460 likes | 810 Views
ตั๋วเงินปลอม. แบ่งได้ 2 กรณี -ตั๋วเงินปลอมข้อความ ม. 1007 -ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ ม. 1006,1008.
E N D
ตั๋วเงินปลอม • แบ่งได้ 2 กรณี • -ตั๋วเงินปลอมข้อความ ม.1007 • -ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ ม.1006,1008
มาตรา ๑๐๐๗ ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋ว เงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง • แต่หากตั๋วเงินใด ได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้ • กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย
ตั๋วเงินปลอมข้อความ หรือรายการอื่นในตั๋วอันมิใช่การปลอมลายมือชื่อมาตรา 1007 ตั๋วเงินปลอมข้อความ ในมาตรา 1007 ใช้คำว่า “ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ” อันได้แก่ การแก้ไข วันที่ลงในตั๋ว จำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน ข้อความต่างๆในคำรับรอง หรือรายการอื่นๆซึ่งมีความสำคัญ เช่น การลบรอยขีดคร่อมในตั๋ว
ผลของตั๋วเงินปลอมข้อความผลของตั๋วเงินปลอมข้อความ หลัก ตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไป “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด….มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ…. ตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย ..” ตั๋วเงินเป็นอันเสียไป หมายถึง สิ่งดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นตั๋วเงินอีกต่อไป ดังนั้น บุคคลผู้ครอบครองตั๋วไม่มีสิทธิใดๆทั้งสิ้น เพราะสิทธิเรียกร้องตาม สัญญาตั๋วเงินไม่มีแล้ว
แต่ กฎหมายให้ถือว่าตั๋วเงินดังกล่าว ยังคงใช้ได้ต่อบุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นข้อยกเว้น ของความเสียไปแห่งตั๋วเงิน ก. บุคคลผู้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ข. ผู้ที่ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ค. ผู้ที่สลักหลังหรือเข้าผูกพันในภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ง. ผู้ที่เข้าผูกพันตั๋ว(มีลายมือชื่อ)ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง (ในกรณีที่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ประจักษ์ ม.1007 ว.2)
มาตรา ๑๐๐๗ “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋ว เงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง แต่หากตั๋วเงินใด ได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้ กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย”
ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ มาตรา 1006, 1008 ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ ได้แก่ ตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อหนึ่งลายมือ ชื่อใดในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอม หรือลงโดยปราศจากอำนาจ ผลของลายมือชื่อปลอม 1. ลายมือชื่อที่ปลอมนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1008 ซึ่งเท่ากับว่า ไม่มีลายมือชื่อของบุคคลนั้นๆในตั๋วเงินเลย
-เฉพาะลายมือชื่อปลอมเท่านั้นที่ใช้ไม่ได้ ส่วนลายมือชื่ออื่นๆที่ มิใช่ลายมือปลอม ยังคงมีผลใช้ได้ ผู้มีลายมือชื่อในตั๋วยังคงต้องรับผิดตาม ตั๋วเงินอยู่ (ม.1006) มาตรา ๑๐๐๖ การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมย่อม ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น
2. บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด จากลายมือชื่อปลอมเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอา แก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด (ข้อสังเกต ถ้ามิได้อ้างอิงแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอม ก็ไม่ถูก กฎหมายห้ามมิให้ยึดหน่วงตั๋วเงิน หรือบังคับการใช้เงิน)
มาตรา ๙๐๕ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง
กฎหมายห้ามมิให้แสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมนั้นเพื่อกระทำ กฎหมายห้ามมิให้แสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมนั้นเพื่อกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ก. เพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้ การยึดหน่วง หมายถึง การไม่คืนตั๋วให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของ อันแท้จริงแห่งตั๋วนั้น
ข. เพื่อบังคับการใช้เงิน หมายถึง การบังคับสิทธิอันเกิดสัญญาสัญญาตั๋วเงิน อันได้แก่ การไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาต่างๆในตั๋ว การเรียกร้องให้ผู้รับรองรับผิดตาม ตั๋วเงินนั้น
ยกเว้นแต่การบังคับการใช้เงิน หรือยึดหน่วง จะกระทำต่อบุคคล ดังต่อไปนี้ ก. บุคคลที่ลงลายมือชื่อปลอมนั้น ข. บุคคลที่สลักหลังภายหลังจากลายมือชื่อปลอม ค. บุคคลเข้าผูกพันตั๋ว ภายหลังจากลายมือชื่อปลอม ข้อสังเกต เหตุที่บังคับกับบุคคลในข้อ ข. และ ค. ได้ เพราะบังคับสิทธิ มิได้แสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอม
มาตรา ๑๐๐๘ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาในมาตรานี้ ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อซึ่งลงไว้โดยปราศจากอำนาจแต่หากไม่ถึงแก่เป็นลายมือปลอม”
ตั๋วเงินถูกลัก และตั๋วเงินหาย มาตรา ๑๐๑๐ “เมื่อผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหายหรือถูกลักทราบเหตุแล้วในทันใดนั้นต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ออกตั๋วเงิน ผู้จ่าย ผู้สมอ้างยามประสงค์ ผู้รับรองเพื่อแก้หน้าและผู้รับอาวัล ตามแต่มี เพื่อให้บอกปัดไม่ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น” มาตรา ๑๐๑๑ “ถ้าตั๋วเงินหายไปแต่ก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงินท่านว่าบุคคลซึ่งได้เป็นผู้ทรงตั๋วเงินนั้นจะร้องขอไปยังผู้สั่งจ่ายให้ ๆ ตั๋วเงินเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งก็ได้ และในการนี้ถ้าเขาประสงค์ก็วางประกันให้ไว้แก่ผู้สั่งจ่าย เพื่อไว้ทดแทนที่เขาหากจะต้องเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในกรณีที่ตั๋วเงินซึ่งว่าหายนั้นจะกลับหาได้ อนึ่ง ผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงินคู่ฉบับเช่นนั้น อาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้”
บทบัญญัติเฉพาะกรณีผู้จ่ายเป็นธนาคาร ม.1009 มาตรา ๑๐๐๙ “ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อ ธนาคารใด และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาท เลินเล่อไซร้ ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังรายใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ”
มาตรา 1009 นี้กำหนดหลักเกณฑ์ กรณีที่ผู้จ่ายในตั๋วเงินเป็นธนาคาร ธนาคารผู้จ่ายจะได้รับความคุ้มครอง (ถือว่าจ่ายไปโดยถูกต้อง) ต้องพิจารณาจาก เงื่อนไขดังต่อไปนี้ • จ่ายเมื่อตั๋วถึงกำหนด (ตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถาม) • ธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาท เลินเล่อ • ธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังรายใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น (แม้ว่าคำสลักหลังจะปลอมก็ตาม) • แต่ธนาคารยังมีหน้าที่ต้องนำสืบถึงลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่ผู้ทรงฟ้องให้ผู้รับรองตั๋วแลกเงิน และผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิด มาตรา 1001มีอายุความ 3 ปีนับแต่วันที่ตั๋วนั้นถึงกำหนด • ไม่ใช้กับธนาคารผู้รับรองเช็ค มีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. ม. 193/30
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่ผู้ทรงฟ้องไล่เบี้ยผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ม.1002ไม่ว่าจะเป็นตั๋วเงินชนิดใดมีอายุความ 1 ปี -นับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้นภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือ -นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีที่มีข้อกำหนดไว้ว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่ผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน มาตรา 1003 มีกำหนด 6 เดือน • นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน • นับแต่วันที่ผู้สลักหลังถูกฟ้อง
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่กฎหมายมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะให้ใช้อายุความดังต่อไปนี้ • อายุความอันเกี่ยวกับผู้อาวัล • อายุความที่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลัง จะไล่เบี้ยเอากับผู้อาวัลให้รับผิด • ผู้ที่ฟ้องเป็นผู้ทรง และผู้อาวัลได้อาวัลผู้สลักหลังมีอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1002
อายุความตั๋วเงิน • ผู้ที่ฟ้องเป็นผู้ทรง และผู้อาวัลได้อาวัลผู้สั่งจ่าย มีอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1002 • ผู้ที่ฟ้องเป็นผู้สลักหลัง และผู้อาวัลได้อาวัลผู้สลักหลังคนใดหนึ่งคนใด หรืออาวัลผู้สั่งจ่ายกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ ผู้สลักหลังคนนั้นได้เข้าใช้เงินและถือเอาตั๋วเงิน หรือถูกบังคับการใช้เงินตาม ม. 1003
อายุความตั๋วเงิน • อายุควาที่ผู้อาวัลจะฟ้องไล่เบี้ยบุคคลอื่นให้รับผิดต่อตนตามสัญญาตั๋วเงิน • ผู้อาวัลไล่เบี้ยเอาจากบุคคลที่ตนประกัน มีอายุความ 10 ปี นับตามมาตรา 193/30 เพราะกฎหมายมิได้กำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ • ผู้อาวัลไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ต้องรับผิดต่อบุคคลที่ตนประกัน มีอายุความเท่ากับ บุคคลที่ตนอาวัลไปไล่เบี้ยเอากับบุคคลนั้น
อายุความตั๋วเงิน • อายุควาที่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลังจะเรียกร้องให้ธนาคารรับผิด -มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 เนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดอายุความสำหรับการเรียกให้ธนาคารผู้รับรองเช็ครับผิดไว้โดยเฉพาะ
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้(3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงิน ตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต เมื่อได้ มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 5 ความผิดตาม มาตรา 4 เป็นความผิดอันยอมความได้ • มาตรา 7 ถ้าผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 4 ได้ใช้เงินตามเช็ค แก่ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือ บอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น หรือหนี้ที่ผู้กระทำ ความผิดตาม มาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมี คำพิพากษาถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา
ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้ • คำพิพากษาฎีกาที่ 1177/2517 จำเลย ออกเช็คให้นาย ส.เพื่อประกันค่าจ้างว่าความที่จำเลยตกลงจ้างนาย ส.ทนายความให้ดำเนินคดีอาญาให้นาย ข. มิได้ประสงค์จะออกเช็คให้เป็นการชำระหนี้ การที่นาย ส. สลักหลักเช็คนั้นให้โจทก์ จึงหามีผลผูกพันจำเลยแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ
ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ)ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ) • คำพิพากษาฎีกาที่ 3325/2531 จำเลยออกเช็คให้ จ. ไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ และเพื่อใช้เช็คนั้นดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยเพื่อบีบบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าวโจทก์ผู้รับโอน เช็คจาก จ. ทราบถึงความผูกพันเรื่องเช็คพิพาทระหว่าง จ. กับจำเลยมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ)ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ) • คำพิพากษาฎีกาที่ 5526/2531 จำเลยกู้เงินผู้เสียหายและนำเช็คที่มีแต่ลายมือชื่อของจำเลยโดยมิได้ลงจำนวนเงินและวันที่มามอบให้ ผู้เสียหายทราบว่าเช็คที่จะดำเนินคดีอาญาได้ต้องลงรายการให้ครบ จึงให้จำเลยลงรายการในเช็ค แต่จำเลยเขียนหนังสือได้เพียงลงชื่อของตนเองผู้เสียหายก็ให้คนเขียนตัวอย่างให้จำเลยเขียนตามจนครบรายการในเช็ค เช่นนี้ การที่จำเลยเขียนเช็คดังกล่าว ก็เพราะผู้เสียหายต้องการจะได้หลักฐานในการดำเนินคดีทางอาญาแก่จำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ที่กู้ยืม มิใช่จำเลยมีเจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ)ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ) • คำพิพากษาฎีกาที่ 127/2533 จำเลยนำเช็คของลูกค้าจำเลยมาขายโจทก์ ต่อมาโจทก์บอกให้จำเลยนำเงินไปชำระมิฉะนั้นจะให้เจ้าพนักงานตำรวจจัดการ จำเลยจึงไปตรวจสอบหนี้สินกับโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เป็นเงิน 496,000 บาท จำเลยได้ชำระหนี้เป็นเงินสดบางส่วน ส่วนหนี้ที่เหลืออีก 450,000 บาท โจทก์ให้จำเลยชำระเดือนละ 45,000 บาท โดยจำเลยออกเช็คให้โจทก์ไว้เช็คที่จำเลยออกให้โจทก์จึงเป็นเช็คชำระหนี้ตามปกติ มิใช่เช็คออกเพื่อประกันหนี้ เมื่อขึ้นเงินหรือเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยก็ต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 (1)
ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ)ออกเช็คจะมีความผิดต้องออกเพื่อเจตนาจะใช้เช็คชำระหนี้(ต่อ) • คำพิพากษาฎีกาที่ 2379/2524 จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อเป็นการค้ำประกันการที่ผู้เสียหายนำที่ดินไปจำนองประกันเงินกู้ที่จำเลยกับภริยากู้ไปจากธนาคาร จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 ตามที่โจทก์ฟ้อง
มูลหนี้พื้นฐานจะต้องบังคับได้ตามกฎหมายมูลหนี้พื้นฐานจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย • คำพิพากษาฎีกาที่ 5043/2531 เมื่อเช็คพิพาทออกในมูลหนี้กู้ยืมเงินและมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย แม้ต่อมาธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่าย ผู้ออกเช็คก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
มูลหนี้พื้นฐานจะต้องบังคับได้ตามกฎหมายมูลหนี้พื้นฐานจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย • คำพิพากษาฎีกาที่ 3722/2538 การกระทำใดจะมีมูลความผิด ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จะต้องพิจารณาได้ความว่า มีหนี้ที่จะต้องชำระก่อนและหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 และได้มีการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวนั้น การที่จำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน100,000 บาท โดยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแต่อย่างใด ต่อมาจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน 100,000 บาท เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยในวันออกเช็คจำเลยได้บันทึกไว้ด้วยว่าจำเลยได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์ไว้แล้ว โจทก์มีเฉพาะเอกสารดังกล่าวฉบับเดียวที่อ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ ซึ่งได้กระทำขึ้นภายหลังที่ออกเช็คแล้ว แม้จะได้กระทำในวันเดียวกันก็ถือได้ว่าขณะที่จำเลยออกเช็คให้โจทก์นั้น แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่หนี้นั้นก็ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
ผู้เสียหายพิจารณาขณะมีการไม่ใช้เงินผู้เสียหายพิจารณาขณะมีการไม่ใช้เงิน • คำพิพากษาฎีกาที่ 11/2516 จำเลย ออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อยาให้แก่บริษัท ท. เมื่อเช็คขึ้นเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม. ผู้จัดการบริษัท ท.ได้เอาเงินส่วนตัวของ ม. ชำระให้บริษัท ท. แทนไปแล้วรับเช็คดังกล่าวมา ดังนี้ ม. ได้รับเช็คนั้นมาหลังจากความผิดเกิดขึ้นแล้ว ม. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ผู้กระทำความผิดไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้นผู้กระทำความผิดไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น • คำพิพากษาฎีกาที่ 2952/2516 จำเลย บอกแก่พนักงานขายของบริษัทผู้เสียหายว่าเป็นผู้จัดการห้าง ท. ขอสั่งซื้อเบียร์และว่าจะออกเช็คให้ใช้เงินภายใน 1 เดือน พนักงานขายนำเบียร์ไปส่งให้ จำเลยเป็นผู้รับของและหยิบเช็คซึ่งมีลายมือชื่อของ ส. (ผู้สั่งจ่าย) อยู่ก่อนแล้ว มาลงวันที่กรอกข้อความและประทับตราของห้าง ท. แล้วมอบอำนาจให้พนักงานขาย โดยมอบเช็คให้ในห้องผู้จัดการ ฟังได้ว่า จำเลยร่วม ส.ออกเช็คให้บริษัทผู้เสียหาย เมื่อบริษัทผู้เสียหายนำเช็คไปเบิกเงินไม่ได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะบัญชีเงินฝากของห้าง ท.ที่ธนาคารหนึ่งปิดแล้ว และอีกธนาคารหนึ่งเงินในบัญชีเงินฝากของห้าง ท.มีไม่พอ จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3(1)
วันกระทำความผิดคือวันที่ออกเช็ค เช็คต้องสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ออกเช็ค • คำพิพากษาฎีกาที่ 1262/2531 จำเลยออกเช็คโดยเขียนจำนวนเงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายไว้แต่ยังไม่ได้ลงวัน เดือน ปี กำหนดเวลาสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ดังนี้ แม้ภายหลังจำเลยจะยอมให้ผู้เสียหายเขียน วัน เดือน ปี ลงในเช็คเองต่อหน้าจำเลย ก็เพื่อให้เช็คมีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมายมีผลให้ใช้สิทธิฟ้องร้องกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
วันกระทำความผิดคือวันที่ออกเช็ค เช็คต้องสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ออกเช็ค(ต่อ) • คำพิพากษาฎีกาที่ 2115/2527 วันที่ลงในเช็คเป็นกำหนดเวลาที่ผู้ออกเช็คสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินจึงเป็นสาระสำคัญของการกระทำความผิด เช็คที่ไม่ได้ลงวันเดือนปีย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด การลงวันเดือนปีในเช็คตามที่จำเลยและภริยาจำเลยบอกมีผลเพียงให้เช็คพิพาทมีรายการสมบูรณ์เพื่อใช้สิทธิฟ้องร้องกันในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่
ออกเช็คมีเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินออกเช็คมีเจตนาจะมิให้มีการใช้เงิน • คำพิพากษาฎีกาที่ 5857/2530 การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 (1) และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ " ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีนั้นโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายตามเช็คหรือไม่ต่างกับการฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 3 (1) ในกรณีอื่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 3013/2528 การที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยอ้างเหตุผลว่า"เช็คพ้นกำหนดการจ่ายเงิน" เพราะโจทก์ยื่นเช็คให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่จำเลยออกเช็คนั้น ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 บัญญัติไว้ และถือไม่ได้ว่าเช็คที่จำเลยออกนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะออกเช็คหรือจำนวนเงินเหลือไม่พอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้น ได้และไม่ได้แสดงว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต การออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 1887/2515 ออกเช็คให้เป็นการชำระหนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้น การกระทำของจำเลยผู้ออกเช็คย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3 แล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ชำระเงินด้วยการโอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์ร่วมผู้ทรง เช็ค เป็นการชำระหนี้ตามเช็คนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการชำระหนี้นั้นยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ดังนี้ คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ต้องพิพากษายกฟ้อง