1 / 56

การปกครองส่วนท้องถิ่น สาระ : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

การปกครองส่วนท้องถิ่น สาระ : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 5. ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน เรามาลองเล่นเกม ตัวเลือก ออน ทัวร์ ก่อนนะคะ. วิธีการเล่นเกม. 1. อ่านคำถามให้เข้าใจ 2. เลือกคำตอบเพียงข้อเดียว.

rina-vang
Download Presentation

การปกครองส่วนท้องถิ่น สาระ : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นการปกครองส่วนท้องถิ่น สาระ:หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 5

  2. ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน เรามาลองเล่นเกม ตัวเลือก ออนทัวร์ ก่อนนะคะ

  3. วิธีการเล่นเกม 1.อ่านคำถามให้เข้าใจ 2.เลือกคำตอบเพียงข้อเดียว

  4. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 1. การปกครองส่วนท้องถิ่น คืออะไร ก. หน่วยงานรัฐบาลที่เข้ามาปกครอง ข. หน่วยงานการบริหารของหมู่บ้าน ค. หน่วยงานปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ง. หน่วยงานการเลือกตั้งที่ให้ความรู้กับประชาชน

  5. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  6. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  7. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 2.การปกครองส่วนท้องถิ่นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ก. 2 ประเภท อบจ. เทศบาล ข. 3 ประเภท อบจ.อบต.เทศบาล ค. 4 ประเภท อบจ.อบต.เทศบาล ส.อบจ ง. 5 ประเภท อบจ.อบต.เทศบาล ส.อบจ ส.ว

  8. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  9. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  10. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 3. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้อักษรย่อว่าอะไร ก. อบจ. ข. อบข. ค. อบช. ง. อบต.

  11. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  12. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  13. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 4.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่อะไร ก. ควบคุมการบริหารของ อบต. ข. รับผิดชอบการบริการของเทศบาล ค. ควบคุมและบริหารงานของ อบต. ง. ควบคุมและรับผิดชอบบริหารกิจการของ อบจ.

  14. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  15. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  16. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 5.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีวาระการทำงานกี่ปี ก. 3 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 6 ปี

  17. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  18. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  19. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 6. องค์การบริหารส่วนตำบล ใช่อักษรย่อว่าอะไร ก. อบจ. ข. อบส. ค. อบต. ง. อบก.

  20. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  21. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  22. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 7. รูปแบบขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยอะไร ก. สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ข. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค. สภาองค์การบริหารส่วนเทศบาลและนายกองค์การบริหารส่วนเทศบาล ง. สภาองค์การบริหารส่วนหมู่บ้านและนายกองค์การบริหารส่วนหมู่บ้าน

  23. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  24. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  25. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 8.เทศบาลเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลใด ก. รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ข. รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ค. รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ง. รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  26. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  27. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  28. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 9.วันเทศบาล ตรงกับวันที่เท่าไร ก. 24 มีนาคม ข. 24 เมษายน ค. 24 พฤษภาคม ง. 24 ธันวาคม

  29. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  30. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  31. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 10.เทศบาลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ก. 3 ประเภท ข. 4 ประเภท ค. 5 ประเภท ง. 6 ประเภท

  32. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ดีใจด้วยนะ ข้อต่อไป

  33. เป็นคำตอบที่ผิด พยายามต่อไปคะ ลองอีกครั้ง

  34. เริ่มเข้าสู่บทเรียนกันเลยคะเริ่มเข้าสู่บทเรียนกันเลยคะ

  35. การปกครองส่วนท้องถิ่นการปกครองส่วนท้องถิ่น คือหน่วยงานปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง โดยปกติการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปิดโอกาสให้ประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ เลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้บริหารท้องถิ่นหรือเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเพื่อเลือกผู้บริหารท้องถิ่นอีกทีหนึ่ง (เรียกว่าการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมตามลำดับ) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอำนาจอิสระในการบริหารจากรัฐได้ในระดับหนึ่งตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด

  36. การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ สามารถเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตท้องถิ่นของตนได้โดยตรง ส่วนการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยอ้อม สภาท้องถิ่นจะทำหน้าที่เลือกผู้บริหารท้องถิ่นแทนประชาชนในท้องถิ่น กล่าวคือ ประชาชนในท้องถิ่นจะทำหน้าที่เพียงแค่เลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่านั้น แล้วสมาชิกสภาท้องถิ่นจะทำหน้าที่ในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นอีกชั้นหนึ่ง

  37. การปกครองส่วนท้องถิ่น มี 3หน่วยงาน คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล

  38. องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ในเขตจังหวัด ตลอดทั้งช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาลและอบต.รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน

  39. หน้าที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่พัฒนาจังหวัด ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การอาชีพ สาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น -จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคที่เทศบาลและ อบต. ทำไม่ได้ เพราะขาดงบประมาณ เช่น สร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย -จัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งเทศบาลและ อบต. เช่น การก่อสร้างถนนสายหลัก -การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น จัดรถบรรทุกน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้ง

  40. การศึกษา การอาชีพ สังคม

  41. การเลือกตั้งผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดการเลือกตั้งผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ประชาชนในแต่ละจังหวัดสามารถเลือกตัวแทนเข้ามาบริหาร อบจ.ได้โดยตรงโดยการเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. การเลือกตั้งนายก อบจ. ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครนายก อบจ. ได้ 1 คน

  42. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ สมาชิกสภา อบจ. หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ส.อบจ. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการทำงานคราวละ 4 ปี มีหน้าที่ดังนี้ -พิจารณาและออกกฎหมายของ อบจ. เรียกว่า “ข้อบัญญัติ อบจ.” เช่น การจัดเก็บภาษีน้ำมันและยาสูบ -ตรวจสอบควบคุมการบริหาร อบจ. เช่น ตรวจสอบการใช้เงินในโครงการต่าง ๆ ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดโดยรวบรวมจากแผนของทั้งเทศบาลและ อบต. เช่น การสร้างถนน -ให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทั้งภาษีทางตรงที่ อบจ. จัดเก็บ เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีทางอ้อมเช่น จากการซื้อสินค้า โดยนำส่วนที่เป็นภาษีกลับคืนมาพัฒนาท้องถิ่น

  43. องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่าอบต.มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

  44. รูปแบบองค์การ องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหกคน และในกรณีมีเพียงสองหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละสามคน องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

  45. หน้าที่ • อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542) • 1.พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) • 2.มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้ • -จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก • -การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล • 3.มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้ • -ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร • -ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

  46. การเกษตร วัฒนธรรมและประเพณี ดูแลแหล่งน้ำ

  47. เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 )โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯร.ศ 116ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอม ร.ศ 124(พ.ศ 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปีพ.ศ 2475ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

  48. โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปีพ.ศ 2476โดยมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ 2496ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ 2543ในปัจจุบันเทศบาลทั่วประเทศมีจำนวนประมาณสองพันแห่ง 4 กรกฎาคม พ.ศ 2532กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศ กำหนดให้24 เมษายนเป็น “วันเทศบาล”

  49. ขนาดเทศบาล เทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้น ๆ มาตรา 9 เทศบาลตำบลได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีการประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย มาตรา 10 เทศบาลเมืองได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 11 เทศบาลนครได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้

  50. สภาเทศบาล -เทศบาลตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน -เทศบาลเมืองประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 18 คน -เทศบาลนครประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 20 คน ทั้งนี้สภาเทศบาลประกอบไปด้วยประธานสภาเทศบาลหนึ่งคนและรองประธานสภาเทศบาลสองคน นายกเทศมนตรี อยู่ในตำแหน่งสูงสุดหรือเป็นหัวหน้าในการปกครอง

More Related