420 likes | 874 Views
บทที่ 3 : บทบาทเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment). รายงานสถิติที่ได้จากาการรวบรวมรายการทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างเป็นระบบระหว่างผู้มีถิ่นฐานของประเทศหนึ่งกับผู้มีถิ่นฐานของประเทศอื่นๆ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง
E N D
บทที่ 3 : บทบาทเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) • รายงานสถิติที่ได้จากาการรวบรวมรายการทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างเป็นระบบระหว่างผู้มีถิ่นฐานของประเทศหนึ่งกับผู้มีถิ่นฐานของประเทศอื่นๆ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง • ผลสรุปของการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศ กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ความสำคัญของบัญชีดุลการชำระเงินความสำคัญของบัญชีดุลการชำระเงิน 1.ช่วยให้ทราบถึงปริมาณการค้าและกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 2.มีผลกระทบต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น GDP การจ้างงาน อัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ 3.ทราบถึงระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 4.ใช้คาดคะเนการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ 5.ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
องค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงินองค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงิน • บัญชีเดินสะพัด (Current Account) • บัญชีทุนและการเงิน (Capital and Financial Account) • บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account)
บัญชีเดินสะพัด (Current Account) 1. บัญชีดุลการค้า (Trade Account) รายการนำเข้าส่งออก สินค้า 2. บัญชีดุลบริการ (Service Account) รายการรับและให้ บริการ 3. บัญชีดุลรายได้ (Income Account) รายการเข้าและออกของรายได้จาก ค่าจ้าง ดอกเบี้ย เงินปันผล 4. บัญชีดุลเงินโอน (Transfer Payment Account) รายการให้เปล่า ทั้งรับและจ่าย
บัญชีทุนและการเงิน 1.บัญชีทุน (Capital Account) รายรับและรายจ่ายที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน ทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การซื้อขายและโอนสิทธิ์ ในสินทรัพย์ถาวร การยกเลิกหนี้สิน เป็นต้น 2.บัญชีการเงิน (Service Account) รายการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ประกอบด้วย การลงทุนทางตรง การลงทุนในหลักทรัพย์ การลงทุนอื่นๆ
บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ บัญชีแสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาณทุนสำรองเงินตราและ สินทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองโดย ธนาคารกลางประกอบด้วย 1.ทองคำ (Monetary Gold) 2.สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (Special Drawing Right) 3.สินทรัพย์สมทบ IMF (Net IMF Account) 4.เงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange)
ความสำคัญของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศความสำคัญของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ • แสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินระหว่างประเทศ ของประเทศหนึ่งๆ • เป็นทุนหนุนหลังการออกธนบัตร • รักษาสภาพคล่องในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ
ลักษณะของดุลการค้าและดุลการชำระเงินลักษณะของดุลการค้าและดุลการชำระเงิน • เกินดุล (เงินไหลเข้ามามากว่าไหลออก) • ขาดดุล (เงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า) • ได้ดุลหรือสมดุล (เงินไหลเข้ามาเท่ากับไหลออก)
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา : หมายถึง ค่าของเงินตราสกุลหนึ่งเมื่อเทียบเท่ากับ เงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 35 บาท
อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (fixed exchange rate) หรือ “อัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัว” อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ถูกกำหนดมูลค่าการ แลกเปลี่ยนไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง ไม่อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตาม กลไกของตลาดเป็นเวลานานจนกว่าทางการ (ธนาคารกลาง) จะประกาศเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง ระดับอัตราแลกเปลี่ยนแบบนี้มักจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ
อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว(Floating exchange rate) หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี (free or flexible exchange rate) ระบบที่ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราสกุลของตน กับเงินตราสุกลอื่นๆ ขึ้นลงได้ตามกลไกตลาด หรือการ เปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานของเงินสกุลนั้น (เทียบกับสกุลอื่นๆ)
อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว(Floating exchange rate) 1. ระบบลอยตัวบริสุทธิ์ หรืออัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีที่แท้จริง (pure flexible exchange rate) ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่ไม่มีการเข้าแทรกแซงใดๆ ในการรักษาระดับการเปลี่ยน 2. ระบบลอยตัวไม่บริสุทธิ์ (dirty floating) หรือระบบลอยตัวแบบจัดการ (manage floating) คือปล่อยให้ลอยตัวมีการเข้าแทรกแซงอยู่บ้าง สำหรับประเทศไทย ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบลอยตัวแบบจัดการ เมื่อ พ.ศ. 2540 คำว่า “เงินบาทลอยตัว” (floating baht) จึงคุ้นหูในหมู่คนไทย ตั้งแต่นั้นมา
