340 likes | 590 Views
การแปรรูป ปตท. ... เปลี่ยนรูป หรือ ปฏิรูป. ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน ห้องประชุมคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 15 พฤษภาคม 2549. การแปรรูป ปตท. ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่แปรรูปโดยใช้ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ (ปี 2544) เดิมที ปตท. จัดตั้งโดย พ.ร.บ. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521
E N D
การแปรรูป ปตท. ...เปลี่ยนรูป หรือ ปฏิรูป ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน ห้องประชุมคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 15 พฤษภาคม 2549
การแปรรูป ปตท. • ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่แปรรูปโดยใช้ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ (ปี 2544) • เดิมที ปตท. จัดตั้งโดย พ.ร.บ. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 • แปลงสภาพเป็น บมจ. ปตท. ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 โดยอาศัย พ.ร.ฎ. 2 ฉบับ • พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • พ.ร.ฎ. กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย • ปตท. : ขายหุ้น 30% ในปี 2544 ปัจจุบันเอกชนถือหุ้น 48%
ธุรกิจ และการลงทุนของ ปตท. ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ผู้ใช้ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ปิโตรเคมี
โครงสร้างธุรกิจของ ปตท. ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น • ธุรกิจสำรวจและผลิต • ธุรกิจระบบท่อส่งและท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ • ธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ • ธุรกิจจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ • การจัดจำหน่าย • ตลาดพาณิชย์ • ตลาดค้าปลีก • การค้าสากล • น้ำมันดิบ/คอนเดนเสท • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี • บจ.ปตท.(กัมพูชา) 100.00% • Subic Bay Energy Co., Ltd. 100.00% • บจ.รีเทล บิซิเนส อัลไลแอนซ์ 49.00% • บจ.ปตท.มาร์ท 49.00% • บจ.ไทยลู้บเบล็นดิ้ง 48.95% • Vietnam LPG Co., Ltd. 45.00% • Keloil-PTT LPG Sdn. Bhd. 40.00% • บจ.ปิโตรเอเชีย (ประเทศไทย) 35.00% • บจ.ปิโตรเอเชีย (Sanshui) 25.00% • บจ. ปิโตรเอเชีย (Huizhou) 25.00% • บจ. ปิโตรเอเชีย (Shantou) 15.00% • บจ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย 35.21% • บจ.บริการน้ำมันอากาศยาน 16.67% • บมจ.บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ 7.06% • บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ 2.76% • บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 66.32% • บจ. ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) 50.00% • บจ. ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (มาเลเซีย) 50.00% • บจ.ปตท.จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ 58.00% • บจ. พีทีที ยูทิลิตี้ 40.00% • บจ. ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น 35.00% • บจ.ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด 26.00% • บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) 20.00% • บจ. ราชบุรีเพาเวอร์ 15.00% • บจ.พีทีที แอลเอ็นจี 100.00% • ธุรกิจปิโตรเคมี • บมจ. ปตท. เคมิคอล 50.03% • บมจ. อะโรเมติกส์ 49.99% • บมจ. บางกอกโพลีเอททีลีน 50.00% • บจ. พีทีที โพลีเอททีลีน 50.00% • บจ. พีทีที ฟีนอล 40.00% • บจ. พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง 50.00% • บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลป์ไทย 31.50% • ธุรกิจการกลั่น • บมจ. ไทยออยล์ 49.54% • บมจ. โรงกลั่นน้ำมันระยอง 100.00% • บจ. สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง 36.00% • บมจ. บางจากปิโตรเลียม 7.60% • อื่น ๆ • บจ. เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ 50.00% • บมจ. ทิพยประกันภัย 13.33%
แนวทางการแปรรูป ปตท. แผน vs ปฏิบัติจริง
บทบาทของ ปตท. ในอดีตที่ผ่านมา • “บริษัทน้ำมันแห่งชาติ” • เป็นกลไกของรัฐในการ“แทรกแซงการกําหนดราคาผลิตภัณฑ์ก๊าซและนํ้ามัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและเพื่อประโยชน์ตอเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” (หนังสือชี้ชวน บมจ.ปตท. 2544)
แนวทางการแปรรูป ปตท. (มติครม. 10 ก.ค. 2544)ธุรกิจน้ำมันและโรงกลั่น • น้ำมัน: รัฐจะไม่ใช้ ปตท. เป็นกลไกในการแทรกแซงราคาอีกต่อไป • การกลั่น: ปตท. จะใช้ไทยออยล์ เป็นโรงกลั่นหลักในการธุรกิจน้ำมัน โดยจะขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทบางจากฯ เมื่อโอกาสเอื้ออำนวย และทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นในโรงกลั่นระยองฯ โรงกลั่นสตาร์ฯ
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการแปรรูป ปตท. :ธุรกิจน้ำมันและโรงกลั่น • รัฐแทรกแซงราคาน้ำมัน โดยใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง • หนี้กองทุนน้ำมัน เพิ่มจาก 10,000 ล้านในปี 2544 เป็น 70,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน • การขยายสัดส่วนตลาดของ ปตท. ในธุรกิจโรงกลั่น
ธุรกิจการกลั่นน้ำมัน: การขยายสัดส่วนตลาดของ ปตท. เดิมมีแผนให้ไทยออยล์เป็นโรงกลั่นหลักของ ปตท. เพียงแห่งเดียว กำลังผลิตรวมของโรงกลั่น ~ 1,012 kbpd ซื้อ ปี 2548 กำลังจะเพิ่มเป็น 30% ซื้อ 64% จาก Shell ปี 2547
แนวทางการแปรรูป ปตท. (มติครม. 10 ก.ค. 2544)ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ • ให้ ปตท. ไปดำเนินการแยกกิจการท่อก๊าซธรรมชาติ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่าย (legal separation) หลังการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ภายใน 1 ปี โดยให้ ปตท. คงการถือหุ้นในกิจการดังกล่าวในสัดส่วนร้อยละ 100 • เร่งดำเนินการเปิดให้บริการขนส่งก๊าซฯ ทางท่อแก่บุคคลที่สาม(Third Party Access) และเปิดให้มีการแข่งขันในแหล่งก๊าซฯ และตลาดก๊าซฯ ใหม่(ประมาณปี 2545 เป็นต้นไป) • ให้ สนพ. ร่วมกับกระทรวงพลังงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ในระยะสั้นหลังจากนั้นจะมีองค์กรกำกับดูแลอิสระจัดตั้งตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ ... ทำหน้าที่กำกับดูแลในระยะยาว (ประมาณปี 2545 เป็นต้นไป)
ร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน • จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการในกิจการไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ • ดึงอำนาจผูกขาด และอำนาจรัฐ (ในการเวนคืน และรอนสิทธิ) ออกจาก บมจ. ปตท. มาอยู่ที่องค์กรกำกับดูแล • ส่งเสริมการแข่งขันและป้องกันการผูกขาด
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการแปรรูป ปตท. : ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ • อำนาจผูกขาด และอำนาจในการเวนคืน/รอนสิทธิ ถูกโอนให้ บมจ. ปตท. • ไม่มีการแยกธุรกิจท่อก๊าซฯ และเปิดให้บริการ TPA แต่อย่างใด • ร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน ถูกแช่แข็งและต่อมาส่วนก๊าซธรรมชาติถูกตัดออกไปเหลือเพียง ร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการไฟฟ้า • ปตท. ได้ตัดเรื่องนโยบายการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซฯ ออกจากหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหุ้นกู้ และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ตั้งแต่ปี 2547
กำไรของ ปตท. และภาระของผู้บริโภค
ผลประกอบการของ ปตท. รายได้ 929,716 รายได้ กำไรสุทธิ
โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ผู้ใช้ก๊าซ โครงสร้างราคาขาย ค่าเนื้อก๊าซ ค่าการจัดการ ค่าผ่านท่อ + + ผู้ผลิตไฟฟ้า ~ 75% EGAT ~ 34% ~ 19.4 Bt/mmbtu ค่าเฉลี่ยราคา รับซื้อก๊าซ 1.75% IPP ~ 27% 1.75% SPP ~ 14% 9.33% GSP ~ 16% เหมือนโครงสร้างราคาของผู้ผลิตไฟฟ้า ปิโตรเคมี กลไกการปันผลบนฐานราคาตลาดปิโตรเคมี LPG อ้างอิงราคาที่ตกลงกับ Saudi Aramco อุตสาหกรรม ~ 9% เทียบเคียงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง NGV แข่งขันกับราคาดีเซล • สัญญามีระยะเวลา 25 – 30 ปี หรือ จนกระทั่งหมดแหล่งก๊าซ หรือ เลิกสัญญา • อัตราค่าผ่านท่ออยู่ที่ 19.4 Bt/mmbtu
กำไรสุทธิของ ปตท. = ภาระของผู้บริโภค รายได้กว่า ร้อยละ 90 มาจาก คนไทย มาจากผู้ใช้ไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรม มาจากค่าการกลั่นซึ่งผู้ใช้น้ำมัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นผู้จ่าย มาจากผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และ การส่งออก 85,521 ล้านบาท
กำไรก้าวกระโดด …มีปัจจัยจากอะไร?กำไรก้าวกระโดด …มีปัจจัยจากอะไร?
มุมมองของ ปตท. / ผู้ถือหุ้น ประสิทธิภาพ ภาวการณ์ของตลาดโลก และภายในประเทศ มุมมองของประชาชน/ผู้บริโภค การแปลงสภาพเป็นบริษัทเอกชนมุ่งหวังกำไรและผลตอบแทนสูงสุดของผู้ถือหุ้น การแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ทางธุรกิจโรงกลั่น โครงสร้างกิจการก๊าซที่ผูกขาด การกำกับดูแลที่ไร้ประสิทธิภาพ/และมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากต้นน้ำ – ปลายน้ำ นโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้ ปตท. เหตุปัจจัยของกำไรที่พุ่งสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดของ ปตท.
1 . การแปลงสภาพเป็นบริษัทเอกชนมุ่งหวัง กำไร และผลตอบแทน • ข้อบังคับ บมจ. ปตท. : คณะกรรมการมีหน้าที่บริหารเพื่อผลตอบแทนสูงสุดของผู้ถือหุ้น • กฎ ระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ คุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อยจากการใช้มติของผู้ถือหุ้นใหญ่ (กระทรวงการคลัง 52%) ในทางที่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสียประโยชน์
เป็นกิจการที่ลงทุนสูงเป็นกิจการที่ลงทุนสูง กลุ่ม ปตท. ครอบครองสัดส่วนตลาดถึง 84% กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าไม่สามารถใช้บังคับได้กับรัฐวิสาหกิจ ค่าการกลั่นปัจจุบันสูงกว่าระดับคุ้มทุน (2$/bbl) มาก 2. การแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ของธุรกิจโรงกลั่น ค่าการกลั่น $/bbl
ก ฟ น . บริษัทสัมปทาน บ . ปตท . ( ก๊าซ ) ก ฟ ผ . แหล่งก๊าซฯ บ้าน ระบบผลิต ระบบส่ง ระบบจำหน่าย กฟผ . โรงงาน พลังน้ำ ประชา ชน กฟผ . ลิกไ นต์ ก ฟ ภ . DSCR บ้าน กฟผ . ก๊าซยาดานา , TOP เยตากุน โรงงาน ท่อก๊าซ (TOP) (TOP) IPP TOP TOP IRROE ผู้ลงทุน IRR ก๊าซอ่าวไทย SPP ( ผู้ใช้ไฟฟ้าตรง ) TOP TOP IRR ผู้ลงทุน ผู้ใช้ไฟฟ้าข้าง นิคมฯ 3. โครงสร้างกิจการก๊าซที่ผูกขาดจาก ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ROIC SFR/DSCR ROIC SFR DSCR ROIC SFR/DSCR โรงงาน
การผูกขาดของ ปตท. • กิจการท่อก๊าซเป็นกิจการผูกขาดโดยธรรมชาติ • บมจ. ปตท. ได้รับการโอนสิทธิต่าง ๆ จาก พ.ร.บ. ปตท. • สิทธิในการจัดหา ขนส่ง และจำหน่าย • สิทธิรับซื้อปิโตรเลียมที่ผลิตได้เป็นอันดับแรกจากผู้รับสัมปทาน (Right of First Refusal) • สิทธิในการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เสมือนเป็นผู้รับสัมปทานโดยการอนุมัติของ ครม. โครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.
ก. คลัง อื่น ๆ 52% 48% สิทธิประโยชน์ ของรัฐ ผูกขาด บมจ. ปตท. ผู้บริโภค ส่งผ่านต้นทุน อื่น ๆ 66% 34% สิทธิประโยชน์ ของรัฐ บมจ. ปตท.สผ. 4. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • ปตท. และ ปตท.สผ. มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ • รัฐให้สิทธิ ประโยชน์แก่ ปตท. และส่งต่อไปยัง ปตท.สผ. • ปตท. ผูกขาดการซื้อก๊าซ สามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภค • ปตท. เป็นคู่สัญญา แต่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ ปตท.สผ. • ผลประโยชน์ของ ปตท.สผ. นำกลับสู่รัฐเพียงแค่ 33%
5. การกำกับดูแลที่ไม่ชัดเจน และ ไร้ประสิทธิภาพ • การจัดหา ขนส่ง จำหน่ายก๊าซ : กพช. , สนพ. • ราคาเนื้อก๊าซ : คณะกรรมการปิโตรเลียม • ค่าการกลั่น : คกก. บริหารนโยบายพลังงาน , สนพ.
การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติการกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ • ในปัจจุบัน : กำกับการจัดหา ขนส่งและจำหน่าย โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)และสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สนพ.) • กพช. : นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยมีคณะกรรมการดังนี้ • รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ◊ รมต. กระทรวงคมนาคม • รองนายกรัฐมนตรี ◊ รมต. กรทะรวงกลาโหม • รมต. ประจำสำนักนายกฯ ◊ รมต. กระทรวงการคลัง • รมต. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ◊ รมต. กระทรวงพาณิชย์ • รมต. กระทรวงวิทยาศาสตร์ ◊ รมต. กระทรวงมหาดไทย • รมต. กระทรวงอุตสาหกรรม ◊ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม • เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ◊ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ • เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม • อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ◊ ปลัดกระทรวงพลังงาน • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ (เลขานุการ) • ในอนาคต : มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระโดยมี พ.ร.บ. รองรับ?
คกก. ปิโตรเลียม และผลประโยชน์ทับซ้อน
ประโยชน์จากสถานะ “รัฐวิสาหกิจ” อำนาจสิทธิ ประโยชน์ ตามกฎหมาย รับโอนทรัพย์สินส่วนกลาง สิทธิในการผูกขาด สิทธิในการรับซื้อก๊าซจากผู้รับสัมปทานเป็นรายแรก สิทธิในการสำรวจพัฒนาผลิตปิโตรเลียม สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ข้อบังคับให้ กฟผ. / หน่วยราชการซื้อน้ำมันดีเซลจาก ปต มติ ครม. อนุญาตให้ ปตท. ร่วมทำธุรกิจ CHP กับการไฟฟ้า และขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบ มติ ครม. อนุมัติให้ ปตท. ผูกขาด LNG พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้าไม่สามารถบังคับใช้ได้ เงินอุดหนุนจากรัฐ ปตท. รับการอุดหนุนจากกองทุนอนุรักษ์เพื่อส่งเสริม NGV คลังก๊าซ LPG ของ ปตท. ได้รับเงินอุดหนุนค่าขนส่ง 6. การเลือกใช้สถานะกึ่งรัฐ กึ่งเอกชน ในการหาประโยชน์ทางธุรกิจ (1)
ประโยชน์จากสถานะ “เอกชน” คณะกรรมการต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่มุ่งเน้นผลตอบแทนสูงสุดของผู้ถือหุ้น กฎ ระเบียบ กลต. ปกป้องคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อย การส่งเสริมการลงทุนของ BOI บริษัทลูกที่ ปตท. ถือหุ้น ร้อยละ 50 – 67 ถือเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับคณะกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องนำมติ ครม. (7 เมย. 47) เรื่องหลักเกณฑ์การกระจายหุ้น IPO รัฐวิสาหกิจมาใช้ในการกระจายหุ้นของ TOP และ RRC MD ของ RRC ไม่ต้องมาจากการสรรหาตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับคณะกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ? 6. การเลือกใช้สถานะกึ่งรัฐ กึ่งเอกชน ในการหาประโยชน์ทางธุรกิจ (2)
ก. คลัง อื่น ๆ 52% 48% สิทธิประโยชน์ ของรัฐ ผูกขาด บมจ. ปตท. ผู้บริโภค ส่งผ่านต้นทุน อื่น ๆ 66% 34% สิทธิประโยชน์ ของรัฐ บมจ. ปตท.สผ. สรุป แปรรูป = แปลงพันธุกรรม?