190 likes | 546 Views
Future Research. รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษา ศาสตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 2556. นักอนาคตนิยม.
E N D
Future Research รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 2556
นักอนาคตนิยม.... นักอนาคตนิยมมีความเชื่อว่า อนาคตเป็นเรื่องที่สามารถทำการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ เขาเชื่อว่าความเชื่อของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ เขาเชื่อว่ามนุษย์สามารถจะควบคุมอนาคตได้ นั่นคือเชื่อว่ามนุษย์สามารถที่จะสร้างอนาคตได้ นี่เป็นความเชื่อพื้นฐานที่เป็นต้นกำเนิดของอนาคตนิยม และก็เป็นต้นกำเนิดของการคิดระเบียบวิธีวิจัยอนาคตทั้งหมด เพราะฉะนั้นจุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมากซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่อาจจะแตกต่างจากความเชื่อพื้นฐานของการวิจัยแบบอื่น ๆ
ประโยชน์…. • ช่วยในกระบวนการตัดสินใจ • ช่วยเตรียมคนสำหรับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลง • ส่งเสริมให้เกิดความปรองดองและร่วมมือ • ช่วยในการสร้างสรรค์ • เป็นเทคนิคด้านการศึกษา • ช่วยในการสร้างปรัชญาแห่งชีวิต • .....
ลักษณะการทำนายอนาคต... 1 การทำนายเชิงสำรวจ (exploratory forecasting) เป็นการมองไปข้างหน้า (outward bound) อาศัยปรากฏการณ์ในอดีตและปัจจุบันมาเป็นแนวโน้มที่จะบอกถึงอนาคตที่เป็นไปได้ โดยให้ความสนใจไปที่ปัญหาและโอกาสที่เป็นไปได้ในอนาคตนั้น
ลักษณะการทำนายอนาคต... 2 การทำนายเชิงปทัสถาน (normative forecasting) เริ่มจากการกำหนดอนาคตที่พึงปรารถนา (desirable future) ไว้ก่อน แล้วจึงย้อนกลับมา (backwards) พิจารณาสภาพในปัจจุบันว่า จะไปสู่อนาคตที่พึงปรารถนานั้นได้อย่างไร (how) มีอะไรที่จะทำให้สำเร็จ มีอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง มีอะไรที่เป็นอุปสรรคปัญหา
More about…. Exploratory or normative On this picture you see the whole field for future studies Ranging from the past where you can get resources to a multitude of futures. How can you endeavor the cone of possibilities? Use exploratory and normative research methods. Source: http://adventurefuture.wordpress.com/tag/trend-impact/
More about…. Exploratory or normative • The first choice in general are exploratory methods, methods which forecast forewardinto the future. Exploratory procedures are the ones emanating from an existing situation, and which prolong things under certain assumptions into the future. Scenarios that result from it are therefore extensions of the present into the future. • No wonder then that exploratory methods are foremost quantitative approaches, therefore things ideally adapted to calculations, producing countless numbers, like projections, trend calculations, probability analysis.
More about…. Exploratory or normative • You can add other methods such as trend impact analysis and cross impact analysis, which describe what new trends would change in this steady way forward, and how different parts of the future influence each other. • Exploratory methods start with the present, with the pre-conditions, beliefs and social or technological possibilities which already exist. The same in your private field. If you think about a savings plan for retirement or about planning your career, you are normally following an exploratory approach.
More about…. Exploratory or normative • Normative methods start with a desirable future. Here you design exciting futures on the drawing board. Especially in normative scenarios we find creative, adventurous and revolutionary possibilities. Here the future is open. • If exploratory methods are usually quantitative, normative scenarios show as qualitative. You are not forecasting, but backcasting, you postulate the future and then see how you could get there. You are not restricted by what exists and the allegedly possible. You start with the vision, with the new world, and then find a way to adapt the existing fact.
