1 / 56

คดีปกครองเกี่ยวกับการการเงิน

คดีปกครองเกี่ยวกับการการเงิน. อนุชา ฮุนสวัสดิกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง. การนำเสนอ : คดีพิพาทเกี่ยวกับ. การนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงิน ความรับผิดทางละเมิด ค่าเช่าบ้านข้าราชการ เงินเดือน และสิทธิประโยชน์ การเบิกจ่ายเงิน การกระทำทุจริต.

ramona-wynn
Download Presentation

คดีปกครองเกี่ยวกับการการเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คดีปกครองเกี่ยวกับการการเงินคดีปกครองเกี่ยวกับการการเงิน อนุชา ฮุนสวัสดิกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง

  2. การนำเสนอ : คดีพิพาทเกี่ยวกับ • การนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงิน • ความรับผิดทางละเมิด • ค่าเช่าบ้านข้าราชการ • เงินเดือน และสิทธิประโยชน์ • การเบิกจ่ายเงิน • การกระทำทุจริต

  3. การนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงินการนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงิน กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “คำสั่งทางปกครอง”

  4. ประเด็นต่าง ๆ • ความหมายของ “คำสั่งทางปกครอง” “การพิจารณาทางปกครอง” และ “คู่กรณี” • เจ้าหน้าที่ และ คู่กรณี • การพิจารณาทางปกครอง • การทำคำสั่งทางปกครอง • การทบทวนคำสั่งทางปกครอง(การอุทธรณ์ และการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง) • การบังคับทางปกครอง

  5. ลักษณะทั่วไป การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียน มีผลสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล/กระทบสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล มีผลเฉพาะ “กรณีใด หรือบุคคลใด” เป็นการกระทำที่มีผลไปสู่ภายนอกโดยตรง (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 การดำเนินการเกี่ยวกับการ จัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ในกรณีดังนี้ การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา คำสั่งทางปกครอง

  6. หลักกฎหมายว่าด้วยกระบวนการพิจารณาทางปกครองหลักกฎหมายว่าด้วยกระบวนการพิจารณาทางปกครอง      1. การเข้าสู่กระบวนพิจารณาทางปกครอง 2. การพิจารณาทางปกครอง 3. การออกคำสั่งทางปกครอง 4. การทบทวนคำสั่งทางปกครอง 5. การบังคับตามคำสั่งทางปกครอง หลักว่าด้วยแบบของคำสั่งทางปกครอง หลักว่าด้วยการแจ้งหรือการประกาศคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ คู่กรณี สั่งให้ชำระเงิน สั่งให้กระทำหรือ ละเว้นกระทำ หลักการพิจารณาต้องมีประสิทธิภาพ หลักการพิจารณาโดยเปิดเผย การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย (ม.43) การอุทธรณ์ คำสั่ง (ม.44) การขอให้พิจารณาใหม่ (ม.54) การเพิกถอนคำสั่งฯ (ม.49-53)

  7. การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ให้ประโยชน์ที่เป็นเงินหรือประโยชน์อื่นที่แบ่งแยกได้ (ม.49,50,51) ไม่สุจริต เพิกถอน คืนทั้งจำนวน คำสั่งไม่ชอบฯ เป็นคุณ (1) เป็นเงิน หรือ (2) ประโยชน์อื่น ที่แบ่งแยกได้ อนาคต ไม่เพิกถอน สุจริต ปัจจุบัน เพิกถอน ย้อนหลัง คืนอย่างลาภมิควรได้ ใช้ประโยชน์ทั้งหมด ไม่ต้องคืน ใช้ประโยชน์บางส่วน คืนส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ ยังไม่ใช้ประโยชน์ คืนทั้งจำนวน ความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่ง ประโยชน์สาธารณะ คำนึงถึง • กรณีอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ • ความเชื่อโดยสุจริตที่จะได้รับการ คุ้มครองเมื่อได้ใช้ประโยชน์อันเกิด จากคำสั่งฯ หรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับ ทรัพย์สินฯ แก้ไขไม่ได้หรือหากแก้ไข จะเสียหายเกินควร • เงื่อนไขอื่น • เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ • มีผลย้อนหลัง ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ • ต้องเพิกถอนภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่รู้เหตุฯ

  8. ออกคำสั่งเพิกถอนย้อนหลัง มีทรัพย์สินต้องคืน หากสุจริต ให้คืนอย่างลาภมิควรได้  หากไม่สุจริต ต้องคืนทั้งหมด อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้ถึงเหตุฯ สตง. ทักท้วง ออกคำสั่งเรียกเงินคืน

  9. คดีพิพาทเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้าราชการคดีพิพาทเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้าราชการ คำสั่งอนุมัติ หรือไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน เป็น “คำสั่งทางปกครอง”

  10. คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านเป็นคำสั่งทางปกครองคำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านเป็นคำสั่งทางปกครอง • คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน เป็น “คำสั่งทางปกครอง” • หากไม่เห็นด้วย ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ออกคำสั่งตามมาตรา ๔๔ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อตนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและใช้สิทธิร้องทุกข์ • เมื่อไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อน จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี • ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้ คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๓๙/๒๕๔๕

  11. นำค่าเช่าซื้อท้องที่เดิม มาเบิกท้องที่ใหม่(อ.บุญเชิด) • เบิกค่าเช่าซื้อบ้านอยู่เดิม ในท้องที่ ๑ ต่อมาได้รับคำสั่งย้ายไปท้องที่ ๒ • สคก./กค. ตีความว่า จะนำค่าเช่าซื้อบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกได้ต่อเมื่อมีการเช่าจริงในท้องที่ใหม่ด้วย แล้วเลือกว่าจะเบิกค่าเช่าบ้านท้องที่ใหม่ หรือนำค่าเช่าซื้อบ้านในท้องที่เดิมมาเบิก (ม. ๗ + ม. ๑๓) • ศาลเห็นว่า ม.๑๓ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตั้งแต่วันที่ได้เช่าบ้านอยู่จริงเป็นหลักทั่วไปกรณีการเช่าบ้าน • แต่การนำหลักฐานการเช่าซื้อบ้านมาเบิกตาม ม.๑๖ จะต้องเป็นกรณีการเช่าซื้อและอยู่อาศัยในบ้านนั้นจริง • “มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน” ตาม ม.๑๓ กับ ม.๑๖ จึงต่างกัน โดย ม.๑๖ เพียงมีสิทธิตาม ม. ๗ ก็เพียงพอแล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๘/๒๕๔๖ 9

  12. สรุปหลักกฎหมายจากคำพิพากษาสรุปหลักกฎหมายจากคำพิพากษา • กรณีใช้สิทธิค่าเช่าซื้ออยู่เดิม ต่อมาได้รับคำสั่งย้ายไปท้องที่ใหม่ • หากมีสิทธิเบิกค่าบ้านตาม ม.๗ • ก็สามารถนำค่าเช่าซื้อบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าซื้อในท้องที่ใหม่ได้ • โดยไม่ต้องมีการเช่าจริงในท้องที่ใหม่ (ตามมาตรา ๑๓) 10

  13. เปรียบเทียบความเห็น ท้องที่ใหม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา ๗ เบิกค่าเช่าบ้าน เช่าบ้านอยู่จริง ตามมาตรา ๑๓ เบิกค่าเช่าซื้อ ความเห็นกระทรวงการคลัง เช่าบ้านอยู่จริง ตามมาตรา ๑๓ เบิกค่าเช่าบ้าน ท้องที่ใหม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา ๗ นำค่าเช่าซื้อบ้านท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามมาตรา ๑๖, ๑๗ เบิกค่าเช่าซื้อ คำวินิจฉัยของศาลปกครอง 11

  14. การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นเงินการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นเงิน • ผู้ฟ้องคดีซื้อบ้าน + ที่ดิน ทำสัญญา 2 ฉบับ คือ (1) ซื้อขายบ้าน + ที่ดิน (จดทะเบียนฯ) 180,000 บาท และ (2) สัญญารับจ้างต่อเติม 180,000 บาท โดยจ่ายเงินสด 40,000 บาทที่เหลือกู้ธนาคารมาชำระ 320,000 บาท • ผู้ฟ้องคดีทำเรื่องขอเบิกค่าเช่าบ้านเต็มจำนวนที่กู้ธนาคาร 320,000 บาท หน่วยงานฯ อนุมัติให้เบิกตามที่ขอ โดยเบิกเดือนละ 2,400 บาท • ต่อมาหน่วยงานฯเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้านได้เฉพาะตามสัญญา (1) ที่จดทะเบียนฯ 180,000 บาท โดยเบิกเดือนละ 1,950 บาท จึงออกคำสั่งเรียกเงินคืนในส่วนที่เบิกเกินไป 61,613 บาท คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 245/2549

  15. ศาลเห็นว่า การพิจารณาว่าจะใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในกรณีนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านพร้อมที่ดินที่ค้างชำระมาเบิกได้เท่านั้น ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายที่ปรากฏในสัญญาซื้อขายที่ จพง.ที่ดินทำขึ้น • หนังสือเวียน กค. เป็นเพียงคำแนะนำการตรวจสอบหลักฐานเท่านั้น ไม่ใช่การนำหนังสือ กค. มาใช้บังคับย้อนหลังจำกัดสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้าน

  16. แม้ผู้ฟ้องคดีจะเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีคำสั่งก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีกระทำโดยสุจริต ผู้ฟ้องคดีก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าบ้านที่เป็นลาภมิควรได้ เพียงส่วนที่ยังอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนเท่านั้น เมื่อได้นำเงินไปจ่ายให้ธนาคารหมดแล้ว จึงไม่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หน่วยงานฯ ตาม ปพพ. มาตรา ๔๑๒ • การที่หน่วยงานมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินฯที่เบิกไป จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เพิกถอนคำสั่งนั้น

  17. ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า • เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมฯ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและดำเนินการตามข้อทักท้วงของ สตง.โดยเรียกเงินคืนในส่วนที่เบิกเกินสิทธิ จึงเป็นการเพิกถอนคำสั่งอนุมัติค่าเช่าบ้านที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ ภายใน 90 วัน • เนื่องจากการเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในส่วนที่เกินสิทธิ เป็นการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้เงินโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีคำสั่งอนุมัติ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 51 ซึ่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรตามมาตรา ปพพ. 412 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

  18. กรณีนี้เชื่อว่าผู้ฟ้องคดีได้กระทำการไปโดยสุจริต และเพิ่งรู้ว่าตนไม่มีสิทธิเบิกเต็มวงเงินเมื่อถูกเรียกให้คืนเงิน เมื่อ 22 กันยายน 2541 • กรณีไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอ้างความเชื่อโดยสุจริตตามมาตรา 51 วรรคสาม และได้นำเงินไปชำระให้แก่ธนาคารฯ ทั้งหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่เหลืออยู่ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องคืนเงินที่เบิกเกินสิทธิและรับไว้เป็นลาภมิควรได้ • ส่วนตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่รู้ว่าตนไม่สิทธิเบิกเต็มวงเงินจึงต้องถือว่าตกอยู่ในฐานะไม่สุจริต จึงต้องคืนเงินที่รับไปเต็มจำนวน • เมื่อหน่วยงานฯ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับไปเกินสิทธิก่อนวันที่ 22 กันยายน 2541 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในส่วนที่ให้เบิกเกินไปตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2541 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งฯ ส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ข้อสังเกต • นำเงินไปใช้หนี้ ถือว่าใช้ประโยชน์แล้ว

  19. ส่วนตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่รู้ว่าตนไม่สิทธิเบิกเต็มวงเงินจึงต้องถือว่าตกอยู่ในฐานะไม่สุจริต จึงต้องคืนเงินที่รับไปเต็มจำนวน • เมื่อหน่วยงานฯ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับไปเกินสิทธิก่อนวันที่ 22 กันยายน 2541 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในส่วนที่ให้เบิกเกินไปตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2541 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งฯ ส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ข้อสังเกต • นำเงินไปใช้หนี้ ถือว่าใช้ประโยชน์แล้ว

  20. ออกคำสั่งเพิกถอนย้อนหลัง มีทรัพย์สินต้องคืน หากสุจริต ให้คืนอย่างลาภมิควรได้  หากไม่สุจริต ต้องคืนทั้งหมด อนุมัติให้เบิกค่าเช่าซื้อ • ซื้อที่ดิน 180,000 บาท(จดทะเบียนฯ) • จ้างก่อสร้าง 180,000 บาท • ดาวน์ 40,000 บาท • กู้ธนาคาร 320,000 บาท • เบิกค่าเช่าซื้อ 320,000 บาท เดือนละ 2,400 บาท ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ • สตง. ทักท้วง • เบิกได้เฉพาะในส่วนที่จดทะเบียนฯ 180,000 บาทเดือนละ 1,950 บาท • ทักท้วงให้เรียกเงินส่วนที่เบิกไปเกินคืน • ออกคำสั่งเรียกเงินคืน • 61,613 บาท

  21. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.160/2548เพิกถอนคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เช่าบ้านแม่) • ผู้ฟ้องคดีเช่าบ้านแม่เพื่ออยู่อาศัยจริง และสภาพบ้านเช่าเหมาะสมกับอัตราเช่า และได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านได้ ก่อให้เกิดสิทธิเบิก ถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดี • การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยจะต้องมีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 วรรคสอง (1)-(5) • การที่มีคำสั่งเพิกถอนโดยอ้างว่า แนวปฏิบัติของ ครม. ประกอบกับความเห็นของคณะกรรมการที่หน่วยงานแต่งตั้งที่เห็นว่าผู้ฟ้องคดีขอย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่ออยู่ร่วมกับมารดาในการอุปการะเลี้ยงดูในยามชรา อีกทั้งครอบครัวสามารถอยู่อาศัยร่วมกับมารดาโดยไม่ต้องเช่าบ้าน และอัตราถือว่าสูง การเบิกของผู้ฟ้องคดีจึงถูกต้องแต่ไม่เหมาะสม

  22. เห็นว่า เหตุผลที่ใช้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดีไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 วรรคสอง จึงไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้านโดยมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้านโดยมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีงดเบิกฯ และชดใช้ค่าเช่าบ้านที่เบิกไปแล้วคืน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้งดเบิกและเรียกเงินคืน แล้วให้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามสิทธิที่บัญญัติไว้ใน พรฎ. ให้เป็นการถูกต้องต่อไป

  23. การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นเงินการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นเงิน • ผู้ฟ้องคดีย้ายตามคำขอ และทางราชการไม่มีบ้านพักให้ จึงได้เช่าบ้านและเบิกค่าเช่าบ้าน ต่อมาหน่วยงานฯเห็นว่า ไม่มีสิทธิเบิกจึงมีคำสั่งเรียกเงินคืน ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งฯ ปลัด มท. มีคำวินิจฉัยยืน • ศาลเห็นว่า เมื่อเป็นการย้ายตามขอของตน จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน การที่หน่วยงานฯมีคำสั่งให้เบิกค่าเช่าบ้านจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • หน่วยงานฯจึงมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 2124/2545

  24. กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชอบกำกับดูแลงานการเงินและบัญชี ย่อมต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเป็นอย่างดี และรับราชการมา ๒๐ กว่าปี ได้รับคำสั่งย้ายหลายครั้ง ย่อมทราบสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้าน การที่ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่กลั้นกรองเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินของ สนจ. ได้ยื่นขอเบิกค่าเช่าบ้านโดยไม่ศึกษากฎหมาย ระเบียบฯ ให้รอบคอบก่อน แต่กลับเห็นว่าตนเองมีสิทธิเบิกได้ • กรณีจึงถือได้ว่า กระทำการไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นกรณีที่ควรรู้ว่าตนเองไม่สิทธิเบิก และควรรู้ว่าคำสั่งอนุมัติให้เบิกไม่ชอบ จึงไม่อ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งที่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านเพื่อไม่ต้องคืนเงินค่าเช่าบ้านที่เบิกไปแก่ทางราชการได้

  25. พนักงานเทศบาลย้ายเป็นข้าราชการพลเรือนพนักงานเทศบาลย้ายเป็นข้าราชการพลเรือน • รับราชการครั้งแรกที่ ทต.บัวใหญ่ ได้โอนย้ายมารับราชการที่ มรฎ.นครราชสีมา จึงมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนเป็นผู้มีคุณสมบัติของข้าราชการที่จะมีสิทธิขอเบิกค่าเช่าบ้านตามเงื่อนไขที่พระราชกฤษฎีกากำหนด • สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการของรัฐอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของข้าราชการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการในราชการส่วนกลาง ภูมิภาค หรือท้องถิ่น เพียงแต่ราชการส่วนท้องถิ่นได้รับการแบ่งมอบภารกิจจากรัฐให้ดำเนินกิจการแทนรัฐในพื้นที่ที่กำหนดและให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณเป็นของตนเอง จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการค่าเช่าบ้านแยกออกไปต่างหากเป็นการเฉพาะ แต่ก็มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ข้าราชการของรัฐเช่นเดียวกัน คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 721/2548

  26. ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานนี้จากรัฐบนพื้นฐานอย่างเดียวกัน เพียงแต่สิทธิและเงื่อนไขดังกล่าวได้กำหนดให้แยกส่วนจากกันเพื่อความสะดวกในการตั้งงบประมาณและการเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรเป็นสำคัญ แต่ก็ยังคงมีเจตนารมณ์ในการจัดสวัสดิการพื้นฐานของรัฐในการดูแลช่วยเหลือบุคลากรของรัฐบนพื้นฐานอย่างเดียวกันของทุกส่วนราชการ • เมื่อผู้ฟ้องคดีเข้ารับราชการครั้งแรกโดยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในท้องที่ อ.บัวใหญ่ ต่อมา ได้โอนย้ายมาปฏิบัติราชการที่ อ.เมืองนครราชสีมา จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ต่างท้องที่แล้ว และเมื่อไม่มีเหตุที่ต้องห้ามใช้สิทธิเบิกจึงเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุมัติเบิกค่าเช่าบ้านและให้คืนเงินค่าเช่าบ้านที่เบิกไปแล้ว 167,225.80 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  27. พนักงานเทศบาลย้ายเป็นข้าราชการพลเรือนพนักงานเทศบาลย้ายเป็นข้าราชการพลเรือน • ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานเทศบาลโอนไปรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน และขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน หน่วยงานฯหารือ กรมบัญชีกลางเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเบิกฯ เพราะไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน แม้ต่อมาบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และได้รับคำสั่งโอนมา มิใช่กรณีได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง หน่วยงานมีคำวินิจฉัยยืน • ศาลเห็นว่าการโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือน ไม่ใช่ลาออกแล้วบรรจุใหม่ สถานภาพการเป็นข้าราชการพลเรือนเริ่มใหม่จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเริ่มรับราชการครั้งแรก ซึ่งมาตรา ๖๑ กฎหมายข้าราชการพลเรือน ต้องการให้สถานภาพเป็นบุคคลของราชการมีอยู่อย่างต่อเนื่อง คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 1253/2546

  28. พ.ร.ฎ. ไม่ได้กำหนดว่าต้องเริ่มรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนมาตั้งแต่แรกเริ่มเข้ารับราชการจึงจะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ • ผู้ฟ้องคดีโอนเป็นข้าราชการพลเรือน โดยได้รับแต่งตั้งให้ไปประจำในต่างท้องที่ จึงขอเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่เคยตอบข้อหารือของ ปค. ว่าเบิกได้

  29. การที่ กค. อ้างว่า การตอบข้อหารือนำมาใช้กรณีผู้ฟ้องคดีไม่ได้ เพราะเป็นการตอบข้อหารือเฉพาะราย เป็นการเลือกปฏิบัติ เมื่อข้อเท็จจริงเหมือนกันก็ต้องถือปฏิบัติให้เหมือนกัน ได้รับสิทธิเหมือนกัน การที่หน่วยงานฯระงับสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของผู้ฟ้องคดีตามการตอบข้อหารือของ กค. จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งระงับการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้าน และให้ผู้ฟ้องคดีได้รับสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตั้งแต่วันที่ร้องขอเป็นต้นไป

  30. โอนไปเป็นข้าราชการ ๘ ประเภท พนักงาน/ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ท้องที่เริ่มรับราชการครั้งแรก เมื่อโอนไปเป็นข้าราชการ ๘ ประเภท ถือเป็นท้องที่เริ่มรับราชการครั้งแรกในฐานะข้าราชการ ๘ ประเภท จึงยังเบิกค่าเช่าบ้านไม่ได้ จนกว่าจะได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการต่างท้องที่ 12

  31. คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 507/2544(นางสาวไฉไล ฤาชา) • เป็นกรณีช่วงต่อเนื่องการแก้ไข พรฎ. กรณีย้ายตามคำขอ ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน • เดิม (ว.๘๑) ให้ดูที่วันอนุมัติให้เบิกเป็นหลัก (ต้องก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑) • ต่อมา (ว.๓๕) ให้ดูวันที่เช่าบ้านจริง หรือวันรายงานตัวกรณีเช่าบ้านก่อน (ต้องก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑) • ผู้ฟ้องคดี ๒๖ มิ.ย. ๔๑ ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อ ย้ายตามคำขอ และอยู่กับบิดา บ้านเสร็จ

  32. คำพิพากษา • หนังสือเวียนของ กค. เป็นการตีความกฎหมายให้ชัดเจน และศาลเห็นด้วยจึงเป็นการดำเนินการโดยชอบ • คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ขอ ศาลจึงไปพิจารณาไม่ได้ • แต่จากเอกสารที่ผู้ฟ้องคดีเสนอศาล เป็นกรณีข้อเท็จจริงเดียวกับผู้ฟ้องคดี และกรมบัญชีกลางให้ความเห็นว่าเบิกได้ • ดังนั้น ตามหลักเสมอภาค ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเช่นเดียวกัน • พิพากษาให้ เพิกถอนคำสั่งที่มีผลให้ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในลักษณะผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านตามสิทธิของผู้ฟ้องคดี

  33. การอุทธรณ์(การอุทธรณ์คำสั่งเรื่องเดียวกัน ๒ คำสั่ง และอายุความสะดุดหยุดอยู่) • การที่ ผอ. ไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้าน และผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านครั้งที่ ๑ (แต่ยังไม่มีการวินิจฉัยอุทธรณ์) • ผอ. ไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ครั้งที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อ ศป. • การที่อุทธรณ์มาครั้งหนึ่งในเรื่องเดียวกัน แต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งที่ ๒ อีก เพราะหากวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อใดก็จะมีผลผูกพันคำสั่งทั้ง ๒ ครั้ง จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งฯไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านแล้ว • เมื่อยื่นอุทธรณ์ครั้งที่ ๑ แล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดอยู่ตั้งแต่วันดังกล่าว [ไม่นับระหว่างนั้นจนกว่าการพิจารณาจะถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น (มาตรา ๖๗)] คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๘๓/๒๕๔๔

  34. ย้ายตามคำขอก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑ แต่พักกับสามี • ผู้ฟ้องคดีย้ายตามคำขอของตนก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑ และได้พักอาศัยอยู่กับสามี โดยสามีใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน • ปี ๔๒ สามีย้ายไปดำรงตำแหน่งท้องที่อื่น ผู้ฟ้องคดีจึงใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน • หน่วยงานไม่อนุมัติ โดยเห็นว่าผู้ฟ้องคดีย้ายตามคำขอและไม่ได้ใช้สิทธิเบิกก่อนวันที่ ๒๖ มิ.ย. ๔๑ • ศาลวินิจฉัยว่า พรฎ. กำหนดว่า สามี-ภรรยารับราชการอยู่ในท้องที่เดี่ยวกัน ให้สามีเป็นผู้ใช้สิทธิเบิก ถือได้ว่าภรรยาได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านร่วมกับสามีแล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๔/๒๕๔๗

  35. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.137/2547กรณีประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • การที่ผู้ฟ้องคดีนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ตั้งอยู่ในท้องที่นอกท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่มาเบิกค่าเช่าบ้าน จึงเป็นการเบิกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 16 และมาตรา 4 แห่ง พรฎ. ค่าเช่าบ้านฯ • ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการระดับสูงและเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้มีการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านได้ ย่อมควรจะทราบถึง พรฎ. ที่ใช้บังคับอยู่ การยื่นของเบิกค่าเช่าซื้อฯ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 51 วรรคสาม (3) จึงไม่อาจอ้างความเชื่อของตนว่าเป็นไปโดยสุจริตได้ ผู้บังคับบัญชาจึงมีอำนาจเพิกถอนการอนุมัติได้ตามมาตรา 49 มาตรา 50 และมาตรา 51 ฯ • คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีนำเงินส่งคืนคลังจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

  36. ในปี ๔๑ ทางราชการจัดที่พักให้สามี และผู้ฟ้องคดีได้เข้าอยู่อาศัยร่วมกับสามี และไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน จึงไม่ใช่กรณีที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน แต่เป็นกรณีที่ทางราชการจัดที่พักให้สามีและผู้ฟ้องคดีได้อยู่อาศัยร่วมกับสามี • เมื่อต่อมาในปี ๔๒ สามีย้ายไปดำรงตำแหน่งท้องที่อื่น ผู้ฟ้องคดีจึงได้ไปเช่าบ้าน และใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน จึงไม่อาจตีความว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านอยู่ก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑ แม้จะอ้างความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าเบิกไม่ได้ ศาลก็ไม่เห็นพ้องด้วย • ศาลวินิจฉัยว่า คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เพิกถอน

  37. เบิกค่าเช่าซื้ออยู่ แล้วไปจดทะเบียนสมรสกับคนมีบ้าน • ผู้ฟ้องคดีได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าซื้อบ้านตั้งแต่ปี 2527 • ปี 2537 จดทะเบียนสมรส ซึ่งคู่สมรสมีบ้านอยู่แล้ว จึงอยู่ที่บ้านตัวเอง 4 วันเพื่อดูแลบุตร และไปอยู่กับภรรยา 3 วัน เนื่องจากภรรยาเข้ากับบุตรไม่ได้ • หน่วยงานเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าซื้อบ้าน ตั้งแต่ปี 2537 และเรียกเงินคืน เนื่องจากเห็นว่า มีเคหะสถานของคู่สมรสที่พออยู่อาศัยร่วมกันได้ • ศาลเห็นว่า เมื่อมีบ้านของคู่สมรสที่พออยู่อาศัยร่วมกันได้ จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน และไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้าน • คำสั่งเพิกถอน และเรียกเงินคืน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ ๑๒๓๒/๒๕๔๖

  38. เบิกค่าเช่าซื้ออยู่ แล้วย้ายไปท้องที่ใหม่ • ผู้ฟ้องคดีได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าซื้ออยู่ • ต่อมาย้ายไปรับราชการท้องที่อื่น และได้ขออาศัยบ้านพักของทางราชการของเพื่อนร่วมงาน หน่วยงานจึงเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าซื้อ และเรียกเงินคืน • ศาลเห็นว่า ๑. การเบิกค่าเช่าซื้อบ้าน ไม่จำเป็นต้องพักอาศัยในบ้านหลังนั้น การเบิกจ่ายดูเพียงว่ามีสิทธิเบิกตามมาตรา ๗ หรือไม่เท่านั้น ๒. การขออาศัยบ้านพักราชการของเพื่อนร่วมงาน ไม่ถือเป็นกรณีทางราชการจัดที่พักให้ จึงไม่เข้าลักษณะต้องห้าม • คำสั่งเพิกถอน และเรียกเงินคืน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาศาลปกครองระยองที่ ๒๐/๒๕๔๖

  39. คดีพิพาทเกี่ยวกับเงินเดือน และสิทธิประโยชน์

  40. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.143/2551เพิกถอนคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน • ผู้ฟ้องคดีถูกลงโทษทางวินัยหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน การที่เทศบาลออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • การที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้จัดทำคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเสนอเทศบาลลงนาม การที่เทศบาลออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการออกคำสั่งที่เกิดจากการที่ผู้ฟ้องคดีปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ดังนั้น จึงชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดีในเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลย 90 วันนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุฯ • ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจอ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้

  41. เทศบาลมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด คำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว พิพากษายกฟ้อง • ข้อสังเกต • คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งที่ให้ประโยชน์ที่เป็นเงิน • เป็นผู้เสนอเพื่อออกคำสั่งเอง เป็นกรณีปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

  42. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 481/2551เพิกถอนคำสั่งจ่ายเงินเบี้ยหวัดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยหวัด ต้องงดเบี้ยหวัดเป็นต้นไป คำสั่งเรียกเงินเบี้ยหวัดคืน 1 ธค 39 16 ธค 39 30 กย 43 1 ตค 43 16 พย 43 12 มค 44 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่เข้ารับราชการ ลาออกจากราชการทหาร รับราชการ อบต. ได้รับเบี้ยหวัดเดือนสุดท้าย งดจ่ายเงินเบี้ยหวัด พรบ. บำเหน็จบำบาญฯ ใช้บังคับ แจ้งงดจ่ายเบี้ยหวัด และเรียกเงินคืน

  43. ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยหวัดตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2539 ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 ที่ พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นฯ มีผลใช้บังคับ และให้ผู้ฟ้องคดีได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ • ผู้ฟ้องคดีต้องงดเบี้ยหวัดตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป • ที่หน่วยงานฯ มีคำสั่งให้ระงับการเบิกจ่ายเบี้ยหวัดให้แก่ผู้ฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 และให้คืนเงินเบี้ยหวัดที่ได้รับไประหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2539 – 30 กันยายน 2543 เพื่อคืนคลังจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของหน่วยงานฯ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินเบี้ยหวัดที่ได้รับไประหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2539 – 30 กันยายน 2543

  44. คดีพิพาทเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินคดีพิพาทเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน

  45. คดีพิพาทเกี่ยวกับการทุจริตคดีพิพาทเกี่ยวกับการทุจริต

  46. อบต. ชะแมบ • ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็น ส.อบต. เป็น กรรมการเก็บรักษาเงิน มีอำนาจ • เก็บรักษากุญแจตู้นิรภัย • ตรวจสอบรายงานเงินคงเหลือเป็นประจำทุกวัน • ตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงิน • นำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย • นำเงินออกจ่ายร่วมกับปลัดฯ และ หน.ส่วนการคลัง • ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เป็นประธานฯ อบต. เป็น กรรมการถอนเงินฝาก มีอำนาจ • อนุมัติฎีกา • ลงลายมือชื่อในใบถอนเงินตามแบบของธนาคารในฐานะกรรมการถอนเงินฝากร่วมกับปลัดฯ และ หน.ส่วนการคลัง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๖๖-๓๖๗/๒๕๔๙

  47. ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ เป็นปลัด อบต. เป็น กรรมการเก็บรักษาเงิน/รับส่งเงิน/ผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินสดตามระเบียบ • มีอำนาจหน้าที่ในฐานะกรรมการเก็บรักษาเงินเช่นเดียวกับผู้ฟ้องคดีที่ ๑ • มีหน้าที่นำเงินรายรับของ อบต. ที่เกินอำนาจเก็บรักษาไปฝากคลังจังหวัด คลังอำเภอ หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี ในฐานะกรรมการรับส่งเงิน ร่วมกับ หน.ส่วนการคลัง • ตรวจสอบการรับจ่ายเงินที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินสด • น.ส. ณัฐ เป็นหัวหน้าส่วนการคลัง (หน.สค.) ผู้ทุจริต • นอ. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบความรับผิดทางละเมิดตามคำร้องขอของประธานฯ

  48. น.ส. ณัฐ เป็นหัวหน้าส่วนการคลัง (หน.สค.) ทุจริต ๔ วิธี (๔.๕ ล้าน) • เพิ่มเติมตัวเลขข้างหน้าจำนวนเงินในใบถอนเงินให้สูงขึ้นเกินจริง • แก้ไขตัวเลขจำนวนเงิน • เขียนใบถอนเงินของ ธกส. สูงเกินจริง • วางฎีกาเบิกเงินเพื่อใช้ในกิจการของ อบต. เมื่อเบิกเงินแล้วทำลายฎีกา • คณะกรรมการสอบความรับผิดทางละเมิด แบ่งส่วนความรับผิดเป็น ๙ ส่วน คือ • น.ส. ณัฐ ผู้ทุจริต รับผิดเต็มจำนวน (๔.๕ ล้านบาท) • ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ รับผิด ๑ ส่วน (๐.๕ ล้านบาท) • ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ รับผิด ๓ ส่วน (๑.๕ ล้านบาท) • ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ รับผิด ๕ ส่วน (๒.๕ ล้านบาท) • นอ. เห็นชอบผลการสอบสวน และส่งเรื่องให้ กค.

  49. กรมบัญชีกลางมีหนังสือถึง นอ. ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ๘ ข้อ ดังนี้ • ให้ตรวจสอบและยืนยันยอดความเสียหายที่ถูกต้อง และจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องรับผิด • เมื่อมีการลงนามในใบถอนเงินแล้ว (ประธานฯ-หน.สค) มีวิธีปฏิบัติในการแจ้งปลัดฯ ในฐานะกรรมการรับส่งเงินทราบ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ใครมีหน้าที่แจ้ง • การถอนเงิน ปลัดทราบหรือไม่ว่ามีการถอนเงินวันใด หากทราบ เหตุใดจึงให้ หน.สค. ไปเบิกเงินจากธนาคารคนเดียว • ใครมีหน้าที่ลงบัญชีรายรับ-จ่ายประจำวัน จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน และได้มีการจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันให้คณะกรรมการตรวจสอบหรือไม่ • อบต.แต่งตั้งปลัดเป็นผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินสดนั้น ข้อเท็จจริงปลัดได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวหรือไม่

  50. ก่อนที่ประธานฯ จะลงนามในใบถอนเงินร่วมกับ หน.สค. ได้มีการตรวจสอบจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ อย่างไร ขอให้ส่งตัวอย่างใบถอนเงินประกอบด้วย • การเสนอใบถอนเงินหรือเช็ค ให้ประธานฯ ลงนาม ตามระเบียบหรือวิธีปฏิบัติกำหนดให้ หน.สค. ต้องแนบหลักฐานใดประกอบบ้าง และการลงนามแต่ละครั้ง ประธานฯ ได้ตรวจสอบจำนวนเงินตามเอกสารว่าถูกต้องตรงกับใบถอนเงินหรือไม่ อย่างไร • ขอให้จัดส่งระเบียบ การรับจ่ายเงินฯ ประกอบการพิจารณาด้วย • นอ. ไม่ได้ดำเนินการตามคำขอของกรมบัญชีกลาง แต่มีหนังสือให้ อบต. ออกคำสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสามชดใช้เงินภายใน ๔๕ วัน • อบต. ออกคำสั่งและแจ้งคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสามทราบ • ผู้ฟ้องคดีทั้งสามอุทธรณ์คำสั่งต่อ อบต. • อบต.มีคำสั่งยืนยันให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แจ้งผู้ฟ้องคดีทั้งสามทราบ

More Related