580 likes | 1.49k Views
การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. นายสรรเพชญ แสงเนตรสว่าง ผู้อำนวยการส่วนกำกับดูแลการทำธุรกรรม สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและสืบสวนทางการเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง. องค์การสหประชาชาติ Financial Action Task Force ;FATF
E N D
การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นายสรรเพชญ แสงเนตรสว่าง ผู้อำนวยการส่วนกำกับดูแลการทำธุรกรรมสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและสืบสวนทางการเงินสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้ององค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง องค์การสหประชาชาติ Financial Action Task Force;FATF The Asia/Pacific Group on Money Laundering;APG The Egmont Group of Financial Intelligence Units 2
การฟอกเงิน หมายถึง การนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาเปลี่ยนสภาพให้เป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาอย่างถูกต้อง หรือเรียกได้ว่า กระบวนการทำ “เงินสกปรก” ให้เปลี่ยนสภาพเป็น “เงินสะอาด” หรือ หมายถึง การเปลี่ยนสภาพเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้มาโดย ผิดกฎหมาย ให้ดูเสมือนว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การนำเงินสนับสนุนเพื่อการก่อการร้าย
อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ปปง. • ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ คณะกรรมการธุรกรรมและปฏิบัติงานธุรการอื่น • รับรายงานการทำธุรกรรมที่ส่งให้ตามหมวด ๒ และแจ้งตอบการรับรายงาน รวมทั้งการรับรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทาธุรกรรมที่ได้มาโดยทางอื่น • รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามข้อตกลงที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างหน่วยงานในประเทศหรือต่างประเทศ • กำหนดแนวทางปฏิบัติ กำกับ ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ของผู้มีหน้าที่รายงานการทาธุรกรรมต่อสานักงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด • เก็บ รวบรวมข้อมูล สถิติ ตรวจสอบ และติดตามประเมินผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และวิเคราะห์รายงานหรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรม และประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย • เก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ • จัดให้มีโครงการที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ การให้การศึกษา และฝึกอบรมในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือช่วยเหลือหรือสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีการจัดโครงการดังกล่าว
ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม 1. สถาบันการเงิน ได้แก่ • ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารตามที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ • บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหลักทรัพย์ • บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม • บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย • สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เฉพาะสหกรณ์ที่มีทุนดำเนินการ ซึ่งมีมูลค่าหุ้นรวมตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
นิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ได้แก่ 1. นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ 2. นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน 3. บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 4. บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ 5. นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 6. นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
(1) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (2) ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี เพชรพลอย หรือทองคำ (3) ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์(4) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (5) ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า 2 กรมที่ดิน 3. ผู้ประกอบอาชีพบางประเภท ได้แก่
(6) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (7) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (8) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (9) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
การรายงานธุรกรรม ธุรกรรม หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญา หรือการดำเนินการใดๆกับผู้อื่นทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน สถาบันการเงินมีหน้าที่ • รายงานธุรกรรมเงินสด • รายงานธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน • รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย • ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย” หมายความว่า - ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากระทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือ - ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย - ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และ -ให้หมายความรวมถึงการพยายามกระทำธุรกรรมด้วย - ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยไม่ได้ระบุมูลค่า/จำนวนครั้ง
การรายงานการทำธุรกรรมการรายงานการทำธุรกรรม • หากปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะเป็นประโยชน์ในการยืนยัน หรือยกเลิกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรมที่รายงานไปแล้ว ให้รายงานข้อเท็จจริงนั้นให้สำนักงานทราบโดยไม่ชักช้า • หากปรากฏภายหลังว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าธุรกรรมกระทำไปแล้วโดยไม่ได้รายงานเป็นธุรกรรมที่ต้องรายงานให้รายงานโดยไม่ชักช้า
แบบรายงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการ • แบบรายงานการทำธุรกรรมตามมาตรา 13 ของสถาบันการเงินให้ใช้ดังนี้ (1) แบบรายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสดให้ใช้แบบปปง. 1-01 (2) แบบรายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินให้ใช้แบบ ปปง. 1-02 (3) แบบรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยให้ใช้แบบ ปปง. 1-03 (4) แบบรายงานธุรกรรมการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้แบบ ปปง. 1-05-9 • หากเป็นธุรกิจด้านการประกันให้ใช้แบบรายงาน 1-04-1 1-04-2 และ1-04-3 ตามลำดับ กรณีที่การทำธุรกรรมใดไม่สามารถรายงานโดยใช้แบบดังกล่าวได้ ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. 1-01 แบบ ปปง. 1-02 และแบบ ปปง. 1-03 ได้โดยอนุโลม
แบบรายงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการ • แบบรายงานการทำธุรกรรมตามมาตรา 16 ของผู้ประกอบอาชีพให้ใช้ดังนี้ (1) แบบรายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสดให้ใช้แบบป.ป.ง. 1-05-1 ถึง 1-05-9 (2) แบบรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยให้ใช้แบบ ป.ป.ง. 1-05-10
ระยะเวลา หลักเกณฑ์ และวิธีการของสถาบันการเงิน • การรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสด และ ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินให้สถาบันการเงินรายงานโดยการส่งแบบรายงานที่ทำขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 และที่ทำขึ้นในระหว่างวันที่ 16 ถึงวันสิ้นเดือนไปยังสำนักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันถัดจากวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการทำธุรกรรมนั้น • การรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดให้ผู้ประกอบอาชีพรายงานโดยการส่งแบบรายงานไปยังสำนักงานภายในเดือนถัดไปของเดือนที่มีการทำธุรกรรมนั้น • การรายงานการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพรายงานโดยการส่งแบบรายงานไปยังสำนักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุอันควรสงสัย
ธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงานธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงาน (1) ธุรกรรมที่พระมหากษัตริย์พระบรมราชินีพระรัชทายาทหรือ พระบรมวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปเป็นคู่กรณี (2) ธุรกรรมที่รัฐบาลราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นคู่กรณี (3) ธุรกรรมที่มูลนิธิดังต่อไปนี้เป็นคู่กรณี (ก) มูลนิธิชัยพัฒนา (ข) มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ค) มูลนิธิสายใจไทย
ธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงานธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงาน (4) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์โดยทั่วๆไปที่ทำกับสถาบันการเงินเว้นแต่ (ก) ธุรกรรมที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (ข) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นเรือกำปั่นเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตัน ขึ้นไปเรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไปรวมทั้งแพด้วย (ค) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นยานพาหนะเครื่องมือหรือเครื่องจักรกลอื่นใด (5) การทำสัญญาประกันวินาศภัยเว้นแต่การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันวินาศภัยที่คาดว่าจะต้องจ่ายตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป (6) การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์ หรือการได้มาโดยการครอบครองหรือโดยอายุความตามมาตรา 1382 หรือมาตรา 1401 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงานธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงาน (7) ธุรกรรมการโอนเงินหรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใน/ระหว่างสถาบันการเงินหรือกับผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะที่ทำขึ้นเพื่อสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เว้นแต่กรณีเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (8) ธุรกรรมการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลูกค้ารายเดียวกันเว้นแต่กรณีเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (9) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับการบริการ ดังต่อไปนี้ (ก) การบริการรับชำระเงินแทนเฉพาะที่มีมูลค่าน้อยกว่าเจ็ดแสนบาท (ข) การบริการเครือข่ายบัตรเครดิต (ค) การบริการเครือข่ายอีดีซี (ง) การบริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน (จ) การบริการหักบัญชี (ฉ) การบริการชำระดุล (ช) การบริการหักบัญชีเช็ค ดราฟต์ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตราสารทางการเงินอื่น ๆ (ซ) ธุรกรรมที่ทำผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติหรือผ่านเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ เว้นแต่กรณีเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
การแสดงตนของลูกค้า สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพจัดให้ลูกค้าแสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ลูกค้าได้แสดงตนไว้ก่อนแล้วเพื่อการดำเนินการ • มีข้อมูลรู้จักว่าลูกค้าคือใคร (Customer Identification) • มีข้อมูลรู้ว่าลูกค้าประกอบอาชีพอะไร และมีรายได้ หรือผลกำไรเท่าไร(Customer’s career and income)
การจัดให้ลูกค้าแสดงตนการจัดให้ลูกค้าแสดงตน
การจัดให้ลูกค้าแสดงตนการจัดให้ลูกค้าแสดงตน
วิธีการแสดงตนของลูกค้าวิธีการแสดงตนของลูกค้า ข้อ 1 การแสดงตนของลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา อย่างน้อยต้องแสดงข้อมูลและหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและนามสกุล (2) วันเดือนปีเกิด (3) เลขประจำตัวประชาชน และในกรณีที่เป็นคนต่างด้าว ให้แสดงเลขหนังสือเดินทาง หรือเลขใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเลขเอกสารหลักฐานแสดงตนอื่นที่ออกหรือรับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ (4) ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ในประเทศไทยในกรณีที่เป็นคนต่างด้าว (5) เพศ (6) สัญชาติ (7) สถานภาพการสมรส (8) หลักฐานสำคัญประจำตัวบุคคลที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบอนุญาตขับขี่ รวมทั้งใบแทนหรือบัตรชั่วคราวที่ใช้ระหว่างรอการออกเอกสารดังกล่าวด้วย (9) หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารหลักฐานแสดงตนอื่นที่ออกหรือรับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือในกรณีที่เป็นคนต่างด้าว (10) อาชีพ สถานที่ทำงาน และหมายเลขโทรศัพท์ (11) สถานที่สะดวกในการติดต่อและหมายเลขโทรศัพท์ (12) ลายมือชื่อผู้ทำธุรกรรม
วิธีการแสดงตนของลูกค้าวิธีการแสดงตนของลูกค้า ข้อ 2 การแสดงตนของลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคล อย่างน้อยต้องแสดงข้อมูลและหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) ชื่อนิติบุคคล (2) ชื่อและนามสกุลของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล (3) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ในกรณีที่มี (4) สถานที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ (5) หลักฐานสำคัญแสดงตนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) สำหรับลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลทั่วไป ได้แก่ หนังสือรับรองการจดทะเบียนที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกินหกเดือน หรือในกรณีที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ได้แก่หลักฐานการเป็นนิติบุคคลที่หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือรับรองหรือออกให้ไม่เกินหกเดือน (ข) สำหรับลูกค้าที่เป็นส่วนราชการ องค์กรของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ หนังสือแสดงความจำนงในการทำธุรกรรม หรือหนังสือแต่งตั้งหรือมอบอำนาจ หรือ (ค) สำหรับลูกค้าที่เป็นสหกรณ์ มูลนิธิ สมาคม สโมสร วัด มัสยิด ศาลเจ้า และนิติบุคคลอื่นในลักษณะเดียวกันนี้ ได้แก่ หนังสือแสดงความประสงค์ในการทำธุรกรรม หนังสือแสดงการจดทะเบียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหนังสือแต่งตั้งหรือมอบอำนาจในการทำธุรกรรม (6) ประเภทการประกอบการ (7) ตราประทับของนิติบุคคล ในกรณีที่มี (8) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ในกรณีที่มี (9) ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล
การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า [Customer Due Diligence (CDD)] • สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) และ (9) ต้องดำเนินการ - กำหนดนโยบายการรับลูกค้าและนโยบายการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการฟอกเงินของลูกค้า • ต้องบริหารความเสี่ยง หรือจัดลำดับความเสี่ยงของลูกค้าต่อการฟอกเงิน โดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ - ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า - ตรวจทานบัญชีลูกค้า และการติดตามความเคลื่อนไหวทางบัญชีของลูกค้า
หน้าที่การเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมหน้าที่การเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม 4. การเก็บรักษาข้อมูลการแสดงตนและข้อมูลการตรวจสอบเพื่อ ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า • 5 ปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชี หรือ • 5 ปีนับแต่วันที่ยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า การเก็บรักษาบันทึกข้อเท็จจริงรายงานธุรกรรม • 5 ปีนับแต่ได้มีการทำธุรกรรม หรือ • 5 ปีนับแต่ได้มีการบันทึกข้อเท็จจริง (เว้นแต่จะได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่น)
บทบังคับทางกฎหมายของผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมบทบังคับทางกฎหมายของผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม • มาตรา 62 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 16 มาตรา 20 มาตรา 20/1 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 22/1 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง • มาตรา 63 ผู้ใดรายงานหรือแจ้งตามมาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 16 มาตรา 21 วรรคสอง โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความเป็นจริงที่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ • มาตรา 64/1 ความผิดตามมาตรา 62 มาตรา 63 ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่คณะกรรมการแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้
การปฎิบัติงานของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายการปฎิบัติงานของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ปปง. • ให้คำแนะนำหรือชี้แจงแนวทางการปฏิบัติแก่ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ • ติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ รวมถึงการดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ • รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามกฎหมายนี้หรือตามกฎหมายอื่น • เก็บรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการยึด อายัด หรือริบทรัพย์สินตามกฎหมายนี้หรือตามกฎหมายอื่น
คำนิยามที่สำคัญ • “ผู้มีหน้าที่รายงาน” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน • “บุคคลที่ถูกกำหนด” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย หรือบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อที่ศาลได้พิจารณาและมีคำสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ • “ระงับการดำเนินการกับทรัพย์สิน” หมายความว่า การห้ามโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินหรือเปลี่ยนสภาพใช้ประโยชน์หรือกระทำการใด ๆ ต่อทรัพย์สินอันจะส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อจำนวน มูลค่า ปริมาณ ทำเลที่ตั้ง หรือลักษณะของทรัพย์สินนั้น
การปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายการปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย • ระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนด • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกระงับให้สำนักงาน ปปง. ทราบ • แจ้งให้สำนักงาน ปปง. ทราบถึง • ผู้ที่เป็น/เคยเป็นลูกค้าที่เป็นบุคคลที่ถูกกำหนด • ผู้มี/เคยมีการทำธุรกรรมกับบุคคลที่ถูกกำหนด • กำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยง แนวปฏิบัติหรือมาตรการอื่นใด เพื่อป้องกันมิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
กำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยง แนวปฏิบัติหรือมาตรการอื่นใด เพื่อป้องกันมิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย • กรณีผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆของผู้มีหน้าที่รายงาน - ผลิตภัณฑ์หรือบริการ จะไม่ถูกใช้เป็นช่องทางในการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย - ผู้มีหน้าที่รายงานต้องกำหนดมาตรการที่จะทำให้ตรวจพบได้อย่างรวดเร็วและมาตรการในการดำเนินการเพื่อบรรเทาความเสียหายได้มากที่สุด • กรณีลูกค้าของผู้มีหน้าที่รายงาน - ต้องกำหนดมาตรการเกี่ยวกับขั้นตอนในการอนุมัติการรับลูกค้าอย่างเคร่งครัด และให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้ามากำหนดด้วย - ต้องกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการดำเนินการให้ข้อมูลรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดที่ได้รับจากสำนักงาน ปปง. ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ - ต้องกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ การไม่ทำธุรกรรม รวมทั้งการระงับการดำเนินการกับทรัพย์สิน • กรณีธุรกรรมทุกประเภท - ต้องกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดของลูกค้า - ต้องกำหนดมาตรการในการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อสำนักงาน ปปง.
บทบังคับทางกฎหมาย • มาตรา 14 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีความผิดของบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลที่ถูกกำหนด หรือเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงิน หรือพนักงานของผู้ประกอบอาชีพซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำธุรกรรม หรือเป็นผู้ที่ครอบครองทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนด แล้วแต่กรณี ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายโดย • ไม่ระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนดหรือของผู้กระทำการแทนหรือตามคำสั่งของผู้นั้น หรือของกิจการภายใต้การควบคุมของผู้นั้น หรือไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกระงับฯ ให้สำนักงานทราบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • มาตรา 14 วรรคสอง เป็นกรณีความผิดของผู้มีหน้าที่รายงาน (นิติบุคคล) ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายโดย • กรณีผู้มีหน้าที่รายงานไม่ระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนดหรือของผู้กระทำการแทนหรือตามคำสั่งของผู้นั้น หรือของกิจการภายใต้การควบคุมของผู้นั้นหรือไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกระงับฯ ให้สำนักงานทราบต้องระวางโทษโทษปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท และปรับอีกวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง • มาตรา 14 วรรคสาม • หากการกระทำความผิดตามวรรคสอง เกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทบังคับทางกฎหมาย • มาตรา 15 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีความผิดของผู้มีหน้าที่รายงาน (นิติบุคคล) ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่แจ้งรายชื่อผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นลูกค้าซึ่งอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดหรือผู้ที่มีหรือเคยมีการทำธุรกรรมกับผู้นั้นมายังสำนักงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และปรับอีกวันละ 5,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง • มาตรา 15 วรรคสอง หากการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นบุคคลดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จบการนำเสนอ หาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปปง. ได้ที่ www.amlo.go.th นายสรรเพชญ แสงเนตรสว่างโทร 02-2193600-7014E-mail sunpet@amlo.go.th