350 likes | 601 Views
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ. นำเสนอ อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด. จัดทำ โดย นางสาว กรกนก เมืองขวา เลขที่ 15 นางสาว นฤ มล ชนะเคน เลขที่ 16 นางสาว กมลชนก เขตขงขวาง เลขที่ 18 สาขาวิชา กรศึกษาปฐมวัย ห้อง 1 ชั้นปีที่ 3
E N D
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
นำเสนออาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด จัดทำโดย นางสาว กรกนก เมืองขวา เลขที่ 15 นางสาว นฤมล ชนะเคน เลขที่ 16 นางสาว กมลชนก เขตขงขวาง เลขที่ 18 สาขาวิชากรศึกษาปฐมวัย ห้อง1 ชั้นปีที่ 3 รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ หมายถึง เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเพราะประสบการณ์ทางศิลปะนั้นไม่เพียงส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์เท่านั้น หากยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4ด้านของเด็กในลักษณะบูรณาการ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการจัดประสบการณ์และกิจกรรมในลักษณะนี้มีคุณค่าและเอื้อต่อเด็กมากที่สุด ประสบการณ์ศิลปะส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็ก ได้ดังนี้
พัฒนาการทางด้านร่างกาย : พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้าม เนื้อเล็ก และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ 2. พัฒนาการทางด้านสังคม : มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้จากกันและกัน (cooperative learning) แลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักแบ่งปัน 3.พัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ : สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (confidence) เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเอง (self- esteem) การคิดดีและชื่นชมในผลงานของผู้อื่น สร้างวินัยและความรับผิดชอบ มีสุนทรียภาพ
4. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา : มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รู้จักแก้ปัญหา ทำงานแบบมีระบบ (วางแผน ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ) รู้จักคิดและชี้แจงเหตุผล สังเกต และเปรียบเทียบ ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุหรือประสบการณ์ในการสื่อความหมาย (ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในพัฒนาการทางด้านการคิดของเด็ก)
แนวคิด/ทฤษฏี การพัฒนาตัวเด็กโดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะเป็นการวางพื้นฐานสำหรับตัวเด็กที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต เขาจะเป็นผู้ที่มีความคิดฉับไว ในการแก้ปัญหา เพราะศิลปะช่วยพัฒนาความฉลาดในส่วนนี้ให้แก่เขาได้ (พีรพงษ์ กุลพิศาล, 2536) • ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้สร้างความรู้ด้วยการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ หรือได้ขยายความรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน และได้ใช้ความคิดใช้สมองทุกส่วน ทำการวิเคราะห์และแก้ปัญหา
2. การทำกิจกรรมกลุ่ม โดยกำหนดงานให้ผู้เรียนทำเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ผู้เรียนมีโอกาสค้นคว้าข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับพืชร่วมกันได้ • ประสบการณ์ตรง โดยจัดให้ผู้เรียนให้สัมผัสสภาพจริง ได้รับข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับหน้าที่ของพืช ปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การตอบสนองของพืช และพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อแสง อุณหภูมิ การสัมผัสและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
4. การกล้าคิดกล้าทำ โดยให้ผู้เรียนมีความมั่นใจจะพูดในสิ่งที่คิด และรู้สึกโดยไม่ต้องกลัวผิด ไม่อายทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม 5. การสร้างจิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรม โดยให้ผู้เรียนมีความรู้สึกรับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ศึกษา มีความตระหนักตื่นตัวและร่วมกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มีสำนึกที่ถูกต้อง ฝังลึก และไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอยู่ในภาวะใด
แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียน • การวาดรูประบายสี เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะ รู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพ ที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3- 4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีก กิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยใน การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา
การปั้น การปั้นดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้ รูปร่างต่างๆ • การพับกระดาษเป็นกิจกรรมในการพัฒนาจิตใจและสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และรู้สึกสนุกจึงทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความเคลื่อนไหวของมือและการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างจากกระดาษที่พับ
การฉีก-ปะกระดาษ เป็นกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริม การใช้ทักษะมือ และนิ้วมือ ที่เราเรียกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำงานได้ดีต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์ระหว่างตา กับมือด้วย • การพิมพ์ การพิมพ์ภาพเป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไป พิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้ • การเป่าสีคือการนำสีน้ำหรือสีโปสเตอร์ ผสมกับน้ำให้สีข้นพอสมควร โดยการหยดสีลงบนกระดาษ ใช้หลอดกาแฟจ่อปลายหลอดที่สี แล้วเป่าให้สีกระจาย จะได้ภาพสวยงามหลายหลากสี
การประดิษฐ์เศษวัสดุ เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าการประยุกต์ให้เศษวัสดุใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความภาคภูมิใจต่อผลงานของตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ มีส่วนร่วมทั้งความคิด จิตใจ สมอง เกิดความประทับใจ เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ จะทำให้เด็กค่อยๆ เกิดความคิด สร้างจินตนาการ นำไปสู่การคิดค้น การแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งานใหม่ได้
คำถาม • ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกกรมศิลปะข้อใดถูกต้องมากที่สุด • เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ จากการกระทำจริงและประสบการณ์ • เป็นกิจกรรมที่พัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย • เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้แสดงออกในการใช้ร่างกาย • เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์
2. กิจกรรมศิลปะประเภทใดสอนให้ผู้เรียนรู้จักคุณค่าและรู้จักประยุกต์ใช้สิ่งใกล้ตัวมากที่สุด • วาดภาพ • การพิมพ์ • การประดิษฐ์เศษวัสดุ • การเป่าสี
3.กิจกรรมศิลปะช่วยพัฒนาทักษะด้านใดบ้าง3.กิจกรรมศิลปะช่วยพัฒนาทักษะด้านใดบ้าง • มือ และ นิ้วมือ • มือ และ ตา • ตา และ กล้ามเนื้อหมัดเล็ก • ถูกทกข้อ
4.กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนแบ่งออกเป็นกี่ประเภท4.กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนแบ่งออกเป็นกี่ประเภท • 5 ประเภท • 6 ประเภท • 7 ประเภท • 8 ประเภท
5.ข้อใดบอกความหมายของ “ประสบการณ์ตรง” ให้ถูกต้องที่สุด • จัดให้ผู้เรียนให้สัมผัสสภาพจริง ของจริง ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง • ครู ทดลอง หรือปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเพียงอย่างเดียว • ครู จัดกิจกรรมนอกสถานทีจริงแต่ไม่ได้ให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง • ไม่มีข้อใดถูก
เฉลย • ก • ค • ง • ค • ก