391 likes | 920 Views
Research & Development R&D Research for Innovation. รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษา ศาสตร ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย 2556. การวิจัยและ พัฒนา ...จุดมุ่งหมาย.
E N D
Research & DevelopmentR&DResearch for Innovation รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 2556
การวิจัยและพัฒนา...จุดมุ่งหมายการวิจัยและพัฒนา...จุดมุ่งหมาย การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลผลิต (product) ซึ่งผลผลิตนี้ในทางธุรกิจอาจเรียกว่า “ผลิตภัณฑ์” ที่เป็นตัวสินค้า ในทางการศึกษาอาจเรียกว่า “นวัตกรรม” ที่อาจเป็นวัตถุ (material) หรืออาจเป็นหลักการ (principle) แนวคิด (concept) หรือทฤษฎี (theory) ที่สะท้อนให้เห็นถึงเทคนิคหรือวิธีการเพื่อการปฏิบัติด้วย
นวัตกรรม.. บางคณะวิชา...บางสาขาวิชา... บางภาคธุรกิจ... เพียงนึกภาพ ก็เห็นได้ชัดเจน แต่ทางการศึกษาหรือทางการบริหารการศึกษา ... ต้องคิดและต้องทำความเข้าใจ...
นวัตกรรมทาง (การบริหาร) การศึกษา... จุดมุ่งหมาย นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพของงาน ที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่ามีปัญหา (problem) หรือมีความต้องการจำเป็น(need) เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลสืบเนื่องจากการกำหนดความคาดหวังใหม่ที่ท้าทายของหน่วยงาน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทำงานจากกระบวนทัศน์เก่าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ที่บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ หรือเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่คาดหวังมาอย่างยืดเยื้อยาวนาน หรืออื่นๆ แล้วแต่กรณี
กระบวนการพัฒนานวัตกรรม... R&D R&D มีกระบวนการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบของ R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีขั้นตอนสุดท้ายใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) ในภาคสนามจริง มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทดสอบคุณภาพของนวัตกรรมในลักษณะ If X…then Y และเพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของนวัตกรรมนั้นด้วย จากนั้นจึงมีการเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ในวงกว้างต่อไป โดยนวัตกรรมนั้นอาจมีลักษณะเป็นการรับนำมาจากที่อื่น (adopt) หรือมีการปรับมาจากที่อื่น (adapt) หรือมีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (create)
จะพัฒนานวัตกรรม...อะไร ...ทำไม... การที่จะพัฒนานวัตกรรมอะไร จึงขึ้นกับว่า “อะไรคือ ปัญหา (problem) อะไรคือความต้องการจำเป็น (need) ของบุคคล และ/หรือของกลุ่ม และ/หรือของหน่วยงานนั้นๆ” ที่ควรแก้ไขหรือตอบสนองด้วยการวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีปรากฏการณ์หรือมีข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่แสดงให้เห็นว่า “มีอะไรบ้างที่เป็นปัญหาหรือเป็นความต้องการจำเป็น” ดังจะเห็นได้ว่า ในการทำวิจัยหรือในการทำวิทยานิพนธ์ ผู้วิจัยจะนำเอา “ปัญหาและความต้องการจำเป็น” มากล่าวถึงในหัวข้อ “ปัญหาและความสำคัญจำเป็นในการวิจัย” (บทที่ 1) เพื่อยืนยันว่า “ทำไมถึงพัฒนานวัตกรรมนั้นๆ”
R&D แตกต่างจาก PAR…. เพราะ R&D มีกระบวนการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบของ R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีขั้นตอนสุดท้ายใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) ในภาคสนามจริง การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ควบคู่กับการเรียนรู้ และการพัฒนาความรู้ใหม่จากการปฏิบัติงานจริงของผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ตามหลักการเรียนรู้จากการกระทำ (action learning) ตามวงจรแบบเกลียวสว่าน (spiral cycle) ของกิจกรรมการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนผล โดยผลจากการวิจัยจะมีข้อจำกัดในการนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ในวงกว้าง เนื่องจากเป็นการวิจัยในบริบทเฉพาะ แต่ก็สามารถใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้ ในบริบทที่คล้ายคลึงกันได้
กระบวนการหลักของการวิจัยและพัฒนา (R&D) กระบวนการหลักของการวิจัยและพัฒนา (R&D) 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดนวัตกรรม 2) การพัฒนานวัตกรรมและนำไปทดลองในภาคสนาม โดยพัฒนาบุคลากรให้มี “ความรู้” (knowledge) ในนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานจริง (action) ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทั้งคนและงาน รวมทั้งนักเรียนที่เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการจัดการศึกษา 3) การเผยแพร่นวัตกรรม หากผลการทดลองพบว่านวัตกรรมนั้นมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด พัฒนานวัตกรรมและนำไปทดลองในภาคสนาม เผยแพร่นวัตกรรม กำหนดนวัตกรรม กระบวนการหลักของการวิจัยและพัฒนา (R&D)
การกำหนดนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาการกำหนดนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา นวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาส่วนใหญ่เป็น “หลักการ แนวคิด หรือทฤษฎี” เพื่อการบริหารการศึกษา โดยหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีเหล่านั้น อาจเป็นนำเอามาใช้โดยตรง (adopt) หรืออาจปรับเอามาใช้ (adapt) หรืออาจริเริ่มขึ้นมาใหม่ (create) แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร หากเอามาใช้แล้วทำให้การทำงานดีขึ้นและส่งผลให้คุณภาพของการศึกษาไทยดีขึ้น ก็น่าจะถือว่าใช้ได้ create adopt adapt
ตัวอย่าง “หลักการ แนวคิด หรือทฤษฎี” เพื่อการบริหารการศึกษา ในปัจจุบัน เนื่องจากความเป็นสังคมความรู้ (knowledge society) และผลจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ทางการบริหารการศึกษาหลายประการ ทำให้มี “หลักการ แนวคิด หรือทฤษฎี” เพื่อการบริหารการศึกษาใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งหลายหลักการ หลายแนวคิด หรือหลายทฤษฎี ได้ถูกนำไปกล่าวถึงในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายทางการศึกษาแห่งชาติ หรือแม้แต่แผนหรือนโยบายของหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นต้นสังกัดของสถานศึกษาในส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น เช่น การบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐาน (school-based management) การบริหารแบบธรรมาภิบาล (good government management) การบริหารงานแบบโปร่งใส (transparency management) การบริหารงานที่เน้นความรับผิดชอบ (accountability management) การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (result-based management) การบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง (change management) ….. ฯลฯ เสียดาย !! หากสังคมไทยเป็นสังคมที่ Fluency in English จะทำให้บุคลากรทางการศึกษาเข้าถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เป็นสากลมากขึ้น ไม่ต้องนำมาคิดเพื่อ R&D ให้เกิดความกระจ่างเป็นภาษาไทยกันให้เสียเวลา
ตัวอย่าง “หลักการ แนวคิด หรือทฤษฎี” เพื่อการบริหารการศึกษา การจัดการความรู้ (knowledge management) สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (learning environment) การเรียนรู้แบบรวมพลัง (collaborative learning) ชุมชนการเรียนรู้ (learning community) วัฒนธรรมการเรียนรู้ (learning culture) วัฒนธรรมโรงเรียนที่เข้มแข็ง (strong school culture) บรรยากาศโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ (learning school climate) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (transformational leadership) ภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ (strategic leadership) ภาวะผู้นำทางวิชาการ (instructional leadership) ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ (distributed leadership) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (principal leadership) ภาวะผู้นำของครู (teacher leadership) ภาวะผู้นำแบบเสริมพลัง (empowered leadership) ภาวะผู้นำโรงเรียน (school leadership) ภาวะผู้นำทางการศึกษา (educational leadership) โรงเรียนที่มีประสิทธิผล (effective school) การบริหารคุณภาพโดยรวม (total quality management) การบริหารแบบมีส่วนร่วม (participatory management) ฯลฯ เสียดาย !! หากสังคมไทยเป็นสังคมที่ Fluency in English จะทำให้บุคลากรทางการศึกษาเข้าถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เป็นสากลมากขึ้น ไม่ต้องนำมาคิดเพื่อ R&D ให้เกิดความกระจ่างเป็นภาษาไทยกันให้เสียเวลา
