E N D
บทที่ 6 กฎหมาย อ.อมรรัตน์ ดวงแป้น
ปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา เช่น เมื่อมีคนเกิดก็ต้องแจ้งเกิด ต้องตั้งชื่อ ต้องเข้าโรงเรียน อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชน นักเรียนที่อายุย่างเข้าปีที่ 18 ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน การสมรสอยู่กินเป็นครอบครัวการกู้ยืมเงิน ซื้อขาย การทำสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งสิ้น
ในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของประเทศชาติ ถือเป็นสมาชิกของสังคม มีความจำเป็นต้องเรียนรู้กฏหมาย ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมและความอยู่รอดของคนในสังคม กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและวิถีการดำเนินชีวิตก็ยิ่งมีความสำคัญ เพราะความเป็นธรรม ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในสังคมก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ใช้กฏหมายเป็นบรรทัดฐานในการตกลง ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ และเป็นการได้มาอย่างมีกฏเกณฑ์และเป็นที่ยอมรับของสังคม
ความหมายของกฎหมาย • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย "กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ" • ดร.สายหยุด แสงอุทัย"กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ • จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย
วิวัฒนาการของกฎหมายไทยสมัยสุโขทัย- กฎหมายที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรของไทยฉบับแรก คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งมีการรับรองสิทธิ-เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาจกล่าวได้ว่า ศิลาจารึกดังกล่าว มีลักษณะเสมือนรัฐธรรมนูญได้ เพราะรัฐธรรมนูญมีลักษณะสำคัญในการกำหนดสิทธิ-เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในรัฐ แต่ศิลาจารึกขาดความเป็นกิจจะลักษณะ คือ เป็นการบรรยายลักษณะการปกครองเสียมากกว่าความจะให้เป็นกฎหมาย
สมัยอยุธยา-กฎหมายไทยในสมัยอยุธยารับอิทธิพลจากคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ของประเทศอินเดียสมัยกรุงธนบุรี-รับอิทธิพลจากกฎหมายสมัยอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์-ร.1 ทรงรวบรวมกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วชำระขึ้นใหม่และตราเป็นกฎหมายตราสามดวง
*ระวัง กฎหมายตราสามดวง มิใช่ ประมวลกฎหมายเพราะประมวลกฎหมาย ต้องมีลักษณะการรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่เป็นกิจจะลักษณะ แต่กฎหมายตราสามดวงเป็นการรวบรวมกฎหมายที่กระจัดกระจายในสมัยอยุธยาไว้ด้วยกันเท่านั้น ไม่มีการจัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบในลักษณะแห่งประมวลกฎหมายแต่อย่างใด
-สมัย ร.5 กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(บิดาแห่งกฎหมายไทย) ทรงกลับจากการศึกษากฎหมายที่อังกฤษ แล้วนำระบบกฎหมายที่เป็นสากลมาใช้ ต่อมา ได้เกิดประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทยขึ้น คือกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายลำดับศักดิ์ของกฎหมาย มีเพื่อกำหนดความสูงต่ำของกฎหมายแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้ง กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ามิได้ และการออกกฎหมาย ต้องอาศัยกฎหมายที่มีศักดิ์สูง(กฎหมายแม่บท) ในการออกกฎหมายลูกบท ซึ่งลำดับศักดิ์ดังนี้
ชั้นที่1รัฐธรรมนูญ(เป็นกฎหมายชั้นที่1รัฐธรรมนูญ(เป็นกฎหมาย สูงสุดของประเทศ กำหนดสิทธิ และ เสรีภาพของประชาชน เป็น กฎหมายที่แก้ไขยากเพื่อคงลักษณะของ ความเป็นกฎหมายสูงสุดไว้) ระวัง ! ทั้งหมดคือศักดิ์ชั้นเดียวกัน
ชั้นที่2 -พระราชบัญญัติ(ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ) -พระราชกำหนด(ออกโดยฝ่ายบริหาร ในภาวะฉุกเฉิน หรือเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้มีทันที อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีต้องรีบเสนอขอความยินยอมจากรัฐสภา เพื่อยกพรก.ให้เป็นพรบ.ในภายหลัง) -ประมวลกฎหมาย, ประกาศคณะปฏิวัติ/รัฐประหาร/ปฏิรูปฯ
ชั้นที่3พระราชกฤษฎีกา (เป็นกฎหมายลูกบทที่ออกโดยอาศัยอำนาจจาก พรบ.หรือ พรก.ให้อำนาจไว้)ชั้นที่4กฎกระทรวง (พิจารณาโดย ครม. ตราบังคับใช้โดยรมต.ว่าการกระทรวง)ชั้นที่5ประกาศกระทรวง (พิจารณาและตราบังคับใช้โดยรมต.ว่าการกระทรวง)ชั้นที่6กฎหมายท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ , ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร , ข้อบังคับตำบล เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย 1. กฎหมายมีลักษณะเป็นข้อบังคับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ - บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติด - บังคับให้กระทำ เช่น ประชาชนชาวไทยเมื่อมีอายุ 15 ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร เป็นต้น
2. กฎหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ เช่น ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกกฎหมาย ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกำหนด พระรากฤษฎีกาและกฎกระทรวง
3.กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้กับบุคคลทุกคนในรัฐโดยไม่มีข้อยกเว้น อย่างเสมอภาคไม่ว่าคนนั้นจะถือสัญชาติใดก็ตาม 4.กฎหมายมีผลบังคับใช้ตลอดไป จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก 5.ผู้ใดฝ่าฝืนกฏหมายต้องได้รับโทษ การปฏิบัติตามกฏหมายไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติ แต่เกิดจากการถูกบังคับ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่
ความผิดทางอาญากำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ - ประหารชีวิต - จำคุก - กักขัง - ปรับ - ริบทรัพย์สิน • วิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นมาตรการเพื่อให้สังคมปลอดภัยจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ติดเป็นนิสัยไม่มีความเข็ดหลาบ โดยไม่ถือว่าเป็นโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญากำหนดไว้ 5 ประการ • - การกักกัน - ห้ามเข้าเขตกำหนด - เรียกประกันทัณฑ์บน - คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล - ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ กฎหมายที่บัญญัติออกมาต้องมาจากรัฐที่มีเอกราช • พนักงานของรัฐเป็นผู้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย หมายความว่า เมื่อมีการกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้เสียหายจะแก้แค้นหรือลงโทษกันเองไม่ได้บุคคลเหล่านี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้พิพากษา เป็นต้น
ที่มาของกฎหมาย • ที่มาของกฎหมาย หรือบ่อเกิดของกฎหมาย ( source of law) หมายถึง สภาพที่กฎหมายปรากฏตัว สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายพื้นฐาน และพิจารณาตามกฎหมายอื่น ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะพบว่ากฎหมายไทยปรากฏตัวอยู่ใน 3รูป คือ รูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร รูปจารีตประเพณี และรูปหลักกฎหมายทั่วไป
กฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของไทยสามารถจำแนกตามรูปแบบและองค์กรที่ตราขึ้นได้ตามลำดับดังนี้ 1) รัฐธรรมนูญ 2) กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3) พระราชบัญญัติ 4) พระราชกำหนด 5) พระราชกฤษฎีกา 6) กฎกระทรวง และ 7) กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตราขึ้น
จารีตประเพณี ตามประวัติศาสตร์นั้นได้รับการใช้บังคับเสมอเป็นกฎหมายมาแต่บุรพกาลก่อนที่สังคมจะรวมเป็นรัฐและมีระบบอักษรใช้ ปัจจุบันบางประเทศมีการบันทึกจารีตประเพณีเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อประโยชน์ในการสืบทอดและขจัดข้อสงสัยด้วย
ซึ่งได้มีความพยายามในการเขียนกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้มีความกว้างขวางแต่ก็ไม่อาจครอบคลุมกรณีทั้งปวงได้ จึงต้องอาศัยจารีตประเพณีมาประกอบให้สมบูรณ์เสมอ เช่น ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550)ว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
หลักกฎหมายทั่วไป • ได้แก่ หลักกฎหมายที่ผู้พิพากษาค้นคว้าหามาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในกรณีที่ไม่มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และบทกฎหมายอันใกล้เคียงที่สุดใช้แล้ว ซึ่งผู้พิพากษาจะอาศัยสิ่งใดเป็นเครื่องค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปนั้น นักนิติศาสตร์ให้ความเห็นว่า
1. สุภาษิตกฎหมาย คือ คำกล่าวที่ปลูกถ่ายความคิดทางกฎหมาย และยังเป็นบทย่อของหลักกฎหมายต่าง ๆ ด้วย เช่น "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" : • 2. การพิเคราะห์โครงสร้างกฎหมาย วิธีนี้เห็นกันว่าดีกว่าวิธีก่อน เนื่องเพราะมีความแน่นอนกว่าการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปโดยใช้สุภาษิตเป็นเครื่องมือ เพราะบางครั้งสุภาษิตก็ใช้แก่บางประเทศหรือบางท้องที่มิได้
ที่มาของกฎหมาย (แหล่งที่มา) 1. ขนบธรรมเนียมประเพณี 2. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 3. คำสั่งของฝ่ายบริหาร 4. คำพิพากษาของศาล 5. บทความทางวิชาการ 6. รัฐธรรมนูญ 7. สนธิสัญญา 8. ประมวลกฎหมาย 9. ประชามติ 10. หลักความยุติธรรม
การแบ่งประเภทของกฎหมายการแบ่งประเภทของกฎหมาย • กฎหมายที่ก่อให้เกิดสิทธิ บัญญัติเพื่อประชาชน เป็นการรับรองเสรีภาพ และผลประโยชน์อันชอบธรรม • กฎหมายที่กำหนดวิธีการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือป้องกันรักษาให้คุ้มครองสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายของปวงชน
จุดประสงค์และความสำคัญของกฏหมายจุดประสงค์และความสำคัญของกฏหมาย • จัดระเบียบให้กับสังคม ทั้งยังช่วยรักษาความมั่นคงให้รัฐ ระงับข้อพิพาท ประสานผลประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ช่วยพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการรักษาระเบียบของสังคม เมื่อสังคมมีระเบียบจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ • กฎหมายภายในประเทศ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมบังคับระหว่างเอกชนต่อเอกชนและเอกชนกับรัฐบาล • กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมระหว่างรัฐกับรัฐ
กฎหมายภายในประเทศ • กฎหมายเอกชน หรือ กฎหมายแพ่ง มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับนิติบุคคล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพระหว่างบุคคล
กฎหมายเอกชน • เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของสังคมหรือชุมชนโดยส่วนรวม กฎหมายมหาชนมี 3 ประเภท • กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบการปกครองของรัฐ รูปของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตยและการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้านต่าง ๆ
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกำหนดสิทธิของประชาชนในความสัมพันธ์กับรัฐ • กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชนและประชาชนโดยส่วนรวม
กฎหมายระหว่างประเทศ • เป็นกฎที่อารยประเทศโดยทั่วไปยอมรับว่าเป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งหรือข้อพิพาท กฎหมายระหว่างประเทศก็มีส่วนยับยั้งหรือยุติข้อพิพาท (เป็นการยินยอมของประเทศต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามกฎ ข้อตกลง หรือสนธิสัญญา)
ใบงาน ให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างต่อไปนี้ • กฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร • กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง • กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน