750 likes | 1.5k Views
กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร . ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล. กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย. หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย. หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย.
E N D
กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล
กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย • หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย • นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย
หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทยหลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย • หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกฎหมายสัญชาตินั้น เป็นกฎหมายภายใน รัฐมีอำนาจอธิปไตยที่จะกำหนดวิธีการได้มา การเสียไป และการกลับคืนซึ่งสัญชาติว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง • หลักเกณฑ์การได้มาซึ่งสัญชาตินั้น แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ • การได้สัญชาติโดยการเกิด • การได้มาซึ่งสัญชาติภายหลังการเกิด
ฐานะของคนต่างด้าวในประเทศที่คนต่างด้าวอยู่ฐานะของคนต่างด้าวในประเทศที่คนต่างด้าวอยู่ • เมื่อคนต่างด้าวได้เข้ามาพำนักอาศัยในประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว คนต่างด้าวนั้นต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐเจ้าของดินแดนตามหลักดินแดน • ดังนั้นสิทธิ หน้าที่ของคนต่างด้าวจะมีมาก หรือน้อยเพียงไรย่อมเป็นไปตามกฎหมายมหาชนภายในของรัฐเจ้าของดินแดน • เว้นแต่จะมีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีตกลงกันไว้เป็นประการอื่น สิทธิ หน้าที่ของคนต่างด้าวนั้น ก็เป็นไปตามสนธิสัญญาดังกล่าว
นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การเข้าเมืองของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือครองที่ดินของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด • การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว • สิทธิตามกฎหมายมหาชนและสิทธิตามกฎหมายเอกชน • ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว
หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทยหลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย • การได้มาซึ่งสัญชาติไทย • การเสียสัญชาติไทย • การกลับคืนสัญชาติไทย
การได้มาซึ่งสัญชาติไทยการได้มาซึ่งสัญชาติไทย
แนวคิดเกี่ยวกับการมีสัญชาติแนวคิดเกี่ยวกับการมีสัญชาติ • บุคคลทุกคนที่เกิดมาควรมีสัญชาติ เพราะสัญชาติจะเป็นสิ่งที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับรัฐที่ให้สัญชาติ • กฎหมายระหว่างประเทศยอมรับว่า หลักเกณฑ์ในการให้สัญชาตินั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ • สำหรับกฎหมายสัญชาติของไทยนั้นรับรองวิธีการได้มาซึ่งสัญชาติทั้งโดยการเกิด และ ภายหลังการเกิด
แนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติแนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติ • กฎหมายสัญชาติรับรองวิธีการเสียสัญชาติไว้สามประการ • การสละสัญชาติ • การแปลงชาติเป็นคนต่างด้าว • การถูกถอนสัญชาติ • กฎหมายสัญชาติรับรองว่า บุคคลประเภทใดบ้างที่เสียสัญชาติไปแล้ว ต่อมาภายหลังประสงค์จะถือสัญชาติไทยอีกก็สามารถทำได้
การได้มาซึ่งสัญชาติไทยโดยการเกิดการได้มาซึ่งสัญชาติไทยโดยการเกิด • การได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิต (Jus sanguinis) • หลักสืบสายโลหิตทางบิดา ถือว่าบิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว(Paterfamilias) • หลักสืบสายโลหิตทางมารดา • การได้สัญชาติตามหลักดินแดน (Jus soli) • ข้อยกเว้นของหลักดินแดน • กรณีของ ป.ว.337 • กรณีของมาตรา 7 ทวิ
