560 likes | 757 Views
บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. ความหมายของคอมพิวเตอร์.
E N D
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computareซึ่งหมายถึงการนับหรือ การคำนวณ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • ในระยะ 5,000 ปี ที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนาเป็นอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ลูกหิน
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณ เรียกว่า ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier's Bonesเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal ได้ออกแบบเครื่องมือช่วยในการคำนวณโดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟือง เครื่องมือนี้สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณบวกและลบ เท่านั้น ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าไร
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2216 นักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ Gottfried Wilhelm Baronvon Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของปาสกาล ซึ่งใช้การบวกซ้ำๆ กันแทนการคูณเลข จึงทำให้สามารถทำการคูณและหารได้โดยตรง และยังค้นพบเลขฐานสอง (Binary Number)
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard พัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่งควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตรในเวลาต่อมา และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ชุดคำสั่ง (Program) สั่งทำงานเป็นเครื่องแรก
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2373 Charles Babbage ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ของอังกฤษ ได้สร้างเครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณและพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ แต่ก็ไม่สำเร็จตามแนวคิด ด้วยข้อจำกัดทางด้านวิศวกรรมในสมัยนั้น แต่ได้พัฒนาเครื่องมือหนึ่งเรียกว่า เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • เครื่องนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ • 1. ส่วนเก็บข้อมูล • 2. ส่วนประมวลผล • 3. ส่วนควบคุม • 4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ ด้วยเครื่องวิเคราะห์ มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์ "
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2385 สุภาพสตรีชาวอังกฤษชื่อ Lady Augusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนขั้นตอนของคำสั่งวิธีใช้ เครื่องนี้ให้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน จึง นับได้ว่า ออกุสต้า เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรก ของโลก และยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรูที่ บรรจุชุดคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำใหม่ นั่นคือหลักการทำงานวนซ้ำ หรือที่เรียกว่า Loop
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้สร้างระบบพีชคณิตแบบใหม่ เรียกว่า พีชคณิตบูลลีน (Boolean Algebra) ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการออกแบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการออกแบบทางตรรกวิทยาของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันด้วย
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2423 Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติเครื่องแรก ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกา
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2480 ศาสตราจารย์ Howard Aiken ได้พัฒนาเครื่องคำนวณตามแนวคิดของแบบเบจ ร่วมกับวิศวกรของบริษัท ไอบีเอ็มได้สำเร็จ โดยเครื่องจะทำงานแบบเครื่องจักรกลปนไฟฟ้าและใช้บัตรเจาะรู เครื่องมือนี้มีชื่อว่า MARK Iหรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า IBM Automatic Sequence Controlled Calculator และนับเป็นเครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2486 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์วิจัยของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ต้องการเครื่องคำนวณหาทิศทางและระยะทางในการส่งขีปนาวุธ ซึ่งถ้าใช้เครื่องคำนวณสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 12 ชม.ต่อการยิง 1 ครั้ง ดังนั้น จึงให้ทุนอุดหนุนแก่ John W. Mauchly และ Persper Eckert สร้างคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา มีชื่อว่า ENIAC (Electronic Numerical Intergrater and Calculator) สำเร็จในปี พ.ศ. 2489 โดยนำหลอด สุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ เครื่องมีความเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำในการ คำนวณมากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ • พ.ศ. 2492 Dr. John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้สำเร็จ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวคิดนี้ได้แก่ EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) และนำมาใช้งานจริงในปี 2494 และในเวลาเดียวกันมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ก็ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ในลักษณะคล้ายกับเครื่อง EDVAC นี้ และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Storage Automatic Calculator) มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ EDVAC คือเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำ แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไปคือ ใช้เทปแม่เหล็กในการบันทึกข้อมูลต่อมา ศาสตราจารย์แอคเคิทและมอชลี ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีก ชื่อว่า UNIVAC I (Universal Automatic Calculator) ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อขายหรือเช่า เป็นเครื่องแรกที่ออกสู่ตลาด
วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ • ยุคที่ 1 ใช้หลอดสูญญากาศ
วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ • ยุคที่ 2 ใช้ทรานซิสเตอร์
วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ • ยุคที่ 3 ใช้ไอซี (IC : Intergrated Circuit)
วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ • ยุคที่ 4 ใช้แอลเอสไอ (VLSI : Very Large Scale Integrated)
ประเภทของคอมพิวเตอร์ • แบ่งตามหลักของการแทนค่าข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ • แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) • ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) • แบ่งตามลักษณะการใช้งาน • คอมพิวเตอร์เฉพาะกิจ (Special-Purpose Computer) • คอมพิวเตอร์ใช้งานทั่วไป (General-Purpose Computer)
ประเภทของคอมพิวเตอร์ • แบ่งตามขนาดของเครื่อง • ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computers) • Desktop, Laptop, Notebook • Handheld Computer Palmtop ,Tablet ,Smart Phone • สถานีงาน (Workstations) • มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computers) • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computers) • ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computers)
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ • คน (Peopleware) • ตัวเครื่อง (Hardware) • ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ • โปรแกรมคำสั่ง (Software) • System Program • Application Program
ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ • หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) • หน่วยควบคุม (Control Unit) • หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ (ALU :Arithmetic Logic Unit) • Register • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) • หน่วยแสดงผล (Output Unit) • หน่วยความจำ (Memory Unit) • หน่วยความจำหลัก (Primary memory : Main memory) • หน่วยความจำสำรอง (Secondary memory : Storage)
รูปแสดงส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์รูปแสดงส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ • หน่วยความจำที่เรียกว่า ROM (Read Only Memory)ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำ แม้จะปิดไฟเครื่อง สิ่งที่บันทึกอยู่ก็จะไม่หาย • หน่วยความจำที่เรียกว่า RAM (Random Access Memoryใช้เป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมของผู้ใช้ โดยจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ลบออกได้ แต่เมื่อปิดไฟเครื่อง ข้อมูลที่อยู่ในส่วนนี้จะหายไปหมด
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ • หน่วยที่เล็กที่สุดที่อาจเป็นเลข 0 หรือ 1 เรียกว่า บิต (Bit) ที่ย่อมาจาก Binary Digit และเมื่อนำเอาบิตมารวมกันเป็นกลุ่ม เช่น 8 บิต เรียกว่า 1 ไบต์ (Byte) โดย 1 ไบท์จะใช้แทนตัวอักษรหรือตัวเลข 1 ตัว ทุกๆไบท์จะมีหมายเลขกำกับ (Address number) ขนาดของหน่วยความจำจะขึ้นอยู่กับจำนวนไบท์ โดยไบท์จะมีหน่วยเป็น KB (Kilobyte) หรือ MB (Megabyte) หรือ GB (Gigabyte) เช่น เครื่อง IBM มีหน่วยความจำขนาด 128 Mb คือ เครื่องนี้จะสามารถเก็บตัวอักษรหรือตัวเลขได้ 128*1,024*1,024 ตัวอักษร เป็นต้น • ( 1 Kilobyte = 210 = 1,024 bytes) • ( 1 Megabyte = 210 * 210 = 1,048,576 bytes) • ( 1 Gigabyte = 210 * 210 * 210= 1,073,741,824 bytes)
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ • โปรแกรมระบบ (System Program) • ระบบปฏิบัติการเช่น Windows, Linux, UNIX, iOS, Android ฯลฯ • โปรแกรมจัดการระบบ เช่น Control Panel, Disk Defragment, Disk Cleanup, Windows Registry ฯลฯ • โปรแกรมแปลภาษา Compiler และ Interpreter • BASIC, FORTRAN, COBOL, PASCAL, C, VB, VC, Delphi, .net, Java • โปรแกรมประยุกต์ (Application Program) • โปรแกรมเฉพาะงาน(เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์) เช่น Microsoft Office, Internet Browserโปรแกรมสำนักงาน, โปรแกรมระบบบัญชี, โปรแกรมทะเบียน, งานวิจัย
ภาษาคอมพิวเตอร์ • ภาษาเครื่อง (Machine Language) • คำสั่งของภาษาประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง (0 และ 1) • ภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ (Human Oriented Language) • ภาษาระดับต่ำ (Low level language) • มีเพียงภาษาเดียวเท่านั้น คือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) • ภาษาระดับสูง (High level language) • BASIC, FORTRAN, COBOL, PASCAL, C, VB, VC, Delphi, .net, Java
รหัสแทนข้อมูล • รหัส BCD (Binary Code Decimal) • 1 ไบต์ 6 บิต ได้ 64 ลักษณะ • รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) • 1 ไบต์ 8 บิต ได้ 256 ลักษณะ • รหัส ASCII (American Standard Code Information Interchange) • 1 ไบต์ 8 บิต ได้ 256 ลักษณะเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน • รหัส Unicode (American Standard Code Information Interchange) • 1 ไบต์ 16 บิต ได้ 65536 ลักษณะ
ประโยชน์และข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ประโยชน์และข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ • ความเร็ว (Speed) • ความถูกต้อง (Accuracy) • ความน่าเชื่อถือ (Reliability) • การเก็บรักษาข้อมูลหรือโปรแกรม (Retention) • การประหยัด (Economy) • การใช้งานได้หลาย ๆ ด้าน (Wide Applicability)
ประโยชน์และข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ประโยชน์และข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ • การทำงานต้องขึ้นกับมนุษย์ (Dependence of People) • การวางระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลามาก (Time-Consuming System) • การรบกวนระบบงานปกติ (Disruptiveness) • การไม่รู้จักปรับปรุงให้ดีขึ้น (Unadaptiveness)
ความหมายของการประมวลผลข้อมูลความหมายของการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) หมายถึง การกระทำ กระบวนการต่างๆ ของข้อมูลเพื่อเกิดสารสนเทศที่มีความหมาย หรือมีประโยชน์ • ข้อมูล (Data) หมายถึง วัตถุดิบ หรือข้อเท็จจริง เช่น ตัวเลข, ตัวอักขระ, ข้อความ, รูปภาพ, เสียง หรือภาพยนตร์ เป็นต้น • สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลซึ่งมีการประมวลผลแล้ว และมีการจัดเรียงข้อมูลอย่างเป็นระเบียบให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ความหมายของการประมวลผลข้อมูลความหมายของการประมวลผลข้อมูล ลำดับการประมวลผลข้อมูล Data ข้อมูล Processing การประมวลผล Information สารสนเทศ
องค์ประกอบข้อมูล มีองค์ประกอบของข้อมูลดังนี้ • บิต (Bit)คือ หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 • ไบต์ (Byte)คือ กลุ่มของบิตใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์พิเศษ เพียง 1 ตัว เช่น 01000001 คือ ตัว A โดยที่ 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ • ฟิลด์ (Field) คือ กลุ่มของไบต์ที่รวมกันแล้วมีความหมาย เช่น ชื่อ, นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์
องค์ประกอบข้อมูล มีองค์ประกอบของข้อมูลดังนี้ • เรคอร์ด (Record) คือ กลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น เรคอร์ดของข้อมูลนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ฟิลด์รหัส, ชื่อ, นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, อายุ, ที่อยู่, ชั้น, ปี เป็นต้น • แฟ้มข้อมูล (File)คือ กลุ่มของเรคอร์ดที่มีข้อมูลเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา, แฟ้มข้อมูลประวัติคนไข้, แฟ้มข้อมูลสินค้า เป็นต้น • ฐานข้อมูล (Database) คือ กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันหลายๆ แฟ้มข้อมูล มารวมกันเป็นระบบ เช่น ฐานข้อมูลระบบทะเบียนนักศึกษา, ระบบคงคลังสินค้า เป็นต้น
องค์ประกอบข้อมูล แสดงองค์ประกอบข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล แสดงการแยกขั้นตอนการประมวลผลในลำดับการประมวลผล ดังนี้
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ไวรัสคอมพิวเตอร์ • ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญมากๆ ถ้าไม่มีการเก็บรักษาและป้องกันที่ดีข้อมูลเหล่านี้ ก็อาจจะถูกทำลายให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เนื่องจากมีโปรแกรมบางชนิด ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลายข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราจะรู้จักในชื่อว่า “ไวรัสคอมพิวเตอร์” • ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปแทรกอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็จะสำเนาตัวเองไปสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ต่อไปและเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส โดยอาจจะผ่านทางไฟล์ต่างๆ หรือ อีเมล์
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ตามบูตเซ็กเตอร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์พันธุ์นี้จะแพร่กระจายโดยติดในบูตเซ็กเตอร์ หรือบู๊ตเรคอร์ด ซึ่งเป็นเนื้อที่สำคัญของระบบเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ ทุกครั้งที่ทำการเปิดเครื่อง ระบบจัดการของคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลจากบูตเซ็กเตอร์ และโหลดเข้าไปในหน่วยความจำก่อนเสมอ ทำให้ไวรัสถูกโหลดไปหลบซ่อนในหน่วยความจำ เพื่อรอจังหวะแพร่กระจายต่อไปยังแผ่นดิสก์
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • ไวรัสที่เกาะตามไฟล์หรือโปรแกรม ส่วนมากจะเกาะติดไฟล์ที่มีสกุล COMหรือEXE คือเมื่อมีการใช้งานโปรแกรมที่มีนามสกุลดังกล่าว ไวรัสประเภทนี้จะแยกตัวไปซ่อนอยู่ในหน่วยความจำ แล้วหาทางเกาะติดไฟล์ที่มีนามสกุลดังกล่าว ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์ หรืออาจจะไปเกาะติดและทำลายไฟล์ที่นามสกุล COM หรือEXE เรียกใช้งาน
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • ไวรัสมาโคร เป็นโปรแกรมทำงานอย่างอัตโนมัติที่มีขนาดเล็ก ที่มีติดตั้งอยู่ในชุดโปรแกรมสำนักงาน (Microsoft Word, Excel, Power Point เป็นต้น) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างโปรแกรมสั่งการทำงานหลายๆ อย่างได้พร้อมกันในคราวเดียว ไวรัสมาโครจะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ ในการสร้างเอกสาร (Documents ) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุกๆ เอกสารที่เปิดขึ้นด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้งานไฟล์นั้นๆได้
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • ม้าโทรจัน (Trojan Horse Virus) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่คำสั่งของโปรแกรมทันที และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบ
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • หนอน (Worm) ไวรัสพวกนี้ไม่น่าจัดว่าเป็นไวรัสเพราะมันจะไม่เกาะติดกับไฟล์ใดๆ แต่จะจำลองตัวและเพิ่มจำนวนคลืบคลานไปตามเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายอินเทอร์เนตที่มีการเชื่อมต่อกัน ในปัจจุบันเราถูกหนอนพวกนี้โจมตีมากที่สุด ในการเดินทางของมันจะมีการใช้บริการของ E-mail, สาย Network และอื่นๆ และพวกหนอนเหล่านี้ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ทำให้ยากแก่การดักจับและการทำลาย
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • อาการของคอมพิวเตอร์เมื่อมีไวรัสคอมพิวเตอร์ • เนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์ลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไม่ได้ลงโปรแกรม หรือนำข้อมูลมาลง • วินโดวส์แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ข้อความโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโปรแกรมบางตัวทำงานโดยที่ไม่ได้สั่ง • คอมพิวเตอร์ทำงานช้า อืดผิดปกติทั้งๆที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไร • ไฟล์ข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ทุกครั้งที่ใช้งาน • เปิดหรือการโหลด เข้าใช้งานโปรแกรมเข้าสู่หน่วยความจำใช้เวลานานขึ้น • เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดอาการแฮงค์ (Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ อยู่ดีๆโปรแกรมก็ปิดเอง
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • อาการของคอมพิวเตอร์เมื่อมีไวรัสคอมพิวเตอร์ • เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ บูตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ • เปิดไฟล์เอกสารไม่ได้ทั้งๆที่เคยเปิดอยู่ทุกวัน หรือเปิดได้แต่เป็นตัวอักษรประหลาดๆ ปนมาด้วย • เครื่องคอมพิวเตอร์มีการกระทำที่แปลกๆ สุดแต่ผู้เขียนโปรแกรมไวรัสจะกำหนดมา เช่น อาจส่งเสียงพิสดารต่างๆ หรือกดอักษร A หนึ่งครั้ง ก็แสดงอักษร A ออกมาได้หลายสิบตัว • เปิดเล่น โปรแกรม IE, Mozilla Firefox เข้าเว็บ สแกนไวรัส.com แล้วมีข้อความโฆษณาหรือข้อความแปลกๆขึ้นที่หน้าจอ • โปรแกรมป้องกันไวรัสไม่สามารถเปิดได้ หรือเปิดโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้ อยู่ดีๆโปรแกรมที่ใช้ทุกวันก็หายไป
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • อาการของคอมพิวเตอร์เมื่อมีไวรัสคอมพิวเตอร์ • เครื่องมีการรีสตาร์ทหรือปิดเองขณะใช้งาน หรือไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้ • ฮาร์ดดิสก์ หรือ CPU ทำงานมากอย่างผิดสังเกต หรือไฟแสดงการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย (เช่น Broadband Modem, Hub, Switch) ติดตลอดเวลา โดยที่ท่านไม่ได้ใช้งานอะไรเป็นพิเศษ • มีไฟล์ต่างๆ เช่น Autorun.inf หรือไฟล์นามสกุล .vbsในไดรฟ์ต่างๆ โดยที่ไม่ได้สร้างขึ้น • ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ • เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ • แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • อาการของคอมพิวเตอร์เมื่อมีไวรัสคอมพิวเตอร์ • ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป • อาการของการติดไวรัสนั้นยังมีอีกมากมาย ขึ้นอยู่กันชนิดของไวรัสด้วยโดยทางสแกนไวรัส.com ขอเสนออาการที่ท่านสามารถสังเกตได้โดยง่ายเท่านั้น แต่ความเข้าใจผิดบางอย่างก็อย่าไปเข้าใจว่าเป็นอาการของไวรัสทั้งหมดนะครับ