ตัวอย่าง “หลักการ แนวคิด หรือทฤษฎี” เพื่อการบริหารการศึกษา มี “นานาทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21” สะท้อนให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษามากมาย ที่บุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะในสถานศึกษา ควรรับรู้ ควรทำความเข้าใจให้กระจ่าง เพื่อการตัดสินใจสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล เช่น Bloom’s Digital Taxonomy of Educational Objective ซึ่งเพิ่งมีการปรับปรุงแก้ไขในปี 2001 และ 2007 หรือรูปแบบการเรียนรู้ เช่น Project-Based Learning, Problem-Based Learning, Inquiry-Based Learning หรือรูปแบบการประเมินผล (assessment) รวมทั้งหลักความร่วมมือ (collaboration) ที่แม้มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แต่ในช่วงเวลานั้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลยังไม่เข้มข้นมากเท่าในปัจจุบัน เป็นภาพของกระบวนทัศน์แบบเดิมในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพของการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบพบปะกัน (face to face) ยังไม่มีภาพของคำว่า “ดิจิตอล” หรือ “ออนไลน์” มาบูรณาการอย่างชัดเจน จนกลายเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ขึ้นมา เช่น การประเมินผลออนไลน์ โครงการ PBL ออนไลน์ หรือแม้แต่ Digital Taxonomy of Educational Objective ไม่นับรวมแนวคิดใหม่ๆ อื่นๆ เช่น ชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ การสร้างเครือข่ายท้องถิ่นและโลก การสื่อสารและความร่วมมือออนไลน์ เป็นต้น
R&D: knowledge + action = power หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ต่างๆ เหล่านั้น (ยังมีอีกมากมาย) ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษา ที่คาดหวังว่า หากบุคลากรทางการศึกษา “มีความรู้” (knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวกเขานำความรู้เหล่านี้ไปสู่ “การปฏิบัติ” (action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง (power) ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามแนวคิด “knowledge + action = power” หรือตามคำกล่าวที่ว่า “make them know what to do, then encourage them do what they know” หรือ “link to on-the-job application” หลักการ แนวคิด ทฤษฎี รวมทั้งกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาเหล่านั้น สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ด้วยกระบวนการ Research and Development: R&Dใน 6 ขั้นตอน ข้อสังเกต – มีผู้ออกแบบงานวิจัย “พัฒนารูปแบบ....” ว่าเป็น R&D แต่ขาดการทดลองใช้จริงในภาคสนาม เห็นว่ารูปแบบนั้นน่าจะเป็น policy research ที่มี 2 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนแรกวิจัยเพื่อให้ได้ร่างตัวแบบ ขั้นตอนที่สองเอาร่างตัวแบบนั้นไปตรวจสอบหรือยืนยันด้วยเทคนิควิธีวิจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
R&D..6 ขั้นตอน การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของนักศึกษา เพราะจะทำให้ได้ “โปรแกรมพัฒนา......” ที่ถือเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัยว่า “มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และจะพัฒนาอย่างไร ดังนั้น วิธีดำเนินการวิจัยในบทที่ 3 จึงจะเริ่มต้นด้วยการนำเอา “โปรแกรมพัฒนา..... ที่ถือเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย” นั้นเป็นตัวตั้งต้นในขั้นตอนที่ 1 และการออกแบบวิจัยภาคสนามจะให้มีอย่างน้อย 2 โครงการ คือ “โครงการพัฒนาความรู้ให้กลุ่มทดลอง” และ “โครงการกลุ่มทดลองนำความรู้สู่การปฏิบัติ”
ผลสืบเนื่องจาก... การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 R&D…ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัยและการปรับปรุงแก้ไข เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับปัญหา ความจำเป็น และบริบท ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก คือ • การตรวจสอบ “โปรแกรมพัฒนา..... ที่ถือเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย” ที่พัฒนาได้จากบทที่ 2โดยวิธีการข้างล่างนี้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือกำหนดเพิ่มเติม หรือหลายวิธีผสมกัน เช่น • การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งทางวิชาการและทางการปฏิบัติ เป็นใครและจำนวนเท่าไรขึ้นกับเกณฑ์ที่จะกำหนด • การอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย (focus group discussion) เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจุดมุ่งหมายจะนำโปรแกรมไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ • การวิจัยเชิงสำรวจ (survey study) เพื่อสอบถามความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะนำโปรแกรมไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ • การปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ “โปรแกรมพัฒนา.....” อาจกำหนดเป็นชื่ออื่นได้ตามความเหมาะสม
R&D…ขั้นตอนที่ 2 จัดทำคู่มือ...ประกอบโปรแกรม การจัดทำคู่มือประกอบโปรแกรม ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก คือ การจัดทำคู่มือประกอบโปรแกรม ในโครงการอย่างน้อย 2 โครงการ คือ • คู่มือประกอบโครงการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มทดลอง เป็นความรู้เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” ที่พัฒนาขึ้น และความรู้เกี่ยวกับ “งาน” ที่จะให้พวกเขาปฏิบัติ ด้วยวิธีการฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงานต้นแบบ การศึกษาเป็นกลุ่ม การศึกษาด้วยตนเอง เป็นต้น • คู่มือประกอบโครงการกลุ่มทดลองนำความรู้สู่การปฏิบัติ “on the job developing” ซึ่งอาจเป็นคู่มือการมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้า การสัมมนากลุ่มย่อย การเป็นพี่เลี้ยง เพื่อนช่วยเพื่อน การประชุม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน หรืออื่นๆ ที่เชื่อมโยงไปถึงภาระงานที่กำหนดให้ปฏิบัติเป็นระยะๆ
ขั้นตอนนี้ถือเป็นภาระงานที่หนักสำหรับผู้วิจัย ต้องใช้เวลา ความขยัน อดทน และความพยายามสูง อย่างน้อยก็ประมาณ 1 ภาคเรียน แต่ก็ขึ้นกับผลการทำงานในระยะที่ผ่านมาของผู้วิจัยด้วย หากในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ได้ดี ก็จะทำให้มี “ความรู้” ที่จะนำมาจัดทำเป็นคู่มือประกอบโปรแกรมที่เพียงพอ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” และเกี่ยวกับ “งาน” และขอให้ข้อสังเกตด้วยว่า “คู่มือประกอบโปรแกรม” นี้ อาจเป็นคู่มือที่เป็นเอกสารตามที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป หรืออาจเป็นคู่มือเพื่อ e-learning เช่น แผ่นซีดีเพื่อศึกษาจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรืออาจผสมกันหลากหลายลักษณะ
R&D…ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบโปรแกรม...และปรับปรุงแก้ไข... RD..RD..RD.. การตรวจสอบโปรแกรมและการปรับปรุงแก้ไข 3 ระยะ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก แต่ก็ไม่ตายตัว ผู้วิจัยอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม โดยยึดจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบและการปรับปรุงแก้ไข 1. การตรวจสอบภาคสนามเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไข (preliminary field checking and revision) กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย และอื่นๆ แล้วแต่ความเหมาะสมกับงานวิจัย จำนวนหนึ่ง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก หรือการอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย แล้วแต่กรณี หรือทั้งสองวิธี มีจุดมุ่งหมายในการตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม ที่อาจใช้เกณฑ์ความถูกต้อง (accuracy) ความเป็นไปได้ (feasibility) ความสอดคล้อง (congruency) และความเป็นประโยชน์ (utility)
2. การตรวจสอบภาคสนามครั้งสำคัญและการปรับปรุงแก้ไข (main field checking and revision) กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย และอื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมกับงานวิจัย จำนวนหนึ่ง ที่ไม่ซ้ำกับข้อ 1 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก หรือการอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย แล้วแต่กรณี หรือทั้งสองวิธี มีจุดมุ่งหมายในการตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม ที่อาจใช้เกณฑ์พิจารณาเช่นเดียวกับข้อ 1 คือ ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ 3. การตรวจสอบเพื่อการยืนยันและการปรับปรุงแก้ไข (confirmative checking and revision) อาจใช้แบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย และอื่นๆ จำนวนหนึ่ง ที่ไม่ซ้ำกับข้อ 1 และข้อ 2 โดยอาจประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence Index: IOC) ระหว่าง “ความรู้” ที่กำหนดในคู่มือประกอบโปรแกรมกับวัตถุประสงค์ที่คาดหวัง ผลจากการตอบแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาค่า IOC หากรายการใดมีค่าตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น สูงกว่า .50 ก็แสดงว่า “ความรู้” นั้น มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่คาดหวัง นอกจากนั้น หากในแบบสอบถามนั้น มีคำถามแบบปลายเปิด และได้รับข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข ก็นำข้อเสนอแนะนั้นไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขคู่มือประกอบโปรแกรมด้วย
R&D…ขั้นตอนที่ 4 สร้างเครื่องมือเพื่อ.....การทดลอง สร้างเครื่องมือเพื่อการทดลองโปรแกรมในภาคสนาม หากประยุกต์จากแนวคิดของ Guskey (2000) ควรมีแบบประเมิน 5 ประเภท คือ 1. แบบประเมินปฏิกิริยา (reaction) ของกลุ่มทดลองต่อโครงการแต่ละโครงการหลังสิ้นสุดการดำเนินงานของโครงการนั้นๆ เพื่อดูประสิทธิผลของโครงการและหาข้อบกพร่องในการปรับปรุงแก้ไข โดยอาจวิธีการระดมสมอง การถอดบทเรียน หรืออื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลสะท้อนกลับตามความเหมาะสม 2. แบบประเมินความรู้ (knowledge) ของกลุ่มทดลอง โดยเฉพาะความรู้จากการดำเนินตาม “โครงการพัฒนาความรู้ของกลุ่มทดลอง” ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงระดับของความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติ ว่ามีมากเพียงพอที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้หรือไม่ หลังจากมีการดำเนินงานตามโครงการประเภทนี้แล้ว * สร้างเครื่องมือ หลังขั้นตอนที่ 4 ที่ “นวัตกรรม” ได้รับการปรับปรุงจนลงตัวแล้ว
3. แบบประเมินการนำความรู้สู่การปฏิบัติ (from knowledge to action) ของกลุ่มทดลอง เป็นการประเมินหลังจากที่มีการดำเนินงานตาม “โครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติ” ไปแล้วระยะหนึ่ง โดยอาจมีการประเมินเป็นระยะๆ หรือเมื่อสิ้นสุดโครงการในตอนท้ายของการวิจัย 4. แบบประเมินการเปลี่ยนแปลง (change) โดยอาจใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูล ภาพถ่าย หรืออื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงในงานที่ปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศองค์การ การเปลี่ยนแปลงในเทคนิคหรือวิธีการทำงาน และอื่น ๆ โดยอาจเก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย 5. แบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน (student learning outcome) ในกรณีที่โปรแกรมนั้นส่งผลถึงนักเรียนด้วย อาจเป็นแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ หรืออื่นๆ รวมทั้งความพึงพอใจของนักเรียนต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
R&D…ขั้นตอนที่ 5 การทดลองโปรแกรม....ในภาคสนาม การทดลองโปรแกรมในภาคสนาม (trial) ถือเป็นภาระงานที่หนักขั้นตอนหนึ่ง โดย การทดลองใช้โปรแกรมในหน่วยงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายการทดลอง ที่กำหนดตามรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experiment) รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น แบบการวิจัยแบบกลุ่มควบคุมไม่ได้สุ่ม แต่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (nonrandomized control-group pretest-posttest design) แบบวิจัยอนุกรมเวลา (time series design) แบบวิจัยอนุกรมเวลาแบบมีกลุ่มควบคุม (control-group time series design) เป็นต้น แล้วแต่ความเหมาะสม รูปแบบการทดลอง หากเป็นทางวิทยาศาสตร์มักเป็น pure-experiment แต่ทางสังคมศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์มักเป็น quasi-experiment
การทดลองโปรแกรมในภาคสนาม อาจใช้ระยะเวลา 1 ภาคเรียน เพื่อให้มีเวลาเพียงพอต่อการดำเนินงานในโครงการ 2 ประเภท คือ • โครงการพัฒนาความรู้กลุ่มทดลอง ในระยะเริ่มแรกของการทดลอง • โครงการกลุ่มทดลองนำความรู้สู่การปฏิบัติ โดยผู้วิจัยสามารถกำหนดชื่อโครงการได้ตามความเหมาะสม สรุปผลการทดลอง และปรังปรุงแก้ไขโปรแกรม โดยการสรุปผลนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อดูว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนั้นมีคุณภาพส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดในมิติต่างๆ ตามเครื่องมือการประเมินที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 5 หรือไม่? ในกรณีการปรับปรุงแก้ไขนั้น เป็นการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมโดยพิจารณาข้อมูลจากการสังเกต การบันทึก การสัมภาษณ์ การถอดบทเรียน และอื่นๆ ที่ผู้วิจัยใช้ในทุกระยะของการดำเนินการทดลอง From knowing.. To.. Acting step by step
เขียน....รายงาน R&D…ขั้นตอนที่ 6 การเขียนรายงานการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัย • ผลการตรวจสอบกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัยและการปรับปรุงแก้ไข • ผลการจัดทำคู่มือประกอบโปรแกรม • ผลการตรวจสอบโปรแกรมและการปรับปรุงแก้ไข 3 ระยะ • ผลการตรวจสอบภาคสนามเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไข • ผลการตรวจสอบภาคสนามครั้งสำคัญและการปรับปรุงแก้ไข • ผลการตรวจสอบเพื่อการยืนยันและการปรับปรุงแก้ไข • ผลการสร้างเครื่องมือเพื่อการทดลองในภาคสนาม • ผลการทดลองโปรแกรมในภาคสนาม (trial) เป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์ทดลองในภาคสนาม แสดงผลจากแบบประเมินต่างๆ ที่ใช้ • ผลผลิตสุดท้ายจากการวิจัย คือโปรแกรมพัฒนาที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากข้อมูลสะท้อนกลับที่ได้รับในช่วงการดำเนินการทดลองใช้โปรแกรม กรณีการเผยแพร่ผลงานวิจัย เช่น การนำเสนอผลงานวิจัยในการสัมมนาวิชาการ การตีพิมพ์ในวารสาร การจัดพิมพ์เป็นเอกสารหรือตำรา การนำเสนอในเว็บไซด์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เป็นต้น
รายงานผลการวิจัย คำแนะนำ ---- การนำเสนอผลการวิจัย ผู้วิจัยควรนำมาเสนอเป็นระยะๆ หรือหลังเสร็จสิ้นการทำวิจัยแต่ละขั้นตอน ไม่รอจนกว่าเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน มิฉะนั้นจะเกิดสภาพของภูเขาข้อมูล หรือสภาพได้หน้าลืมหลัง อาจมีผลทำให้นำเสนอข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ปฏิบัติจริง มีความสับสน อันเนื่องจากความเร่งรัดของเวลา ความเหนื่อยล้า ความท้อแท้ใจ ความหลงลืม และความมากมายของข้อมูล
ผลลัพธ์จาก R&D คือ ผลการวิจัยที่ได้รับการทดสอบยืนยันในคุณภาพที่สามารถนำไปเผยแพร่ในวงกว้างต่อไปได้.... ...ในกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณสมบัติเดียวกับกลุ่มที่ใช้ในการทดลอง เช่น การวิจัยมุ่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้กับบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน...เมื่อดำเนินการทดลองนวัตกรรมนั้นในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 แห่ง (เป็นแหล่งทดลอง) แล้วพบว่านวัตกรรมนั้นมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นๆ ทั่วประเทศได้พิจารณาใช้ โดยเชื่อว่า หากสถานศึกษาเหล่านั้น มีการปฏิบัติตามคู่มือและขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ก็จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวังได้ ผลลัพธ์ของ R&D แตกต่างจากผลลัพธ์ของ PAR --- “ผลลัพธ์จาก PAR มีข้อจำกัดในการนำไปเผยแพร่หรืออ้างอิง เพื่อใช้ในวงกว้าง เนื่องจากเป็นการวิจัยเพื่อปฏิบัติจริงในบริบทเฉพาะ แต่สามารถนำเอาประเด็นข้อคิด หรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือที่กำลังมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันได้”
หากทำ R&D ควรเริ่มทำอะไร หากตัดสินใจทำ R&D ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งที่ผู้วิจัยควรเริ่มทำแต่เนิ่นๆ คือ การ review วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่จะพัฒนานั้น เพื่อนำเสนอไว้ในบทที่ 2 เป็นวรรณกรรมที่ใหม่ๆ ไม่ล้าสมัย ทั้งจากเอกสาร ตำรา และจากอินเตอร์เน็ต ที่สำคัญต้องเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ กระบวนทัศน์ใหม่ๆ หากยังหลงติดกับของเก่า จะไม่เกิดประโยชน์ และจะเสียเวลาเปล่า นอกจากนั้นอาจศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรหรือการพัฒนาวิชาชีพ แนวคิดการออกแบบโปรแกรม ด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบนวัตกรรม และแนวทางในการดำเนินการทดลองในภาคสนาม – หาก review ไว้ดีเพียงใด ก็จะทำให้ผู้วิจัยทำ “คู่มือ” ประกอบนวัตกรรมในช่วงทำวิจัยได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น เน้นย้ำเรื่องข้อมูลใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ กับงานวิจัยทุกประเภท เพราะสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ผู้วิจัยต้องระมัดระวัง ก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ไม่หลงติดกับของเก่า ข้อมูลเก่า แนวคิดเก่า หรือกระบวนทัศน์เก่า
กรณีศึกษา http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Jintana.pdf http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/anan_thesis[1].pdf http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Dissertation_Pdf/Sumat.pdf http://www.mbuisc.ac.th/phd/thesis/thawon_proposal.pdf
คุณลักษณะผู้วิจัย R&D • เป็นนักสร้างสรรค์ (creator) • เป็นนักนวัตกรรม (innovator) • เป็นนักประดิษฐ์คิดค้น (inventor) • เป็นนักพัฒนา (developer) • เป็นนักเปลี่ยนแปลง (change agent) • เป็นนักแก้ปัญหา (problem solver) • เป็นนักทดลอง (experimenter) • เป็นนักเผยแพร่ (distributor) • เป็น ……………..