หลักสืบสายโลหิตทางบิดาหลักสืบสายโลหิตทางบิดา • ผู้ได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิต ต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ (Conditio sine qua non) คือ • ต้องมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายขณะเกิด • บิดามีสัญชาติไทยอยู่แล้ว ในขณะที่บุตรเกิด
Conditio sine qua non • ความหมายของการ “เกิด” ตามมาตรา 15 ป.พ.พ. โดยพิจารณาว่า “ขณะ”ที่ผู้นั้น “เกิด” บิดาของผู้นั้นมีสัญชาติไทย แม้ว่าต่อมาภายหลังบิดาจะไม่มีสัญชาติไทยอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อ ความสมบูรณ์ที่บุตรได้สัญชาติไทยไม่ (จะเกิดที่ไหนไม่สำคัญ พิจารณาแต่เรื่องสายโลหิต) • คำว่า “บิดา” หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ก่อน และในขณะบุตรเกิด กล่าวคือ บิดา มารดาต้องจดทะเบียนสมรสก่อนบุตรเกิด จดทะเบียนสมรสภายหลังบุตรเกิด หรือ การรับรองเด็กเป็นบุตร ทำให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบแต่ไม่ได้สัญชาติไทย • ศาลไทยยึดถือหลักนี้ แต่ไม่ตรงกับความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นเกี่ยวกับบิดาตาม มาตรา 7(1) พ.ร.บ. สัญชาติ มีสองความเห็น • บุคคลจะได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตบิดา ต่อเมื่อผู้นั้นปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายขณะเกิด บิดา มารดา ต้องจดทะเบียน ก่อน หรืออย่างน้อยในขณะเด็กเกิด (ศาล และ กระทรวงต่างประเทศเห็นด้วยกับแนวคิดนี้) • เห็นว่าเป็นบิดาตามข้อเท็จจริง แม้ขณะบุตรเกิดจะไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ภายหลังบิดา มารดา จดทะเบียนสมรสกันก็มีผลทำให้บุตรได้รับสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตบิดาที่มีสัญชาติไทย (คณะกรรมการกฤษฎีกา และ กระทรวงมหาดไทย เห็นด้วยกับแนวคิดนี้)
หลักสืบสายโลหิตทางมารดาหลักสืบสายโลหิตทางมารดา • เดิม แนวคิด การสืบสายโลหิตทางมารดา เป็นบทรอง กล่าวคือ บุตรที่เกิดมาจะได้สัญชาติไทยจากมารดาที่มีสัญชาติไทยต่อเมื่อไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาไม่มีสัญชาติ (พ.ร.บ. สัญชาติ 2456) • ต่อมากฎหมายเพิ่มความสลับซับซ้อนไปอีก ใน พ.ร.บ. สัญชาติ 2508 โดยกำหนดองค์ประกอบว่า • ผู้นั้นต้องเกิดนอกราชอาณาจักรไทย • มารดาของผู้นั้นต้องมีสัญชาติไทยในขณะผู้นั้นเกิด • บุคคลนั้นต้องไม่มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ บิดาไม่มีสัญชาติ
หลักเกณฑ์ใหม่ในการได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตโดยการเกิด พ.ร.บ. สัญชาติ 2535 • ผู้เกิดโดยบิดา หรือ มารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดใน หรือนอกราชอาณาจักรไทย • ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่มารดา มีสัญชาติไทย ไม่ว่า บุคคลนั้นจะเกิดใน หรือ นอกราชอาณาจักร บุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา ตาม หลักเกณฑ์ใหม่นี้ • หลักเกณฑ์ใหม่นี้ เป็นคุณ มีผลย้อนหลังไปถึงบุคคลที่เกิดก่อน พ.ร.บ. สัญชาติ 2535 จะมีผลบังคับ ทำให้บุคคลเหล่านั้นมีสัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตมารดา ด้วย
การได้สัญชาติตามหลักดินแดน Jus soli • บุคคลใดก็ตามที่เกิดภายในราชอาณาจักรไทย บุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติไทย โดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติของบิดา และ มารดา • เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นของหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • ได้แก่บุคคลที่มีสถานภาพพิเศษตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นหัวหน้าผู้แทนทางการทูต กงสุล หรือ พนังงานเชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ หากบุตรเกิดในประเทศไทยก็ไม่ได้สัญชาติไทย • บิดา หรือ มารดาของผู้นั้นเป็นบุคคลที่เข้าเมืองไทยเป็นการชั่วคราว หรือได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เช่นผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ หรือ บุคคลที่เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย • บุคคลเหล่านี้แม้กำเนิดบุตรในประเทศไทย บุตรนั้นก็ไม่ได้สัญชาติไทย • เว้นแต่ร.ม.ต. มหาดไทยจะพิจารณา และสั่งการให้ได้รับสัญชาติไทย
ปัญหาเรื่องหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนปัญหาเรื่องหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • การที่บุคคลได้สัญชาติตามหลักดินแดนนี้ เกี่ยวข้องกับการพิจาณาในเรื่องเขตแดนของรัฐ ตลอดจนการได้มา และ การเสียไป ซึ่งดินแดนของรัฐ • การพิจารณาขอบเขตแห่งดินแดนของรัฐว่าส่วนใดเป็นดินแดนของรัฐ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทะเลอาณาเขต และ ทางอากาศ • สถานทูตไม่ใช่ดินแดนของรัฐผู้ส่ง หากบุคคลใดกำเนินในสถานทูต และ ไม่เข้าข้อยกเว้นการได้สัญชาติตามหลักดินแดน บุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติของรัฐผู้รับ กล่าวคือที่ตั้งสถานทูตเป็นดินแดนของรัฐผู้รับ แต่ที่สถานทูตเป็นสถานที่ล่วงละเมิดมิได้นั้นเป็นเพียงได้รับเอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูตเท่านั้น
ข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • 1. กรณีของ ป.ว.337 “บุคคลใดที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่บุคคลนั้นเกิด บิดา หรือ มารดา เป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองแบบชั่วคราว • หากบิดา หรือ มารดา เกิดในประเทศไทยแล้ว บุตรที่เกิดมาก็ไม่ต้องด้วย ป.ว. 337 เพราะบิดา มารดามิใช่คนต่างด้าว หรือเข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมายหรือ เข้าเมืองมาชั่วคราว
หน้าที่ของ ป.ว. 337 สองประการ คือ • ทำหน้าที่ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่มีองค์ประกอบ ตาม ป.ว.337 แม้ว่าบุคคลนั้นจะเกิดก่อน ป.ว.337 บังคับใช้ กล่าวคือ ป.ว. 337 มีผลย้อนหลัง กับบุคคลที่มีบิดา หรือ มารดา เป็นคนต่างด้าว เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือ เข้าเมืองมาชั่วคราว • สถานะของ ป.ว. 337 เป็น “กฎ” ไม่ใช่ “คำสั่งทางปกครอง” และการบังคับใช้นั้นเป็นการทั่วไป มิใช่เป็นกรณีเฉพาะราย อย่างในกรณีการถอนสัญชาติโดยตุลาการ หรือ ฝ่ายปกครอง
ข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • 2. กรณีของมาตรา 7 ทวิ บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย โดยมีบิดา และ มารดา เป็นเป็นคนต่างด้าว ซึ่งในขณะเกิด บิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่งไม่ได้สมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น • ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย • ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ • ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ประเด็นปัญหาของ กรณีมาตรา 7 ทวิ • บิดา และ มารดา ต้องเป็นคนต่างด้าว • มาตรา 7 ทวิ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสของบิดา มารดา แม่บิดา มารดา ไม่ได้สมรสกันแต่ทั้งคู่เป็นต่างด้าว ก็อาจจะตกอยู่ภายใต้มาตรา 7 ทวิ นี้ • บุคคลตามมาตรา 7 ทวิ นี้เป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งๆที่บุคคลเหล่านี้ “เกิด”ในประเทศไทย มิใช่เป็นบุคคลที่ “เข้าเมือง” ก็ตาม ผลคือ บุตรของบุคคลเหล่านี้แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยก็ไม่ได้สัญชาติไทย
ข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • 3. คณะผู้แทนทางการทูตและ กงสุล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ มาตรา 8 “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าขณะที่เกิดบิดา หรือ มารดาเป็น • หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือ เจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต • หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุล หรือ เจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล • พนักงาน หรือ ผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ • คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางจากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน (1), (2) หรือ (3)
การได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิดการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด • การได้สัญชาติไทยโดยการสมรส หรือ การถือสัญชาติตามสามี • หญิงที่สมรสได้สัญชาติตามสามีโดยอัตโนมัติ ในกรณีนี้ไม่ต้องอาศัยการแปลงชาติ ไม่อาจถูกถอนสัญชาติ และ อาจจะทำให้หญิงมีสองสัญชาติได้ (เดิมไทยยึดถือหลักนี้) • หญิงที่สมรสไม่ได้สัญชาติสามีโดยอัตโนมัติ แต่ต้องอาศัยเจตนาของหญิงนั้น (ปัจจุบันไทยเปลี่ยนมายึดถือหลักนี้: มาตรา 9 หญิงต่างด้าวขอถือสัญชาติไทยตามสามี) • การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ (Naturalization) • การขอแปลงสัญชาติโดยวิธีปกติ • การขอแปลงสัญชาติโดยวิธีพิเศษ
มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. สัญชาติ 2508 • หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าว และได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ได้สัญชาติไทยให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรี • การได้สัญชาติไทยโดยการสมรสนี้สงวนไว้เฉพาะกับ “หญิงต่างด้าว” เท่านั้น ไม่ได้ใช้กับชายต่างด้าว • การสมรสตามมาตรานี้ ต้องเป็นการสมรสโดยชอบ • การสมรสหากกระทำตามกฎหมายต่างประเทศแล้ว ต้องวินิจฉัยให้เป็นไปตามกฎหมายขัดกันของไทยในเรื่องเงื่อนไข และ แบบของการสมรส เพราะถือเป็นการพัวพันกับกฎหมายต่างประเทศ • การได้สัญชาติไทยของหญิงต่างด้าวไม่สิ้นสุดตามการสมรส ดังนั้นแม้ต่อมาหย่าขาดจากกันก็ไม่กระทบต่อสัญชาติไทยของหญิงที่ได้มาแล้ว
การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ (Naturalization) • เกิดจากเจตนา หรือ ความประสงค์ของเอกชนที่ประสงค์จะมีสัญชาติไทย • กฎหมายสัญชาติจะกำหนดเงื่อนไข หรือคุณสมบัติของผู้ที่แปลงสัญชาติว่า จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร • การที่คนต่างด้าวจะได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ร.ม.ต. มหาดไทย เพราะการมีคุณสมบัติครบเป็นเพียงเหตุให้สามารถยื่นขอแปลงชาติเท่านั้น
วิธีการขอแปลงชาติ • การขอแปลงชาติโดยวิธีปกติ • จะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเคร่งครัดมากกว่าการขอแปลงชาติโดยวิธีพิเศษ • การขอแปลงชาติโดยวิธีพิเศษ • เป็นวิธีที่สงวนไว้เฉพาะกับบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น เช่นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทย หรือเป็นบุตร หรือ ภริยาของผู้ที่ได้ขอแปลงสัญชาติไทย หรือ เคยเป็นคนไทยมาก่อน และ ต่อมาได้เสียสัญชาติไทยไป • การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติจะมีผลต่อเมื่อคำสั่งทางปกครองที่ออกโดย ร.ม.ต. มหาดไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถือเป็นเงื่อนไขสมบูรณ์ • การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาตินี้เป็นผลเฉพาะตัวไม่รวมไปถึงครอบครัวด้วย
การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน • การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐ ไม่ว่าจะเกิดจากการยกดินแดนให้ การแบ่งแยกดินแดน หรือ การผนวกดินแดน ย่อมมีผลกระทบต่อสัญชาติของบุคคลที่พำนักอาศัยอยู่ในดินแดนทั้งสิ้น ซึ่งจำแนกเป็น 2 กรณี • กรณีที่รัฐได้ตกลงทำสนธิสัญญาและมีข้อบทเกี่ยวกับสัญชาติ • กรณีที่รัฐไม่ได้ตกลงทำสนธิสัญญากำหนดสถานะของบุคคล ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตย
กรณีที่รัฐได้ตกลงทำสนธิสัญญาและมีข้อบทเกี่ยวกับสัญชาติกรณีที่รัฐได้ตกลงทำสนธิสัญญาและมีข้อบทเกี่ยวกับสัญชาติ • การได้และเสียสัญชาติย่อมเป็นไปตามข้อบทของสนธิสัญญา ซึ่ง ได้รับรองให้พลเมืองมีสิทธิเลือกสัญชาติได้โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา เช่น ข้อ 3 ของสนธิสัญญาไทยกับอังกฤษ เกี่ยวกับ สัญชาติของพลเมืองใน กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิศ และ เกาะใกล้เคียง ความว่า • “คนในบังคับฝ่ายสยามซึ่งมีสำนักอยู่ในดินแดน ถ้ามีความประสงค์จะคงเป็นคนในสังกัดชาติไทย ก็จะอนุญาตให้เป็นได้ แต่ต้องไปพำนักอยู่ในอาณาเขตสยาม ภายในเวลาหกเดือนตั้งแต่วันที่ได้ รติไฟ (Ratify) สัญญานี้ และฝ่ายรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยอมรับว่าคนเหล่านี้จะคงเป็นเจ้าของทรัพย์อันเคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งเขามีอยู่ในดินแดน”
กรณีการเสียสัญชาติโดยการโอนดินแดนให้รัฐอื่นกรณีการเสียสัญชาติโดยการโอนดินแดนให้รัฐอื่น • ประเทศไทยได้โอนดินแดนแขวงจำปาศักดิ์ให้เป็นดินแดนของฝรั่งเศส ทำให้พลเมืองที่อยู่ในจังหวัดดังกล่าวเสียสัญชาติไทยไปโดยผลของ สนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 1946 (2489) ซึ่งบัญญัติว่า • “พลเมืองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 1941 จะได้กลับคืนสู่สัญชาติเดิมของเขาทีเดียวในทันทีที่การโอนอาณาเขตดังกล่าวข้างต้นเสร็จสิ้นลง พลเมืองซึ่งมีสัญชาติไทย โดยกำเนิด หรือ ซึ่งได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย คงรักษาสัญชาตินี้ไว้” • หมายเหตุ เดิมนครจำปาศักดิ์ถูกผนวกเข้าเป็นดินแดนไทย และคนที่อยู่ในดินแดนดังกล่าวได้สัญชาติไทยโดยผลของอนุสัญญา ลว 9 พฤษภาคม 1941
กรณีที่รัฐไม่ได้ตกลงทำสนธิสัญญากำหนดสถานะของบุคคล ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตย • หากรัฐไม่ได้ตกลงทำสนธิสัญญากำหนดสถานะของบุคคล ไว้ ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ • บุคคลย่อมได้ และ เสียสัญชาติไปโดยอัตโนมัติ หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในดินแดนดังกล่าวย่อมได้สัญชาติของรัฐผู้สืบสิทธิ (Successor state) และเสียสัญชาติดั้งเดิมไป
การได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหารการได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร • กรณีนี้ ได้แก่ พลเมืองที่มีสัญชาติไทย และ อาศัยอยู่ในเกาะกง โดยบุคคลเหล่านี้ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ตามประกาศของทางราชการไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีนโยบายที่จะให้สัญชาติไทย กับบุคคลเหล่านี้ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรีหลายครั้งด้วยกัน วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุฯสมบัติองผู้ที่มาขอใช้สิทธิแปลงสัญชาติไทยได้
แนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติไทยแนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติไทย • การเสียสัญชาติไทยหมายถึง การที่ผู้มีสัญชาติไทย ไม่สามารถ ถือสัญชาติไทยได้อีกต่อไป และ ทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนต่างด้าว • การเสียสัญชาติจำแนกเป็นสองกลุ่ม • การเสียสัญชาติโดยการแสดงเจตนาของเอกชน • เอกชนเสียสัญชาติไทยจากการกระทำขององค์กรของรัฐ • บุคคลอาจเสียสัญชาติได้สามวิธี คือ • การแปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว (การแสดงเจตนาของเอกชนเอง) • การสละสัญชาติไทย (การแสดงเจตนาของเอกชนเอง) • การถูกถอนสัญชาติ (การกระทำขององค์กรของรัฐ)
การเสียสัญชาติไทยโดยการแสดงเจตนาของเอกชนการเสียสัญชาติไทยโดยการแสดงเจตนาของเอกชน • การแปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว(Naturalization) • เป็นการที่คนไทย ไม่ว่าจะได้สัญชาติไทยมาโดยวิธีใดๆก็ตาม ไม่ว่าโดยการเกิด หรือได้สัญชาติมาภายหลังการเกิด ได้แสดงความประสงค์ขอแปลงสัญชาติเป็นคนสัญชาติอื่น บุคคลนั้นจึงสูญเสียสัญชาติไทย และได้สัญชาติอื่นแทน แต่เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของรัฐอื่นๆนั้น • การสละสัญชาติ(Renunciation) • เป็นการเสียสัญชาติ โดยบุคคลที่มีสองสัญชาติหรือมากกว่า หากบุคคลที่มีสัญชาติไทยเพียงสัญชาติเดียวจะสละสัญชาติไทยไม่ได้เพราะจะทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นคนไร้สัญชาติ และ รัฐก็เสียหายที่สูญเสียพลเมืองไป
การสละสัญชาติไทยโดยหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าวการสละสัญชาติไทยโดยหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว • ในกรณีที่หญิงไทยสมรสกับชายต่างด้าว และ ตามกฎหมายของสามี อนุญาตให้หญิงภรรยา สามารถ ถือสัญชาติเดียวกับสามีได้ แต่การที่หญิงจะสละสัญชาติไทยหรือไม่ ไม่เป็นการบังคับ หญิงจึงอาจจะถือสองสัญชาติได้ • เจตนารมณ์ที่ให้ภรรยาถือสัญชาติตามสามีได้นั้นเพื่อให้บุคคลในครอบครัวเดียวกัน มีสัญชาติเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการทำนิติกรรม และ ทางการเมือง • การสละสัญชาติไม่เป็นการบังคับ เพราะหากการสมรสกับชายต่างด้าวทำให้หญิงต้องสละสัญชาติไทย อาจจะทำให้หญิงกลายเป็นคนไร้สัญชาติได้หากกฎหมายสัญชาติของสามีไม่อนุญาตให้หญิงถือสัญชาติสามีเพราะการได้สัญชาติสามีนั้นไม่เป็นการได้โดยอัตโนมัติ หากแต่ต้องมีการขอถือสัญชาติสามี
การสละสัญชาติไทยโดยบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติการสละสัญชาติไทยโดยบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ • กรณีนี้ได้แก่กรณีของคนต่างด้าวที่ขอถือสัญชาติไทยโดยการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ต่อมาผู้นั้นไม่ประสงค์จะถือสัญชาติไทยอีกต่อไป เมื่อผู้นั้นแสดงเจตนารมณ์สละสัญชาติไทย ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะห้ามมิให้ผู้นั้นสละสัญชาติไทย แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การถูกถอนสัญชาติ (Revocation) • หมายถึง การที่บุคคลสูญเสียสัญชาติไทยไปโดยมิใช่โดยการแสดงเจตนาของผู้นั้นเอง แต่เป็นผลของการกระทำขององค์กรของรัฐ กล่าวคือ ฝ่าย ตุลาการ ฝ่ายปกครอง ทำการถอนสัญชาติ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏขึ้น และ กฎหมายระบุว่าเป็นเหตุให้มีการถอนสัญชาติ • บุคคลที่จะถูกถอนสัญชาติไทยนั้นต้องเป็นบุคคลที่ได้สัญชาติมาภายหลังการเกิด ได้แก่ หญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยตามสามี และ การแปลงสัญชาติ หากเป็นกรณีได้สัญชาติโดยการเกิด แม้บุคคลนั้นจะมีความประพฤติเข้าข่ายการจะถูกถอนสัญชาติ ก็ไม่อาจถูกถอนสัญชาติได้
หลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติหลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติ • การถอนสัญชาติโดยฝ่ายตุลาการ • บุคคลที่จะถูกถอนสัญชาติไทยโดยฝ่ายตุลาการเป็นบุคคลที่ได้สัญชาติโดยหลักดินแดน และมีบิดาเป็นคนต่างด้าว • ไปอยู่ในประเทศที่บิดามีสัญชาติ หรือ เคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันนานเกิดห้าปี นับตั้งแต่วันบรรลุนิติภาวะ หรือ • มีหลักฐานว่าใช้สัญชาติของบิดา หรือ สัญชาติอื่น หรือฝักใฝ่ในสัญชาติบิดา หรือ สัญชาติอื่น • อัยการร้องขอแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งให้ถอนสัญชาติไทยของผู้นั้นได้
หลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติหลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติ • การถอนสัญชาติโดยฝ่ายปกครอง • บุคคลที่อาจถูกถอนสัญชาติโดยฝ่ายปกครอง มี สามประเภท คือ • หญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรส • บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ • บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนที่มีบิดาโดยชอิบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว
การถอนสัญชาติหญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรสการถอนสัญชาติหญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรส • หญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรส สัญชาติดั้งเดิม จึงเป็นรัฐต่างด้าว มีเหตุในการถูกถอนสัญชาติ 3 ประการ คือ • การสมรสของหญิงนั้นได้กระทำขึ้นโดยการปกปิดข้อเท็จจริง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ • หญิงนั้นกระทำการใดๆอันเป็นการขัดต่อความมั่นคง ผลประโยชน์ของรัฐ หรือ เป็นการเหยียดหยามประเทศไทย • หญิงนั้นกระทำการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีขอประชาชน (Contra bonos mores)
การถอนสัญชาติบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติการถอนสัญชาติบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ • บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ อาจจะถูกถอนสัญชาติในกรณี ต่อไปนี้ คือ • การแปลงชาตินั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริง หรือ แสดงข้อความอันเป็นเท็จอันเป็นสาระสำคัญ • มีหลักฐานว่าบุคคลนั้นยังใช้สัญชาติเดิม • มีการกระทำใดๆอันขัดต่อความสงบเรียบร้อย และ ศีลธรรมอันดี • ไปอยู่ในต่างประเทศที่บิดามี หรือ เคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลากว่าห้าปีนับตั้งแต่วันบรรลุนิติภาวะ • ยังคงมีสัญชาติของประเทศที่ทำสงครามกับประเทศไทย
การกลับคืนสัญชาติไทย • การกลับคืนสัญชาติไทย ใช้กับบุคคล 2 ประเภทเท่านั้น • หญิงที่ได้สละสัญชาติไทยเนื่องจากได้สมรสกับชายซึ่งเป็นคนต่างด้าว • ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้เสียสัญชาติไทยตามผู้แทนโดยชอบธรรม
การกลับคืนสู่สัญชาติไทยเนื่องจากหญิงสมรสกับชายซึ่งเป็นคนต่างด้าวการกลับคืนสู่สัญชาติไทยเนื่องจากหญิงสมรสกับชายซึ่งเป็นคนต่างด้าว • หญิงไทยซึ่งได้สัญชาติต่างด้าวตามสามี และ ได้สละสัญชาติไทย เมื่อหญิงนั้นขาดจากการสมรส หรือ เหตุอื่นใด แล้วประสงค์ที่จะกลับคืนมามีสัญชาติไทยอีกกฎหมายสัญชาติไทยก็เปิดช่องให้กระทำได้ รัฐมนตรีต้องอนุญาตเสมอ ไม่ใช่เป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจ
การกลับคืนสู่สัญชาติไทยของผู้ซึ่งเคยมีสัญชาติไทย แต่ได้สูญเสียสัญชาติไปตามผู้แทนโดยชอบธรรม • เป็นกรณีที่บุคคลนั้นได้สัญชาติไทย แต่ต่อมาได้เสียสัญชาติไทยไปในขณะที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมกฎหมายจึงเปิดช่องให้บุคคลนั้น ขอกลับคืนสัญชาติไทยได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของฝ่ายปกครอง • การให้กลับคืนสัญชาติไทยของคนที่เคยมีสัญชาติไทย ยังช่วยไม่ให้เกิดกรณีการเป็นคนไร้สัญชาติ เพราะบุคคลนั้นอาจจะเสียสัญชาติของรัฐต่างประเทศด้วย
นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย
นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การเข้าเมืองของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือครองที่ดินของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด • การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว • สิทธิตามกฎหมายมหาชนและสิทธิตามกฎหมายเอกชน • ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว
แนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทยแนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทย • คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย อยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยของไทย • กฎหมายไทยรับรองการทำงานของคนต่างด้าวแต่อยู่ภายในข้อบังคับ และ การขอใบอนุญาตทำงาน • กฎหมายไทยอนุญาตให้นิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ถือครองที่ดินได้ ภายในข้อจำกัดของกฎหมาย • คนต่างด้าวสามารถมีกรรมสิทธ์ในห้องชุดได้ แต่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย • ไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยแบ่งบัญชีประเภทธุรกิจเป็น 3 บัญชี
แนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทยแนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทย • บัญชี 3 ประเภทได้แก่ • บัญชี 1 ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ • บัญชี 2 แบ่งเป็น 3 หมวด :1. ธุรกิจเกี่ยวกับความปลอดภัย มั่นคงของประเทศ 2. ธุรกิจที่กระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และ หัตถกรรมพื้นบ้าน 3. ธุรกิจที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ • บัญชี 3. ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันในกาประกอบกิจการกับคนต่างด้าว • รัฐย่อมให้สิทธิทางการเมือง หรือสิทธิตามกฎหมายมหาชนแก่พลเมือง หรือ คนชาติเท่านั้น ส่วนสิทธิตามกฎหมายเอกชนนั้น รัฐได้ให้แก่คนต่างด้าวด้วย ยกเว้นในบางกรณี • คนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย อาจจะถูกเนรเทศออกนอกราชอาณาจักรได้ หากมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความมั่นคง หรือ ความสงบเรียบร้อยของรัฐ
ความหมายของคนต่างด้าว และ สัญชาติของนิติบุคคล • คนต่างด้าว หมายถึงผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย • สัญชาติของนิติบุคคล ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การได้มาของสัญชาติของนิติบุคคลแต่ประการใดตามกฎหมายไทย และมีความเห็นที่แตกต่างกัน • ความเห็นแรก นิติบุคคลที่มาจดทะเบียนในประเทศไทย หรือตามกฎหมายไทย นิติบุคคลนั้นย่อมมีสัญชาติไทย • ความเห็นที่สอง เห็นว่า นิติบุคคลย่อมมีสัญชาติแห่งประเทศที่นิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่ หรือที่ตั้งที่ทำการแห่งใหญ่ • ทางปฏิบัติของศาลไทย ได้ยึดถือหลักการจดทะเบียนมาโดยตลอด
หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันในการกำหนดสัญชาตินิติบุคคลหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันในการกำหนดสัญชาตินิติบุคคล • ประเทศไทยไม่มีกฎหมายแม่บทที่เป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งสัญชาติของนิติบุคคล จึงมีความเห็นที่แตกต่าง เช่น • นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือตามกฎหมายไทยย่อมมีสัญชาติไทย • นิติบุคคลย่อมมีสัญชาติแห่งประเทศที่นิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่ • ศาลไทยยึดหลักการจดทะเบียน • กฎหมายระหว่างประเทศยึดหลักจดทะเบียน เช่น คดี Barcelona Traction • นิติบุคคลย่อมมีสัญชาติแห่งประเทศที่ควบคุม หรือ เป็นผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุม หรือจำนวนผู้ถือหุ้นจำนวนมากเป็นต่างด้าว • หลักการดำเนินกิจการเพื่อคนต่างด้าวเป็นนิจติบุคคลต่างด้าว