1 / 43

IQ & EQ

IQ & EQ. มนุษย์มีทั้งหมด 3 เผ่าพันธุ์หลัก คือ. คอเคซอยด์ เช่น ฝรั่ง , เเขกขาว , ละติน มองโกลอยด์ เช่น เอเชียตะวันออก , เเขกดำ , อินเดียนเเดง , เอสกิโม นิกรอยด์ เป็นสายพันธุ์ที่มียีนแรงที่สุด. มองโกลอยด์เป็นสายพันธุ์ที่มีระดับ IQ เฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อเทียบกันทั้ง 3 เผ่าพันธุ์

reia
Download Presentation

IQ & EQ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. IQ & EQ

  2. มนุษย์มีทั้งหมด 3 เผ่าพันธุ์หลัก คือ • คอเคซอยด์ เช่น ฝรั่ง, เเขกขาว, ละติน • มองโกลอยด์ เช่น เอเชียตะวันออก, เเขกดำ, อินเดียนเเดง, เอสกิโม • นิกรอยด์ เป็นสายพันธุ์ที่มียีนแรงที่สุด

  3. มองโกลอยด์เป็นสายพันธุ์ที่มีระดับ IQ เฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อเทียบกันทั้ง 3 เผ่าพันธุ์ • เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งย่อยออกเป็นเชื้อสาย “ยิว” (คอเคซอยด์สายพันธุ์หนึ่ง) ซึ่งเป็นเชื้อสายที่มี IQ เฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 117 สูงที่สุดในเผ่าพันธุ์ของมนุษย์หรือฉลาดที่สุดในโลกก็ว่าได้ • ส่วนในแถบเอเชียนั้น ยังมี IQ ที่แตกต่างกัน อย่าง เช่น • คนเอเชีย (ผิวเหลือง) จะมี IQ เฉลี่ยสูงที่สุดคือ 106 • รองลงมาก็คือ คนเอเชีย (ผิวขาว) IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 100 • ท้ายสุดคนเอเชีย (ผิวสี) IQ จะอยู่ที่ 85

  4. IQ (คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2 – 15 ปี กรมสุขภาพจิต) ผลรวมของความสามารถด้านต่าง ๆ ทั้งการรับรู้ เชื่อมโยงความคิด เรียนรู้ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมรวดเร็ว เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ภาษา ความจำ การคิดอย่างมีเหตุผล การวิเคราะห์เปรียบเทียบ เกี่ยวโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน กล้ามเนื้อเล็ก ใหญ่ การเรียนรู้ สังเกตจากสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้ประสบการณ์

  5. Richard Lynn and Tatu Vanhanen (2006) ได้สำรวจ

  6. การสำรวจ IQ ระดับประเทศ ปี 2554 สำรวจเด็กไทยจำนวน 72,780 คน อายุ 6 – 15 ปี ป.1 – ม.3 IQ เฉลี่ย 98.59 จุด แบ่งตามภาค • กทม . 104.50 • ภาคกลาง 101.29 • ภาคเหนือ 100.11 • ภาคใต้ 96.85 • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 95.99

  7. ผลสำรวจค่าเฉลี่ย IQ ทั่วประเทศและแยกตามภาค

  8. Exc.

  9. เปรียบเทียบผลสำรวจสัดส่วน IQ ระหว่าง IQ ปกติ (ทฤษฏี) กับค่า IQ สำรวจ ปี 2554

  10. แผนที่ประเทศไทย แสดงผลการสำรวจระดับสติปัญญา เด็กนักเรียนไทย 2554 จังหวัดที่ IQ > 100 จังหวัดที่ IQ = 100 จังหวัดที่ IQ < 100 11 23 August 2014

  11. เมื่อจำแนกตามอายุ จะเห็นได้ว่าในช่วงอายุ 15 ปี เป็นช่วงอายุที่มีระดับ IQ เฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ที่ 100.96 คะแนน รองลงมาก็คือ อายุ 12 ปี มีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 100.38 และในช่วงอายุ 7 ปี มีระดับ IQ เฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ที่ 95.82 คะแนน

  12. เมื่อเทียบเป็นเพศ จะเห็นได้ว่าเพศหญิงจะมี ระดับ IQ เฉลี่ยสูงกว่าเพศชาย ซึ่งในเพศหญิงมีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 99.91 คะแนน และเพศชายอยู่ที่ 97.69 คะแนน ตามลำดับ

  13. เด็กนครศรีธรรมราช (ลำดับที่ 44) = 98.03

  14. ปัจจัยที่มีผลต่อเชาวน์ปัญญาปัจจัยที่มีผลต่อเชาวน์ปัญญา สภาวะทางครอบครัว Henzig 1967 : เด็ก 21 – 30 ปี IQ สูง ถ้า - ผู้ปกครองมีความสามารถสูง และมีความใกล้ชิดผูกพันกับแม่เป็นพิเศษ หรือแม่มีความห่วงใยบุตร ท่าทีของพ่อแม่ต่อความสำเร็จของลูก - เด็กชาย IQ สูง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแม่ พ่อมีความสำเร็จ และพึงพอใจในอาชีพ - เด็กหญิง IQ สูง พ่อมีลักษณะเป็นมิตร พ่อกับแม่ เข้ากันได้ดี

  15. เพศ ชายและหญิง IQ ใกล้เคียงกัน ชาย มักมีความสามารถด้านคำนวณและการใช้ไหวพริบ หญิง ความสามารถด้านภาษา ความจำ งานฝีมือที่ ละเอียด IQ เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับ กรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม อาหารเป็นสิ่งจำเป็นกับการพัฒนาสมองมาก ปัจจัยที่มีผลต่อเชาวน์ปัญญา

  16. ผลการสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) 2554 โดยสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต

  17. E.Q. มาจากคำว่า Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่าง สร้างสรรค์และมีความสุขในการรับรู้และเข้า ใจในอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถที่จะจัดการอารมณ์เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต

  18. ทำไมจึงให้ความสำคัญกับ EQ มีวิจัย ดังนี้ มหาเศรษฐี 400 คนของโลกที่ประสบความสำเร็จ มีสมบัติพันล้านเหรียญUS 50 % ไม่ได้จบปริญญาตรี • งานวิจัยในรัฐแมซซาชูเสท ติดตามเด็ก 450 คน นาน 40 ปี ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตไม่เกี่ยวกับ IQ ทั้งหมด แต่รวมถึง ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง(AQ) การควบคุมอารมณ์ได้ดี (EQ) การเข้ากับคนอื่นได้ดี (SQ) • การวิจัยเก็บข้อมูลจากผู้จบปริญญาเอก 80 คน ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ขณะศึกษาถึง อายุ 70 ปี พบว่า EQ และความสามารถทางสังคม ทำให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และมีชื่อเสียง มากกว่าความสามารถทาง IQ 4 เท่า • ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมพบว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเป็นความสัมพันธ์ทางบวก (r=0.390)

  19. ความฉลาดทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการประสบความสำเร็จในชีวิตของบุคคล เพราะความฉลาดทางอารมณ์มิได้ถูกกำหนดมาจากพันธุกรรม และไม่ได้พัฒนาสมบูรณ์ตอนวัยเด็กเหมือนความฉลาดทางสติปัญญา หากแต่สามารถพัฒนาได้โดยการเรียนรู้ตลอดเวลา

  20. กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแนวคิด เรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ ที่ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๓ ประการคือ • ๑. ความดี • ๒. ความเก่ง • ๓. ความสุข

  21. ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ • ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง - รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง - ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้ - แสดงออกอย่างเหมาะสม • ความสามารถในการเห็นใจผู้อื่น - ใส่ใจผู้อื่น - เข้าใจและยอมรับผู้อื่น - แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม • ความสามารถในการรับผิดชอบ - รู้จักการให้ รู้จักการรับ - รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย - เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

  22. เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น • ความสามารถในการรู้จักและสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง - รู้ศักยภาพของตนเอง - สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้ - มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย • ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา - รับรู้และเข้าใจปัญหา - มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม - มีความยืดหยุ่น • ความสามารถในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น - รู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น - กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม - แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์

  23. สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเองพอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจ • ความภูมิใจในตนเอง - เห็นคุณค่าในตนเอง - เชื่อมั่นในตนเอง • ความพึงพอใจในชีวิต - รู้จักมองโลกในแง่ดี - มีอารมณ์ขัน - พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ • ความสงบทางใจ - มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข - รู้จักผ่อนคลาย - มีความสงบทางจิตใจ

