710 likes | 2.58k Views
แนวคิดการบริหารเชิงพฤติกรรม (Behavioral Approach). วิชาหลักและกระบว น การบริหารจัดการศึกษา ( 1066113 ). แนวคิดการบริหารเชิงพฤติกรรม. เสนอ ดร.สุรวุฒิ ยัญญลักษณ์. จัดทำโดย นางรินจง อุทัย เลขที่ 4 รหัสนักศึกษา 52024114054
E N D
แนวคิดการบริหารเชิงพฤติกรรม(Behavioral Approach) วิชาหลักและกระบวนการบริหารจัดการศึกษา (1066113) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
แนวคิดการบริหารเชิงพฤติกรรมแนวคิดการบริหารเชิงพฤติกรรม • เสนอ • ดร.สุรวุฒิ ยัญญลักษณ์ • จัดทำโดย • นางรินจง อุทัย เลขที่ 4 รหัสนักศึกษา 52024114054 • นายวิเชียร ดอนแรม เลขที่ 13 รหัสนักศึกษา 52024114063 • นางทัศนีย์ ชิโนดม เลขที่ 16 รหัสนักศึกษา 52024114066 • นางแสงดาว นาคำภา เลขที่ 25 รหัสนักศึกษา 52024114075 • นางบุปผา ตันตะราวงศา เลขที่ 39 รหัสนักศึกษา 52024114089
การเปลี่ยนแปลงของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของการบริหาร แนวคิดของ Elton Mayo 3 1 แนวคิดของ Hugo Munsterberg ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีดั้งเดิมกับทฤษฎีเชิงพฤติกรรม 4 2 แนวคิดของ Abraham Maslow 5 แนวคิดของ Douglas McGragor 6 สารบัญ/Contents
การเปลี่ยนแปลงของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของการบริหาร • แนวคิดของการบริหารองค์การมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ • 1. เปลี่ยนแปลงจากทฤษฎีดั้งเดิม เป็น ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม • 2. เหตุผลในการเปลี่ยน คือ วิธีการศึกษาการบริหารแบบเดิมไม่สามารถให้คำตอบได้ทั้งหมดในการแก้ปัญหาการบริหารองค์การ • 3. เกิดขึ้นจากการคิดหาวิธีที่ว่าดีที่สุดในบริหารองค์การ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล • กลับสารบัญ
ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีดั้งเดิม เห็นว่า “คน” คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการบริหาร เน้นโครงสร้าง กฎระเบียบ ในการบริหารอย่างชัดเจน ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีดั้งเดิมกับทฤษฎีเชิงพฤติกรรม • กลับสารบัญ
1. แนวคิดของ Elton Mayo • Hawthorne Studies เป็นการทดลองวิจัยในโรงงาน Western Electric Company ในปี ค.ศ. 1927-1932 โดยทีมงาน Hawthorne ภาย ใต้การนำของ Mayo ประกอบด้วยการวิจัยทดลอง 3เรื่องใหญ่ : • ศึกษาสภาพห้องทำงาน (Room Studies) • การสัมภาษณ์ (Interview Studies) • การสังเกตการณ์ (Observation Studies)
ขั้นตอนแรกเลือกประเภทงานที่เป็นผลผลิตของคนมากกว่าเครื่องจักรขั้นตอนแรกเลือกประเภทงานที่เป็นผลผลิตของคนมากกว่าเครื่องจักร ขั้นตอนที่สองแบ่งขั้นตอนการทดลองออกเป็น 13 ขั้นตอนดังนี้ ศึกษาสภาพของห้องทำงาน (ใช้ระยะเวลา 2 6 เดือน) 1. แนวคิดของ Elton Mayo Elton Mayo : Hawthorne Studies
1. แนวคิดของ Elton Mayo ศึกษาสภาพของห้องทำงาน ขั้นที่ 1คนงานหญิง 6 คนมาประกอบชิ้นส่วนในห้องทดลอง โดยได้แอบบันทึกผลการทำงานก่อนหน้านี้ไว้แล้ว ขั้นที่ 2 ปล่อยให้ทำงานนาน 5 อาทิตย์ ขั้นที่ 3 จัดระบบให้ค่าจ้างใหม่สำหรับคนงานหญิงทั้ง 6 คนนี้ ขั้นที่ 4-6 ให้หญิงทั้ง 6 มีเวลาในการพักผ่อน
1. แนวคิดของ Elton Mayo ศึกษาสภาพของห้องทำงาน ขั้นที่ 7 เลี้ยงน้ำชาในระหว่างพักเช้า / บ่าย ขั้นที่ 8-9 ลดระยะเวลาการทำงานต่อวันลง ขั้นที่ 10 ย้อนกลับไปขั้น 7 ใหม่ ขั้นที่ 11 ให้หยุดงานวันเสาร์ • ขั้นที่ 12 ย้อนกลับไปขั้น 1- 3 ใหม่ • ขั้นที่ 13 ย้อนกลับไปขั้น 7-10 ใหม่
1. แนวคิดของ Elton Mayo • การสัมภาษณ์ (Interview Studies) • คนงานจำนวน 21,000 คนของโรงงาน Western Electric Company • โดยเทคนิคการสัมภาษณ์ ทำให้ทราบว่าโครงสร้างองค์การแบบไม่เป็นทางการมีบทบาทและทำหน้าที่เป็นกลไกทางสังคม ต่อการเรียนรู้และการทำงานของคนงานรวมถึงมีบทบาทเป็นตัวกำหนดคุณภาพของผลงานของคนงานด้วย • การสัมภาษณ์นี้ สามารถประมวลปัญหาในการปฏิบัติงาน และนำไปสู่การจัดให้มีโครงการให้คำแนะนำปรึกษาแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในโรงงานอีกหลายแห่ง
1. แนวคิดของ Elton Mayo • การสังเกต (Observation Studies) • เพื่อสังเกตการปฏิบัติงานของกลุ่มคนงานพันขดลวดโทรศัพท์ โดยใช้ระบบการตอบแทนตามหลักวิทยาศาสตร์การจัดการ คือทำงานได้มากได้ค่าตอบแทนมาก ผลที่ได้ก็คือ ไม่ได้เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์การจัดการตามที่ทฤษฏีดั้งเดิมกล่าวอ้าง • การศึกษาโดยการสังเกตนี้ ช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมาก
1. แนวคิดของ Elton Mayo ผลการศึกษาที่ Hawthorne สถานการณ์ทางสังคมในที่ทำงาน Social situation at work ประวัติส่วนบุคคลPersonal history ทัศนคติ (Attitude) การตอบสนองResponse การเปลี่ยนแปลงChange
1. แนวคิดของ Elton Mayo • สรุปผลการศึกษา Hawthorne • ปัจจัยด้านปทัสถานทางสังคม เป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิตไม่ใช้ปัจจัยด้านกายภาพ • ความคิดที่ว่าคนเห็นแก่ตัว ต้องการเงินค่าตอบแทนมากๆเป็นการมองแคบๆ • พฤติกรรมของคนงานถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม • สนับสนุนให้มีการทำวิจัยด้านผู้นำต่างๆ ผู้นำต้องเปิดโอกาสให้คน ในองค์การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ • กลับสารบัญ
2. แนวคิดของ Hugo Munsterberg • มันสเตอร์เบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาของสถาบันฝึกอบรมวิลเลียมเจมส์ (William James) • นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้เชิญมันสเตอร์เบิร์กไปสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นที่ที่ได้ทดลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย การรับรู้ และความเอาใจใส่
2. แนวคิดของ Hugo Munsterberg • ให้ความสนใจกับการประยุกต์จิตวิทยามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงาน ในหนังสือ Psychology and Industrial Efficiency (1913) ได้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การคัดเลือกคนงาน การออกแบบตำแหน่งงาน และการใช้จิตวิทยาในการขาย • ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทำให้คนขับรถบรรทุกมีความปลอดภัย โดยศึกษาอย่างเป็นระบบของการทำงาน การพัฒนา ห้องปฏิบัติการที่ประดิษฐ์รถบรรทุก และรวมทั้งผู้ปฏิบัติการที่ดีสามารถเข้าใจพร้อมกันทั้งหมดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรถยนต์
2. แนวคิดของ Hugo Munsterberg สรุปแนวคิดของ Hugo Munsterberg 1. การศึกษาลักษณะของงานและมอบหมายหน้าที่ตรงลักษณะของแต่ละบุคคล • ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม ซึ่งใช้หลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ ดังนี้ 2. การกำหนดสภาวะจิตใจที่เหมาะสมกับพนักงานเพื่อให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 3. การแนะนำกลยุทธ์ที่จะทำให้พนักงานปฏิบัติตาม
2. แนวคิดของ Hugo Munsterberg สรุปแนวคิดของ Hugo Munsterberg • แนวคิดของ มันสเตอร์เบิร์ก นั้น ได้นำไปสู่การศึกษาพฤติกรรมของคนในที่ทำงานหรือจิตวิทยาอุตสาหกรรม ซึ่งยังเป็นวิชาที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน • กลับสารบัญ
3. แนวคิดของ Abraham Maslow • ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (The Need–Hierarchy Conception of Human Motivation) ของ มาสโลว์พบว่า บุคคลมีสิ่งกระตุ้นให้ต้องสนองตามลำดับความต้องการของมนุษย์ 5 ประการ โดยลำดับ ดังนี้
3. แนวคิดของ Abraham Maslow • 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) • เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดที่สุด เป็นความต้องการที่ช่วยการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ออกซิเจน การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ซึ่งในขั้นนี้จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการในขั้นที่สูงขึ้น
3. แนวคิดของ Abraham Maslow • 2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) • เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายได้รับความพึงพอใจแล้วบุคคลก็จะพัฒนาการไปสู่ขั้นต่อไป คือ ความต้องการความปลอดภัยหรือความรู้สึกมั่นคงนั่นเอง โดยต้องการให้มีคนที่คอยปกป้องคุ้มครองและเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็งซึ่งสามารถจะพึ่งพาอาศัยได้
3. แนวคิดของ Abraham Maslow • 3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and love needs) • ความต้องการในขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลจะต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือกับผู้อื่น
3. แนวคิดของ Abraham Maslow 4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง (Esteem needs) เมื่อเกิดความพึงพอใจจากแรงผลักดันทั้ง 3 ขั้นที่ผ่านมาแล้วก็จะมีความต้องการในขั้นต่อไปมาแทนที่ กล่าวคือมนุษย์ต้องการที่จะได้รับความนับถือยกย่องออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
3. แนวคิดของ Abraham Maslow 4.1 ความต้องการนับถือตนเอง (Self-Respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และมีความเป็นอิสระ 4.2 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (Esteem from others) คือ ความต้องการมีเกียรติยศ การได้รับยกย่อง ได้รับการยอมรับ ได้รับความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน และเป็นที่ชื่นชมยินดี
3. แนวคิดของ Abraham Maslow • 5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-actualization needs) ถ้าความต้องการลำดับขั้นที่ผ่านมาเกิดความพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น โดยความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงนั้นเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสม บุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทายความสามารถและศักยภาพและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง
3. แนวคิดของ Abraham Maslow สรุปแนวคิดของ Abraham Maslow มาสโลว์ ได้สรุปว่าการไม่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเกิดจากความพยายามที่ไม่ถูกต้องของการแสวงหาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การที่บุคคลสร้างความรู้สึกให้ผู้อื่นเกิดความพึงพอใจตนโดยพยายามหลีกเลี่ยงหรือขจัดข้อผิดพลาดต่างๆ ของตน บุคคลเช่นนี้จึงมีแนวโน้มที่จะพิทักษ์ความมั่นคงปลอดภัยของตน โดยแสดงพฤติกรรมในอดีตที่เคยประสบผลสำเร็จ แสวงหาความอบอุ่น และสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมขัดขวางวิถีทางที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง • กลับสารบัญ
4. แนวคิดของ Douglas McGragor • เกิดในปี1906 ที่เมือง Detroit ในรัฐ Michigan • ได้รับปริญญาด้านจิตวิทยาการทดลอง จากมหาวิทยาลัย Harvard ในปี1935 และสอนที่มหาวิทยาลัยนี้เป็นเวลา 2 ปี • จากนั้นมาสอนที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซท หรือ MIT ฐานะอาจารย์สอนวิชาจิตวิทยา
4. แนวคิดของ Douglas McGragor • จากตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นทำให้ย้ายเข้ามาเป็นศาสตราจารย์สอนทางจิตวิทยา และเป็นผู้บริหารระดับสูง ในส่วนของแผนกความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมของ MIT • และในที่สุดก็ได้เป็นนักจิตวิทยาสังคม • ภายหลังได้เป็นประธานของวิทยาลัยAntitioch • ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักจากการเข้าไปเชื่อมโยงกับทฤษฎี Y ที่เขาได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “Managing the Human Side of Enterprise” • มีบทความสำคัญที่เล่าเกี่ยวกับงานอาชีพ เรื่อง“Leadership and Motivation” • และในปี 1964 ได้ใช้เวลาเขียนต้นฉบับซึ่งถูกตีพิมพ์หลังจากเขาตายในเดือนตุลาคมชื่อเรื่อง “The Professional Manager”
2 3 1 พนักงานมีความทะเยอทะยานน้อยและไม่ชอบความรับผิดชอบ พนักงานต้องการทำงานให้น้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารต้องควบคุม สั่งการ จูงใจ ให้รางวัล หรือลงโทษเพื่อให้บุคคลทำงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยทั่วไปพนักงานจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 4. แนวคิดของ Douglas McGragor • ฐานคติของทฤษฎี X
2 5 3 1 4 พนักงานมีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาและบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ พนักงานมีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองซึ่งโดยทั่วไปยังไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ในองค์การส่วนใหญ่ พนักงานเต็มใจที่จะค้นหาและยอมรับความรับผิดชอบ โดยธรรมชาติพนักงานชอบทำงาน พนักงานจะยอมรับจุดมุ่งหมายขององค์การ เพื่อสามารถใช้ความพยายามและบรรลุจุดมุ่งหมายส่วนตัว 4. แนวคิดของ Douglas McGragor • ฐานคติของทฤษฎี Y
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y 4. แนวคิดของ Douglas McGragor ข้อมูลสมมติฐานเกี่ยวกับคน • เกียจคร้าน • พยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำงาน • จะบิดพลิ้วเมื่อมีโอกาส • ใช้วิธีควบคุมงานใกล้ชิด • คอยแต่จะจับผิด • ไม่ให้ทั้งเสรีภาพและโอกาส • รักงาน • พยายามเรียนรู้และปรับปรุงงาน • ใฝ่หาความรับผิดชอบ • ให้เสรีภาพแก่คนงาน • ให้โอกาสทดลองริเริ่ม • และทำงานด้วยตนเอง • ควบคุมห่างๆโดยกว้างๆ
การประยุกต์ใช้ Theory X และTheory Y 4. แนวคิดของ Douglas McGragor ควบคุมอย่างใกล้ชิด Closed Control 1. ถ้าลูกน้องเป็นคนลักษณะ X มากกว่า Y
การประยุกต์ใช้ Theory X และTheory Y 4. แนวคิดของ Douglas McGragor ให้อิสระควบคุมตนเอง และมีส่วนร่วมในการทำงาน(Participation) 2. ถ้าลูกน้องเป็นคนลักษณะ Y มากกว่าX • กลับสารบัญ
บรรณนานุกรม คินิชิ, แองจิโล และวิลเลี่ยมส์เบรน. (ม.ป.ป.). หลักการจัดการ. แปลจาก Management a practical introduction โดย บุตรี จารุโรจน์ และคนอื่นๆ. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล. ดวงใจ ปีเย่. (2549). Scope of public administration.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : ttp://mpa1.awardspace.com/downloads/Scope%205.ppt. วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2553. ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม. (2553). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.mpanonthaburi2.com/pa701/PA701_01/2.ppt. วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2553.
บรรณนานุกรม (ต่อ) ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ ของ Maslow.(2550). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.bloggang.com /mainblog.php?id=wbj&month=07-12- 2007&group=29&gblog=3. วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2553. บทที่ 1 แนวความคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม. (2553). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://rbu.rbru.ac.th/~nopdol/Leadership/template/ lesson1/leader1.ppt. วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2553. ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มนตรี. ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ และสมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. (2545). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ : Diamond in Business World.
สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ 203.113.115.60/~pcc29 Thank You !