More about…. Exploratory or normative Ideally, you combine the two approaches as you can see in the picture. With normative, creative approaches you produce an abundance of desirable future scenarios, reflecting the abundance of the universe. You look back by backcasting, what has to happen on the way to each of these scenarios to make them come true. Then start today with explorative forecasting methods. Evaluate the points at which changes, inventions, trends are likely and how that affects the way into the future. See where the paths into the future and from the future meet and what this means for future decisions and actions.
เทคนิค...ศึกษาอนาคต เช่น ...... • Trend Exploratory • Delphi • Scenario • Matrix • Relevance Tree • Contextual Map • Simulation • Monte Carlo Analysis • Force Analysis • Alternative Futures • Marcov Chain • Precursor เป็นต้น เทคนิคต่างๆ เหล่านั้น มีเนื้อหารายละเอียดที่หากจะศึกษากันอย่างลึกซึ้ง คงต้องเปิดหลักสูตรสอนเป็นสาขาวิชาอนาคตศึกษา (Future Study) ขึ้นมา แต่ในที่นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอทางเลือกหนึ่งเพื่อการวิจัยอนาคต (Future Research) เท่านั้น เห็นว่า มีเทคนิคหนึ่งที่มีการใช้กันในบริบททางการศึกษา คือ เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) พัฒนาขึ้นโดย จุมพล พูลภัทรชีวิน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) EDFR ดูจาก “Ethnographic” และ “Delphi” แสดงว่า เป็นเทคนิคการวิจัยอนาคตเชิงปทัสถาน (normative forecasting) เริ่มจากการกำหนดอนาคตที่พึงปรารถนา (desirable future) ไว้ก่อน แล้วจึงย้อนกลับมา (backwards) พิจารณาสภาพในปัจจุบันว่า จะไปสู่อนาคตที่พึงปรารถนานั้นได้อย่างไร (how) มีอะไรที่จะทำให้สำเร็จ มีอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง มีอะไรที่เป็นอุปสรรคปัญหา เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) จากผู้เชี่ยวชาญ (experts)
EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) ศึกษารายละเอียดของ EDFR เพิ่มเติม • จุมพล พูลภัทรชีวิน .....จุดมุ่งหมายหลักของการวิจัยอนาคต มิใช่การทำนายที่ถูกต้อง แต่ต้องการสำรวจเพื่อศึกษาแนวโน้มที่เป็นไปได้ ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะหาทางทำให้แนวโน้มที่พึงประสงค์เกิดขึ้นและป้องกันหรือแนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์ให้หมดไป หรือถ้าทราบว่าไม่สามารถจะขจัดให้หมดไปได้ ทำอย่างไรจึงจะ “เผชิญหน้า” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากว่าแนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์นั้นเกิดขึ้นจริง ๆ จุดมุ่งหมายหลักนี้ย้ำความเชื่อพื้นฐานที่ว่า เราเน้นที่การควบคุมและจัดการอนาคต และเน้นที่ว่าเราสามารถที่จะสร้างอนาคตได้ตั้งแต่ปัจจุบัน ดังคำกล่าวที่ว่า “the future is now” อนาคตคือปัจจุบัน เพราะฉะนั้นข้อมูลที่เราได้จากการวิจัยอนาคตนี้ จึงมีประโยชน์โดยตรงต่อการกำหนดนโยบาย การวางแผน การตัดสินใจ ตลอดไปจนถึงวิธีการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การสร้างอนาคตที่พึงประสงค์ นี่เป็นจุดมุ่งหมายหลักของการวิจัยอนาคตเท่าที่พอสรุปให้ได้ตามความเข้าใจและตามประสบการณ์ที่มี
กรณีศึกษา ทิศทางของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 – 2564) The Tendency of Mahamakut Buddhist University in the Next Decade (2012-2021) ดร. พระมหาสาคร ภักดีนอก ข้อสังเกต... มมร. ไม่ได้อยู่ในสุญญากาศ แต่มีสภาพที่พึงประสงค์และยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิบัติอยู่ก่อนหน้า งานวิจัยนี้จึงศึกษาทิศทางในอนาคตจากสภาพที่พึงประสงค์และยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิบัติที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น เป็นข้อมูลพื้นฐาน
กรณีศึกษา... วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อทิศทางของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2555-2564) ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ • ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในทศวรรษหน้า • ความเหมาะสม/ไม่เหมาะสมและข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขในปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย • ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขและยุทธศาสตร์เพิ่มเติมในแต่ละพันธกิจ คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม ด้านการวิจัย และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม • ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขและข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์เพิ่มเติมในด้านการบริหารจัดการ • ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์ที่ควรทำและไม่ควรทำในทศวรรษหน้า
กรณีศึกษา....วิธีดำเนินการวิจัยกรณีศึกษา....วิธีดำเนินการวิจัย EDFR 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1การกำหนดผู้เชี่ยวชาญ 17 ราย จำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มนักวิชาการทางศาสนา ขั้นตอนที่ 2การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (รอบที่ 1) โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยประเด็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยภายนอกและภายในที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ 4 ด้าน และด้านการบริหาร รวมทั้งยุทธศาสตร์ที่ควรทำและไม่ควรทำ ขั้นตอนที่ 3การสอบถามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (รอบที่ 2) โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในรอบที่ 1 ขั้นตอนที่ 4การเขียนอนาคตภาพ ในประเด็นต่างๆ ที่วิจัยคือ ปรัชญา ปณิธานวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาในแต่ละพันธกิจ โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาถึงแนวโน้มของอนาคตภาพนั้นจากค่ามัธยฐาน (median) ที่มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 3.5 ขึ้นไป และมีค่าพิสัยควอไทล์เท่ากับหรือต่ำกว่า 1.50 ลงมา
การนำเสนอผลการวิจัย....การนำเสนอผลการวิจัย.... ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ถึงการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในบทที่ 4 ที่เชื่อมโยงกับการนำเสนอผลการรวบรวมข้อมูลในรอบที่ 1 และรอบที่ 2 ในภาคผนวก รวมทั้งการสรุป อภิปรายผล และการให้ข้อเสนอแนะในบทที่ 5ดูในhttp://www.mbuisc.ac.th/phd/thesis/Sakorn.pdf
หากตัดสินใจ... • หากตัดสินใจ..... ทำวิจัยเชิงอนาคต ผู้วิจัยควรเริ่ม review หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย เช่น ต้องการศึกษา “รูปแบบการเรียนการสอนในอนาคต” ผู้วิจัยควรต้องศึกษา “รูปแบบการเรียนการสอนในอนาคต” จากตำรา อินเตอร์เน็ต งานวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับผลการวิจัย เพราะผลการวิจัยจะเป็นผลจากการสัมภาษณ์ผู้เชียวชาญ • “รูปแบบการเรียนการสอนในอนาคต” ที่ review ในบทที่ 2 จะทำให้ผู้วิจัยมีความไวเชิงทฤษฎี เป็นแนวในการสร้างกรอบการวิจัย และเครื่องมือการวิจัย รวมทั้งเพื่อนำไปอ้างอิงเชิงเปรียบเทียบกับ “ผลการวิจัย” ที่ได้จาก “ผู้เชี่ยวชาญ” ในขั้นตอนการ “อภิปรายผล”
การทำวิจัยเชิงอนาคต....ผู้วิจัยการทำวิจัยเชิงอนาคต....ผู้วิจัย • เป็นนักอนาคต (futurist) • เป็นนักวางแผน (planner) • เป็นนักยุทธศาสตร์ (strategist) • เป็นผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (visionary leader) • เป็นผู้นำการตัดสินใจ (decision maker) • เป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ (creative leader) • เป็นผู้นำเชิงรุก (proactive leader) • เป็นผู้นำเพื่อเปลี่ยนแปลง (change leader) • ……..