710 likes | 1.09k Views
เอกสารประกอบการบรรยาย เงินนอกงบประมาณ วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555 ณ โรงแรม เดอะรอยัล เจมส์ กอล์ฟ รี สอร์ท. โดย ผู้อำนวยการกองคลัง. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการยกเลิกการบันทึกบัญชีในระบบมือ. เงินนอกงบประมาณ. นิยามเงินนอกงบประมาณ
E N D
เอกสารประกอบการบรรยายเงินนอกงบประมาณวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555ณ โรงแรม เดอะรอยัลเจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท โดย ผู้อำนวยการกองคลัง โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการยกเลิกการบันทึกบัญชีในระบบมือ
เงินนอกงบประมาณ นิยามเงินนอกงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ หมายความว่า เงินทั้งปวงที่อยู่ ความรับผิดชอบของส่วนราชการ นอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืน และเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 4 วรรค 19)
เงินนอกงบประมาณ...(ต่อ)...เงินนอกงบประมาณ...(ต่อ)... เงินงบประมาณรายจ่าย หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่าย หรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์ และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน หมายความว่า เงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรม หรือนิติเหตุและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณบัญญัติไม่ให้ส่วนราชการนั้นนำไปใช้จ่าย หรือหักไว้เพื่อการใด ๆ
เงินนอกงบประมาณ...(ต่อ)...เงินนอกงบประมาณ...(ต่อ)... เงินเบิกเกินส่งคืน หมายความว่า เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังไปแล้ว แต่ไม่ได้จ่าย หรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายไปแล้วแต่ถูกเรียกคืน และได้นำส่งคลังภายหลังสิ้นปีงบประมาณ หรือภายหลังระยะเวลาเบิกเงินที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน หมายความว่า เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังไปแล้ว แต่ไม่ได้จ่าย หรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายไปแล้วแต่ถูกเรียกคืน และได้นำส่งคลังภายหลังสิ้นปีงบประมาณ หรือภายหลังระยะเวลาเบิกเงินที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี
พระราชบัญญัติวิธีงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2517 และ(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการใดได้รับเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการนั้นใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้นก็ดี หรือได้รับเงินที่เกิดจากทรัพย์สิน ซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้นก็ดี ให้ส่วนราชการนั้นจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับนั้นได้ และไม่ต้องนำส่งคลัง
พระราชบัญญัติวิธีงบประมาณ พ.ศ. 2502 ...(ต่อ)... วรรคสี่ รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินในกรณีต่อไปนี้ นำเงินนั้นไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ คือ 1. เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหาย หรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สินและจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา 2. เงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์
พระราชบัญญัติวิธีงบประมาณ พ.ศ. 2502 ...(ต่อ)... 3. เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ 4. เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคล เพื่อนำไปซื้อหุ้นในนิติบุคคลอื่น การจ่ายเงินตาม (2) และ (3) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เงินนอกงบประมาณของกรมควบคุมโรคเงินนอกงบประมาณของกรมควบคุมโรค แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 1. เงินบริจาค 2. เงินบูรณะทรัพย์สิน 3. เงินบำรุง
เงินนอกงบประมาณของกรมควบคุมโรค ...(ต่อ)... 4. เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ หรือเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการ เช่น เงิน สปสช. เงินสสส. เงินทุนวิจัย เงินอบต. เงินอบจ. เป็นต้น 5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เช่น เงินกองทุนโลก (Global Fund) เงินองค์การอนามัยโลก (WHO) เงิน TUC เงิน UNICEF เงิน Bill gate เป็นต้น
1. เงินบริจาค เงินบริจาค หมายถึง เงินที่มีผู้มอบให้ หรือเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลให้นำไปใช้ในกิจการของส่วนราชการ เช่น เงินทุนเจริญดารานนท์ เงินบริจาคให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ. 2526 (ที่ กค 0502/23551 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2526)
1. เงินบริจาค ...(ต่อ)... การรับเงิน หรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค ให้ทางราชการทุกกรณี ให้มีการรายงานผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้น จนถึงหัวหน้าส่วนราชการ และให้ถือว่าเป็นการรับเงินบริจาคในนามของส่วนราชการ
1. เงินบริจาค ...(ต่อ)... การจ่ายเงิน หัวหน้าส่วนราชการ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในการจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันเงินบริจาค หรือดอกผล ซึ่งเกิดจากทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ ***กระทรวงสาธารณสุข มีหนังสือ ที่ สธ 0403/4029 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2528 หารือกระทรวงการคลังว่า หัวหน้าส่วนราชการจะมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองคลัง/ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือข้าราชการที่แต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงานได้หรือไม่
1. เงินบริจาค ...(ต่อ)... ***กระทรวงการคลังมีหนังสือ ที่ กค 0514/57887 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2528 ตอบข้อหารือว่า เจตนารมณ์ของระเบียบให้เฉพาะหัวหน้าส่วนราชการเท่านั้น หากหัวหน้าส่วนราชการประสงค์จะมอบอำนาจในการอนุมัติให้ผู้อื่น ต้องมอบหมายตามประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 218 ซึ่งกำหนดให้อธิบดีมอบอำนาจได้เฉพาะรองอธิบดีเท่านั้น
1. เงินบริจาค ...(ต่อ)... การเก็บรักษา ให้นำฝากกระทรวงการคลัง หรือสำนักงานคลังจังหวัดแล้วแต่กรณี การตรวจสอบ ให้รวบรวมหลักฐานการรับ – จ่าย ให้กลุ่มตรวจสอบภายใน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบได้ทุกขณะ การปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชี วิธีการจ่ายและหลักฐานการรับ – จ่ายเงินบริจาค ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม
2. เงินบูรณะทรัพย์สิน เงินบูรณะทรัพย์สิน หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหาย หรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่าย เพื่อบูรณะทรัพย์สิน หรือจัดให้ได้ทรัพย์สินนั้นคืนมา เช่น ค่าเวนคืนที่ดิน ค่าไฟฟ้า
2. เงินบูรณะทรัพย์สิน ...(ต่อ)... เงินบูรณะทรัพย์สิน ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินรายรับ เพื่อบูรณะทรัพย์สิน (ที่ กค 0409.3/ว503 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2548) และหลักเกณฑ์การขยายเวลาการเบิกจ่ายเงินฝาก เพื่อบูรณะทรัพย์สิน (ที่ กค 0427/ว326 ลงวันที่ 26 กันยายน 2554)
2. เงินบูรณะทรัพย์สิน ...(ต่อ)... กระทรวงการคลังอนุญาตเป็นหลักการให้ส่วนราชการไม่ต้องนำเงินที่ได้รับเพื่อไปใช้จ่ายบูรณะทรัพย์สิน หรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมาได้ โดยไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในกรณีดังนี้ 1. ค่าเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ภายในวงเงินครั้งละ ไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือ
2. เงินบูรณะทรัพย์สิน ...(ต่อ)... 2. เงินจากการริบหลักประกันสัญญา กรณีที่คู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือ 3. เงินชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิด ภายในวงเงินครั้งหนึ่งไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือ 4. เงินสมทบค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินที่ได้รับจากการให้หน่วยงานของรัฐใช้สถานที่
2. เงินบูรณะทรัพย์สิน ...(ต่อ)... การรายงาน ให้รายงานการรับ – จ่ายเงินฝาก เพื่อบูรณะทรัพย์สิน ตามแบบที่กำหนดให้กรมบัญชีกลางทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการใช้จ่าย ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติที่กำหนด ให้ขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง
3. เงินบำรุง เงินบำรุง หมายถึง เงินทั้งปวงที่สถานบริการสาธารณสุขได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เนื่องจากการดำเนินงานในกิจการ สถานบริการ สาธารณสุขตามหน้าที่ นอกเหนือจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินบำรุง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2536 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... เงินบำรุง ได้แก่ 1. เงินที่หน่วยบริการได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เนื่องจากการดำเนินงานในกิจการ ยกเว้น เงินงบประมาณรายจ่าย และเงินที่ได้รับหรือจัดเก็บกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสาธารณสุข ค่าธรรมเนียมสมัครสอบ ค่าปรับเปรียบเทียบคดี เป็นต้น
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... 2. เงินที่ได้รับในลักษณะหนึ่งลักษณะใดต่อไปนี้ 2.1 ค่าใช้อาคารสถานที่ หรือทรัพย์สินของหน่วยบริการ 2.2 เงินชดใช้ค่าเสียหาย หรือจากการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของหน่วยบริการ ยกเว้นทรัพย์สินที่ได้มาจากเงินงบประมาณทั้งหมด หรือบางส่วน 2.3 เงินค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ที่ได้รับจากผู้ใช้ เพื่อชดใช้เงินบำรุงที่ต้องจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... 2.4 เงินที่มีผู้มอบให้โดยไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือระบุวัตถุประสงค์ไว้ไม่ชัดแจ้ง 2.5 เงินที่ได้รับจากการดำเนินงานของหน่วยบริการที่รับจัดทำ รับบริการ รับจ้างผลิต เพื่อจำหน่ายตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด 2.6 เงินที่ได้รับจากการแสดง หรือจัดกิจกรรมของหน่วยบริการ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... 2.7 เงินที่ได้รับจากการจัดประชุม อบรม สัมมนา ที่ใช้ เงินบำรุงของหน่วยบริการจัดประชุม 2.8 เงินที่ได้รับจากการจัดบริการพิเศษ เช่น บริการรถรับส่งผู้ป่วย การใช้บริการเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น 2.9 เงินที่ได้จากการริบหลักประกัน หรือเงินค่าปรับ เนื่องจากผิดสัญญาที่ดำเนินการ โดยเงินบำรุงทั้งหมดหรือใช้เงินบำรุงสมทบ ตามสัดส่วนของเงินบำรุงนั้น
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... 2.10 เงินผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ได้มาด้วย เงินบำรุง หรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้หน่วยบริการ โดยไม่ระบุวัตถุประสงค์ หรือวัตถุประสงค์ไว้ไม่ชัดแจ้ง เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 2.11 เงินส่วนลดค่าใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะ 2.12 เงินรายรับอื่นที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงคลัง
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... การเก็บรักษาเงินบำรุง - ให้เก็บรักษาเงินสดไว้ สำรองจ่ายภายในวงเงินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด - เงินบำรุงที่เหลือให้ฝากกระทรวงการคลัง หรือสำนักงานคลังจังหวัดแล้วแต่กรณี - การนำเงินฝากธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่เกินวงเงินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... การรับเงินบำรุง หน่วยบริการจะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรับเงินและการออกใบเสร็จรับเงินของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... ***เงินบำรุง ที่หน่วยบริการได้รับ จะนำไปก่อหนี้ผูกพัน หรือจ่ายได้ เพื่อการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการ เงินบำรุง ที่หน่วยบริการได้รับ สำหรับดำเนินการสร้างหลักประกันสุขภาพให้นำไปใช้จ่ายเพื่อดำเนินการเสริมสร้างระบบบริการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า (ระเบียบเงินบำรุงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ข้อ 9)
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... รายจ่ายที่ห้ามจ่ายจากเงินบำรุง 1. รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จบำนาญ 2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ 3. ค่าก่อสร้างที่มีวงเงินแต่ละรายการเกินกว่า 30 ล้านบาท ถ้าเกินให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... การก่อหนี้ผูกพัน 1. การก่อหนี้ผูกพันรายการครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่เกินกว่า 1 ปี (วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท) ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณก่อน 2. การก่อหนี้ผูกพันรายการใดที่เกินกว่า 1 ปี และวงเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท ให้ขออนุมัติคณะรัฐมนตรี