  24. สรุปความฉลาดทางอารมณ์ = เข้าใจตนเอง + เข้าใจผู้อื่น + แก้ไขความขัดแย้งได้ • เข้าใจตนเอง ---> เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการในชีวิตของตนเอง • เข้าใจผู้อื่น ---> เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถแสดงออกมาได้อย่างเหมาะสม • แก้ไขความขัดแย้งได้ ---> เมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขจัดการให้ผ่านพ้นไปได้อย่างเหมาะสมทั้งปัญหาความเครียดในใจ หรือปัญหาที่เกิดจากการขัดแย้งกับผู้อื่น

  25. โครงการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) เด็กและเยาวชน ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548-2554 การดำเนินงานที่ผ่านมา มีการสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ ในปี 2550 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เด็กไทย และ ปี 2554 เป็นการสำรวจติดตามสถานการณ์ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กนักเรียนไทย อายุ 6-11 ปี ระดับประเทศเป็น ครั้งที่ 2 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5,325 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่ใช้สำรวจ ไอคิว ปี 2554 จากตัวแทน กรุงเทพมหานคร และ 4 ภาค รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ระยอง สมุทรสาคร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด กระบี่ ปัตตานี ใช้แบบทดสอบวัดความฉลาดทางอารมณ์ฉบับกรมสุขภาพจิต ซึ่งประกอบด้วย ฉบับเด็กอายุ 6-11 ปี ที่ครูเป็นผู้ประเมิน วิเคราะห์ผลเป็นค่าเฉลี่ยและร้อยละ โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้ในการสำรวจปี 2554 และ 2.การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลความฉลาดทางอารมณ์ในการสำรวจปี 2545 และปี 2550 โดยเมื่อเปรียบเทียบระยะ 3 ปีที่ทำการสำรวจ ผลรวมของคะแนนอีคิว กลุ่มอายุ 6-11 ปี โดยใช้แบบทดสอบที่มีโครงสร้างเดียวกันแต่ผู้ประเมินต่างกัน คือ ปี 2545 และปี 2550 พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน ส่วนปี 2554 ครูเป็นผู้ประเมิน แต่ได้ปรับให้คะแนนอยู่ในมาตรเดียวกัน พบว่า คะแนนอีคิว ปี 2554 มีค่าต่ำสุด อยู่ที่ 169.72 จาก 179.58 ในปี 2550 และ 186.42 ในปี 2545

  26. สำรวจระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็ก ปี ๒๕๕๔ ในกลุ่มนักเรียนไทย อายุ ๖-๑๑ ปี จำนวน ๕,๓๒๕ คน ใน ๔ ภาคและกรุงเทพมหานคร รวม ๑๐ จังหวัด พบว่า คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มีคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือมีค่าคะแนนอยู่ที่ ๔๕.๑๒ จากค่าคะแนนปกติ ๕๐-๑๐๐ ซึ่งมีจุดอ่อนทั้ง ๓ องค์ประกอบใหญ่ คือ เก่ง ดี มีสุข โดยมีองค์ประกอบที่เป็นจุดอ่อนมาก ได้แก่ ความมุ่งมั่นพยายาม (๔๒.๙๘) ความกล้าแสดงออก (๔๓.๔๘) และความรื่นเริง เบิกบาน (๔๔.๕๓) โดยพบว่า ภาคใต้มีคะแนน EQ เฉลี่ยสูงสุด ๔๕.๙๕ ซึ่งใกล้กับค่าปกติมากที่สุดรองลงมา คือ ภาคเหนือ ๔๕.๘๔ กรุงเทพมหานคร ๔๕.๖๒ ภาคกลาง ๔๔.๓๘ และต่ำสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔๔.๐๔

  27. พญ.พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวเสริมว่า ผลสำรวจความฉลาดทางอารมณ์เด็กนักเรียนไทยอายุ 6-11 ปี โดยในปี 2554 มีคะแนนอีคิว เฉลี่ยระดับประเทศอยู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 45.12 จากค่าคะแนนปกติ 50 - 100 ซึ่งมีจุดอ่อนทั้ง 3 องค์ประกอบใหญ่ คือ ดี เก่ง สุข เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยในแต่ละด้าน พบว่า การปรับตัวต่อปัญหา มีค่าคะแนนอยู่ที่ 46.65 การควบคุมอารมณ์ 46.50 การยอมรับถูกผิด 45.65 ความพอใจในตนเอง 45.65 ความใส่ใจและเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น 45.42 การรู้จักปรับใจ 45.23 ที่เป็นจุดอ่อนมาก ได้แก่ ความมุ่งมั่นพยายาม ซึ่งมีค่าคะแนน อยู่ที่ 42.98 รองลงมา คือ ความกล้าแสดงออก 43.48 และความรื่นเริงเบิกบาน 44.53

