1 / 6

สุทธินำกลับคืออะไร

N. S. P. การเปิดดำเนินการเขตปลอดอากร ของบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด. การปล่อยของล่าช้า. สุทธินำกลับคืออะไร. MD Says. การเปิดดำเนินการเขตปลอดอากร ของบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด. S.

rafiki
Download Presentation

สุทธินำกลับคืออะไร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S P การเปิดดำเนินการเขตปลอดอากร ของบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด การปล่อยของล่าช้า สุทธินำกลับคืออะไร MD Says

  2. การเปิดดำเนินการเขตปลอดอากร ของบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด S กิจการผลิตสินค้าหรือกิจการอุตสาหกรรมเป็นกิจการที่กระบวนการผลิตมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการจะต้องคำนวณหาการบริหารค่าใช้จ่ายให้มีต้นทุนที่ต่ำลงหรือต่ำสุดแต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้าของตนเอง และต้นทุนที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งหนีกันไม่พ้นก็คือ ภาษีอากร หากขาดการวางแผนหรือบริหารภาษีอากรไม่รัดกุมหรือไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นมีภาระต้นทุนทางภาษีอากรค่อนข้างสูง การจัดตั้งเตปลอดภาษีจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถช่วยในการลดต้นทุนได้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทางบริษัทฯ ได้รับทราบมาว่า บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการยื่นขออนุมัติจัดตั้งเขตปลอดอากรเพื่อการพาณิชยกรรม ชื่อ เขตปลอดอากร เวสเทิร์น ดิจิตอล 3 ตั้งอยู่เลขที่ 60 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยทางกรมศุลกากรได้อนุมัติให้บริษัทดังกล่าวเปิดดำเนินการเขตปลอดอากรภายใต้อำนาจตามความในมาตรา 97 ตรี แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร จากประกาศข้างต้นที่ทางบริษัทฯ เราได้นำเสนอมานี้ อาจเป็นแนวทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ประกอบการบางท่านที่กำลังเลือกหาวิธีบริหารค่าใช้จ่ายกิจการของตนให้มีต้นทุนที่ต่ำลงเพื่อดำรงไว้ซึ่งความอยู่รอดของกิจการในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้  หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่กลุ่มบริษัท เอส. เอ็น. พี หมายเลขโทรศัพท์ 02-333-1199 ต่อ 111 ได้ตลอดเวลาทำการ N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  3. การตรวจปล่อยสินค้า ในหลายๆ ครั้งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจปล่อย มีทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ซึ่งมักจะสวนทางกับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการจะได้สินค้าตามกำหนดเวลา ปัจจัยเหล่านี้มีตั้งแต่ เอกสารไม่ครบ เอกสารผิดหรือตกหล่น การค้างค่าใช้จ่าย หรือสินค้าบางอย่างติดใบอนุญาต เป็นต้น การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก และขั้นตอนทุกอย่างควรได้รับการเตรียมอย่างเรียบร้อยให้เรียบร้อย เพื่อที่จะทำการตรวจปล่อยสินค้าให้ได้เร็วที่สุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการรายหนึ่งได้นำเข้าสินค้าประเภท Raw Material จากประเทศ จีน แล้วมีความประสงค์ที่จะให้ทางบริษัทฯ ทำการเคลียร์สินค้าให้เสร็จภายใน 1 วัน ซึ่งสินค้าได้มาถึงที่สนามบินตอน 5 โมงเย็นแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะทำการเคลียร์ของได้ภายในเวลาที่ทางผู้ประกอบการกำหนด เนื่องจากว่าทางบริษัทที่เป็นลูกค้าของเรายังคงค้างชำระค่าใช้จ่ายกับ Agent ที่นำของเข้าจึงทำให้ทางบริษัทฯไม่สามารถที่จะทำการตรวจปล่อยสินค้านั้นได้ แต่ท้ายที่สุดทางบริษัทลูกค้าก็ได้ทำการชำระเงินค่าใช้จ่ายกับทาง Agent ได้สำเร็จเสร็จสินแต่ก็ทำให้เกิดความล่าช้าในการเคลียร์สินค้าตามมานั้นเอง จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่ทางเราได้นำเสนอมานี้ ทางบริษัทจึงอยากจะขอแนะนำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังเรื่องการค้างชำระค่าใช้จ่ายกับ Agent ประเทศต้นทางเพราะในบางครั้ง หากยังมีค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้ชำระค้างไว้อยู่เป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้เกิดปัญหาในการปล่อยสินค้าออกมาได้ หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่กลุ่มบริษัท เอส. เอ็น พี หมายเลขโทรศัพท์ 02-333-1199 ต่อ 111 ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. มีผู้ส่งออกรายหนึ่งโทรมาสอบถามทางบริษัทฯว่า ตัวเขาจะส่งสินค้าไปยังงานแสดงในต่างประเทศ ซึ่งทางบริษัทฯได้สอบถามกับผู้ส่งออกว่า สินค้าที่ส่งไปงานแสดงนั้นจะนำกลับมายังประเทศไทยอีกหรือไม่ ผู้ส่งออกก็บอกว่าอาจจะนำกลับเข้ามาอีก ทางบริษัทก็เลยแนะนำว่า ถ้าเป็นกรณีแบบนี้ ผู้ส่งออกควรทำใบขนประเภท “สุทธินำกลับ” ซึ่งทางผู้ส่งออกก็ถามว่าใบขน สุทธินำกลับนี้ มีสิทธิพิเศษอย่างไร ทางบริษัทฯจึงแจ้งว่า ใบขนสุทธินำกลับจะได้รับสิทธิพิเศษคือ กรณีที่เรานำสินค้าที่ส่งออกไปนั้นและนำกลับมายังประเทศไทยอีกครั้งจะไม่เสียภาษีตอนนำเข้ามา แต่มีข้อแม้ว่าสินค้านั้นจะต้องนำกลับมายังประเทศไทยภายใน 1 ปีเท่านั้น ทางบริษัทฯยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมไปอีกว่ามีอีกกรณีที่นำกลับมาแล้วไม่ต้องเสียภาษีคือการส่งสินค้าไปซ่อมแต่มีข้อแม้ว่าสินค้าที่นำกลับมานั้นจะต้องเป็นสินค้าตัวเดิมเท่านั้นเพราะก่อนการส่งออกทางศุลกากรจะต้องตรวจสอบสินค้าว่าเป็นอย่างไร และตอนนำกลับมาจะต้องเป็นแบบนั้นเท่านั้นเพราะถ้าสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปและนำกลับเข้ามาอาจจะต้องเสียภาษีตามอัตราอากรปกติ       หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่กลุ่มบริษัทเอส. เอ็น. พี  หมายเลขโทรศัพท์ 02-333-1199 ต่อ 515 ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  5. S ความคืบหน้าข้อตกลงทางการค้า อาเซียน – จีน จากการที่บริษัทฯได้เป็นตัวแทนของผู้นำเข้าหลายราย ที่ได้มีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีน โดยผ่านทางฮ่องกง แต่ไม่สามารถใช้สิทธิข้อตกลงทางการค้า อาเซียน – จีนได้ ตามเนื้อหาในประกาศของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เลขที่ พณ.0611/41 ความว่า “ ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมศุลกากรได้สอบถามว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ภายใต้กรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีนหรือไม่ ความละเอียดทราบเเล้ว นั้น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ขอเรียนว่า กรอบความตกลงดังกล่าว รวมทั้งความตกลงด้านการค้าสินค้าเป็นความตกลงที่เป็นผลจากการเจรจาระหว่างอาเซียนเเละจีน เเละเป็นไปโดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งภายใต้กรอบ WTO ทั้งจีน เเละฮ่องกงต่างก็เป็นสมาชิกของ WTO ดังนั้น ฮ่องกงจึงไม่ได้เป็นสมาชิกของเขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน เเละไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน ” บริษัทฯ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของผู้นำเข้าจึงตัดสินใจทำหนังสือถึงกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เมื่อวันวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552เรื่อง ขอความอนุเคราะห์แนวทางปฏิบัติเพื่อให้ได้สิทธิตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน N P ต่อหน้า 2

  6. หน้า 2 ตามที่ท่านได้อ่านไปแล้วนั้น บัดนี้บริษัทฯได้รับหนังสือตอบกลับมา ตามเลขที่ พณ.0607/1448 ลง วันที่ 15 พฤาภาคม พ.ศ.2552 ซึ่งมีเนื้อหากล่าวว่า      “ ฮ่องกง และ จีน มีการปกครองแบบ หนึ่งประเทศ สองระบบ โดยทั้งจีน และ ฮ่องกง ต่างเป็นสมาชิก WTO ด้วยกันทั้งคู่ ฮ่องกงจึงมีสิทธิในการดำเนินนโยบายต่างๆได้ตามระบบเสรี ดังนั้น ระหว่างข้อตกลงทางการค้า อาเซียน – จีนนั้น ฮ่องกงจึงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น ผู้นำเข้าของไทยที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนโดยผ่านฮ่องกงนั้น จึงไม่สามารถใช้สิทธิตามข้อตกลงทางการค้าอาเซียน - จีนได้ แต่อย่างไรก็ตามกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อข้อร้องเรียนนี้แต่อย่างใด จึงได้นำเรื่องนี้ขึ้นเจรจาในเวทีการประชุมคณะเจรจาการค้าอาเซียน – จีน โดยถือว่าการค้าผ่านประเทศกลุ่มที่ 3 นอกกลุ่ม อาเซียน – จีนนั้น ถือเป็นลักษณะการค้าแบบ Third Party Invoicing เพื่อให้มีการเจรจาเพิ่มข้อตกลงในการใช้สิทธิจากข้อตกลงทางการค้า อาเซียน – จีนได้มากขึ้น ซึ่งทางกรมเจรจาการค้าจะแจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าต่อไป ” จากรายละเอียดข้างต้นแล้ว ถือเป็นนิมิตหมายอันดี สำหรับผู้นำเข้าสินค้าที่ต้องผ่านประเทศที่ 3 นั้น โดยความคืบหน้า บริษัทฯจะติดตาม และแจ้งให้ทุกท่านทราบโดยทันที สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ 20/5/09 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related