130 likes | 255 Views
การสัมมนาโต๊ะกลม เรื่อง “ ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และอนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน : เครื่องมือของนักลงทุนไทยในต่างแดน ” “นโยบายการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของประเทศไทย” วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2553 ห้องประชุม 3 กระทรวงการต่างประเทศ
E N D
การสัมมนาโต๊ะกลม เรื่อง “ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และอนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน: เครื่องมือของนักลงทุนไทยในต่างแดน” “นโยบายการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของประเทศไทย” วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2553 ห้องประชุม 3 กระทรวงการต่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน • หนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่จัดทำขึ้นระหว่างสองประเทศ • วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและให้การคุ้มครองการลงทุนโดยนักลงทุนของรัฐภาคี • ความตกลงฯ นี้แตกต่างจากความตกลงการค้าเสรีที่มีบทว่าด้วยการลงทุนเนื่องจากความตกลงฯไม่เกี่ยวกับการเปิดเสรีการลงทุน แต่มุ่งให้ความคุ้มครองการลงทุนที่ได้เข้ามาในประเทศไทยแล้วตามกฎหมายภายใน (post-establishment)
นักลงทุนจะได้รับสิทธิตามบทบัญญัติต่าง ๆ ในความตกลงฯ โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ (1) สิทธิที่จะได้รับการประติบัติไม่น้อยกว่าคนชาติ หรือคนชาติอื่นๆ ที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (National Treatment/Most-Favoured-Nation) (2) สิทธิที่จะได้รับการประติบัติที่เป็นธรรม เท่าเทียมกัน และการคุ้มครองอย่างเต็มที่ (Fair and Equitable Treatment) (3) สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการเวนคืนและการชดเชยค่าเสียหายจากการเวนคืน (Expropriation and Compensation) (4) สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความสูญเสียจากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดในประเทศที่ลงทุน (Compensation for Damage or Losses) (5) สิทธิในการโอนเงินและผลกำไรโดยเสรีในสกุลเงินที่ใช้ได้โดยเสรี (Free Transfers) (6) สิทธิรับรองการรับช่วงสิทธิตามความตกลงฯ (Subrogation) (7) สิทธิในการระงับข้อพิพาทโดยใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ศาลท้องถิ่น (Settlement of Disputes)
การจัดทำความตกลงฯ ของประเทศไทย ประเทศไทยเริ่มเจรจาความตกลงฯ กับต่างประเทศนับแต่ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2503 โดยลงนามความตกลงฯฉบับแรกกับเยอรมนีในปี พ.ศ. 2504 ปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามความตกลงฯ แล้ว 42 ฉบับ มีผลใช้บังคับแล้ว 35 ฉบับ และอยู่ระหว่างการเจรจา 54 ฉบับ ความตกลงฯ ของไทยยึดตามร่างมาตรฐาน ซึ่งรวมหลักการที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ขณะนี้มีการจัดทำความตกลงฯ ประเภทนี้ทั่วโลกประมาณ 2,676 ฉบับ ความตกลงฯ เป็นหนังสือสัญญาที่เข้าข่ายตามมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เพราะอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง การเจรจาหยุดชะงักหลังจากรัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลบังคับใช้ เนื่องจากต้องขอกรอบการเจรจาฯ ก่อนดำเนินการเจรจา รวมถึงจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ความตกลงฯที่มีผลบังคับใช้ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆความตกลงฯที่มีผลบังคับใช้ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ
ร่างความตกลงฯ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆที่อยู่ระหว่าง การพิจารณา
การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศตามข้อกำหนดของมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 จัดทำร่างกรอบการเจรจาความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครอง การลงทุน เพื่อใช้เป็นกรอบการเจรจามาตรฐานกับทุกประเทศ โดยได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) จัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552 (2) นำร่างกรอบการเจรจาฯ บรรจุไว้ในเว็บไซต์ของกระทรวงฯ (3) จัดเสวนาเรื่องการอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2552
(4) จัดอภิปรายสาธารณะเรื่องกรอบการเจรจาฯ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 (5) เสนอกรอบการเจรจาฯ เข้าที่ประชุม กนศ. ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 (6) คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบต่อกรอบการเจรจาฯ แล้ว เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553
กรอบการเจรจาที่ขอความเห็นชอบกรอบการเจรจาที่ขอความเห็นชอบ • การเจรจาจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนควรสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยอมรับให้กับนักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในไทย และจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศว่าจะได้รับการคุ้มครองการลงทุนภายใต้ความตกลงฯ ในมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยในการเจรจาความตกลงฯ ต้องคำนึงถึงท่าที มาตรการที่จำเป็น และผลประโยชน์ของไทยและคู่เจรจาประกอบด้วย ซึ่งควรครอบคลุมประเด็นหลัก ดังนี้ 2.1 ขอบเขตความตกลงฯ ควรจำกัดเฉพาะการลงทุนทางตรง (foreign direct investment: FDI) โดยให้ความคุ้มครองการลงทุนของนักลงทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐบาล กำหนด 2.2 การส่งเสริมและการเอื้ออำนวยการลงทุนแก่กันและกัน 2.3 การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง และการประติบัติเยี่ยงคนชาติกับการลงทุน ของนักลงทุนต่างชาติที่ได้เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว
2.4 การประติบัติที่เป็นธรรม เท่าเทียมกัน และให้การคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุน ของนักลงทุนต่างชาติ 2.5 การคุ้มครองการเวนคืนและการชดเชยค่าเสียหายจากการเวนคืน 2.6 การชดเชยความสูญเสียจากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดในประเทศที่ลงทุน 2.7 การโอนเงินลงทุนและผลตอบแทนโดยเสรี 2.8 การรับช่วงสิทธิตามความตกลงฯ 2.9 การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน และระหว่างรัฐกับรัฐ 2.10 โดยคำนึงถึงพัฒนาการการเจรจาในกรอบความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครอง การลงทุน และความยินยอมร่วมกันของคู่เจรจา อาจพิจารณาให้รวมถึง มาตรการที่จำเป็น และเหมาะสมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ เช่น สิ่งแวดล้อม สุขภาพสาธารณะ มาตรการ เพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาค 2.11 การเจรจาในทุกประเด็นข้อบทให้คำนึงถึงท่าที มาตรการที่จำเป็น และผลประโยชน์ของ ไทย และคู่เจรจาประกอบด้วย
พันธกรณีตามความตกลงฯ มีกฎหมายรองรับที่สำคัญ ได้แก่1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 3. พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 4. พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 5. พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 กฎหมายภายในรองรับ
สถานะล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบต่อกรอบการเจรจาฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 และขณะนี้ กำลังนำเรื่องเข้าสู่รัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป