1 / 9

มาตรฐานแรงงาน

มาตรฐานแรงงาน. มาตรฐานแรงงาน คือ กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน

rashad
Download Presentation

มาตรฐานแรงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐานแรงงาน • มาตรฐานแรงงาน คือ กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน • เป้าหมายของการมีมาตรฐานแรงงาน คือเพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมเสมอภาค ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิต มีความปลอดภัย มีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และมีขวัญกำลังใจในการทำงาน

  2. ประเภทของมาตรฐานแรงงานประเภทของมาตรฐานแรงงาน มาตรฐานแรงงานแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้ • มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาและข้อแนะ รวมทั้งประกาศอื่นๆ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • มาตรฐานแรงงานตามกฎหมาย คือ ข้อบังคับตามกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน และ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 • มาตรฐานแรงงานเอกชน คือ ข้อกำหนดที่ประกาศใช้โดยองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มธุรกิจ และผู้ผลิตสินค้า เช่น SA8000 WRAP ETI ฯลฯ รวมทั้งหลักปฏิบัติของผู้ผลิต เช่น อดีดาส-ซาโลมอน ไนกี้ และ วอลท์ ดิสนีย์ ฯลฯ

  3. ระดับของมาตรฐานแรงงานระดับของมาตรฐานแรงงาน • มาตรฐานแรงงานในระดับสากล • มาตรฐานแรงงานในภูมิภาค เช่น มาตรฐานแรงงานของสหภาพยุโรป มาตรฐานแรงงานของกลุ่มประเทศนอร์ดิก • มาตรฐานแรงงานในระดับกลุ่มการค้าและสถาบันในความร่วมมือ • มาตรฐานแรงงานในระดับชาติ (กฎหมายของประเทศและข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศ และมาตรฐานแรงงานไทย) • มาตรฐานแรงงานในระดับอุตสาหกรรม • มาตรฐานแรงงานในระดับสาขาอาชีพ • มาตรฐานแรงงานในระดับสถานประกอบการและกลุ่มบริษัท (จรรยาบรรณธุรกิจด้านแรงงาน หรือสภาพการจ้างในสถานประกอบการ) • มาตรฐานแรงงานในระดับย่อย เช่น ระดับพื้นที่ และกลุ่มกิจกรรมต่างๆ

  4. มาตรฐานที่สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานแนะนำมาตรฐานที่สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานแนะนำ • มาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย มรท. 8001-2546 (Thai Labor-Standard : TLS 8001-2546) เป็นมาตรฐานที่จัดทำโดยภาครัฐร่วมกับเอกชนมาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม (Social Accountability 8000-SA 8000) เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการส่งออก • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยข้อปฏิบัติในสถานที่ทำงาน (Workplace Code of Conduct) • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยสมาคมสิทธิคนงาน (Worker Rights Consortium Code of Conduct)

  5. มาตรฐานที่สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานแนะนำ (ต่อ) • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยหลักจรรยาบรรณของบริษัท ไนกี้ (Nike Code of Ethics) กำหนดขึ้นโดยบริษัทในเครือไนกี้ เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการผลิตเครื่องกีฬา • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยหลักการผลิตที่เป็นสากลทั่วโลก (Mattel Global Manufacturing Principles) • มาตรฐานจริยธรรมพื้นฐานทางการค้า (Ethical Trading Initiative (ETI) Standard) (International Council of Toy Industries Code of Business Practice) (ICTI) เหมาะสมกับอุตสาหกรรมผู้ผลิตของเล่นเด็ก

  6. มาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศมาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ • องค์กรแรงงานระหว่างประเทศหรือ International Labour Organization (ILO) เป็นองค์กรสากลภายใต้สหประชาชาติ มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานแรงงานสากลในรูปแบบที่รู้จักกันในนาม “อนุสัญญา ILO” เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงด้านสิทธิแรงงานสำหรับสหภาพแรงงานเพื่อใช้ในการส่งเสริมสิทธิของลูกจ้างในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างและรัฐบาล โดย ILO มีนโยบายว่าอนุสัญญาหลักมีผลบังคับใช้สำหรับทุกประเทศและทุกบริษัท รวมถึงประเทศที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักของ ILO ด้วย • อนุสัญญาหลักมี 4 เรื่อง (8 อนุสัญญา)

  7. มาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ต่อ) • เสรีภาพในการสมาคมและการยอมรับสิทธิการเจรจาต่อรองร่วม(อนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98) ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบัน • การตั้งองค์กรและการเข้าเป็นสมาชิก เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงานโดยไม่ต้องขออนุญาตใคร • การร่างข้อบังคับและกฎขององค์กร เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงาน • การเลือกผู้แทนขององค์กร เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงาน • การดำเนินกิจการขององค์กร เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงาน • ภาครัฐจะต้องไม่แทรกแซงใดๆ อันส่งผลต่อการจำกัดสิทธิ • ภาครัฐไม่มีสิทธิยุบหรือพักการดำเนินกิจการขององค์กร • การรวมองค์กรเข้าด้วยกัน เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงานและองค์กร

  8. มาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ต่อ) • การยกเลิกการใช้แรงงานภาคบังคับทุกรูปแบบ (อนุสัญญาฉบับที่ 29 และ 105) โดย “แรงงานภาคบังคับ” ไม่นับกรณีต่อไปนี้ • งานเกี่ยวกับการทหารที่ต้องทำภายใต้กฏหมายเกณฑ์ทหาร • งานหรือบริการใดๆ ที่ทำในฐานะพลเมืองหรือสมาชิกชุมชน (เช่น ลูกขุน) • งานหรือบริการใดๆ ที่เป็นผลจากคำพิพากษาในชั้นศาล แต่ทั้งนี้บุคคลนั้นต้องทำงานดังกล่าวภายใต้การสอดส่องดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐ • งานหรือบริการใดๆ ที่กระทำในภาวะฉุกเฉิน เช่น ภัยธรรมชาติ • การยกเลิกการใช้แรงงานเด็ก = 15 ปี (ฉบับที่ 138 และ 182) • การขจัดการเลือกปฏิบัติในอาชีพและการจ้างงาน (อนุสัญญาฉบับที่ 100 และ 111)

  9. มาตรฐานสากลขององค์กรสหประชาชาติมาตรฐานสากลขององค์กรสหประชาชาติ • UN Global Compact หลักปฏิบัติสากล 10 ประการ ประกาศปี 1999 • สนับสนุนและเคารพการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน • การกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน • เสรีภาพในการสมาคมและการยอมรับสิทธิการเจรจาต่อรองร่วม • ขจัดการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ • ยกเลิกการใช้แรงงานเด็ก • ขจัดการเลือกปฏิบัติในอาชีพและการจ้างงาน • สนับสนุนมาตรการ/วิธีการที่ป้องกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมแนวทาง/มาตรการที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • ขจัดการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ รวมถึงการติดสินบนและการใช้อำนาจบังคับ

More Related