1 / 67

รู้จัก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

รู้จัก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. ก่อตั้งในปี 2537 เป็นองค์กรเอกชนสาธารณกุศล กิจกรรมที่สำคัญ นิตยสารฉลาดซื้อ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค จัดตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือผู้บริโภคทางกฎหมาย ฯลฯ. เงินสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 576 ตามประกาศของกระทรวงการคลัง.

Download Presentation

รู้จัก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รู้จัก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค • ก่อตั้งในปี 2537 • เป็นองค์กรเอกชนสาธารณกุศล • กิจกรรมที่สำคัญ • นิตยสารฉลาดซื้อ • ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค • จัดตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือผู้บริโภคทางกฎหมาย ฯลฯ

  2. เงินสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 576 ตามประกาศของกระทรวงการคลัง เงินสนับสนุนองค์กร • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) • การสมัครสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อ • สมาชิกใหม่ 1 ปี(12 ฉบับ) 700 บ. แถมฟรี ถุงผ้าลดบริโภค ลดโลกร้อน

  3. ยุทธการปลดหนี้สุดขอบฟ้ายุทธการปลดหนี้สุดขอบฟ้า การฝึกอบรม “เป็นหนี้จะแก้ไขชีวิตอย่างไร” มุ่งให้ความรู้ในแนวทางการจัดการปัญหาหนี้สิน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ลูกหนี้สามารถรอดพ้นจากวิกฤตหนี้สินได้ด้วยตนเอง และกลับมาเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าต่อหน่วยงานของตน และของประเทศชาติได้ต่อไป

  4. หนี้ในระบบ - หนี้นอกระบบ

  5. หนี้ในระบบ(บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล)หนี้ในระบบ(บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล) • เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่ทางแบงค์ชาติกำหนด • เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงค์) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย แยกเป็นบริษัทผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต 12 บริษัท และบริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล 32 บริษัท • หนี้สินเชื่อบุคคล ประมาณ 7 ล้านบัญชี • บัตรเครดิต ประมาณ 11.2 ล้านบัตร

  6. หนี้ของคุณ...มาจากไหน ? • ไม่มีวินัยการเงิน ใช้-จ่ายไม่มีการวางแผน ฟุ่มเฟือย • หางานทำไม่ได้ เพิ่งถูกไล่ออกจากงาน หรือมีเหตุฉุกเฉิน • กู้เงินเอามาลงทุนแต่ธุรกิจฝืดเคือง ไม่ประสบความสำเร็จ • กู้เงินมาหมุนเพื่อเอาไปใช้หนี้อีกเจ้าหนึ่งและอีกเจ้าหนึ่ง เป็นทอด ๆ • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ไม่เป็นธรรม

  7. ดอกเบี้ยตามกฎหมายอยู่ที่เท่าไหร่ดอกเบี้ยตามกฎหมายอยู่ที่เท่าไหร่ • กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.654 ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี • การเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรามีโทษทางอาญา ตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  8. ทำไมธนาคารถึงคิดดอกเบี้ยได้มากกว่าร้อยละ 15 • เนื่องจาก มีการอ้างถึงความจำเป็นในสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนไปและความอยู่รอดทางธุรกิจของสถาบันการเงินต่าง ๆ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายที่ชื่อ “พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523” ขึ้นมา และมีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) ซึ่งทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกเว้นการบังคับใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 654 และอนุญาตให้สถาบันการเงินเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นผู้ประกาศอัตราดอกเบี้ยตามคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย

  9. ทำไมนอนแบงค์คิดดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 28 • เมื่อ มิ.ย. 2548 กระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 ม.ค.2515 ที่ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจสินเชื่อที่มีลักษณะกิจการคล้ายธนาคาร(Nonbank) เหล่านี้ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตและให้อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 32 ราย)

  10. ทำไมนอนแบงค์คิดดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 28 • ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศตามมาเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยรวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมของสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี โดยแบ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ที่เหลืออีกร้อยละ 13 คือค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม ให้มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ก.ค. 2548

  11. สถานการณ์หนี้ของคุณอยู่ในขั้นไหน?สถานการณ์หนี้ของคุณอยู่ในขั้นไหน? • ไฟเขียว • ไฟเหลือง • ไฟแดง • ไฟดับ

  12. ไฟเขียว • ยังมีรายได้พอที่จะชำระขั้นต่ำได้ทุกบัญชี วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีหนี้ไม่มากเพียง 2-3 บัญชี ใช้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละเดือน หักด้วยค่าใช้จ่าย ที่จำเป็นในครัวเรือนแบบไม่ฟุ่มเฟือยแล้วยังมีเงินเหลือในการจ่ายหนี้ แต่วิธีนี้จะใช้เวลานานกว่าจะหมดหนี้ เพราะเงินต้นจะลดลงน้อยมาก

  13. ไฟเหลือง สัญญาณแห่งความวิกฤต • ไม่อยากเสียเครดิต แต่ก็ไม่มีเงินพอจะชำระหนี้ • หยุดบ้าง จ่ายบ้าง เริ่มหาเงินจากแหล่งอื่นเพื่อมาจ่ายหนี้เดิม แล้วกดเงินสดออกมาใช้อีก เป็นวิธแก้หนี้ที่ผิดอย่างมหันต์ • หนี้เดิมที่มีอยู่จะขยายวงออกไปกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่อย่างรวดเร็ว

  14. ควรหยุดทันที การก่อหนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เดิมเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดวิธี ใครกำลังเข้าสู่วังวนก่อหนี้เพื่อชำระหนี้

  15. ไฟแดง - ไฟดับ • ไฟแดง – หมดสภาพชำระหนี้ ไม่มีเงินใช้กินต่อวัน ต้องกู้ยืมเงินจากนอกระบบมาใช้ • ไฟดับ – ชีวิต จิตใจ ครอบครัว ล่มสลาย

  16. มีหนี้ไม่มาก - ชำระคืนขั้นต่ำ มีหนี้มาก - หยุดชำระหนี้ เก็บเงิน รอหมายศาล หรือการเจรจา เพื่อตัดหนี้ ไม่มีห่วง ไม่มีทรัพย์ ให้ศาลพิพากษา อายัดเงินเดือน แนวทางการปลดหนี้ที่ถูกต้องและเป็นระบบ

  17. การใช้เงินที่ผิดเมื่อมีรายรับหรือเงินเดือนออกการใช้เงินที่ผิดเมื่อมีรายรับหรือเงินเดือนออก • จ่ายหนี้นอกระบบ • จ่ายหนี้บัตรเครดิต • จ่ายหนี้สินเชื่อบุคคล • ผ่อนบ้าน • ผ่อนรถ • ใช้จ่าย ??? ฯลฯ

  18. สิ่งแรกที่ควรนึกถึงเมื่อเงินเดือนออกสิ่งแรกที่ควรนึกถึงเมื่อเงินเดือนออก • อันดับ 1 - ชีวิตตัวเอง ครอบครัวคุณ พ่อแม่ต้องมาก่อน • อันดับ 2 - ปัจจัยสี่ที่จำเป็นในชีวิต (อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค) • อันดับ 3 - ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ) • อันดับ 4 - ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง • อันดับ 5 – หนี้ ไม่พร้อมก็ยังไม่ต้องจ่าย

  19. มีหนี้ไม่มาก - ชำระคืนขั้นต่ำ มีหนี้มาก - หยุดชำระหนี้ เก็บเงิน รอหมายศาล หรือการเจรจา เพื่อปิดหนี้ ไม่มีห่วง ไม่มีทรัพย์ ให้ศาลพิพากษา อายัดเงินเดือน แนวทางการปลดหนี้ที่ถูกต้องและเป็นระบบ

  20. ตรวจสุขภาพการเงินก่อน ...

  21. การทำตารางหนี้

  22. แนวทางที่ 1 การชำระคืนขั้นต่ำ • เหมาะสำหรับคนที่มีหนี้น้อย 2-3 บัญชี จ่ายด้วยเงินเดือนหรือรายได้ของตัวเอง • การใช้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละเดือน หักด้วยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครัวเรือนแบบไม่ฟุ่มเฟือย ยังมีเงินเหลือในการจ่ายหนี้อย่างไม่เดือดร้อน วิธีนี้จะใช้เวลานานมากกว่าจะหมดหนี้ เพราะเงินต้นจะลดลงน้อยมาก ช้ามาก

  23. การตามทวงหนี้โหด การถูกฟ้องศาล การถูกยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน แนวทาง 2-4 สิ่งที่ลูกหนี้จะเจอและต้องเตรียมตัวเมื่อเลือกวิธีหยุดชำระหนี้

  24. การตามทวงหนี้โหด • โทรทวงแบบไม่สุภาพ พูดเหมือนคุณเป็นขี้ข้าคนทวงหนี้ • ทวงไปถึงบุคคลที่สาม เช่นคนที่มีชื่ออ้างอิงในตอนสมัคร หรือตอนทำสัญญาปรับปรุงหนี้ • ทวงไปถึงพ่อแม่ ญาติพี่น้องที่ต่างจังหวัด • ทวงโดยฝากคำพูดกับผู้รับโทรศัพท์เวลาเราไม่อยู่ที่ทำงาน • ส่งแฟกซ์เข้าที่ทำงานประจานให้คนรับแฟกซ์เห็น และส่งวันละหลายครั้ง จนคุณถูกเจ้านายเรียกไปตักเตือน

  25. การตามทวงหนี้โหด • ส่งไปรษณียบัตรไปที่บ้าน • ส่งจดหมายขู่สารพัดจากบริษัททนายตัวแทนสถาบันการเงินต่าง ๆ ล่าสุดมีการทำจดหมายเลียนแบบทำให้ลูกหนี้เข้าใจว่าเป็นคำสั่งศาล และขู่ว่าคุณจะโดนอายัดเงินเดือน ขู่ว่าจะฟ้องเจ้านาย ขู่ว่าคุณจะถูกดำเนินคดีอย่างร้ายแรงภายใน 3 วัน 7 วัน • ฯลฯ

  26. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยทางศาลได้ เมื่อมีคำพิพากษาแล้วจักบังคับใช้หนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ • ผู้ถูกทวงหนี้จะต้องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกู้ยืมเงินเท่านั้น เช่น ลูกหนี้ ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน เป็นต้น การไปข่มขู่ คุกคาม ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ล้วนเป็นความผิดอาญาฐานกรรโชกทรัพย์ได้

  27. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือ ของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชก มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

  28. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • การส่งคำเตือนเรื่องหนี้ด้วยวิธีก้าวร้าวหรือจงใจประจานทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงด้วยวิธีใดๆ อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ และในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น แล้วเปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  29. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • ลูกหนี้ที่เจอกับการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายให้สอบถามรายละเอียดว่าเจ้าหน้าที่คนนั้นชื่ออะไร สำนักงานไหน ได้รับอำนาจทวงหนี้จากบริษัทอะไร • ให้ทำจดหมายร้องเรียนถึง กรรมการบริหารบริษัทเจ้าหนี้ และสำเนาถึง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เลขที่ 211/2 ซ.งามวงศ์วาน 31 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 • ร้องเรียนโดยตรงกับแบงค์ชาติ ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง โทร. 0-2283-6827 , 0-2356-7686

  30. ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ • ถ้ามีเงินชำระหนี้ ไม่มีหนี้หลายทาง หากหยุดดอกเบี้ยให้ หรือไม่คิดดอกเบี้ย หรือตัดเงินต้น และแจ้งสัญญามาเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถทำได้ • ถ้าไม่มีเงิน และ มีหนี้หลายทาง ไม่ควรทำ

  31. ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ • การปรับโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยซ้ำซ้อน • มาตรา 655 ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระแต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปี คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงนั้นต้องทำเป็นหนังสือ… • ดังนั้นถ้าไม่มีการตกลงปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้

  32. ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ • ระวังถูกหลอกให้ปรับโครงสร้างหนี้ • การที่เจ้าหนี้รับปากทางโทรศัพท์ว่าจะตัดต้น ตัดดอกให้ และให้ลูกหนี้ชำระเงินต่อไปเป็นงวด ๆ หากไม่มีการแจ้งมาเป็นลายลักษณ์อักษร อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด เพราะมันคือการหลอกลวง

  33. การถูกฟ้องศาล... เรื่องร้ายอาจกลายเป็นดี • เป็นการยืดเวลาเพื่อให้ลูกหนี้ได้ตั้งตัว ตั้งสติ • ลูกหนี้มีโอกาสต่อรองลดหนี้กับเจ้าหนี้ได้ • การคิดดอกเบี้ยและการบังคับคดีมีความเป็นธรรมมากกว่าการถูกทวงหนี้

  34. หมายศาลของจริง

  35. หมายศาลของจริง

  36. อายุความของหนี้ • เมื่อลูกหนี้หยุดชำระหนี้ ระยะเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง • หนี้บัตรเครดิต 2 ปี • หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี • หนี้ระหว่างบุคคลทั่วไป 10 ปี • เมื่อศาลมีคำสั่งให้ชำระหนี้แล้วมีอายุความ 10 ปีเพื่อบังคับคดี

  37. การถูกยึดทรัพย์ • เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตามคำสั่ง เจ้าหนี้มีสิทธิร้องต่อศาลให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป

  38. การถูกยึดทรัพย์ • 1. ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต

  39. การถูกยึดทรัพย์ • 2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้

  40. การถูกยึดทรัพย์ • หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน • ทรัพย์ใดที่ไม่มีหลักฐานว่าเป็นของลูกหนี้ จะไม่ถูกยึดจนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันได้

  41. การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่าง ๆ • หากไม่มีทรัพย์สินจะให้ยึด เจ้าหนี้จะสืบต่อไปว่าลูกหนี้ทำงานที่ไหน เพื่อจะอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นี้ ก็เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ค่าจ้างทำของต่าง ๆ เป็นต้น

  42. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • การสั่งอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง ได้แค่ 30% ของเงินเดือน ขณะที่ได้รับหนังสืออายัด โดยคำนวณจากเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ภาษี ประกันสังคม • เงินโบนัส อายัดได้ 50%

  43. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • เงินตอบแทนกรณีลูกหนี้ออกจากงาน อายัดได้ 100% • เงินค่าคอมมิชชั่นอายัดได้ 30% • เงินฝากในบัญชีสถาบันการเงิน

  44. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • ในกรณีลูกหนี้ เงินเดือน ไม่ถึง 10,000 บาท ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน แต่มิได้หมายความว่าหนี้จะหมดไป เพียงแต่แขวนหนี้เอาไว้ก่อน • หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน

  45. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • เมื่อถูกอายัดเงินเดือน หรือรายได้ใด ๆ ก็ตาม รวมแล้วลูกหนี้ต้องมีเงินเหลืออย่างน้อยเดือนละ 10,000 บาท • ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่า 10,000 บาท เช่น มีลูกหลายคน ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือมีโรคประจำตัว ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอลดหย่อนการอายัดรายได้ ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินที่ถูกอายัด

  46. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • ในกรณีมีเจ้าหนี้หลายราย เมื่อถูกเจ้าหนี้รายใดอายัดเงินเดือนไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้อื่นอายัดเงินเดือนซ้ำอีก ต้องรอจนกว่าเจ้าหนี้รายแรกจะได้รับการชำระหนี้หมด

More Related