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... การมอบอำนาจอนุมัติก่อหนี้ผูกพันและอนุมัติเบิกจ่าย กรมควบคุมโรคมีคำสั่งที่ 608/2552 สั่ง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 มอบอำนาจก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินบำรุงให้กับผู้อำนวยการสถาบัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 และผู้อำนวยการสำนักในส่วนกลางที่มีเงินบำรุง
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... 1. สำหรับการซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน 5,000,000.- บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) 2. การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000,000.- บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) 3. การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีอัตราค่าเช่า รวมทั้งค่าบริการอื่นเกี่ยวกับการเช่าที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือข้อตกลงไม่เกินเดือนละ 20,000.- บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... ผู้รับมอบอำนาจสามารถสั่งจ่ายเงินบำรุงได้ตามความจำเป็น เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของหน่วยบริการ สำหรับรายจ่ายต่อไปนี้ 1. ค่าซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง บ้านพักหรืออาคารที่พักที่มีราคาไม่เกิน 500,000.- บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... 2. ครุภัณฑ์ที่มีราคาไม่เกินหน่วยละ 2,000,000.- บาท (สองล้านบาทถ้วน) 3. ที่ดินสิ่งก่อสร้างที่มีราคาไม่เกิน 20,000,000.- บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน) 4. รถพยาบาลไม่เกินคันละ 2,000,000.- บาท (สองล้านบาทถ้วน) ยานพาหนะอื่นไม่เกินคันละ 1,000,000.- บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... การอนุมัติก่อหนี้ผูกพันเงินบำรุง - ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุโดยเคร่งครัด การอนุมัติจ่ายเงินบำรุง - ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือตามที่กระทรวงการคลัง หรือสำนักงบประมาณกำหนด เช่นเดียวกับงบประมาณรายจ่าย
3. เงินบำรุง ...(ต่อ)... การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินบำรุง หน่วยงานต้องจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินบำรุงประจำปี เสนอกรมฯ อนุมัติแผนภายในเดือนกันยายน และหากมีการปรับแผนต้องเสนอขออนุมติกรมฯ เพื่อขอปรับแผนทุกครั้ง
4. เงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการ เงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการ หรือเงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ไม่ต้องนำส่งคลังจัดเป็นประเภทเงินนอกงบประมาณ เช่น - เงินสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) - เงินสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - เงินทุนวิจัย - เงินองค์การบริหารส่วนตำบล - เงินองค์การบริหารส่วนจังหวัด
4. เงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการ ...(ต่อ)... ระเบียบที่เกี่ยวข้องได้แก่ - ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2545 - ระเบียบของ สสส. - หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินทุนวิจัยที่ส่วนราชการได้รับจากหน่วยงานของรัฐ (ที่ กค 0406.3/ว 48 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2552)
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เงินช่วยเหลือ หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับโดยตรง ในลักษณะให้เปล่า รวมทั้งดอกผลซึ่งเกิดขึ้นตามโครงการช่วยเหลือ หรือร่วมมือจากต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีโครงการใช้จ่ายเงินอย่างแน่นอนแล้ว เช่น เงินกองทุนโลก เงินองค์การอนามัยโลก (WHO) เงิน TUC เป็นต้น
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เงินช่วยเหลือฯ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรับ – จ่าย และเก็บรักษาเงินที่ได้รับ ความช่วยเหลือ หรือร่วมมือจากต่างประเทศ พ.ศ. 2527 และหนังสือ ที่ สธ 0403.3/ว686 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการรับ – จ่าย และเก็บรักษาเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ หรือร่วมมือจากต่างประเทศ
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ...(ต่อ)... เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้สั่งการให้นำฝากกระทรวงการคลัง ยกเว้น ที่ไม่ต้องนำฝากคลังได้แก่ 1. เงินช่วยเหลือที่ได้รับผ่านสำนักงานพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ...(ต่อ)... 2. เงินช่วยเหลือฯ ที่ส่วนราชการได้รับโดยตรงในการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตามเงื่อนไข หรือข้อตกลงของผู้ให้ความช่วยเหลือกำหนด แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้ให้ความช่วยเหลือกำหนดให้ส่วนราชการเปิดบัญชีกับธนาคาร เพื่อการโอนเงินผ่านบัญชีเท่านั้น กรณีนี้ เมื่อโอนผ่านบัญชีแล้วให้นำเข้าฝากคลัง
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ...(ต่อ)... หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือ - ให้เป็นไปตามข้อตกลง หรือสัญญาระหว่างผู้รับและผู้ให้ความช่วยเหลือ - หากไม่มีหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายในข้อตกลงหรือสัญญาให้จ่ายตามระเบียบของสำนักงานพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ - หากสำนักพัฒนาความร่วมมือฯ ไม่ได้กำหนดไว้ให้อิงตามระเบียบของทางราชการ - หากไม่สามารถจ่ายตามระเบียบของทางราชการให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณี ๆ ไป
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ...(ต่อ)... การเก็บเงินช่วยเหลือไว้เป็นเงินสด - ให้เก็บเงินสดไว้ได้ไม่เกิน 50,000.- (ห้าหมื่นบาทถ้วน) นอกนั้นให้ฝากกระทรวงการคลัง หรือธนาคารที่ได้รับ ความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง การก่อหนี้ผูกพัน - ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ...(ต่อ)... การบัญชีและรายงาน - ให้จัดทำบัญชีเงินช่วยเหลือฯ แยกเป็นชุดหนึ่งต่างหาก - ให้จัดทำรายงานเป็นประจำทุกเดือน เสนอหัวหน้าส่วนราชการและเสนอ สตง. ทุก 4 เดือน - เก็บเอกสารหลักฐานใบสำคัญ เพื่อให้ สตง. ตรวจสอบ - ปิดบัญชี แสดงฐานะเงินช่วยเหลือเสนอหัวหน้าส่วนราชการภายใน 60 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ - โครงการใดที่สิ้นสุดโครงการแล้ว ให้ปิดบัญชีภายใน 90 วัน นับจากวันสิ้นสุดโครงการ
5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ...(ต่อ)... การมอบอำนาจก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือฯ - กรมฯ มีคำสั่ง ที่ 89/2553 สั่ง ณ วันที่ 25 มกราคม 2553 และ ที่ 1345/2554 สั่ง ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 มอบอำนาจเงินช่วยเหลือทุกประเภท ยกเว้น เงินกองทุนโลกให้ ผู้อำนวยการสถาบัน / สำนักส่วนกลาง และ สคร. 1 -1 2 ในวงเงินครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 1,000,000.- บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)
(ร่าง) หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ เงินสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) 1. การเสนอขอรับเงินสนับสนุน 1.1 เสนอผู้อำนวยการอนุมัติโครงการพร้อมข้อตกลง ผ่านกลุ่มแผนและประเมินผลของหน่วยงาน 1.2 ส่งโครงการที่ผู้อำนวยการอนุมัติแล้ว ให้ สปสช พร้อมสำเนาโครงการส่งกองแผนงาน และกองคลัง
(ร่าง) หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ 1.3 กรณีวงเงินโครงการเกินอำนาจผู้อำนวยการ ให้เสนอกรมฯ อนุมัติโครงการ (ผ่านกองแผนงาน) 1.4 เมื่อกรมฯ อนุมัติโครงการแล้ว กองแผนงานส่งเรื่องให้หน่วยงาน พร้อมสำเนาโครงการเก็บไว้ที่กองแผนงาน 1 ชุด ส่งให้กองคลัง 1 ชุด 1.5 สร้างโครงการในระบบ Estimates
(ร่าง) หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ...(ต่อ)... 2. เมื่อ สปสช แจ้งการสนับสนุนพร้อมโอนเงิน 2.1 หน่วยงานส่วนกลางเบิกจ่ายผ่านกองคลัง - ทำบันทึกแจ้งกองคลังออกใบเสร็จรับเงินให้ สปสช และสำเนาแจ้งกองแผนงานทราบด้วย
(ร่าง) หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ...(ต่อ)... 2.2 หน่วยงานที่เป็นหน่วยเบิกจ่าย - ออกใบเสร็จรับเงินให้ สปสช พร้อมแจ้งให้กองแผนงาน และกองคลังทราบ - เงินที่ได้รับการสนับสนุนจาก สปสช ตามโครงการ ให้นำฝากธนาคารบัญชีเงิน สปสช ของหน่วยงาน - เงินที่ได้รับตามภาระงาน หรือเหมาจ่ายรายหัวให้นำเข้าบัญชีเงินบำรุงของหน่วยงาน แต่จัดทำทะเบียนคุมแยกไว้ต่างหาก 3. การเบิกจ่ายเงิน สปสช ให้อิงระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง