนินงานจำนวน 7 ภารกิจโดย ภารกิจที่ 1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถ่ายโอนภารกิจจำนวน 1 ภารกิจ คือ สนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตัดโอนไปตั้งที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภารกิจที่ 2 -7 กรมอนามัย ถ่ายโอนภารกิจ 6 ภารกิจ คือ 1.) การแก้ไขปัญหาเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2.) การจัดหาและพัฒนาน้ำสะอาด (สนับสนุนวัสดุ) งบ-ประมาณตัดโอนไป อปท. และภารกิจอยู่ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  4. ความเป็นมา (ต่อ) 3.) การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก 4.) การส่งเสริมสุขภาพเด็กกลุ่มวัยเรียนและเยาวชน 5.) การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน 6.) การส่งเสริมสุขภาพเด็กและกลุ่มวัยผู้สูงอายุ เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นพ.มงคล ณ สงขลา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ได้กำหนดทิศทางการกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขชัดเจนขึ้น

  5. หลักในการกระจายอำนาจ 1. มุ่งประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยมุ่งให้ อปท. มีศักยภาพระยะยาวในการตัดสินใจ และดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพให้เกิดผลดียิ่งขึ้นกว่าก่อนการกระจายอำนาจ และเพื่อให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่เสมอภาค มีประสิทธิภาพ และคุณภาพดี 2. มุ่งระบบที่ยืดหยุ่นมีพลวัต โดยให้มีความยืดหยุ่นตามศักยภาพ ความเป็นไปได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง และเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาสุขภาพ

  6. 3. มุ่งระบบที่มีส่วนร่วม โดยการสร้างกลไกและกระบวนการที่มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง ทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนในท้องถิ่น โดยตัดสินใจร่วมกันด้วยกระบวนการปรึกษาหารือ บนพื้นฐานของความปรารถนาดี ความรัก ความเมตตา และขันติ หลีกเลี่ยงอัตตา

  7. จุดมุ่งหมายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ สู่ อบท. ความปรารถนาดี ความรัก ความเมตตา และขันติ หลีกเลี่ยงอัตตา

  8. ขั้นตอนในการโอนย้าย คณะกรรมการรับรองการถ่ายโอน รพ.สต(คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 715/2549) คณะอนุกรรมการเสนอ นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศ อบต. ส่งใบสมัครยื่นความประสงค์ขอรับการประเมินความ พร้อมตามแบบฟอร์ม กระทรวงสาธารณสุข แจ้งผลการพิจารณาและมอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาค ดำเนินการถ่ายโอนและรับโอนตามหลักเกณฑ์

  9. รูปแบบการถ่ายโอนภารกิจสู่ อปท. แบ่งได้ 2 แบบ

  10. ในปัจจุบันการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวส่วนใหญ่จะอยู่ รูปแบบที่ 1 เช่นเดียวกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้ถ่ายโอนสู่ท้องถิ่นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ได้รับงบประมาณ สนับสนุนจากทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ เป็นหลัก อีกทั้งได้รับความร่วมมือแบบภาคีเครือข่ายจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการถ่ายโอนภารกิจที่สำคัญสู่ อปท. ยังมีเจ้าหน้าที่ ที่พร้อมจะปฏิบัติงานในหน่วยบริการ เป็นผู้มีความชำนาญด้านการรักษาพยาบาล การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ

  11. แต่ในการปฏิบัติงานบางครั้ง ยังมีความจำเป็นต้องมีโรงพยาบาลแม่ค่ายที่ต้องสนับสนุนบางส่วน เช่น ทางด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน การฟื้นฟูอบรมให้ความรู้ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาชีพ ต่างๆ

  12. และการออกให้บริการบางสาขาวิชาชีพ เช่น งานทันตกรรม งานกายภาพบำบัด จะให้บริการประชาชนในพื้นที่ และฝึกฝนด้านวิชาชีพงานแพทย์แผนไทย

  13. การออกเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ จะเยี่ยมในกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยนอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

  14. และด้านทรัพยากรและงบประมาณ ซึ่งงบประมาณส่วนหนึ่งยังคงได้รับการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข เช่น การจัดสรรเงินค่ายา เงินเหมาจ่ายรายหัว (UC) และเงิน On top

  15. “ ทั้งนี้ การทำงานด้านสุขภาพ จะสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากสนับสนุนจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และประชาชน ถ้าทุกฝ่ายให้ความสำคัญ ปัญหาสุขภาพในชุมชนก็จะหมด ถ้าทุกฝ่ายร่วมกันแก้ไข ปัญหาโรคภัยก็จะไม่มี”

More Related