  28. เมื่อพิจารณารายภาค จะพบว่า ภาคใต้มีคะแนนอีคิว เฉลี่ยสูงสุด อยู่ที่ 45.95 ซึ่งใกล้ค่าปกติมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคเหนือ 45.84 กรุงเทพมหานคร 45.62 ภาคกลาง 44.38 และต่ำสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44.04 และเมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ตามเกณฑ์ปกติ ที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 50-100 พบว่า ภาคใต้มีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.4 รองลงมา คือ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 23.2 ภาคเหนือ ร้อยละ 22.9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 21.4 และภาคกลาง น้อยที่สุด ร้อยละ 19.7 และมีกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา (ค่าคะแนน ต่ำกว่า 40) เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 32.3 ภาคกลาง ร้อยละ 28.8 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 25.3 ภาคเหนือ ร้อยละ 22.3 และภาคใต้ ร้อยละ 21.4

  29. ความสัมพันธ์ระหว่าง ไอคิวและอีคิว ไอคิว อีคิว สำเร็จในชีวิต เด็กที่ฉลาด + ดี เก่ง สุข เด็กปรับตัวได้ดี รับมือกับปัญหาได้ จากการวิจัย พบว่า คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต อีคิวมักจะนำไอคิว จึงต้องควรพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

  30. EQ พบว่า เด็กอายุ 3 – 5 ปี ด้านการปรับตัวต่อปัญหา และความกระตือรือร้น ลดลง เด็กอายุ 6 – 11 ปี ความมุ่งมั่นพยายาม ลดลง

  31. พัฒนาการรวมปกติเด็กปฐมวัยพ.ศ. 2542,2547,2550 ร้อยละ พ.ศ.

  32. พัฒนาการรวมปกติเด็กอายุ 1 - 3 ปี พ.ศ. 2542,2547,2550 ร้อยละ พ.ศ.

  33. พัฒนาการรวมปกติเด็กอายุ 4 – 5 ปีพ.ศ. 2542, 2547, 2550 ร้อยละ พ.ศ.

  34. พัฒนาการ • แบ่งเป็น • ด้านสังคมและการช่วยเหลือตัวเอง • ภาษาและการสื่อความหมาย • กล้ามเนื้อมัดเล็ก • กล้ามเนื้อใหญ่

  35. พัฒนาการ เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีมาก ในช่วง 6 ปีแรกของชีวิต พัฒนาการมีผลเชื่อมโยงไปสู่การมี IQ และ EQ ที่ดีในอนาคต เด็กเล็กที่มีพัฒนาการล่าช้า และถูกค้นพบเร็ว การบำบัด รักษามีแนวโน้มที่จะดี มากกว่าเด็กโต

  36. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ IQ และ EQ2 ก 2 ล เล่น เล่า กอด กิน

  37. เมื่อพบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้า หรือสงสัย ???? • บันทึกข้อมูลและรายงานผู้บริหารทราบ • ให้คำปรึกษาครอบครัว แนะนำให้ไปพบแพทย์ • โรงพยาบาลสกลนคร ได้แก่ กุมารแพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการสื่อความหมาย ตรวจการได้ยิน • ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสกลนคร • จัดแผนการฝึก / ส่งเสริม / ปรับ • ขอความเห็นและความร่วมมือผู้ปกครองในการฝึก • ติดตามความก้าวหน้า

  38. การกำหนดแนวทางเพื่อเสริมปัจจัยการเรียนรู้ให้เด็กและครอบครัว ดังนี้ • ส่งเสริมพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ ภายใต้บรรยากาศที่มีความสุข เด็กต้องการสัมผัส โอบกอด และการให้กำลังใจ • พัฒนาระบบการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตเด็กในระดับ อำเภอ เพื่อประเมิน สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องด้านสุขภาพจิตให้ได้รับการดูแล และเข้าถึงบริการสุขภาพจิตสำหรับเด็ก

More Related