770 likes | 1.78k Views
เทคนิคการเขียนโครงการ. บรรยายโดย นายธรรมนิตย์ อุตะรา นิติกรชำนาญการพิเศษ ศาลจังหวัดหนองคาย ๓๐ เมษายน ๒๕๕๗. เทคนิคการเขียนโครงการ. องค์ประกอบของโครงการ 1. ชื่อโครงการ 2. หลักการและเหตุผล 3. วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ 4. เป้าหมาย ตัวชี้วัดระดับผลผลิต 5.วิธีดำเนินการ
E N D
เทคนิคการเขียนโครงการเทคนิคการเขียนโครงการ บรรยายโดย นายธรรมนิตย์ อุตะรา นิติกรชำนาญการพิเศษ ศาลจังหวัดหนองคาย ๓๐ เมษายน ๒๕๕๗
เทคนิคการเขียนโครงการเทคนิคการเขียนโครงการ • องค์ประกอบของโครงการ 1. ชื่อโครงการ 2. หลักการและเหตุผล 3. วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ 4. เป้าหมาย ตัวชี้วัดระดับผลผลิต 5.วิธีดำเนินการ 6. กิจกรรม 7. งบประมาณ 8. ระยะเวลาดำเนินการ 9. ผู้รับผิดชอบโครงการ 10. การติดตาม ประเมินผล 11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ความหมายของโครงการ • คำว่า “โครงการ” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “project” เป็นแผนงานที่จัดทำขึ้นอย่างรอบคอบ เป็นระบบ พร้อมกับมีแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของแผนงานที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดอย่างชัดเจน มีพื้นที่ในการดำเนินงานเพื่อให้บริการและมีบุคคลากร หรือหน่วยงานรับผิดชอบ
ชื่อโครงการ • ชื่อโครงการ - มีความชัดเจนเหมาะสม เฉพาะเจาะจง เป็นที่เข้าใจได้โดยง่าย - บอกให้ทราบว่าจะทำสิ่งใดบ้าง ทำเพื่ออะไร - แสดงลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ ลักษณะเฉพาะของโครงการ และจุดมุ่งหมายของโครงการ
การเขียนหลักการและเหตุผลการเขียนหลักการและเหตุผล • หลักการและเหตุผล - ต้องเขียนแสดงให้เห็นถึงปัญหาหรือความต้องการ พร้อมทั้งระบุเหตุผลและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการอย่างชัดเจน - เชื่อมโยงให้เห็นว่าโครงการที่เสนอนี้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตรศาลยุติธรรม หรือนโยบายของประธานศาลฎีกา หรือนโยบายของผู้บริหารศาลอย่างไร - เป็นการวางรากฐานไปสู่สภาพที่พึงประสงค์ในอนาคตของหน่วยงาน
การเขียนวัตถุประสงค์ • วัตถุประสงค์ - ข้อความที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อโครงการเสร็จ - เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากผลผลิต - ข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ สามารถวัดและประเมินผลได้ ข้อสังเกตโครงการที่ดี วัตถุประสงค์ต้องชัดเจน และต้องสอดคล้องกับความเป็นมาของโครงการ มีความเป็นไปได้ชัดเจน และเป้าหมายของโครงการต้องประกอบด้วย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
การเขียนวัตถุประสงค์ตามหลัก SMART • SMART Specific หมายถึง โดยเฉพาะ,เจาะจง Measurable (เมซ เชอระเบิล) หมายถึง วัดได้ หรือประมาณได้ Agreeable หมายถึง เป็นที่ยอมรับได้ Realistic หมายถึง เป็นจริงได้ Timeframe หมายถึง มีกรอบเวลาชัดเจน
การเขียนเป้าหมายของโครงการการเขียนเป้าหมายของโครงการ • เป้าหมาย - ระบุปริมาณและคุณภาพของผลงาน หรือผลผลิต (Output) ที่ต้องทำ (ซึ่งเมื่อทำได้จะทำให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้) - ระบุเวลาที่ผลงานจะแล้วเสร็จ โครงการที่ดี ต้องกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โดยกำหนดเวลาเริ่มต้น และเวลาที่สิ้นสุดให้ชัดเจน ถ้าไม่กำหนดเวลา หรือปล่อยให้โครงการดำเนินไปเรื่อย ๆ ย่อมไม่สามารถประเมินผลสำเร็จได้ ซึ่งจะกลายเป็นการดำเนินงานตามปกติ หรืองานประจำไป
การกำหนดกิจกรรมของโครงการ • กระบวนการทำงานในการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดผลผลิตและบรรลุวัตถุประสงค์ • จำแนกเป็นกิจกรรมหลักที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีกิจกรรมใดที่ต้องทำ ทำเมื่อใด
งบประมาณ • เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการทั้งหมด อาทิ ค่าวิทยากร ค่าเช่าสถานที่จัดทำกิจกรรมตามโครงการ ค่าอาหารว่าง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ • แหล่งที่มาของงบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินการ • เป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนกระทั้งสิ้นสุดโครงการ ว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยระบุ เดือน ปี ที่เริ่มทำและสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว ก็ต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละระยะของโครงการนั้นด้วย เพื่อใช้เป็นรายละเอียด ประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ/เจ้าหน้าที่ประจำโครงการผู้รับผิดชอบโครงการ/เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ • โครงการทุกโครงการ จะต้องมีผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามโครงการ ที่เขียนไว้ ไม่ว่าตนเองจะเป็นผู้เขียนโครงการนั้น หรือผู้อื่นเป็นผู้เขียนโครงการก็ตาม รวมทั้งจะต้องระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการจัดทำโครงการนั้นๆ ด้วย เพื่อสะดวกต่อการประสานงานและติดตามประเมินผล อาทิ ผู้เสนอโครงการ/ผู้เห็นชอบ/ผู้อนุมัติ/ผู้รับผิดชอบโครงการ (ดูในตัวอย่างโครงการ)
การติดตามประเมินผลโครงการการติดตามประเมินผลโครงการ • การติดตามประเมินผล • แสดงถึงการติดตาม การควบคุม การกำกับดูแล และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ เพื่อให้โครงการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งระบุ รูปแบบของการประเมินผลโครงการไว้ด้วยอย่างชัดเจน เช่น ประเมินก่อนดำเนินการ ขณะดำเนินการ หลังการดำเนินการ หรือจะระบุเวลาชัดเจนว่าจะประเมินทุกระยะ 3 เดือน เป็นต้น
การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • เป็นการทบทวนวัตถุประสงค์ของโครงการว่า การดำเนินงานของโครงการในแต่ละวัตถุประสงค์นั้น คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง ควรเขียนเป็นข้อๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ลักษณะของโครงการที่ดีลักษณะของโครงการที่ดี o สามารถแก้ปัญหาของหน่วยงานได้ o มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลตอบแทนคุ้มค่า o วัตถุประสงค์ เป้าหมายชัดเจนมีความเป็นไปได้สูง o รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องสัมพันธ์กัน o สนองความต้องการขององค์การหรือหน่วยงาน o สอดคล้องกับแผนหลักของหน่วยงานและ o ติดตามประเมินผลได้ o กำหนดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นความจริงและได้รับ o การวิเคราะห์อย่างรอบคอบ o มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
การวางแผนเกี่ยวกับการเขียนโครงการการวางแผนเกี่ยวกับการเขียนโครงการ ก. ทำทำไม (WHY) ข. ทำอะไร (WHAT) ค. ทำที่ไหน (WHERE) ง. ทำเมื่อไร (WHEN) จ. ทำโดยใคร (WHO) ฉ. ทำเพื่อใคร (WHOM) ช. ทำอย่างไร (HOW) ซ. จ่ายเท่าไร (HOW MUCH)
โครงการ “ศาลสัมพันธ์ คุยกันในสภากาแฟ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ • ๑.หลักการและเหตุผล ด้วยศาลจังหวัดหนองคาย เป็นหน่วยงานราชการในส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ที่สังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค ๔ สำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีข้าราชการหลายฝ่ายที่ร่วมกันปฏิบัติงาน อันประกอบด้วย ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกันในองค์กร ตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดไว้ ภารกิจที่มาจากนโยบายประธานศาลฎีกา นโยบายสำนักงานศาลยุติธรรม นโยบายของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ และนโยบายของผู้บริหารศาลจังหวัดหนองคาย ซึ่งการขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ตามนโยบายของผู้บริหารให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรงและร่วมใจในการปฏิบัติงานจากข้าราชการทุกๆ ฝ่าย ซึ่งในปีงบประมาณที่ผ่านมานั้น ศาลจังหวัดหนองคาย ได้จัดกิจกรรมให้ผู้บังคับบัญชาและข้าราชการศาลยุติธรรม ในระดับผู้ปฏิบัติงานทุกคนจากส่วนและกลุ่มงานต่างๆ ได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน อันจะส่งผลให้เกิดความสามัคคีขึ้นในองค์กรการประสานงานและการสื่อสารภายในองค์กร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายของผู้บริหารศาลและผู้บังคับบัญชา เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ศาลจังหวัดหนองคาย เห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดให้มี โครงการ “ศาลสัมพันธ์คุยกันในสภากาแฟ” ขึ้นเป็นปีที่สองต่อเนื่องกัน
๒.วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อให้ผู้บริหารศาล ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติงานร่วมกันในศาลจังหวัดหนองคาย ได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นในการทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกัน อันจะเป็นการสร้างความสามัคคี สร้างมิตรภาพและสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์เดียวกัน ๒.เพื่อให้ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติงานร่วมกันในศาลจังหวัดหนองคาย ได้รับทราบนโยบาย ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงาน เป็นประจำทุกๆ เดือน อันจะส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานสำเร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓.ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์๓.ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ บุคลากรในหน่วยงาน ได้รับทราบนโยบาย ภารกิจที่มาจากนโยบายประธานศาลฎีกา นโยบายสำนักงานศาลยุติธรรม นโยบายของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ และนโยบายของผู้บริหารศาลจังหวัดหนองคาย รวมถึงรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงาน เป็นประจำทุกๆ เดือน เพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๔.เป้าหมายผลผลิต และตัวชี้วัดผลผลิต • บุคลากรในหน่วยงาน สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายประธานศาลฎีกา นโยบายสำนักงานศาลยุติธรรม นโยบายของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ และนโยบายของผู้บริหารศาลจังหวัดหนองคาย ให้สำเร็จตามเปาหมายที่ได้กำหนดไว้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐
๕.ผู้เข้าร่วมโครงการ/กลุ่มเป้าหมาย • ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติงานร่วมกันในศาลจังหวัดหนองคายทุกคน (โดยอาจจะให้มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนในกันไปในแต่ละรอบและในแต่ละเดือนหรือแต่ละครั้งที่จัดโครงการฯ)
๖.วิธีดำเนินการ • ๑. เสนอโครงการและขออนุมัติจัดทำโครงการต่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหนองคาย • ๒. เสนอแต่งตั้งคณะทำงาน และประชุมคณะทำงานเพื่อวางแนวทางในการจัดทำกิจกรรม • ๓. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ โดยจัดกิจกรรมสภากาแฟ และร่วมรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน ในวันศุกร์ที่สอง ของทุกๆ เดือน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องสันทนาการ บริเวณ ชั้นลอย อาคารศาลจังหวัดหนองคาย
๗.กิจกรรมหลัก • ๑. การจัดให้ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติงานร่วมกันในศาลจังหวัดหนองคาย ได้มีโอกาสรับประทานอาหารเช้า กาแฟ โอวัลติน อาหารว่างร่วมกัน เป็นประจำทุกเดือนๆ ละหนึ่งครั้ง • ๒. การจัดให้มีเวทีในการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นในการทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกันก่อนเริ่มปฏิบัติงาน รวมถึงการได้รับทราบนโยบายของผู้บริหารศาลและรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นประจำทุกเดือนๆ ละหนึ่งครั้ง
๘.วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมตามโครงการ • จัดกิจกรรมในวันศุกร์ที่สอง ของทุกๆ เดือน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องสันทนาการ บริเวณชั้นลอย อาคารศาลจังหวัดหนองคาย โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ถึงวันศุกร์ที่สองของเดือนกันยายน ๒๕๕๗
๙.งบประมาณ • ใช้เงินสวัสดิการศาล เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่ากาแฟ โอวัลติน ค่าอาหารว่าง อาหารเช้า ตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บริหารศาล ในการจัดกิจกรรมประจำเดือนในแต่ละครั้ง
๑๐.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ๑๐.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ทำให้ผู้บริหารศาล ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติงานร่วมกันในศาลจังหวัดหนองคายได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นในการทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกันก่อนเริ่มปฏิบัติงาน อันจะเป็นการสร้างความสามัคคี สร้างมิตรภาพและสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์เดียวกัน ๒. ทำให้ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ในศาลจังหวัดหนองคาย ที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับทราบนโยบายของผู้บริหารศาลและรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นประจำทุกเดือน ๓. ทำให้ศาลจังหวัดหนองคาย มีช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ นโยบายของผู้บริหารศาลและรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาในระดับผู้ปฏิบัติงาน ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นและเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้ข้าราชการและลูกจ้างในหน่วยงาน มาปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เช้า
การประเมินผลโครงการ/ผู้รับผิดชอบโครงการการประเมินผลโครงการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ • ๑๑.การติดตามและประเมินผลโครงการ สังเกตจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม และสำรวจความพึงพอใจจากแบบสอบถามผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม • ๑๒.ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดหนองคาย