390 likes | 555 Views
เสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง. เสียงมีความสำคัญต่อการผลิตวิทยุ เพราะ. ช่วยให้การผลิตรายการบรรลุเป้าหมาย ช่วยให้รายการมีสีสัน มีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ ช่วยดึงความสนใจของผู้ฟังรายการ ช่วยเร้าจินตนาการให้ผู้ฟังคล้อยตามอารมณ์ที่ผู้ผลิตรายการต้องการถ่ายทอด. ประเภทของเสียง.
E N D
เสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
เสียงมีความสำคัญต่อการผลิตวิทยุ เพราะ • ช่วยให้การผลิตรายการบรรลุเป้าหมาย • ช่วยให้รายการมีสีสัน มีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ • ช่วยดึงความสนใจของผู้ฟังรายการ • ช่วยเร้าจินตนาการให้ผู้ฟังคล้อยตามอารมณ์ที่ผู้ผลิตรายการต้องการถ่ายทอด
ประเภทของเสียง เสียงที่ใช้ในการผลิตรายการ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท • เสียงพูด (Voice Over) • เสียงเพลง (Music) • เสียงประกอบ (Sound Effect)
ประเภทของเสียง • เสียงพูดหรือ voice overเป็นเสียงพูดธรรมดาในการจัดรายการ • เสียงผู้ชาย (Male Voice Over) ใช้ตัวย่อใน script ว่า MVO • เสียงผู้หญิง (Female voice over) ใช้ตัวย่อ FVO • เสียงผู้ประกาศ ใช้เป็นคำกลางๆ ระบุว่าเป็นเสียงพูด โดยไม่ระบุเพศ ย่อด้วย ANN • ในการเขียนบทวิทยุจะกำหนดตั้งแต่ต้นเลยว่าต้องการเสียงใครในช่วงใดของรายการ และระบุไว้ในบทด้วย • เสียงเพลง (Music) • เสียงเพลงบรรเลง คือ ดนตรีล้วน ไม่มีเสียงร้อง มักใช้เปิดคลอไปพร้อมกับเสียงพูดเพื่อเพิ่มอรรถรสในงาน หรือแทนอารมณ์ที่ต้องการสื่อความหมายให้ผู้ฟังคล้อยตาม • เสียงเพลงร้อง โดยมากจะไม่นิยมนำมาเปิดคลอกับการพูด เพราะจะรบกวนกัน ถ้าจะเป็นเสียงเพลงร้อง ก็จะเปิดเพลงนั้นไปเลย เช่น รายการเพลงต่างๆ
ประเภทของเสียง เสียงประกอบ หรือ sound effect คือเสียงที่มีความยาวไม่มาก ใช้ผลิตรายการในช่วงสั้นๆ เพื่อประกอบเสียงบรรยาย ให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการ Sound effect มีทั้ง เสียงธรรมชาติ คือเสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติมา และเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จะเป็นเสียงที่ไม่ได้มีอยู่จริงในสิ่งแวดล้อม แต่สร้าง ขึ้นเพื่อให้เกิดสีสัน อารมณ์ต่างๆ ในรายการ เวลาเขียนบทใช้ตัวย่อว่า SFX
ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ ในการผลิตรายการวิทยุ เราจะนำเสียงทั้งสามประเภทมาเลือกใช้ตามความ เหมาะสม และผสมผสานกันให้เกิดการเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ ประเภทงาน เสียงต่างๆ ซึ่งจะมีความยาว รูปแบบ และการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน Voice Over Music Sound effect
ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Jingle คือ • เสียงพูด + เสียงเพลง ยาว 10-20 วิ • มีวัตถุประสงค์ 3 อย่างคือ แนะนำชื่อรายการ แนะนำช่วงรายการ และแนะนำผู้จัดรายการ • Jingle intro ใช้เปิดตอนต้นเพื่อนำเข้ารายการ • Jingle outro ใช้เปิดตอนท้ายเพื่อปิดรายการ หรือพักรายการไปเข้าโฆษณา • เปรียบเหมือน ไตเติลรายการ
ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Drop in คือ • เสียงพูดสั้นๆ ความยาว 1-3 วินาที • นิยมเปิดขณะเล่นเพลงในช่วงที่เป็นจังหวะดนตรี ไม่มีเสียงร้อง อาจเป็นชื่อรายการ หรือ เป็นคำที่นำมาใช้โดยไม่ได้สื่อความหมาย • ใช้เพื่อสร้างสีสันให้รายการ
ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Sweeper คือ • เสียงพูดเปล่าๆ หรือ เสียงพูด + เสียงเพลง ความยาว 5-10 วินาที • ใช้เปิดในรายการเพลงเพื่อเชื่อม หรือ คั่นเพลงสองเพลงที่มีจังหวะ และอารมณ์ต่างกัน • มีบทบาทมากในการกวาดอารมณ์เพลงจากเพลงเร็วไปเพลงช้า หรือจากเพลงที่เนื้อหาต่างกัน แต่ยังทำให้รายการดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น กลมกลืน
ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Station ID คือ • เสียงพูดเปล่าๆ หรือ เสียงพูด + เสียงเพลง ความยาว 20-25 วินาที ใช้เปิดตอนต้นชั่วโมงเท่านั้น เพื่อบอกรายละเอียดต่างๆ ของสถานีให้ผู้ฟังทราบ ได้แก่ ชื่อหน่วยงานเจ้าของสถานี ที่ตั้งสถานี คลื่นความถี่ ชื่อรายการ ชื่อบริษัทผู้ผลิต หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น
ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Spot คือ • เสียงพูด + เสียงเพลง + เสียงประกอบ ความยาว 30-45 วินาที ปกติจะไม่เกิน 30 วินาที • ผู้สนับสนุนรายการ โฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง
ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Spot Promo คือ • เสียงพูด + เสียงเพลง + เสียงประกอบ ความยาว 45-60 วินาที • เรียกสั้นๆ ว่า “สปอตโปรโมท” หรือ “โปรโม” • เป็นงานเสียงเพื่อประชาสัมพันธ์รายการหรือกิจกรรมต่างๆ ของสถานี ตลอดจนเพื่อรณรงค์ให้เกิดผลต่อเนื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง
ห้องผลิตรายการ ห้องผลิตรายการคือใช้เป็นห้องบันทึกเสียง และมักสร้างให้มีลักษณะเป็นห้องชุด (ฝรั่งเรียกว่า Studio) คือในพื้นที่เดียวกันจะแบ่งซอยออกเป็นห้องเล็กๆ ประกอบไปด้วยห้องผู้ประกาศ ห้องควบคุม ห้องบันทึกเสียง ห้องตัดต่อเสียง และห้องส่งกระจายเสียง
ห้องผลิตรายการ • ห้องสี่เหลี่ยมที่ภายในบุฝาผนังและเพดานด้วยวัสดุชนิดพิเศษเพื่อป้องกันเสียงจากภายนอกห้อง และกำจัดเสียงก้องสะท้อนที่เกิดภายในห้องด้วย วัสดุที่นำมาใช้ต้องมีลักษณะพิเศษในการเก็บเสียง เช่น ใยแก้วและแผ่นดูดเสียง (Acoustic Board) • บริเวณพื้นยังต้องยกระดับให้สูงกว่าห้องทั่วไปที่อยู่ติดกัน และรองใต้พื้นห้องด้วยยาง และปูพรมหรือวัสดุป้องกันเสียงด้านบนสุด เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายในห้อง และไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาเดินในห้อง • ทางเข้าออกต้องสร้างประตูถึงสองชั้น คือชั้นนอก 1 บาน และชั้นในอีก 1 บาน
ห้องผลิตรายการ • ระหว่างห้องผู้ประกาศและห้องควบคุม-ห้องบันทึกเสียงจะกั้นด้วยกระจกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ใหญ่นัก แค่พอมองเห็นและสื่อสารกันได้ เพราะกระจกมีคุณสมบัติทำให้เกิดเสียงสะท้อนได้ • โดยทั่วไป สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือ ผู้ผลิตรายการแต่ละแห่ง จะมีห้องผลิตรายการอย่างน้อย 2 ห้อง ห้องหนึ่งใช้ผลิตรายการสด ออกอากาศทันที ส่วนอีกห้องใช้ผลิตรายการที่บันทึกเทปไว้ล่วงหน้า และใช้ผลิตงานเสียงประเภทต่างๆ เช่น Jingle หรือโฆษณา เรียกได้ว่า ห้องผลิตรายการเป็นคลังสมองเป็นหัวใจของสถานีวิทยุ
ห้องผลิตรายการ ส่วนของห้อง control room หรือ ห้องควบคุมเสียง • เป็นห้องที่ใช้ควบคุม สั่งการการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง • ประกอบด้วยอุปกรณ์ในการผลิตเสียงทั้งหมดสำหรับการออกอากาศ ได้แก่ คอนโซลหรือแผงผสมเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่น-คอมแพ็คดิสก์ เทปบันทึกเสียง ไมโครโฟน เป็นต้น อุปกรณ์ต่าง ๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรัศมีที่มือเอื้อมถึงเพื่อสะดวกในการใช้ • มีระบบ การสื่อสารระหว่างห้องควบคุมเสียงและห้องผู้ประกาศ ที่เรียกว่า Talkback โดยเสียงการติดต่อกันนี้ จะไม่เข้าไปปะปนรวมกับเนื้อหาของรายการที่กำลังออกอากาศ
ห้องผลิตรายการ ส่วนของห้องผู้ประกาศ • เป็นห้องขนาดเล็กซ้อนอยู่ในห้องควบคุมเสียง สภาพห้องต้องปราศจากเสียงรบกวนและเสียงสะท้อน • ห้องผู้ประกาศประกอบด้วยโต๊ะสำหรับวางบทไมโครโฟน หูฟัง เก้าอี้นั่ง ใช้ในการอ่านข่าว การดำเนินรายการเพียง 1 - 2 คน • ทางเข้าห้องผู้ประกาศหรือห้องผลิตรายการมักใช้ประตู 2 ชั้น เพื่อกันเสียงภายนอกเข้าไป เรียกว่า ประตูดักเสียง (Sound Traps)
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ คอนโซล ( audio Console หรือ mixer) คือ อุปกรณ์สำคัญในการผสมเสียงจากอุปกรณ์ผลิตเสียงต่าง ๆ ให้เสียงออกมาอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนใช้ผสมเสียงแต่ละประเภทเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมกับป้อนเข้าเครื่องบันทึกเสียงหรือเครื่องส่งกระจายเสียงเพื่อออกอากาศทันที และทำหน้าที่ปรับเสียงโดยใช้ fader เป็นตัวควบคุมด้วย fader
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ ไมโครโฟน (Microphone) ไมโครโฟนทำหน้าที่แปลงคลื่นเสียงของมนุษย์ให้เป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า มีมากมายหลายชนิดควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ได้แก่ ไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ (Desk Microphone) เป็นแบบธรรมดาหรือแบบโค้งงอ ใช้อ่านข่าว ไมโครโฟนรับเสียงรอบทิศทาง (Omni or All directional Microphone) ใช้สำหรับรายการอภิปราย ไมโครโฟนรับเสียง 2 ทิศทาง (Bi-directional Microphone) ใช้สำหรับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ละครวิทยุ เป็นต้น
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ • การใช้ไมโครโฟนในการผลิตรายการวิทยุ • โต๊ะตั้งไมโครโฟนต้องปูด้วยผ้าสักหลาดหรือหนังนุ่ม เพื่อเก็บเสียงให้ได้คุณภาพ ถ้าตั้งโต๊ะที่ผิวมันเรียบ จะทำให้เกิดเสียงก้อง และเสียงเพี้ยน • ถ้าต้องใช้ไมค์มากกว่า 1 ตัวบนโต๊ะเดียวกัน อย่าวางชิดกัน และควรเบนหัวออกไปคนละทาง จะทำให้สัญญาณแยกกันชัดเจน • ให้ไมโครโฟนห่างจากปากประมาณ 1 ไม้บรรทัด เพราะถ้าใกล้ไปเสียงจะดังมาก ฟังไม่รู้เรื่อง เสียงแตกพร่า
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์บอบบาง ไม่ควรทดสอบด้วยการเคาะหรือเบาลมแรงๆ วิธีที่ถูกคือ พูดประโยคยาวๆ เหมือนเวลาพูดบันทึกเสียงจริง เจ้าหน้าที่คุมเสียงจะปรับระดับเสียงได้แน่นอน ทุกครั้งหลังใช้งาน ควรใช้สำลีหรือผ้าชุบแอลกฮอล์เช็คไมโครโฟนให้ทั่ว เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ Tape Recorder เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เป็นอุปกรณ์สำหรับการบันทึกเสียง (Record) และเล่นกลับเสียง (Playback) ได้ในตัวเดียวกัน มักเป็นชนิดที่มี 3 หัว คือ หัวลบ (Erase Head) หัวบันทึก (Record Head) หัวเปิดฟัง (Play Head) และมักเป็นหัวบันทึกเต็มแถบ (Full Track)
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Analog Cassette Tape เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมี Reel-to-reel เป็นอุปกรณ์เล่นเสียงและบันทึกเสียงที่นิยมในสมัยก่อน เนื่องจากตัดต่อได้ง่าย โดยใช้กรรไกร คัตเตอร์ และสก๊อตเทป
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Analog Turn table เกือบจะไม่มีบทบาทแล้ว ยกเว้นในรายการเพลงที่เปิดเพลงเก่า และยังต้องใช้แผ่นเสียงอยู่
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Digital Compact Disc – CD ใช้งานสะดวก ราคาถูก พกพาง่าย น้ำหนักเบา เลือกแทรคได้ แต่ต้องระวังไม่ให้แผ่นเป็นรอย Mini Disc – MD แพงกว่าและจุได้น้อยกว่าซีดี แต่ข้อดีคือทนทาน อัดซ้ำได้ ลบทิ้งได้ ย้ายหรือสลับตำแหน่งแทรคเสียงได้
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Digital Digital Audio Tape – DAT หน้าตาคล้ายเทป ดีกว่าตรงที่ลบทิ้ง และย้ายหรือสลับตำแหน่งแทรคเสียงได้ ซึ่งเทปทำไม่ได้ Computer มีบทบาทสูงในการผลิตรายการ และผลิกโฉมหน้าการทำงานของผู้ผลิต มาเป็นการทำงานเบ็ดเสร็จเพียงคลิกเมาส์กับคีบอร์ด ทำให้การผลิตรายการวิทยุเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ รวมถึงในปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยผลิตรายการ ในการตัดต่อ และใส่ลูกเล่นต่างๆ ทำได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น
บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ
บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ Creative (ครีเอทีฟ) : รับผิดชอบและจัดการงานผลิตรายการตั้งแต่การออกแบบความคิด ถ่ายทอดความคิดเป็นถ้อยคำในรูปแบบของบท และนำบทนั้นไปผลิตและควบคุมการผลิตจนสำเร็จ ต้องเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจข่าวสารในสังคม มีทักษะความรู้ด้านเสียงการใช้ภาษา และธรรมชาติวิทยุ และมีมนุษยสัมพันธ์สามารถทำงานกับคนอื่นได้
บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ Announcer (ผู้ประกาศ): ผู้ที่มีหน้าที่ลงเสียง บรรยาย พากษ์ สำหรับผู้ดำเนินรายการ ใช้เรียกนักจัดวิทยุที่จัดรายการที่มีเสียงพูดอย่างเดียว (Talk base programme) เช่นรายการสนทนา นักจัดรายการเพลง เรียน Disc Jockey หรือ D.J. ปัจจุบันมีนักจัดรายการที่จัดรายการโดยโปรแกรมเล่นเพลงในคอมพิวเตอร์ เรียนว่า Programme Jockey หรือ P.J.
บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ • Sound Engineer (ผู้ควบคุมเสียง): หรือในวงการเรียกว่า • เจ้าหน้าที่เทคนิค ต้องรับผิดชอบดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเสียง แบ่งเป็น • เจ้าหน้าที่ควบคุมเสียง: ควบคุมเสียงให้ดีที่สุดในการจัดรายการ และดูแล • บำรุงรักษาอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดี • เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องส่งกระจายเสียง: ควบคุมให้ออกอากาศไปถึงผู้ฟัง
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง คำศัพท์เหล่านี้ เป็น คำสั่งที่ ครีเอทีฟใช้บอกให้ sound engineer ปฏิบัติในการผลิตรายการ Fade in: การเพิ่มระดับเสียง จากเงียบค่อยๆ ดัน fader เอาเสียงขึ้น Fade out: การลดระดับเสียง จากเสียงที่ดังอยู่ ค่อยๆ ลดระดับเสียงลงจนเงียบไป
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • Fade under: การเร่งเสียงให้ดังขึ้นจากระดับปกติอย่างรวดเร็วใช้ในกรณี • ระหว่างรายการ ในขณะมีเสียงคลอกับเสียงพูดของผู้ดำเนินรายการ เมื่อมีจังหวะเว้นการพูด ผู้ควบคุมเสียงจะดัน fader ขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เพลงดังขึ้นชั่วครู่ และลดระดับเสียงเพลงลงอย่างรวดเร็วให้คลอเป็นปกติอีกครั้งเมื่อต้องการพูดต่อ • หลังจบรายการ ในขณะที่มีเสียงคลออยู่กับเสียงพูดของผู้ดำเนินรายการ เมื่อพูดจบเนื้อความแล้ว ผู้ควบคุมเสียงจะดัน fader ขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้เสียงเพลงดังครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆ ลดระดับเสียงจนเสียงเงียบหายไป เป็นอันจบรายการ • ใช้เพื่อสร้างสีสัน ให้การจัดรายการดูมีลูกเล่นมากขึ้น
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • Cross Fade: การจางซ้อนเสียง คือการเชื่อมเพลงสองเพลงให้ต่อกันอย่างกลมกลืน โดย • fade out เพลงที่ 1 Fade in เพลงที่ 2 พร้อมกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป • ทำให้เกิดความต่อเนื่องในอรรถรถรสของรายการและอารมณ์ของคนฟัง • แต่มีข้อยกเว้นว่า ต้องใช้กับเพลงที่มีจังหวะใกล้เคียงกันเท่านั้น
ขั้นตอนในการผลิตรายการวิทยุขั้นตอนในการผลิตรายการวิทยุ
ก่อนการผลิต (pre-production) วางแผนการผลิต สร้างสรรค์รายการและเขียนบท เตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ การซักซ้อม ระหว่างการผลิต (production) ดำเนินการบันทึกเสียงจริง ควบคุมการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น รายการสด ต้องระวัง dead air / อย่าลืมปิดไมโครโฟน อย่าเปิดเสียงที่จะใช้ผิด ถ้าเป็นรายการบันทึกเสียงต้องตรวจสอบความเรียบร้อย หลังการผลิต (post-production) นำรายการที่อัดเสร็จแล้วไปตัดต่อเพื่อเตรียมออกอากาศ หากต้องออกอากาศหลายสถานีต้องทำสำเนา หรือ ดัพเทป ประเมินรายการ วัดความนิยม และ ผลตอบรับจากผู้ฟัง