1.45k likes | 2.72k Views
กฎหมายเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ. กฎหมายแรงงานที่สำคัญ (ในวิสาหกิจเอกชน). 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน) 2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 3. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
E N D
กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ
กฎหมายแรงงานที่สำคัญ(ในวิสาหกิจเอกชน)กฎหมายแรงงานที่สำคัญ(ในวิสาหกิจเอกชน) 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน) 2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 3. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 4. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 5. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 6. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 7. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่นายจ้างส่วนใหญ่มักเข้าใจและปฏิบัติผิดพลาด...กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่นายจ้างส่วนใหญ่มักเข้าใจและปฏิบัติผิดพลาด... การเรียกหลักประกัน (จำนวนและมูลค่าหลักประกัน และการคืนหลักประกัน) วันหยุด (วันหยุดพักผ่อนประจำปี) วันลา (วันลาป่วย วันลาเพื่อคลอดบุตร และการจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าว) การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าตอบแทน การจ่ายค่าจ้าง (ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามกำหนดเวลา ยึดหน่วง หรือหักค่าจ้าง) การบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างหรือการลาออก (การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า) การจ่ายค่าชดเชย การล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ
ข้อผิดพลาดสามัญประจำทุกสถานประกอบการข้อผิดพลาดสามัญประจำทุกสถานประกอบการ การกระทำที่ผิดกฎหมายของนายจ้างหรือผู้บริหารซึ่งเห็นได้ชัดทุกสถานประกอบกิจการนั้น พบได้ใน • สัญญาจ้างแรงงาน • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน • หนังสือเตือน • หนังสือเลิกจ้าง • ใบลาออก • ใบสำคัญแสดงการทำงาน ฯลฯ
ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร การทำสัญญาจ้างแรงงาน • 1. ทำเป็นหนังสือ มีข้อความกำหนดหน้าที่ที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติต่อกัน เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ตรงตามที่ได้เจรจาตกลงกันไว้โดยครบถ้วน • ไม่มีข้อความที่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน ฝ่าฝืนศีลธรรม มีลักษณะเอาเปรียบ หรือสร้างภาระให้แก่ลูกจ้างเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร 3. ได้ให้นักกฎหมายแรงงานหรือพนักงานตรวจแรงงาน ตรวจสอบข้อความในสัญญาจ้างแรงงานนั้นแล้ว4. ทำขึ้น 2 ฉบับ และมอบให้ลูกจ้างยึดถือไว้ 1 ฉบับ • การทำสัญญาจ้างแรงงาน
Pacta sunt servanda สัญญาต้องเป็นสัญญา (สัญญาต้องได้รับการปฏิบัติ) (ใครทำ) สัญญา(กับใครไว้ก็)ต้อง(ปฏิบัติให้) เป็น(ไปตาม) สัญญา(นั้น) 7
สัญญาจ้าง (ที่ไม่มีผลบังคับดังสัญญา) 1. ตกเป็นโมฆะ • ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายเงินทดแทน ฯลฯ) 8
สัญญาไม่จ่ายค่าชดเชย สัญญาจ้างที่ระบุว่า การเลิกจ้างตามสัญญานี้ นายจ้างไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าชดเชย และลูกจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง เห็นได้ชัดแจ้งว่ามีวัตถุประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึง ตกเป็นโมฆะ (๕๖๙/๒๕๔๗) 9
สัญญารวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่าย ข้อตกลงที่รวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติ โดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๐ (๕๙๗๘/๒๕๕๐) 10
ข้อบังคับกำหนดให้หญิงเกษียณอายุก่อนชายข้อบังคับกำหนดให้หญิงเกษียณอายุก่อนชาย ๖๐๑๑ - ๖๐๑๗/๒๕๔๕ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานส่วนหนึ่ง)กำหนดการเกษียณอายุลูกจ้างหญิง ๕๕ ปี ลูกจ้างชาย ๖๐ ปี ข้อกำหนดการเกษียณอายุลูกจ้างหญิงจึงขัดต่อกฎหมาย = โมฆะ 11
2. ใช้ได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร • มีข้อสัญญาที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๓๐ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ 12
นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างนายจ้างได้เปรียบลูกจ้าง สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควรให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้บังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ม. 14/1 13
สัญญาห้ามทำงานที่แข่งขันสัญญาห้ามทำงานที่แข่งขัน ๖๐๗๕/๒๕๔๙ตามใบสมัครงานมีข้อความว่า “ข้าพเจ้ายินยอมที่จะไม่ทำงานเพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับสำนักงานกฎหมายอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นเวลา ๒ ปี...” โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นตำแหน่งที่สามารถล่วงรู้ความลับในทางการค้าและข้อมูลของจำเลยได้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในการประกอบกิจการโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้ว โจทก์ไปทำงานกับสำนักงานกฎหมายในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการผิดสัญญาข้อดังกล่าว 14
สัญญาห้ามทำงานที่แข่งขันสัญญาห้ามทำงานที่แข่งขัน ๘๕๗๐-๘๕๗๒/๒๕๕๒ ลูกจ้างคนที่หนึ่งทำงานในตำแหน่งพนักงานโต้ตอบจดหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิบัตร ลูกจ้างคนที่สองและคนที่สามทำงานในตำแหน่งเลขานุการทนายความ มีหน้าที่ในงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและงานอื่น ๆ ตามที่ทนายความมอบหมายในสำนักงานกฎหมายของนายจ้าง แม้ลูกจ้างทั้งสามคนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของลูกความได้ก็เนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่ตามปกติให้แก่นายจ้าง ลูกจ้างทั้งสามไม่จำต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญหรือเทคนิคพิเศษ ไม่ใช่หน้าที่สำคัญที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินกิจการของนายจ้าง หรือก่อความเสียหายแก่นายจ้างได้ข้อสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างทั้งสามในส่วนที่ห้ามมิให้ลูกจ้างเข้าทำงานในสำนักงานกฎหมายอื่นในเขตกรุงเทพมหานครภายในระยะเวลาอย่างต่ำ ๒ ปี หลังจากพ้นสภาพการเป็นพนักงานของนายจ้าง เป็นข้อตกลงที่เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์แก่นายจ้างเพียงลำพังฝ่ายเดียวและเกินสมควร ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะไม่อาจใช้บังคับแก่ลูกจ้างทั้งสามได้ 15
สัญญาฝึกอบรม ๒๐๐/๒๕๕๐สัญญาฝึกอบรมและดูงานต่างประเทศกำหนดให้ลูกจ้างนำความรู้กลับมาใช้ในการทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนแม้ระยะเวลาที่นายจ้างส่งลูกจ้างไปฝึกอบรมและดูงานโดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจะมีกำหนดเพียง ๒ สัปดาห์ แต่ระยะเวลาที่ให้ลูกจ้างกลับมาทำงานให้นายจ้างมีกำหนด ๓ ปี ก็ไม่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้าง สัญญายังให้สิทธิลูกจ้างไม่ต้องกลับมาทำงานโดยชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด การคำนวณค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้ ก็ให้เอาค่าใช้จ่ายทั้งหมดหารด้วย ๓๖ เดือน แล้วคูณด้วยจำนวนเดือนที่ยังทำงานไม่ครบ ก็ไม่ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบเช่นกัน จึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 16
สัญญารับทุนฝึกอบรม ๖๙๐/๒๕๕๒สัญญาให้ทุนฝึกอบรมที่ให้ลูกจ้างต้องกลับมาทำงานกับนายจ้าง มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเสียเบี้ยปรับนั้น เป็นข้อห้ามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของนายจ้างไม่ให้สูญเสียลูกจ้างที่อุตส่าห์ลงทุนส่งไปฝึกอบรมจนมีคุณวุฒิ เป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ข้อกำหนดที่ให้ลูกจ้างสามารถเลือกเอาได้ว่าจะกลับมาทำงานกับนายจ้างหรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนพร้อมเสียเบี้ยปรับ ๓ เท่า ก็ไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้ลูกจ้างต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติส่วนที่นายจ้างส่งลูกจ้างไปอบรมเพียง ๑๔ วันแต่มีกำหนดให้ลูกจ้างต้องกลับมาทำงานกับนายจ้างเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อกำหนดที่ทำให้ลูกจ้างต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ จึงมีผลบังคับได้เพียง ๑ ปีเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี 17
ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร • การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 1. ปฏิบัติต่อลูกจ้างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 2. ปรับปรุงการปฏิบัติต่อลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างมีความ ปลอดภัย มีสุขภาพอนามัย และมีคุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น 3. กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกับ กฎหมาย และเหมาะสมกับประเภทกิจการ
ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร • การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กำหนดวินัยในการทำงาน วิธีการ การสอบหาข้อเท็จจริง และโทษทางวินัย ให้เหมาะสมกับกิจการ และให้โอกาส ลูกจ้างชี้แจงแสดงเหตุผล • หลีกเลี่ยงการตัด หัก หรือ ลดค่าจ้าง รวมทั้งการเลิกจ้างโดยเลือกใช้วิธีการอื่นแทน
การจ้างเหมาค่าแรง ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการฯ ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว (ม. 11/1) 20
ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ (ม. 11/1) 21
SEXUAL HARASSMENT “ล่วงเกินฯทางเพศ” ห้าม! • นายจ้าง • หัวหน้างาน • ผู้ควบคุมงาน หรือ • ผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือ • ก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ ต่อ • ลูกจ้าง(ผู้ใต้บังคับบัญชา)(เพื่อนร่วมงานไม่ใช่) ม. 16 22
ความหมาย ารกระทำใด ๆ ที่ ก ไม่สมควร เพื่อให้ได้รับสัมผัสทางกาย สนองอารมณ์หรือใจ ในเรื่องทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำด้วยกาย วาจา ภาษากาย หรือด้วยสัญลักษณ์อื่นใดและไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะยินยอมให้กระทำเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม 1372 /2545 การชักชวนผู้ใต้บังคับบัญชาหญิงขณะทดลองงานไปเที่ยวเตร่ในเวลาค่ำคืน แสดงว่ามีความประสงค์จะล่วงเกินทางเพศ 23
หลักปฏิบัติต่อบทบัญญัตินี้หลักปฏิบัติต่อบทบัญญัตินี้ ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวนายจ้างเอง หรือเป็นหัวหน้างาน ผู้ตรวจงาน หรือผู้ควบคุมงาน นอกจากผู้นั้นจะได้รับโทษทางอาญาเป็นส่วนตัวแล้วแล้ว นายจ้างอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนมากได้ นายจ้างจึงควรแสดงออกให้แน่ชัดและจริงจัง(โดยออกประกาศหรือคำสั่ง)ว่า นายจ้างจะลงโทษทางวินัยสถานหนักทันทีที่บุคคลนั้นฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องนี้ 24
ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอม เป็น คราวๆ ไป • งานต่อไปนี้ให้ทำได้ตามที่จำเป็น(ไม่ต้องได้รับความยินยอม) • ลักษณะงาน – สภาพต้องทำติดต่อกัน • งานฉุกเฉิน ม. 24
วันหยุด ประจำสัปดาห์ ตามประเพณี พักผ่อนประจำปี ม. 5 26
วันหยุดประจำสัปดาห์ • ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า 1 วัน • โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน • งานบางประเภท สะสมวันหยุดได้ (หากตกลงกัน) ม. 28 27
วันหยุดตามประเพณี • ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า • ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ ม. 29 28
วันหยุดพักผ่อนประจำปีวันหยุดพักผ่อนประจำปี • นายจ้างต้องกำหนดวัน(ที่ที่จะให้ลูกจ้าง)หยุดพักผ่อนประจำปี ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน • เมื่อลูกจ้างทำงานในปีแรกมาแล้วครบ 1 ปี(365 วัน) • โดยนายจ้างจะกำหนดเองหรือตกลงกับลูกจ้างก็ได้ ม. 30 29
วันลา ป่วย เพื่อคลอดบุตร เพื่อทำหมัน เพื่อฝึกอบรมฯ เพื่อกิจธุระอันจำเป็น ม. 5 เพื่อรับราชการทหาร 30
วันลาป่ว ย • ลาได้ เท่าที่ป่วยจริง • ติดต่อกัน 3 วันทำงานขึ้นไป เรียกใบรับรองของแพทย์ได้ • ต้องลาป่วย อันมิใช่เนื่องมาจากการทำงาน • จ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงาน / ปี (ม. 57) ม. 32 31
ลาเพื่อทำหมั น ลาเพื่อทำหมัน ชาย หญิง ลาได้ตามเวลาที่แพทย์กำหนด ม. 33 ได้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา (มาตรา 57 วรรคสอง) 32
ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็ น ***** หลักเกณฑ์ จำนวนวัน และการจ่ายค่าจ้าง เป็นไปตาม “ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน” ***** ม. 34 33
ลาเพื่อรับราชการทหา ร • ในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม • จ่ายค่าจ้างตามวันที่ลา แต่ไม่เกินปีละ 60 วัน (ม.58) พลทหาร ศรราม สมชาย ธนา ได้สิทธิตามมาตรา 35 หรือไม่? ม. 35 34
ลาเพื่อการฝึกอบร ม • ***** • (เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5) • ***** • เพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคมฯ • การสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดฯขึ้น ม. 36 35
ลาเพื่อคลอดบุต ร • เฉพาะลูกจ้างหญิง เท่านั้น ! • ครรภ์หนึ่ง ไม่เกิน 90 วัน (นับรวมวันหยุดระหว่างวันลา) • ได้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน (ม. 59) ข้อน่าคิด : คลอดบุตรแฝด 3 ลาได้กี่วัน? ม. 41 36
ค่าตอบแทนในการทำงาน ค่าจ้าง ค่าทำงาน ในวันหยุด ค่าล่วงเวลา ในวันหยุด ค่าล่วงเวลา ม. 5
ค่าจ้าง • เงิน ที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน • จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน • ตามสัญญาจ้าง • สำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายระยะเวลาอย่างอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลของงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน
ค่าจ้าง : คำที่เป็นปัญหา • “ค่าจ้าง” เป็นฐานในการคำนวณเงินอื่นตามกฎหมาย ได้แก่ ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ เงินประกัน เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ฯลฯ • การจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างโดยเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นนอกจาก “ค่าจ้าง” หรือ “เงินเดือน” จะสร้างปัญหาทางกฎหมายให้แก่นายจ้างนั้นได้
สรุปวิเคราะห์ เงินจำนวนใด ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร หากจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน(โดยตรง)หรือจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำ มีจำนวนแน่นอนโดยไม่ปรากฏวัตถุประสงค์การจ่ายเป็นประการอื่นย่อมถือว่าเป็น “ค่าจ้าง”
สรุปวิเคราะห์ เงินจำนวนใด ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร หากจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์แจ้งชัดว่าเพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างหรือเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานเพิ่มขึ้น หรือเพื่อเป็นรางวัลแก่ลูกจ้างหรือเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างหรือเพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ลูกจ้างได้ออกไปเพื่อกิจการของนายจ้าง ย่อมไม่ถือว่าเป็น “ค่าจ้าง”
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ วันละ ๓๐๐ บาท ในท้องที่กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร (จังหวัดอื่น วันละ ๑๒๒ – ๒๗๓ บาท) ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป วันละ ๓๐๐ บาท ในท้องที่ทุกจังหวัด (อัตราเดียวทั่วประเทศ)
๘๖๘๒/๒๕๔๘ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเพียงวันละ ๕ ชั่วโมง ลูกจ้างก็ต้องได้ค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน ๑ วัน ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด จะคำนวณจ่ายโดยเฉลี่ยมิได้
การปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายการปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ๑. เมื่อกฎหมายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับแล้ว ๒. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างทุกคน(ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน(ที่มักเรียกว่างานเหมา) ฯลฯ) ในแต่ละวันไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งกำหนดไว้ในท้องที่จังหวัดนั้น ๓. แม้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะกำหนดเป็น “วันละ” แต่นายจ้างอาจจ้างลูกจ้างโดยจ่ายเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือจ้างโดยจ่ายค่าจ้างตามผลของงานก็ได้
การปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายการปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ๔. ในกรณีที่นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างเป็นรายเดือน ให้กำหนดค่าจ้างรายเดือน(เงินเดือน) เท่ากับ “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันคูณด้วย ๓๐” (เช่น ๓๐๐ บาท คูณด้วย ๓๐ = ๙,๐๐๐ บาท เป็นต้น) ๕. นายจ้างที่จ่ายเงินที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้แก่ลูกจ้างด้วย เช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าเข้ากะ ค่าเที่ยว ค่าตำแหน่ง เป็นต้น ถ้าเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ก็ถือว่าเป็น ค่าจ้าง ด้วย หากนำมาคำนวณรวมกับค่าจ้างหลักแล้วได้จำนวนเท่ากับหรือเกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ถือว่านายจ้างปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว
การปรับค่าจ้างเพื่อการแรงงานสัมพันธ์การปรับค่าจ้างเพื่อการแรงงานสัมพันธ์ ๑. เมื่อกฎหมายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับแล้ว หากนายจ้างมีลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็จะต้องปรับค่าจ้างของลูกจ้างดังกล่าวเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ๒. ส่วนลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเท่ากับหรือสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว แม้ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติบังคับให้นายจ้างปรับค่าจ้างให้ แต่ลูกจ้างเหล่านั้นย่อมมีความรู้สึกว่านายจ้างควรต้องปรับค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวด้วย ดังนั้น นายจ้างจึงควรพิจารณาความสามารถในการจ่ายของตนว่าพอจะปรับเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนได้ในอัตราหรือในจำนวนเท่าใด
ล่วงเวลา เวลาทำงานปกติ ล่วงเวลา 24 – 7 . 59 น. 8 – 17 น. 17 . 01 - 24 น. ค่าล่วงเวลา • ทำงานนอก/เกินเวลาทำงานปกติ • ในวันทำงาน
ค่าล่วงเวลา =1.5 (เท่า) x อัตราค่าจ้าง : ชั่วโมง x จำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือ =1.5 (เท่า) x อัตราค่าจ้าง : หน่วย x จำนวนผลงานที่ทำ ม. 61
ค่าทำงานในวันหยุด = ตอบแทนการทำงานปกติ ในวันหยุด มาตรา 5 ค่าล่วงเวลาในวันหยุด = ตอบแทนการทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด วันหยุด ประจำสัปดาห์ : ตามประเพณี : พักผ่อนประจำปี