ตลาดเงินตราต่างประเทศ (ระบบลอยตัว) • อุปสงค์สำหรับเงินตราต่างประเทศ : ความต้องการเงินตราต่างประเทศ เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ หรือเพื่อการเก็งกำไร • อุปทานเงินของเงินตราต่างประเทศ : ปริมาณเงินตราต่างประเทศที่มีผู้เสนอมาแลกเปลี่ยน
ดุลยภาพของตลาดเงินตราต่างประเทศ(กรณีเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น หรือบาทอ่อนค่า) อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) S E2 45 E1 40 D2 D1 ปริมาณดอลลาร์ 0 Q1 Q2
ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน(กรณีดอลลาร์แข็งค่า หรือบาทอ่อนค่า) • สินค้าออกของไทยในสายตาต่างประเทศจะมีราคาต่ำลง (สินค้าออกจะขายได้มากขึ้น) • มูลค่าหนี้ต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น (ไม่เป็นผลดีต่อลูกหนี้ในประเทศ)
ตลาดเงินตราต่างประเทศ(กรณีดอลลาร์อ่อนค่า หรือบาทแข็งค่า) อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) S1 S2 E1 40 E2 33 D ปริมาณดอลลาร์ 0 Q1 Q2
ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน(กรณีดอลลาร์อ่อนค่า หรือบาทแข็งค่า) • สินค้าของไทยในสายตาต่างประเทศจะมีราคาสูงขึ้น (สินค้าออกจะขายได้น้อยลง) • มูลค่าหนี้ต่างประเทศจะน้อยลง (เป็นผลดีต่อลูกหนี้ในประเทศ)
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ(Economic Integration) การรวมกลุ่มกันของประเทศต่างๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและรักษาผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจร่วมกัน เช่น การขยายการค้าด้วยการยกเลิก หรือ ลดอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ทั้งในรูปของภาษีศุลกากรและ ข้อกีดขวางอื่นๆ นอกจากนี้มีการร่วมมือกันในการกำหนด อัตราภาษีศุลกากรร่วมสำหรับใช้กับประเทศนอกกลุ่ม
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ(Economic Integration) (ต่อ) และอาจขยายความร่วมมือไปจนถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าและ ปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี รวมทั้งการ ใช้เงินตราสกุลเดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับและรูปแบบของการ รวมกลุ่มนั้น ๆ ซึ่งมีตั้งแต่รูปแบบง่าย ๆ ไปจนถึงรูปแบบที่มี ความละเอียดและสลับซับซ้อน ตัวอย่างเช่น เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม ประชาคมเศรษฐกิจ และสหภาพ เศรษฐกิจ เป็นต้น
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • รูปแบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • การรวมกลุ่มในประเทศที่พัฒนาแล้ว : G8 OECD • การรวมกลุ่มในประเทศที่กำลังพัฒนา : ASEAN • การรวมกลุ่มตามเขตภูมิภาค : EU AFTA • การรวมกลุ่มตามผลประโยชน์ : OPEC
ระดับของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential trade arrangement) • เขตการค้าเสรี (free trade area) • สหภาพศุลกากร (custom union) • ตลาดร่วม (common market) • สหภาพทางเศรษฐกิจ (economic union) • สหภาพเหนือชาติ (Super national Union)
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • เขตการค้าเสรี (free Trade Area) : ยกเว้นภาษีศุลกากร และข้อจำกัดทางการค้าระหว่างสมาชิกด้วยกัน • สหภาพศุลกากร (Custom Union) : เขตการค้าเสรี + ใช้นโยบายกำหนดอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่ม ในลักษณะเดียวกัน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • ตลาดร่วม (Common Market) : สหภาพศุลกากร + กำหนดให้ปัจจัยการผลิตภายในกลุ่ม (เช่น เงินทุน แรงงาน) เคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีระหว่าง ประเทศสมาชิก • สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) : ตลาดร่วม + มีนโยบายการเงินและการคลัง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • สหภาพเหนือชาติ (Supernational Union) เป็นขั้นสุดยอดของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมเป็นชาติเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศไม่สามารถกำหนด นโยบายตนเอง แต่สหภาพฯ จะเป็นผู้กำหนดให้ ประเทศสมาชิกดำเนินการ (ยังไม่เกิดขึ้นจริง)
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • ผลของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • การค้าภายในกลุ่มเกิดขึ้น • การโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิก • การโยกย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิก
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • ผลของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (ต่อ) • เสถียรภาพภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิก มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ภาวะเงินเฟ้อ การว่างงาน อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น • การโยกย้ายเงินทุนจากประเทศนอกสมาชิก
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • ตัวอย่างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • APEC = Asia-Pacific Economic Cooperation • AFTA = ASEAN Free Trade Area • NAFTA = North American Free Trade Area • EU = European Union
Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC)กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) เกิดจากการรวมตัวกันจากผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เพื่อร่วมมือกัน ทางเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและการค้า ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก สมาชิก ของกลุ่ม APEC ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม ปาปัวนิวกินี เม็กซิโก ชิลี เปรู และรัสเซีย
Association of South East Asian Nations (ASEAN)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) “กลุ่มอาเซียน” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 จากผลของ ความพยายามที่จะร่วมมือกันเพื่อให้เกิดสันติภาพและ ความมั่นคง แต่ต่อมาได้หันมาให้ความสนใจด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในด้านการค้าและลงทุน สมาชิกกลุ่มอาเซียนในปัจจุบันประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา
ASEAN Free Trade Area (AFTA)เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรีที่จัดตั้งโดยสมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) จากผลการประชุมของประเทศ สมาชิก และมีการลงนามเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2535 โดยมีเป้าหมายที่จะให้ภูมิภาคนี้บรรลุเป็นเขตการค้าเสรี ภายใน 15 ปี นับจากปีถัดไปของปีที่ลงนามหรือภายใน พ.ศ. 2550
North America Free Trade Agreement (NAFTA)ข้อตกลงการค้าเสรีแถบอเมริกาเหนือ ข้อตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีของประเทศในย่านทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา คานาดา และเม็กซิโก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกข้อกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก มุ่งส่งเสริมการค้าเสรีและ การแข่งขันที่เป็นธรรม รวมทั้งเพิ่มโอกาสการลงทุนในประเทศ สมาชิก นอกจากนั้นยังได้ตกลงร่วมกันที่จะปกป้องสิทธิทางปัญญา ให้แก่ประเทศสมาชิก และส่งเสริมความร่วมมือทางการค้า ตลอดจนการแก้ปัญหาข้อพิพาททางการค้าร่วมกัน ข้อตกลงนี้มีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537
European Common Market (ECM)ตลาดร่วมยุโรป การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในรูปของตลาดร่วมของ บรรดาประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส อิตาลี เยอรมนี ไอร์แลนด์ และเบลเยียม
European Community (EC)ประชาคมยุโรป • การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในรูปแบบของประชาคมเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศต่างๆในภาคพื้นยุโรปเดิม เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) ซึ่งพัฒนารูปแบบมาจากตลาดร่วมยุโรป กำเนิดขึ้นตามสนธิสัญญาแห่งกรุงโรม (Treaty of Rome) เมื่อ พ.ศ. 2550 มีสมาชิกก่อตั้ง 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และกรีซ ประชาคมยุโรปได้รวมกันเป็นตลาดเดียว (single market) และเป้าหมายสุดท้ายคือการรวมตัวเป็นสหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งประเทศสมาชิกทุกประเทศจะมีระบบเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจและ นโยบายต่างประเทศ ตลอดจนหน่วยเงินตราเป็นอย่างเดียวกัน
European Union (EU)สหภาพยุโรป • ชื่อใหม่ของกลุ่มประชาคมยุโรปเดิม ที่ได้ตกลงกันตามสนธิสัญญา มาสทริชต์ (Mastrict Treaty) เมื่อ พ.ศ. 2536 ในอันที่จะร่วมมือกัน อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยมุ่งที่จะใช้ระบบเศรษฐกิจการเงิน และการเมืองแบบเดียวกัน และตกลงที่จะใช้คำว่า “สหภาพยุโรป” แทนคำว่า “ประชาคมยุโรป” สมาชิกของสหภาพยุโรปประกอบด้วย สมาชิกของประชาคมยุโรปเดิม 12 ประเทศและมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติมอีก 3 ประเทศคือ ออสเตรีย สวีเดน และฟินแลนด์
Organization for Economic Cooperation and Development (OECD)องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา • องค์การความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วรวม 24 ประเทศ ประกอบด้วยกรีซ คานาดา ญี่ปุ่น เดนมาร์ก ตุรกี นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ นอรเวย์ เบลเยียม โปรตุเกส ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก สเปน สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน ไอซ์แลนด์ และไอร์แลนด์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 เพื่อให้ความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจและให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทั้งแก่ประเทศสมาชิกด้วยกันเอง และประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น การส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของโลก การขยายตัวของการจ้างงาน
Organization for Economic Cooperation and Development (OECD)องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (ต่อ) และการแสวงหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา ในรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นองค์การดังกล่าวยังใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจา ต่อรองหรือแก้ปัญหาเศรษฐกิจของโลกด้วย องค์การนี้พัฒนาขยายตัวมาจาก องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคพื้นยุโรป (Organization for European Economic Cooperation : OEEC) ซึ่งเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490 และต่อมาได้มีการขยายครอบคลุมไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก แต่ก็ยังคงเป็น กลุ่มของประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว
Organization of Petroleum Export Countries (OPEC)องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) “กลุ่มโอเปค” เป็นองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศผู้ผลิตและ ส่งออกน้ำมันปิโตรเลียม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 เพื่อร่วมมือกันในการ กำหนด นโยบายด้านการผลิตและการตั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การนี้ ได้แก่ กาตาร์ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย ไนจีเรีย ลิเบีย เวเนซูเอลา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย อิรัก อิหร่าน เอกวาดอร์ และแอลจีเรีย กลุ่มดังกล่าวนับว่ามีอิทธิพลในตลาดน้ำมันของ โลกค่อนข้างมาก กลุ่มโอเปค นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มผูกขาด (Cartel) ของผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยราย