480 likes | 933 Views
งบประมาณแผ่นดิน. ยุทธนา พรหมณี. ความหมายของงบประมาณ. พจนานุกรม ‘ 2525 หมายถึง บัญชีหรือจำนวนเงินที่กำหนดไว้ เป็นรายรับและรายจ่าย
E N D
งบประมาณแผ่นดิน ยุทธนา พรหมณี
ความหมายของงบประมาณ • พจนานุกรม ‘ 2525 หมายถึง บัญชีหรือจำนวนเงินที่กำหนดไว้ เป็นรายรับและรายจ่าย • ในแง่ของแผน หมายถึง แผนการใช้จ่ายทรัพยากรของรัฐ ในการที่จะดำเนินการใด ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สรุป งบประมาณไม่ใช่ตัวเงิน แต่เป็นแผนการใช้จ่ายเงิน หรือประมาณการรับ-จ่ายเงินดังกล่าวล่วงหน้า หรือเป็นตัวเลข ในบัญชีที่แสดงจำนวนเงินรับ-จ่ายเท่านั้น
บทบาทของงบประมาณ โลหิตที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่และทำงานตามที่สมองสั่งการได้ฉันใด งบประมาณก็ทำหน้าที่เป็นทรัพยากรการบริหาร เพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาและที่หาเสียงไว้กับประชาชนฉันนั้น
บทบาทด้านเศรษฐกิจ งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุมภาวะเศรษฐกิจของประเทศในรูปแบบของนโยบายการคลัง - รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ - มุ่งส่งเสริมความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ - ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ - กระตุ้นธุรกิจเอกชน
บทบาทด้านการบริหาร • เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการวางแผนดำเนินงานของรัฐ • เป็นเครื่องมือในการควบคุมการรายงานความก้าวหน้าใน การดำเนินการและประเมินผลการดำเนินงาน • - เป็นเครื่องมือในการประสานการดำเนินงานต่าง ๆ
บทบาทด้านการเมือง - เป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุม การบริหารงานของรัฐบาล - เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล ด้วยการใช้ประโยชน์จากการใช้จ่ายเงินภาษีอากร - แสดงถึงกลุ่มหรือหน่วยงานที่มีอิทธิพลต่อการเมืองในขณะนั้น
ประเภทของงบประมาณ • งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) ได้แก่ งบประมาณที่มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย - แก้ปัญหาเงินเฟ้อ - เก็บภาษีอากรเข้าตรึงให้ใช้มากกว่างบประมาณที่รัฐจ่ายออกไป
ประเภทของงบประมาณ • งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) - รายจ่ายสูงกว่ารายได้ - แก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
ประเภทของงบประมาณ • งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) - รายได้กับรายจ่ายเท่ากัน - นโยบายประหยัด - รักษาเสถียรภาพของรัฐบาล
รูปแบบของงบประมาณ 1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line Item Budget) 2. งบประมาณแบบแผนงานหรือแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) 3. งบประมาณแบบเน้นการวางแผน (Planning Programming Budgeting System : PPBS) 4. งบประมาณฐานศูนย์/เน้นการแก้ปัญหาข้อกำจัดทรัพยากร (Zero Base Budgeting : ZBB) 5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgetng: SPBB
รูปแบบของงบประมาณ 1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line Item Budget) • บทบาทของงบประมาณแบบแสดงรายการ - เป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมฝ่ายบริหาร - เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารที่จะควบคุมการดำเนินงานของ หน่วยงานต่าง ๆ
1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line Item Budget) • ลักษณะสำคัญของงบประมาณแบบแสดงรายการ - การจำแนกหมวดหมู่ของค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด - การโอนค่าใช้จ่ายระหว่างหมวดหมู่ทำได้ยาก
1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line Item Budget) • ข้อดีและข้อจำกัดของงบประมาณแบบแสดงรายการ ข้อดี • - แสดงถึงรายละเอียดการใช้จ่ายอย่างชัดเจน เป็นระเบียบ และสะดวกในการติดตาม ควบคุม • - ง่ายต่อการจัดทำ และเข้าใจง่ายข้อจำกัด - ขาดความยืดหยุ่นและไม่คล่องตัว • - ยากต่อการประเมินผลงาน
รูปแบบของงบประมาณ 2. งบประมาณแบบแผนงานหรือแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) • บทบาทของงบประมาณแบบแผนงาน/แบบแสดงผลงาน - เป็นเครื่องมือในการจัดการ - เป็นเครื่องมือแสดงการบรรลุผลงานของงานหรือเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ของรัฐ - เป็นเครื่องมือวิเคราะห์และดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
2. งบประมาณแบบแผนงานหรือแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) • ลักษณะสำคัญของงบประมาณแบบแสดงผลงาน - เน้นการจัดการงานและเป้าหมายของงาน “ใช้แล้วได้ผลตามประสงค์หรือไม่” - ระบุค่าใช้จ่ายต่อหน่วยเพื่อการวัดผลงาน
2. งบประมาณแบบแผนงานหรือแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) • ข้อดีและข้อจำกัดของงบประมาณแบบแสดงผลงาน ข้อดี- สามารถแสดงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างผลงานที่ได้รับ และค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปสำหรับโครงการ แผนงาน หรือกิจกรรมได้ - สามารถประเมินผลการดำเนินงานได้ทุกระยะและในทุกระดับงานของรัฐ - ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณางบประมาณได้ง่ายขึ้น - ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ จัดทำงบประมาณได้ง่ายขึ้น - มีความคล่องตัวในการใช้จ่ายมากกว่างบประมาณแบบแสดงรายการ
2. งบประมาณแบบแผนงานหรือแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) ข้อจำกัด - กิจกรรมหรืองานของรัฐบางอย่างไม่สามารถวัดผลงานต่อหน่วย ได้ชัดเจนในเชิงปริมาณ การกำหนดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยจึงเป็นไปได้ยาก - การกำหนดมาตรฐานสำหรับวิธีการกำหนดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยเป็นสิ่งที่ จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วยในการจัดทำงบประมาณแบบแสดงผลงาน - ระบบบัญชีรัฐบาลจะต้องสอดคล้องกับการนำงบประมาณแบบแสดง รายการมาใช้ด้วย
รูปแบบของงบประมาณ 3. งบประมาณแบบเน้นการวางแผน (Planning Programming Budgeting System : PPBS) • บทบาทของงบประมาณแบบเน้นการวางแผน - แสดงถึงการผสมผสานกันอย่างมีระบบระหว่างการวางแผน และการจัดทำงบประมาณ - แสดงถึงความมีเหตุผลของการเลือกทางเลือก เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์นั้น - การมองไปข้างหน้าสู่อนาคต
3. งบประมาณแบบเน้นการวางแผน (Planning Programming Budgeting System : PPBS) บทบาทของงบประมาณแบบเน้นการวางแผน - แสดงให้เห็นถึงการวางแผนอย่างมีระบบ ด้วยการกำหนดโครงสร้างแผนงานขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแผนงานหลัก (Program Categories) แผนงานรอง (Program Subcategories) และหน่วยกิจกรรม (Program Element) มีการจัดลำดับวัตถุประสงค์ของงานหรือโครงการตามโครงสร้างแผนงานสนับสนุนซึ่งกันและกัน และประสานสอดคล้องอย่างเป็นระบบหรือที่มีผู้เรียกว่า มีความสำคัญสัมพัทธ์ (Relative Importance) - เป็นเครื่องมือช่วยให้ฝ่ายบริหารตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. งบประมาณแบบเน้นการวางแผน (Planning Programming Budgeting System : PPBS) • ลักษณะสำคัญของงบประมาณแบบ PPBS - เน้นการวางแผนล่วงหน้าระยะยาว - เน้นการระบุรายละเอียดของกิจกรรม - เน้นการวิเคราะห์ผลได้หรือผลเสีย และการเปรียบเทียบ ทางเลือกของงานหรือโครงการ
3. งบประมาณแบบเน้นการวางแผน (Planning Programming Budgeting System : PPBS) • ข้อดีและข้อจำกัดของงบประมาณแบบแบบ PPBS ข้อดี - มีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน - ขจัดความซ้ำซ้อนของการดำเนินกิจกรรม - ทำให้การพิจารณางบประมาณเป็นไปอย่างรอบคอบมากขึ้น
3. งบประมาณแบบเน้นการวางแผน (Planning Programming Budgeting System : PPBS) ข้อจำกัด - เป็นการรวมอำนาจการตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง - ประสบปัญหาการกำหนดมาตรฐานในการรวบรวมข้อมูล - ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานหรือโครงการขาดความน่าเชื่อถือ - สิ้นเปลืองเวลาในการจัดทำ
รูปแบบของงบประมาณ 4. งบประมาณฐานศูนย์/เน้นการแก้ปัญหาข้อกำจัดทรัพยากร (Zero Base Budgeting : ZBB) • ส่วนประกอบสำคัญของ ZBB - เป้าหมายของงาน/โครงการ - รายละเอียดการดำเนินงาน/โครงการ - ผลที่คาดว่าจะได้รับและค่าใช้จ่ายของ/โครงการ - ภาระงานและการวัดผลงาน - การเลือกเพื่อบรรลุเป้าหมายงาน/โครงการ
4. งบประมาณฐานศูนย์/เน้นการแก้ปัญหาข้อกำจัดทรัพยากร (Zero Base Budgeting : ZBB) • บทบาทของงบประมาณฐานศูนย์ - เป็นเครื่องมือให้การพิจารณางบประมาณเป็นไปอย่าง สมเหตุสมผลมากขึ้น - เป็นเครื่องมือช่วยให้รัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายหรือใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้คุ้มค่า
4. งบประมาณฐานศูนย์/เน้นการแก้ปัญหาข้อกำจัดทรัพยากร (Zero Base Budgeting : ZBB) • ลักษณะสำคัญของงบประมาณฐานศูนย์ - มีการระบุเป้าหมายที่ชัดเจน - มีการกำหนดหน่วยตัดสินใจและจัดทำชุดการตัดสินใจ ซึ่งชุดการตัดสินใจ (Decision Package) หมายถึง เอกสารชุดที่มีรายละเอียดและข้อมูลแสดงความเหมาะสมในการดำเนินงานหรือโครงการ ข้อมูลที่ปรากฏในชุดการตัดสินใจจะประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ
4. งบประมาณฐานศูนย์/เน้นการแก้ปัญหาข้อกำจัดทรัพยากร (Zero Base Budgeting : ZBB) • เป้าหมายของงานหรือโครงการ • รายละเอียดการดำเนินงานของงานหรือโครงการ • ภาระงานและการวัดผลงาน • ทางเลือกเพื่อบรรลุเป้าหมายของงานหรือโครงการ • - มีการจัดลำดับความสำคัญของชุดการตัดสินใจ
4. งบประมาณฐานศูนย์/เน้นการแก้ปัญหาข้อกำจัดทรัพยากร (Zero Base Budgeting : ZBB) • ข้อดีและข้อจำกัดของงบประมาณฐานศูนย์ ข้อดี- สามารถจัดสรรงบประมาณในขณะมีปัญหาข้อจำกัดทางทรัพยากรได้ เหมาะสมกว่า - สามารถรวบรวมการวางแผนกับการงบประมาณเข้าเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดทางทรัพยากร - ช่วยให้จัดสรรงบประมาณในรอบปีใหม่ได้ดีกว่า - มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
4. งบประมาณฐานศูนย์/เน้นการแก้ปัญหาข้อกำจัดทรัพยากร (Zero Base Budgeting : ZBB) • ข้อดีและข้อจำกัดของงบประมาณฐานศูนย์ ข้อจำกัด - ประสบปัญหาในการระบุเป้าหมาย - ประสบปัญหาในการจัดลำดับชุดการตัดสินใจ - ประสบปัญหาการกำหนดค่าใช้จ่ายต่ำสุด
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) หลักการ - เน้นการใช้ยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลเป็นหลักในการจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิผลคุ้มค่าและ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน- เพิ่มบทบาทและความรับผิดชอบและความรับผิดชอบของกระทรวง กรม ในการบริหารจัดการงบประมาณ และคำนึงถึงความโปร่งสัยและตรวจสอบได้
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แนวคิดและวิธีการ • จัดสรรงบประมาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เป็นตัวนำ • ปรับกระบวนการงบประมาณโดยเพิ่มระยะเวลาในการวางแผน การเตรียมการ และลดระยะเวลาในการจัดทำงบประมาณ • จัดงบประมาณให้สามารถรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (Adaptive Management Budget) • ผ่อนคลายการควบคุม ปรับปรุงกฎ ระเบียบ ให้หน่วยงาน และพื้นที่มีบทบาทมากขึ้น
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) • กระจาย/มอบอำนาจ จากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค • ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบผลสำเร็จของงาน • พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการงบประมาณ
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แนวทางในการจัดทำงบประมาณ - กำหนดยุทธศาสตร์ระดับชาติตามนโยบายของรัฐบาล - กำหนดยุทธศาสตร์กระทรวง และเป้าหมายการให้บริการที่เชื่อมโยง ยุทธศาสตร์ระดับชาติ - กำหนดผลผลิตของส่วนราชการระดับกรมและตัวชี้วัดผลสำเร็จ - การมอบอำนาจการบริหารงบประมาณแก่ส่วนราชการ
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) แนวทางในการจัดทำงบประมาณ • - เน้นความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง 3 ระดับ • รัฐบาล รับผิดชอบความสำเร็จของเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Delivery Target) • กระทรวง รับผิดชอบความสำเร็จของเป้าหมายการให้บริการ (Service Delivery Target) • กรม รับผิดชอบความสำเร็จของการดำเนินงานตามผลผลิต (Outputs)
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) หลักการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ • 1. ระดับกระทรวง มุ่งเน้นยุทธศาสตร์และเป้าหมายการ ให้บริการของกระทรวง • อยู่ในขอบเขตการดำเนินงานตามพันธกิจกระทรวง • สอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ของรัฐบาล • มีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อเป้าหมายการให้บริการของ กระทรวง
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) • 2. ระดับหน่วยงาน มุ่งเน้นผลผลิตของหน่วยงาน • อยู่ในขอบเขตการดำเนินงานตามพันธกิจหน่วยงาน • สอดคล้องเชื่อมโยงและสนับสนุนเป้าหมายการให้บริการ ของกระทรวงอย่างมีนัยสำคัญ • กิจกรรมหลัก มีความชัดเจน มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและเป็นไปได้ • วัดผลสำเร็จได้ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และต้นทุน/ค่าใช้จ่าย
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) • 3. ระดับค่าใช้จ่าย มุ่งเน้นผลที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่าย • สนับสนุนผลผลิตและกิจกรรมหลักที่เลือกสรรแล้ว • คำนึงถึงประสิทธิภาพ และความประหยัด • จัดค่าใช้จ่ายตามสิทธิและภาระผูกพันไว้ครบถ้วน • พิจารณาครอบคลุมทุกแหล่งเงิน และภาระที่เกิดขึ้นใน ปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) • ข้อดีของการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ • 1. รัฐสภา • สามารถอนุมัติงบประมาณตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น • สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ • สามารถตรวจสอบหน่วยปฏิบัติได้ตามเป้าหมายการให้บริการ
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) • 2. รัฐบาล • บริหารนโยบายได้ตามเป้าหมายที่สัญญากับประชาชนและ ที่แถลงต่อรัฐสภา • มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ • ใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) • 3. ส่วนราชการ • สามารถบริหารงานได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย • 4. ประชาชน • ได้รับบริการและการแก้ไขปัญหาที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี