920 likes | 1.16k Views
ระเบียบและคำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับการบัญชีของสหกรณ์. สุกัญญา มงคลวรกิจชัย กลุ่มงานสรรหาและแต่งตั้งผู้สอบบัญชีภาคเอกชน สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี. ระเบียบ & คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ.
E N D
ระเบียบและคำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับการบัญชีของสหกรณ์ระเบียบและคำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับการบัญชีของสหกรณ์ สุกัญญา มงคลวรกิจชัย กลุ่มงานสรรหาและแต่งตั้งผู้สอบบัญชีภาคเอกชน สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี
ระเบียบ & คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
ระเบียบ & คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ • คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติ • ทางบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ พ.ศ. 2547 • ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดชั้นคุณภาพ • ลูกหนี้เงินกู้และการเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ พ.ศ. 2544 • ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตัดจำหน่ายหนี้สูญ • จากบัญชีลูกหนี้ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546
ระเบียบ & คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ • - คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทาง • บัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ พ.ศ. 2547 • ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตัดสินค้า • ขาดบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546
คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ พ.ศ. 2547
ลูกหนี้เงินกู้ บันทึกบัญชีโดยใช้สัญญาเงินกู้เป็นหลักฐาน • จ่ายเงินกู้ Dr. ลูกหนี้เงินกู้ ............. xx Cr. เงินสด / เงินฝากธนาคาร xx • รับชำระหนี้เงินกู้ • Dr. เงินสด / เงินฝากธนาคาร xx • Cr. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ค้างรับ xx • ดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้ xx • ลูกหนี้เงินกู้ ……. xx
ลูกหนี้เงินกู้(ต่อ) • กรณีมีค่าปรับเงินให้กู้ • Dr. เงินสด / เงินฝากธนาคาร xx • Cr. ค่าปรับค้างรับ xx • ดอกเบี้ยเงินให้กู้ค้างรับ xx • รายได้ค่าปรับลูกหนี้เงินกู้ xx • ดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้ xx • ลูกหนี้เงินกู้ ……. xx
ลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่งลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่ง สหกรณ์มอบให้บุคคล/หน่วยงานเป็นตัวแทนในหน่วยต่าง ๆ หักเงินของสมาชิกส่งให้สหกรณ์เป็นรายงวด • เมื่อสหกรณ์ส่งเอกสารให้ตัวแทนหักเงินของสมาชิก • Dr. ลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่ง xx • Cr. ลูกหนี้เงินกู้............. xx • ดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้ xx • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า xx • ทุนเรือนหุ้น xx
ลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่ง (ต่อ) • กรณีได้รับชำระครบตามจำนวนที่ส่งให้ตัวแทนหักเงิน • Dr. เงินสด / เงินฝากธนาคาร xx • Cr. ลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่ง xx • กรณีได้รับชำระไม่ครบตามจำนวนที่ส่งให้ตัวแทนหักเงิน • ให้ยกเลิกใบเสร็จรับเงินที่หักชำระไม่ได้/หักชำระได้บางส่วน • แล้วออกใบเสร็จรับเงินใหม่ สำหรับรายที่หักชำระได้บางส่วน • ตามจำนวนเงินที่ได้รับชำระจริง
ลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่ง (ต่อ) • บันทึกการรับชำระเงิน + โอนกลับรายการที่ตั้งไว้ • Dr. เงินสด / เงินฝากธนาคาร xx • ลูกหนี้เงินกู้................xx • ดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้ xx • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า xx • ทุนเรือนหุ้น xx • Cr. ลูกหนี้ตัวแทนหักเงินส่ง xx
ลูกหนี้คลาดเคลื่อน ให้ถือจำนวนเงินในบัญชีย่อยลูกหนี้เป็นหลัก ปรับปรุงบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ให้เท่ากับบัญชีย่อยลูกหนี้ บัญชีย่อยลูกหนี้ต่ำกว่าบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ บัญชีย่อยลูกหนี้สูงกว่าบัญชีแยกประเภทลูกหนี้
บัญชีย่อยลูกหนี้ ต่ำกว่าบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ 1. นำผลต่างมาปรับปรุงบัญชี Dr. ลูกหนี้.........คลาดเคลื่อน xx Cr. ลูกหนี้....................... xx Dr. หนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้…… คลาดเคลื่อน xx Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้…… คลาดเคลื่อน xx 2. ถ้าค้นหาสาเหตุของข้อคลาดเคลื่อนพบ ให้ปรับปรุงบัญชี 3. ถ้าค้นหาสาเหตุไม่พบ ให้ขออนุมัติตัดเป็นหนี้สูญ
ณ วันสิ้นทางบัญชี 31 มี.ค. X1 ลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้นตามบัญชี 100,000.-บาท ยอดรวมบัญชีย่อย 98,000.- บาท ตัวอย่าง ผลต่าง บัญชีย่อย < บัญชีคุมยอด 2,000.- บาท Dr. ลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้นคลาดเคลื่อน 2,000.- Cr. ลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้น 2,000.- Dr. หนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้นคลาดเคลื่อน2,000.- Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้นคลาดเคลื่อน2,000.-
บัญชีย่อยลูกหนี้ สูงกว่าบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ 1. นำผลต่างมาปรับปรุงบัญชี Dr. ลูกหนี้.......................... xx Cr. ค่าเผื่อลูกหนี้............คลาดเคลื่อน xx 2. ถ้าค้นหาสาเหตุของข้อคลาดเคลื่อนพบ ให้ปรับปรุงบัญชี 3. ถ้าค้นหาสาเหตุไม่พบ ให้โอนบัญชีค่าเผื่อลูกหนี้คลาดเคลื่อน ไปบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้ประเภทนั้น ๆ Dr. ค่าเผื่อลูกหนี้…….… คลาดเคลื่อน xx Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้………… xx
ตัวอย่าง ณ วันสิ้นทางบัญชี 31 มี.ค. X1 ลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้นตามบัญชี 100,000.-บาท ยอดรวมบัญชีย่อย110,000.- บาท ผลต่าง บัญชีย่อย > บัญชีคุมยอด 10,000.- บาท Dr. ลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้น10,000.- Cr. ค่าเผื่อลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้นคลาดเคลื่อน 10,000.-
ลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดีลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดี จะโอนเป็นลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดีก็ต่อเมื่อ สหกรณ์ได้ยื่นฟ้องต่อศาล และศาลได้ประทับรับฟ้องแล้ว Dr. ลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดี xx Cr. ค่าปรับค้างรับ xx ดอกเบี้ยค้างรับ xx รายได้ค่าปรับ xx ดอกเบี้ยรับ xx ลูกหนี้เงินกู้…….. xx
การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ • ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยและค่าปรับ ควรตั้งไว้เต็มจำนวน • ส่วนต้นเงินให้พิจารณาตามสภาพลูกหนี้ และหลักทรัพย์ค้ำประกัน • Dr. หนี้สงสัยจะสูญ – ลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดี xx • Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ – ลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดี xx จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี • ค่าฤชาธรรมเนียม • ค่าทนายความDr. เงินทดรองดำเนินคดี xx ฯลฯCr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร xx
ลูกหนี้ตามคำพิพากษา • 1. โอนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด • หรือมีสัญญาประนีประนอมยอมความ • 2. จำนวนเงินให้บันทึกตามจำนวนที่ศาลสั่ง - ศาลสั่งให้ชดใช้น้อยกว่าหนี้ตามมูลฟ้อง หนี้ที่เหลือให้ดำเนินการขอตัดเป็นหนี้สูญ - คำพิพากษาไม่ระบุให้ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม หรือ ให้น้อยกว่า ผลต่างบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี 3. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งจำนวน และคงไว้จนกว่าจะได้รับชำระคืน
การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1. พิจารณาลูกหนี้แต่ละราย 2. ประมาณเป็นร้อยละของหนี้ ณ วันสิ้นปีบัญชี 3. จำแนกตามอายุของหนี้ ณ วันสิ้นปีบัญชี แล้วประมาณเป็นร้อยละตามกลุ่มลูกหนี้
พิจารณาลูกหนี้แต่ละรายพิจารณาลูกหนี้แต่ละราย ลูกหนี้เงินกู้ นาย A 10,000.- บาท นาย B 20,000.- บาท นาย C 30,000.- บาท คาดว่าจะเรียกเก็บหนี้ นาย A ไม่ได้ ประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ณ วันสิ้นปี = 10,000.- บาท (ลูกหนี้นาย A)
ประมาณเป็นร้อยละของหนี้ ณ วันสิ้นปีบัญชี ลูกหนี้เงินกู้นาย A 10,000.- บาท นาย B 20,000.- บาท นาย C30,000.- บาท 60,000.- บาท คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ 20% ค่าเผื่อฯ = 60,000 x20% = 12,000.- บาท
แยกอายุหนี้ แล้วประมาณเป็นร้อยละตามกลุ่มลูกหนี้ ลูกหนี้การค้านาย D 10,000.-บาท อายุหนี้เกิน 2 ปี นาย E 10,000.-บาท อายุหนี้เกิน 1 ปี นาย F 10,000.-บาท อายุหนี้เกิน 6 เดือน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ นาย D 100 %= 10,000.- บาท นาย E 15 % = 1,500.- บาท นาย F 10 % =1,000.- บาท 12,500.- บาท
อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีรวมกัน ลูกหนี้การค้านาย D 10,000.- บาท นาย E 10,000.- บาท นาย F 10,000.- บาท คาดว่าจะเรียกเก็บหนี้ นาย D ไม่ได้ ส่วนนาย E และนาย F คาดว่าเรียกเก็บไม่ได้ 20 % ค่าเผื่อฯ = 10,000 + ( 20,000 x 20 % ) = 14,000.- บาท
แนวปฏิบัติการพิจารณาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแนวปฏิบัติการพิจารณาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้เงินกู้ แน่ชัดว่าไม่อาจเรียกให้ชำระได้จากไม่มีหลักทรัพย์ใดค้ำประกัน ลูกหนี้ ทายาท ผู้ค้ำประกัน *** ให้ตั้งค่าเผื่อสำหรับหนี้รายนั้นเต็มจำนวน *** ดอกเบี้ย และค่าปรับค้างรับ - ค้าง 1 – 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 - ค้างเกิน 5 ปี เต็มจำนวน
ลูกหนี้การค้า - อายุหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 60 วัน แต่ไม่เกิน 6 เดือน อย่างน้อยร้อยละ 5 - เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี อย่างน้อยร้อยละ 10 - เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี อย่างน้อยร้อยละ 15 - เกินกว่า 2 ปี เต็มจำนวน ลูกหนี้อื่นๆ พิจารณาสภาพของลูกหนี้ และหลักประกัน ตั้งค่าเผื่อให้เพียงพอตามหลักความระมัดระวัง
ค่าเผื่อฯ ที่คำนวณได้ > บัญชี ผลต่าง = ค่าใช้จ่ายของปีนั้น ๆ ค่าเผื่อฯ ที่คำนวณได้ < บัญชี ผลต่าง = ค่าเผื่อฯ เกินต้องการ ปรับลดยอดค่าใช้จ่าย
ผลต่าง คำนวณได้ > บัญชี = 5,000.- บาท ค่าเผื่อฯ ตามบัญชี = 15,000.- บาท คำนวณได้ = 20,000.- บาท เป็นค่าใช้จ่ายของปีนั้น Dr. หนี้สงสัยจะสูญ – ลูกหนี้เงินกู้ 5,000.- Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - ลูกหนี้เงินกู้ 5,000.-
ผลต่าง คำนวณได้ < บัญชี = 7,000.- บาท ค่าเผื่อฯ ตามบัญชี = 27,000.- บาท คำนวณได้ = 20,000.- บาท ปรับลดยอดค่าใช้จ่าย Dr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ – ลูกหนี้เงินกู้ 7,000.- Cr. หนี้สงสัยจะสูญ - ลูกหนี้เงินกู้ 7,000.-
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้เงินกู้ และการเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ พ.ศ. 2544
ถือใช้กับสหกรณ์ออมทรัพย์และ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ที่เรียกเก็บเงินงวดชำระหนี้จากสมาชิกโดยการหักจาก เงินได้ ณ ที่จ่าย
ลูกหนี้เงินกู้ หมายถึง สมาชิก หรือสหกรณ์อื่นที่กู้ยืมเงินจากสหกรณ์โดยมีหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลักฐานรวมถึงลูกหนี้อื่นอันมีมูลหนี้ที่เกิดจากการให้เงินกู้ นั้น ได้แก่ - ลูกหนี้เงินกู้ที่ขาดสมาชิกภาพแล้ว แต่ได้รับการผ่อนผันให้ชำระหนี้เป็นงวด หรืออยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือรอเรียกเก็บจากเงินบำเหน็จหรือเงินอื่นใดเพื่อชำระหนี้ - ลูกหนี้ที่ส่งชำระหนี้เป็นงวดตามที่ได้มีข้อตกลงประนอมหนี้ - ลูกหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนสมาชิกผู้กู้ในฐานะผู้ค้ำประกันและอื่นๆ ฯ ล ฯ
ระยะเวลาที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ระยะเวลาที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ การขอผ่อนเวลาชำระหนี้ การขอเปลี่ยนแปลงเงินงวดชำระหนี้ การดำเนินการตามกฎหมาย พฤติการณ์ที่ไม่สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ การประมาณค่าเผื่อลูกหนี้เงินกู้ - สหกรณ์ออมทรัพย์ *** เป็นไปตามการจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้เงินกู้ *** หลักเกณฑ์
การจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้เงินกู้การจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้เงินกู้ 1. ลูกหนี้ปกติ 2. ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ลูกหนี้ ไม่ก่อให้ เกิดรายได้ NPL 3. ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย 4. ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ 5. ลูกหนี้จัดชั้นสูญ
ลูกหนี้ปกติ ลูกหนี้เงินกู้ที่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้ 1. ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด 2. ลูกหนี้ที่ค้างชำระต้นเงิน และ/หรือ ดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา ติดต่อกัน ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดชำระ และไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ 3. ลูกหนี้ที่ได้ขอผ่อนเวลาการชำระหนี้ และสามารถชำระหนี้ได้ ตามกำหนดเวลาที่ขอผ่อนผัน 4. ลูกหนี้ซึ่งสหกรณ์ได้ฟ้องดำเนินคดีแต่มีการชำระหนี้ได้ตามปกติ
ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ลูกหนี้เงินกู้ที่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้ 1. ลูกหนี้ที่ค้างชำระต้นเงิน และ/หรือ ดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา ติดต่อกัน เกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดชำระ 2. ลูกหนี้ที่ได้รับการผ่อนเวลาการชำระหนี้ไว้ แต่ผิดนัด ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน
ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย ลูกหนี้เงินกู้ที่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้ 1. ลูกหนี้ที่ค้างชำระต้นเงิน และ/หรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา ติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดชำระ 2. ลูกหนี้ซึ่งสหกรณ์ฟ้องดำเนินคดีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามปกติ
ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ ลูกหนี้เงินกู้ที่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้ 1. ลูกหนี้ที่ค้างชำระต้นเงิน และ/หรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา ติดต่อกันเกินกว่า 12 เดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระ 2. ลูกหนี้ซึ่งตามพฤติการณ์ไม่สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ 3. ลูกหนี้ซึ่งได้ฟ้องดำเนินคดีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้และมีการบังคับคดี โดยอายัดทรัพย์หรือยึดทรัพย์แล้ว หรือลูกหนี้ที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และสหกรณ์ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ 4. ลูกหนี้ที่สหกรณ์ฟ้องในคดีล้มละลาย หรือหนี้ที่สหกรณ์ยื่นคำขอ รับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย
ลูกหนี้จัดชั้นสูญ ลูกหนี้เงินกู้ที่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้ 1. ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่า หายสาบสูญไปและไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้ 2. ลูกหนี้ที่มีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นที่มีบุริมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินทั้งหมด ของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนสหกรณ์เป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สิน ของลูกหนี้ 3. ลูกหนี้ที่สหกรณ์ฟ้อง หรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องล้มละลาย และกรณีนั้นๆ ได้มีการบังคับคดี หรือคำสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้
4. ลูกหนี้ที่สหกรณ์ฟ้องในคดีล้มละลาย หรือสหกรณ์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลายและกรณีนั้นๆ ได้มีการประนอมหนี้ โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบหรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษา ให้เป็นบุคคลล้มละลาย และมีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว 5. ลูกหนี้เงินกู้ที่ไม่สามารถชำระต้นเงิน และ/หรือ ดอกเบี้ยได้โดยสิ้นเชิง ให้สหกรณ์ระงับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ลูกหนี้ NPL ตามเกณฑ์คงค้าง โดยให้รับรู้รายได้ตามเกณฑ์เงินสด
การนับเวลาผิดนัดชำระหนี้การนับเวลาผิดนัดชำระหนี้ การนับเวลาผิดนัดชำระหนี้สำหรับลูกหนี้เงินกู้ทุกชั้นคุณภาพให้หมายถึงลูกหนี้จะต้องไม่ค้างชำระเงินอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับติดต่อกันดังนี้ (หน้า 10) 1. ดอกเบี้ยค้างชำระ 2. ดอกเบี้ยและต้นเงินที่ถึงกำหนดชำระ 3. ต้นเงินที่ถึงกำหนดชำระ การนับระยะเวลาให้นับจากวันที่ครบกำหนดชำระเงินอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ1 ถึง ข้อ3 จนถึงปัจจุบันหรือ ณ วันที่มีการจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้
มูลค่าหุ้นของผู้กู้ ร้อยละ 100 นำต้นเงิน + ดอกเบี้ยค้างรับที่ได้รับชำระหลังวันสิ้นปีบัญชีแต่ก่อนวันที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นมาหักออกได้ หลักประกันที่เป็นสิทธิ ร้อยละ 100 หลักประกันอื่น ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าที่จำนำ จำนอง การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ นำมูลค่าหุ้น + หลักประกันที่ไม่มีภาระผูกพันมาหักออกได้
ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 20 ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย ร้อยละ 50 ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ/จัดชั้นสูญ ร้อยละ 100
การจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้ที่มีการชำระหลังสิ้นปีบัญชีการจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้ที่มีการชำระหลังสิ้นปีบัญชี ไม่เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลง การจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้ ณ วันสิ้นปี เว้นแต่ ปรากฏแน่ชัดว่าลูกหนี้ชำระหนี้ได้สิ้นเชิง
ตัวอย่าง ณ วันที่ 31 ธ.ค. 54 นายไข่ เป็นหนี้เงินกู้สามัญ 100,000 บาท ดอกเบี้ยค้าง 1,200 บาท ค้างชำระเงินงวด 4 เดือน = ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 20 % แต่ในวันที่ 25 ม.ค. 55 นายไข่นำเงินมาชำระทั้งหมด • ณ วันที่ 31 ธ.ค. 54 นายไข่เป็นลูกหนี้ชั้นปกติ ไม่ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ลูกหนี้ NPL การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในทางบัญชี ตั้งมากกว่าที่กำหนดได้ ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ แต่ละปี การเปิดเผยข้อมูล • ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน • แสดงลูกหนี้ NPL ต่างหากจากลูกหนี้ปกติ • แสดงรายการเป็นลูกหนี้ระยะสั้นทั้งจำนวน
“สหกรณ์ระงับการรับรู้รายได้ที่เกิดจากดอกเบี้ยเงินให้กู้ ของลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามเกณฑ์คงค้าง จำนวน................ บาท ซึ่งหากสหกรณ์รับรู้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของลูกหนี้ดังกล่าวแล้ว จะทำให้สหกรณ์มีกำไรสุทธิประจำปีเป็นจำนวน ................ บาท” การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตัดจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546
การตัดจำหน่ายหนี้สูญ หนี้ที่จะตัดจำหน่ายออกจากบัญชีลูกหนี้เป็นหนี้สูญ ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในระเบียบ นทส. และต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในระเบียบ นทส.
ลักษณะหนี้ที่จะตัดเป็นหนี้สูญลักษณะหนี้ที่จะตัดเป็นหนี้สูญ 1. เป็นหนี้ที่เกิดจาก หรือเนื่องจากการประกอบกิจการ 2. มีหลักฐานโดยชัดแจ้ง สามารถฟ้องลูกหนี้ได้ 3. มีหลักฐานติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามควรแก่กรณี หรือมีการฟ้องคดีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า + ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย หรือสาบสูญ + ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น ที่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้
+ ได้ฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่ง หรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ เจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ชำระหนี้ + ฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย หรือยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในคดีที่เจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และได้มีการประนอมหนี้ โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบ + ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย 4. หนี้จากการทุจริต ความบกพร่องของกรรมการ/เจ้าหน้าที่/ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมีการติดตามทวงถามถึงที่สุดแล้ว หากฟ้องไม่คุ้ม หรือฟ้องแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้