170 likes | 474 Views
ข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ. เว็บที่ใครๆ ก็รู้จังกันดี...กู เกิล. พาณิชยศาสตร์ จุฬาฯ ดึง Google Apps for EDU สู่การเรียนรู้ทั่วโลก.
E N D
ข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ เว็บที่ใครๆ ก็รู้จังกันดี...กูเกิล
พาณิชยศาสตร์ จุฬาฯ ดึง Google Apps for EDU สู่การเรียนรู้ทั่วโลก ในยุคที่การสื่อสารก้าวเข้าสู่โลกไร้พรมแดน ผู้คนมากมายต่างก็ปรารถนาในความสะดวกสบาย และการเข้าถึงได้ง่ายของแหล่งข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะวัยเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ที่จำเป็นจะต้องค้นคว้าหาความรู้นอกห้องเรียนด้วยตัวเองมากขึ้น แต่บนโลกออนไลน์ส่วนใหญ่กลับพบว่ามีการกระจัดกระจายของแหล่งข้อมูล รวมถึงช่องทางการติดต่อสื่อสารที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพราะในบางครั้งแม้แต่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ยังต้องเกิดความสับสน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย"รองศาสตราจารย์ ดร. พสุ เดชะรินทร์"คณบดี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศบนโลกออนไลน์ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและประสบการณ์การเรียนของนิสิตให้กว้างมากขึ้น จึงเกิดความร่วมมือกับ Google ในการเริ่มต้นใช้โปรแกรม Google Apps Support Program ที่จะทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ได้เต็มที่ 100% ในการขยายประสบการณ์การเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน
“จะเห็นว่าไลฟ์สไตล์ของนิสิตยุคใหม่มีการเปิดรับความเคลื่อนไหวของสังคมออนไลน์อยู่ตลอดเวลา กระบวนการเรียนการสอนต่างๆ จึงสามารถถ่ายทอดผ่านระบบไอทีได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการเหล่านี้จะมาทดแทน ช่วงเวลาในการเรียนรู้ภายในห้องเรียน เพียงแต่เป็นส่วนเสริมและสนับสนุนเนื้อหาในบางส่วนที่มีอยู่นอกห้องเรียนเท่านั้นเอง เพราะทุกวันนี้พบว่าเนื้อในแต่ละรายวิชาไม่สามารถอัดแน่นในชั่วโมงเรียนได้หมด การเพิ่มช่องทางในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมแก่นิสิตจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้อีกทาง”
รองศาสตราจารย์ ดร. พสุกล่าวถึง การเริ่มต้นใช้ Google Apps เพื่อการศึกษาว่า ทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีได้ลงทะเบียน และสร้าง Accoutให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 บนโดเมนใหม่ ภายใต้ระบบของ Google ในวันรับลงทะเบียนนักศึกษาใหม่ รวมถึงอาจารย์และบุคลากรทุกคนในคณะฯ และในอนาคตจะค่อยๆ ขยับไปที่ศิษย์เก่า เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมายังมีการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณาจารย์ และบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้รู้เท่าทันเทคโนโลยี และสามารถเชื่อมต่อกับนิสิตได้อย่างสะดวกสบาย
ด้าน "แซมมูเอลเจิง"ผู้จัดการฝ่ายโปรแกรมเทคนิคตลาดเกิดใหม่ หัวหน้าทีมสนับสนุน Google Apps เพื่อการศึกษา (ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) กล่าวถึงจุดเด่นของ Google Apps ว่าเป็นเครื่องมือที่เปิดให้ใช้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อสนับสนุนการศึกษา และเป็นเครื่องมือชุด สามารถใช้งานร่วมกันได้ เพียงแค่มีบัญชีของ G MAIL ก็สามารถเข้าใช้เครื่องมือต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายของ Google ได้ทั้งหมด
"นอกจากการสนับสนุนและดูแลเรื่องของ Google Apps เพื่อการศึกษา ทีมงานยังจัดการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องสำหรับพันธมิตร เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ ให้คำปรึกษากับแอดมิทการศึกษา ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น การย้ายข้อมูลที่มีอยู่แล้ว มาไว้บนระบบคราวน์ การอบรม ทำกิจกรรมกับเด็กๆ เพื่อรับรู้ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนและนำไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง"
แซมมูเอลยังบอกด้วยว่า ในบรรดาประเทศพันธมิตรภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับว่าได้รับความสนใจมากที่สุดจากประเทศไทย ทั้งมีการติดต่อสอบถาม และขอคำปรึกษาเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงรู้สึกดีใจที่เห็นทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และก้าวให้ทันเทคโนโลยีที่จะมีการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ทางทีมงานเองก็คาดหวังว่า Google Apps เพื่อการศึกษา จะฝึกให้เด็กวัยเรียนได้ทำงานร่วมกันมากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในวัยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการรู้เท่าทันเทคโนโยลีซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญ
ขณะเดียวกัน"คุณพรทิพย์ กองชุน"ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ในฐานะตัวแทน Google ประจำประเทศไทยอธิบายเพิ่มเติมถึง Google Apps for EDU หรือ Google Apps เพื่อการศึกษาว่า คือ ชุดของฟรีอีเมลล์จาก Google และเครื่องมือต่างๆ เป็นแบบระบบเปิดในการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเครื่องมือที่เป็นที่นิยมใช้ เช่น อีเมล(Gmail) เอกสาร (Docs) ปฏิทิน (Calendar) และ Groupsนอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันที่ถือว่ามีความพิเศษมากขึ้น คือ แฮงเอาท์ ซึ่งเป็นโปรแกรมแชทที่สามารถรองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 10 คน ใช้ในการแบ่งปันข่าวคราว ข่าวสาร และทำงานร่วมกันพร้อมกับดูความรู้สึกของทุกคนได้ทันที ไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้านหรือใช้แอปพลิเคชันมือถือ Google+ ขณะเดินทาง
"สถาบันการศึกษาในประเทศไทย ได้เริ่มใช้งาน Google Apps for Education โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแรกและถัดมาที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพันธมิตรเหล่านี้นับจุดเริ่มต้นของโปรแกรมการศึกษาขนาดใหญ่ของเราที่จัดทำสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่อง หวังว่าจะสามารถช่วยยกระดับความเป็นเลิศ การตระหนักรู้ และการเข้าถึงด้านการศึกษา ให้กับนักเรียนนักศึกษารุ่นต่อๆ ไป รวมทั้งคุณครู และนักสร้างสรรค์นวัตกรรมทุกคน"ตัวแทน Google ประจำประเทศไทยกล่าว
อีกหนึ่งเสียงจากผู้ใช้งานตัวจริง"แคช ธนธรณ์ โพดาพล"นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เล่าว่า ตนเริ่มใช้งาน GMAIL ตั้งแต่ตอนเรียนชั้นมัธยมปลาย จึงคุ้นเคยกับแอปพลิชันต่างๆของ Google และมักจะแนะนำให้เพื่อนได้ลองใช้อยู่เสมอ หลังจากเข้าสู่วัยมหาวิทยาลัยก็มีความจำเป็นต้องใช้มากขึ้น อีกทั้งเป็นคนที่ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ในโลกของเทคโนโลยี จนล่าสุดสามารถคว้าตำแหน่งแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ Google มาครองด้วย
"สำหรับแอปพลิชันที่คิดว่าใช้มากที่สุดน่าจะเป็นปฏิทิน เพราะช่วงฝึกงานที่ผ่านมา มีกิจกรรมและการนัดหมายที่เวลาแน่นมาก ซึ่งถ้าหลงลืมเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เสียงาน ดังนั้นการบันทึกในปฏิทินและตั้งการแจ้งเตือนไว้จะช่วยให้เราไม่ลืมนัดหมายและเวลาส่งงาน นอกจากนั้นในการทำแผนธุรกิจกับเพื่อน ที่เป็นงานกลุ่ม จะต้องใช้เวลาในการประชุมหารือกัน และเสนอความคิดเห็นทำงานร่วมกันหลายอย่าง การสร้างเอกสารและแก้ไขพร้อมกันได้ทุกที่ทุกเวลาบนออนไลน์จึงสะดวกมาก"แคชเล่า
ตัวแทนนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์ฯ เพิ่มเติมว่า สำหรับนิสิตสาขาการบัญชี Google Apps for Education ถือว่ามีความจำเป็น และได้ใช้ประโยชน์สูงสุด เพราะต้องทำงานกลุ่มร่วมกันตลอด และอาจจะไม่มีช่วงเวลาที่จะสามารถพบปะกันในชั้นเรียน แต่สามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบออนไลน์ได้ ทำให้การติดต่อสื่อสารสะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังได้ศึกษาเรื่องของธุรกิจซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำงาน และถือเป็นการฝึกประสบการณ์ก่อนที่จะไปประกอบอาชีพในอนาคตด้วย
กูเกิล โวลั่น ยอดผู้ใช้ Google ทะลุ 400 ล้านคนแล้ว ได้ไชโยโห่ร้องกันแบบเต็มเสียงสักที สำหรับกูเกิล เมื่อเว็บโซเชียลไซต์สุดรักอย่าง Google+ ล่าสุด มียอดจำนวนสมาชิกลงทะเบียนเกินกว่า 400 ล้านคนแล้ว แถมยังมีผู้ใช้ต่อเดือนมากกว่า 100 ล้านรายด้วย ซึ่งก็นับเป็นความสำเร็จที่น่าพอใจ สำหรับโซเชียลเน็ตเวิร์กไซต์ที่เพิ่งเปิดบริการมาได้เพียงปีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พวกเขาก็ยังคงต้องการจำนวนผู้ใช้ที่มากขึ้นเพื่อต่อสู้กับเฟซบุ๊ค ที่ในวันนี้มียอดผู้ใช้ทะยานเกือบ 1 พันล้านราย
แต่อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวต้นสังกัดมีความกังขาในเรื่องของจำนวนตัวเลขผู้ใช้งานต่อเดือน 100 ล้านรายตามที่กูเกิลคุยโวและเปิดเผยว่า จำนวนดังกล่าวมาจากการคำนวณหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใช้งานในส่วนของผลิตภัณฑ์กูเกิลอย่าง YouTube, Google Play และ Google search engine ทำให้ผู้บริหารต้องออกมาชี้แจงชัดเจนว่า จำนวนดังกล่าวมาจากการเก็บสถิติการใช้จากเว็บ plus.google.com ทั้งบนพีซี เว็บเบราเซอร์มือถือ และแอพพลิเคชั่น Google+ เท่านั้น
ข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ วิชา การเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ง31241 เสนอ คุณครู ปริญญา เหลืองแดง
จัดทำโดย นางสาว ปาริฉัตร เบ็ญพาด เลขที่ 33 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี