360 likes | 568 Views
ความรับผิดชอบของ ขส.ทบ. เกี่ยวกับการขอใช้รถไฟ.
E N D
ความรับผิดชอบของขส.ทบ.ความรับผิดชอบของขส.ทบ. เกี่ยวกับการขอใช้รถไฟ
การขนส่งทางรถไฟสำหรับทางทหารถือว่าการขนส่งทางรถไฟเป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังบำรุงทั้งในยามปกติและในยามสงครามกองทัพจำเป็นต้องขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยมีกรมการขนส่งทหารบกและสำนักงานขนส่งประจำหน่วยต่างๆเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดต่อกับการรถไฟการขนส่งทางรถไฟสำหรับทางทหารถือว่าการขนส่งทางรถไฟเป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังบำรุงทั้งในยามปกติและในยามสงครามกองทัพจำเป็นต้องขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยมีกรมการขนส่งทหารบกและสำนักงานขนส่งประจำหน่วยต่างๆเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดต่อกับการรถไฟ
ประเภทการขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟประเภทการขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟ แบ่งออกตามลักษณะการการใช้เป็น๓ประเภท ๑การขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทรายย่อย ๒ การขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคัน ๓การขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ
การขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคันการขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคัน มีหลักเกณฑ์การพิจารณาโดยยึดหลักดังนี้ • เมื่อเปรียบเทียบค่าระวางกับประเภทอื่นๆแล้วปรากฏว่า ประเภทเหมาคันประหยัดกว่าหรือสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยกว่า • เป็นสิ่งอุปกรณ์ที่การรถไฟฯบังคับว่าจะต้องส่งโดยวิธีเหมาคัน • เพื่อเป็นการรักษาความลับของทางราชการ • วิธีดำเนินการขอใช้รถไฟเพื่อขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ประเภทเหมาคัน สำหรับส่วนราชการ • การส่งจากคลังฝ่ายยุทธบริการหรือคลังฝ่ายกิจการพิเศษ ไปยังส่วนภูมิภาคหรือหน่วยใช้หรือการส่งซ่อมเป็นหน้าที่ของกองจัดการเคลื่อนย้าย ขส.ทบ. เป็นผู้รับผิดชอบ • การส่งสิ่งอุปกรณ์ของหน่วยเพื่อการฝึกหรือศึกษา เป็นหน้าที่ของ จนท. จัดการเคลื่อนย้ายของหน่วยดำเนินการ • การขอใช้รถไฟสำหรับส่วนกลาง กองจัดการเคลื่อนย้าย ขส.ทบ. หรือหน่วยขอใช้ตามข้อ 2 เสนอคำขอไปยังกองสินค้าฝ่ายการเดินรถ การรถไฟฯ ล่วงหน้าก่อนการบรรทุกอย่างน้อย 48 ชั่วโมง และต้องระบุรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้ ก วันเวลาที่จะทำการบรรทุก ข สถานที่ทำการบรรทุก ค จำนวนตู้รถไฟที่ต้องการ ง วันเวลาที่ต้องการให้ถึงสถานีปลายทาง จ ยศ ชื่อ ผู้ดำเนินการบรรทุก ฉ รายชื่อผู้ควบคุม ( ถ้ามี )
การขอใช้รถไฟขนส่งสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคันในส่วนภูมิภาคการขอใช้รถไฟขนส่งสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคันในส่วนภูมิภาค • หน่วยที่ขอใช้รถไฟเสนอความต้องการไปยังสำนักงานขนส่งล่วงหน้า7 วัน • สขส.ดำเนินการติดต่อขอใช้รถไฟล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชม. • รายละเอียดอื่นๆคงปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในส่วนกลาง
การขอใช้รถไฟเพื่อการขนส่งกำลังพลประเภทเหมาคันการขอใช้รถไฟเพื่อการขนส่งกำลังพลประเภทเหมาคัน หน่วยขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลเป็นหน่วยต้องปฏิบัติตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการใช้กำลังทหารการเคลื่อนย้ายกำลังทหารและการเตรียมพร้อมพ.ศ.2519 และเสนอความต้องการขอใช้รถไฟเช่นเดียวกับการส่งสิ่งอุปกรณ์
การขอใช้แบบขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษการขอใช้แบบขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ • โอกาสที่จะเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ • ขนกระสุนวัตถุระเบิดจำนวนเกินกว่า 5 ตันในขบวนเดียวกัน • บรรทุกสิ่งอุปกรณ์ที่มีขนาดเกินเขตบรรทุกแต่ไม่เกินเขตโครงสร้างหรือในการบรรทุกที่ต้องเปิดฝาข้างของรถไฟ(เช่นรถถัง) • ไม่สามารถจะโดยสารหรือจัดพ่วงไปกับขบวนรถสินค้าได้เพราะเกินหน่วยลากจูงขบวนปกติได้ • เมื่อต้องการเอกภาพในการบังคับบัญชา
วิธีดำเนินการขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษวิธีดำเนินการขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ การเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากกองทัพบกควบคุมการใช้เป็นพิเศษฉะนั้นการขอเปิดเดินรถไฟฯทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องได้รับอนุมัติจากทบ.ก่อนจึงจะดำเนินการได้ • หน่วยส่วนกลางต้องทำรายงานขออนุมัติหลักการและรายละเอียดในการเคลื่อนย้ายตรงต่อทบ.ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วันเมื่อทบ.อนุมัติแล้วให้ส่งหลักฐานการอนุมัติให้ขส.ทบ.ขอเปิดเดินรถไฟ ขบวนพิเศษต่อไปการขอต้องขอล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชม.
การขอต้องระบุรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้การขอต้องระบุรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้ • จำนวนและชนิดของรถพ่วงที่ต้องใช้ • วันเวลาที่ต้องการให้ขบวนรถออกเดินทาง • สถานที่ทำการบรรทุก • สถานีปลายทางที่จะทำการขนลง • หน่วยส่วนภูมิภาคดำเนินการเช่นเดียวกันแต่หลักฐานการอนุมัติต้องมอบให้สขส.ดำเนินการขอใช้รถไฟผ่านสารวัตรเดินรถเขตหรือนายสถานี
ประเภทของรถไฟขบวนพิเศษประเภทของรถไฟขบวนพิเศษ รถไฟขบวนพิเศษแบ่งเป็น 3 ประเภท • รถไฟขบวนพิเศษโดยสาร • รถไฟขบวนพิเศษรวมซึ่งมีทั้งรถโดยสารและรถสินค้า • รถไฟขบวนพิเศษสินค้า
กฎข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการโดยสารรถไฟกฎข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการโดยสารรถไฟ • ว่าด้วยอัตราค่าโดยสาร ก.อัตราค่าโดยสารปกติทุกชั้น มีหลักเกณฑ์การคิดดังนี้ • ระยะทางตั้งแต่๑ถึง๑๐๐กม. ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๙๓๒บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๔๘๘บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๒๑๕บาท
ระยะทางตั้งแต่๑๐๑ถึง๒๐๐กม.ระยะทางตั้งแต่๑๐๑ถึง๒๐๐กม. ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๘๕๓บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๔๒๐บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๑๘๐บาท • ระยะทางตั้งแต่๒๐๑ถึง๓๐๐กม. ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๗๘๕บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๓๗๕บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๑๖๐บาท
4 ระยะทางตั้งแต่๓๐๑กม.ขึ้นไป ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๗๓๙บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๓๖๖บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๑๔๕บาท 5 การคิดค่าโดยสารระยะตั้งแต่๑๐๑กม.ขึ้นไปคิดเป็นช่วงๆละ๕ กม. โดยคิดค่าโดยสารที่กม.ปลายช่วงทั้งนี้สุดแต่ระยะของสถานีปลาย ทางจะอยู่ในช่วงใด 6 อัตราค่าโดยสารขั้นต่ำชั้นที่๑คิด๖บาท ชั้นที่๒คิด๔บาท ชั้นที่๓คิด๒บาท
7 การปัดเศษยกเศษสตางค์ เมื่อคำนวณค่าโดยสารตามหลักเกณฑ์ในข้อ๑ถึง๕ให้ปัดเศษยก เศษในครั้งสุดท้าย ถ้ามีเศษต่ำกว่า๕๐สตางค์ให้ปัดทิ้งตั้งแต่๕๐สตางค์ขึ้นไป ให้ยกเป็น๑บาท 8 การคิดค่าโดยสารขั้นต่ำใน๖และการปัดเศษยกเศษใน๗ให้ ใช้กับค่าโดยสารที่มีส่วนลดทุกประเภทด้วย
ค่าธรรมเนียม ผู้โดยสารทุกชั้นซึ่งเดินทางไปกับขบวนรถบางประเภทและหรือในรถ โดยสารบางชนิดจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของขบวนรถ และหรือชนิดของรถโดยสารนั้นๆเพิ่มขึ้นจากค่าโดยสารแล้วแต่ กรณี
ข้อบังคับว่าด้วยการโดยสารโดยตั๋วพิเศษข้อบังคับว่าด้วยการโดยสารโดยตั๋วพิเศษ ว่าด้วยการโดยสารสำหรับทหารบกเรืออากาศที่ขึ้นตรงต่อกห.และตำรวจ เมื่อโดยสารไปในหน้าที่ราชการโดยใช้ใบแลกการขนส่งโดยสารหรือหนังสือแลกตั๋วโดยสารการรถไฟฯจะคิดค่าโดยสารตามสิทธิที่ได้รับลดค่าโดยสารของอัตราค่าโดยสารตามชั้นและระยะทางที่โดยสาร เดินทางด้วยกิจส่วนตัวการรถไฟฯจะคิดค่าโดยสารเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราค่าโดยสารตามระยะที่โดยสารทุกชั้นจะต้องนำบัตรประจำตัวแสดงต่อผู้ขายตั๋วด้วย
การเช่ารถโดยสาร • การคิดค่าเช่าและจำนวนผู้โดยสารต่อรถโยสาร๑คัน • ค่าเช่ารถโดยสารจะคิดเท่ากับค่าโดยสารผู้ใหญ่เต็มราคาตามระยะทางชั้นที่นั่งและค่าธรรมเนียมต่างๆอันจะพึงมีของรถที่ขอเช่าและขบวนรถที่จะพ่วงไปตามจำนวนผู้โดยสารจริงอย่างน้อยเท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้ • การเช่ารถโบกี้จัดเฉพาะหรือรถปรับอากาศจัดเฉพาะเที่ยวเดียวคิดเพิ่มอีกร้อยละ๕๐ของค่าเช่า • การเช่ารถนอนหรือรถปรับอากาศเที่ยวเดียวคิดเพิ่มอีกร้อยละ๒๐ของค่าเช่า • การคิดค่าเช่ารถโดยสารเฉพาะคันให้ปัดเศษยกเศษในครั้งสุดท้ายหากมีเศษต่ำกว่า๑๐๐บาทให้ยกขึ้นเป็น๑๐๐บาท
ค่าเช่าขั้นต่ำต่อ๑คันค่าเช่าขั้นต่ำต่อ๑คัน • รถดีเซลรางปรับอากาศวันละ๗,๕๐๐บาท • รถดีเซลรางธรรมดาวันละ๕,๒๐๐บาท • รถนอนรถปรับอากาศวันละ๓,๕๐๐บาท • รถโดยสารอื่นๆวันละ๑,๖๐๐บาท • การนับเวลาถือว่า๒๔ชม.เท่ากับ๑วันโดยนับเวลาที่รถ ออกจากสถานีต้นทางตามประกาศเดินรถหรือเวลาที่มอบรถให้ผู้เช่าเศษของวันให้นับเป็น๑วัน
จำนวนผู้โดยสารที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าเช่าจำนวนผู้โดยสารที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าเช่า • รถโดยสารประเภทที่ใช้กับงานเฉพาะกิจ(ตามข้อ๑.๑-๑.๘) • รถโดยสารนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ๑.๑-๑.๘จำนวนผู้โดยสารที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าเช่ารถให้คิดตามจำนวนที่นั่งของรถที่ประสงค์จะขอเช่านั้น • ตัวอย่างเช่าเหมาคันไปอยุธยาใช้บชส.จำนวน๗๖ที่นั่งผู้โดยสาร๗๐คน ระยะทางจากกรุงเทพฯถึงอยุธยาเท่ากับ๗๑กม. ค่าโดยสารคนละ๑๕บาท รวมเป็นเงินค่าโดยสาร=๗๖ X ๑๕=๑,๑๔๐(คิดตามจำนวนที่นั่งของรถที่ขอเช่า) ปัดเศษ๔๐บาทเป็น๑๐๐บาทค่าเช่าจะเท่ากับ๑,๒๐๐บาท แต่ค่าเช่าบชส.ขั้นต่ำวันละ๑,๖๐๐บาท เพราะฉะนั้นค่าเช่าจึงเท่ากับ๑,๖๐๐บาทเข้าใจไม๊
กฎข้อบังคับและระเบียบการบรรทุกสินค้ากฎข้อบังคับและระเบียบการบรรทุกสินค้า • ความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องระเบียบการบรรทุกสินค้าประเภทห่อวัตถุประเภทเหมาหลังและระเบียบเกี่ยวกับการจัดรถไฟเป็นขบวนพิเศษสำหรับใช้ในการวางแผนและติดต่อประสานได้ถูกต้องและรวดเร็ว • การบรรทุกห่อวัตถุโดยทางรถไฟนั้นจะส่งโดยขบวนรถด่วนรถเร็วรถรวมหรือรถสินค้าก็ได้ขบวนใดจะต้องคิดค่าระวางอัตราด่วนหรือธรรมดามีปรากฏในข้อบังคับ • การบรรทุกสินค้าเครื่องล้อเลื่อนสัตว์มีชีวิตในประเภทเหมาหลังผู้ส่งมิได้ขอส่งในอัตราด่วนนั้นจะจัดพ่วงส่งไปกับขบวนรถสินค้าธรรมดาหรือขบวนรถซึ่งมิได้กำหนดให้คิดค่าระวางในอัตราด่วน
การยกน้ำหนักเพื่อคิดค่าระวางการยกน้ำหนักเพื่อคิดค่าระวาง • ห่อวัตถุน้ำหนักตั้งแต่ 1ถึง 20 กก.คิดค่าระวางเท่ากับน้ำหนัก 20 กก. • ส่วนที่เกิน 20 กก.จะคิดค่าระวางในน้ำหนักซึ่งยกเศษของ 10 กก.เป็น 10 กก. • การยกเศษที่เกินกว่าทุกร้อยกก.จะต้องยกขึ้นเป็น 20 กก.เสมอ • ต่อจากนั้นคงยกเป็น 10 กก. ดูตัวอย่างดูตัวอย่าง
หีบห่อที่ไม่นับเข้าเกณฑ์ห่อวัตถุหีบห่อที่ไม่นับเข้าเกณฑ์ห่อวัตถุ ห่อวัตถุเป็นของชิ้นเดียวหรือหน่วยเดียวมีขนาดขั้นต่ำต้องไม่เล็กกว่า๒๐x ๑๔ x ๖ซม.กินเนื้อที่ในทางราบไม่น้อยกว่า๒๘๐ตารางซม.และสูงไม่น้อยกว่า๖ซม.มีน้ำหนักไม่เกินกว่า๑,๐๐๐กก.ต่อชิ้น หรือมีขนาดต้องไม่เกินกว่า๒.๕๐ x ๐.๘๐ X ๑.๐๐เมตรกินเนื้อที่ในทางไม่เกิน๒ตารางม.และสูงไม่เกิน๑ม. ถ้ามีน้ำหนักและขนาดเกินกว่าขั้นสูงจะต้องบรรทุกส่งในประเภทเหมาคัน
ประเภทและอัตราค่าระวางห่อวัตถุประเภทและอัตราค่าระวางห่อวัตถุ • สินค้าห่อวัตถุมี๒ประเภทคือก.ห่อวัตถุ ข.สิ่งพิมพ์ ค่าระวางห่อวัตถุแบ่งเป็น๒อัตราคืออัตราธรรมดาและอัตราด่วนสำหรับสิ่งพิมพ์ให้คิดค่าระวางตามข้อ๖๐ ห่อวัตถุที่บรรทุกส่งไปกับขบวนรถด่วนรถเร็วหรือขบวนรถโดยสารให้คิดค่าระวางในอัตราด่วนเสมอค่าระวางขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า๔๐บาทคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกร้อยละ๑๐ของค่าระวางเงินค่าธรรมเนียมที่คิดได้ถ้ามีเศษต่ำกว่า๑บาทยกเป็น๑บาทค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า๑๐บาท
ค่าระวางห่อวัตถุอัตราธรรมดาคิดตามอัตราและช่วงระยะทางกิโลเมตรในแบบสำเร็จท้ายข้อบังคับนี้(ตามผนวกค)ค่าระวางห่อวัตถุอัตราธรรมดาคิดตามอัตราและช่วงระยะทางกิโลเมตรในแบบสำเร็จท้ายข้อบังคับนี้(ตามผนวกค) • อัตราค่าระวางด่วนคิด๒เท่าของอัตราธรรมดา • ค่าระวางขั้นต่ำ อัตราธรรมดาต้องไม่น้อยกว่า๑๐บาท อัตราด่วนต้องไม่น้อยกว่า๒๐บาท • การปัดเศษยกเศษจำนวนเงินค่าระวางที่คิดได้ครั้งสุดท้ายถ้ามีเศษต่ำกว่า๑บาทให้ยกขึ้นเป็น๑บาท
ตัวอย่าง ส่งห่อวัตถุน้ำหนัก๖๕กก.จากบางซื่อกรุงเทพฯไปอยุธยาส่งอัตราธรรมดาจะต้องเสียค่าระวางกี่บาท? • ระยะทางจากบางซื่อ –อยุธยา๗๑-๗=๖๔กม. • ห่อวัตถุหนัก๖๕กก.ยกเป็น๗๐กก. ตามแบบสำเร็จผนวกคค่าระวางห่อวัตถุระยะทาง๖๔กม.ห่อวัตถุหนัก๗๐กก.จะต้องเสียค่าระวางเป็นเงิน๑๐.๖บาท ไม่ยากเลยยยย
อีกหนึ่งตัวอย่าง ส่งห่อวัตถุจำนวน๕๐ห่อมีน้ำหนักรวม๑,๐๑๕กก.จากบางซื่อไปลพบุรีในอัตราค่าระวางธรรมดาจะต้องเสียค่าระวางกี่บาท? ระทางจากบางซื่อ – ลพบุรี=๑๓๓-๗=๑๒๖กม. น้ำหนัก๑,๐๑๕กก.ยกเป็น๑,๐๒๐กก. ตามผนวกค ระยะทาง๑๒๖กม.ห่อวัตถุหนัก๑๐๐กก.คิดค่าระวาง๒๙.๗บาท ห่อวัตถุหนัก๑,๐๐๐กก.ค่าระวาง=๒๙.๗ X ๑,๐๐๐หาร๑๐๐ = ๒๙๗บาท ห่อวัตถุอีก๒๐กก.คิด๕.๙บาท รวมค่าระวางห่อวัตถุ=๒๙๗+๕.๙=๓๐๒.๙ยกเศษ.๙บาทเป็น๑บาท จะต้องเสียค่าระวางรวม=๓๐๓บาท
กฎข้อบังคับว่าด้วยการบรรทุกส่งสินค้าเครื่องล้อเลื่อนและสัตว์มีชีวิตกฎข้อบังคับว่าด้วยการบรรทุกส่งสินค้าเครื่องล้อเลื่อนและสัตว์มีชีวิต • การบรรทุกส่งสินค้าเครื่องล้อเลื่อนและสัตว์มีชีวิตโดยวิธีเหมาหลังทางรถไฟนั้นต้องบรรทุกตามพิกัดน้ำหนักความจุของรถห้ามไม่ให้บรรทุกเกินกว่าน้ำหนักที่ปรากฏอยู่ข้างรถนั้น • การบรรทุกรถยนต์เครื่องมือกลและล้อเลื่อนที่ใช้กำลังเครื่องจักรไอน้ำกำลังเครื่องยนต์รถบดถนนทั้งคันรถพ่วงทุกชนิดที่ไม่มีกำลังขับเคลื่อนในตัวเองในประเภทเหมาหลังอนุญาตให้บรรทุกในรถสินค้า 4 ล้อคันหนึ่งได้ไม่เกิน 2 คันในรถ 8 ล้อคันหนึ่งได้ไม่เกิน 3 คันและให้บรรทุกรวมกันไปได้แต่จำนวนรวมทั้งรถพ่วงด้วยแล้วต้องไม่เกินจำนวนคันที่กำหนด
น้ำหนักขั้นต่ำในการคิดค่าระวางน้ำหนักขั้นต่ำในการคิดค่าระวาง • รถชนิด 4 ล้อ(ไม่ใช่การขนส่งระบบคอนเทนเอร์) พิกัดบรรทุกคิดน้ำหนักขั้นต่ำ ไม่เกิน 13,500 กก. 10,000 กก. 13,501-15,500 กก. 12,000 กก. 15,501-17,500 กก. 13,000 กก. 17,501-ขึ้นไป 14,000 กก.
รถชนิด๘ล้อซึ่งไม่ใช้การขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์รถชนิด๘ล้อซึ่งไม่ใช้การขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์ พิกัดบรรทุกคิดน้ำหนักขั้นต่ำ ไม่เกิน 25,000 กก. 18,000 กก. 25,001-30,000 กก. 22,000 กก. 30,001-37,000 กก. 26,000 กก. 37,001-41,000 กก. 30,000 กก. 41,001- ขึ้นไป 34,000 กก.
การใช้รถสินค้าชนิด๔ล้อและ๘ล้อบรรทุกสินค้าดังกล่าวถ้าชั่งได้น้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักขั้นต่ำที่กำหนดไว้แต่ไม่เกินพิกัดความจุของรถให้คิดค่าระวางเพิ่มขึ้นตามส่วนเป็น๑๐๐กก.เศษของ๑๐๐กก.ยกขึ้นเป็น๑๐๐กก.การใช้รถสินค้าชนิด๔ล้อและ๘ล้อบรรทุกสินค้าดังกล่าวถ้าชั่งได้น้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักขั้นต่ำที่กำหนดไว้แต่ไม่เกินพิกัดความจุของรถให้คิดค่าระวางเพิ่มขึ้นตามส่วนเป็น๑๐๐กก.เศษของ๑๐๐กก.ยกขึ้นเป็น๑๐๐กก. • ประเภทและอัตราค่าระวางสินค้าเหมาหลัง • สินค้าที่ส่งในประเภทเหมาหลังได้กำหนดอัตราค่าระวางไว้๖ประเภท ๑สินค้าประเภท๓ ๒สินค้าประเภท๔ ๓น้ำมันเชื้อเพลิง(ยกเว้นน้ำมันเตา)ขนส่งในรถบรรทุกน้ำมัน ๔น้ำมันเตาขนส่งในรถบรรทุกน้ำมัน ๕ก๊าซขนส่งในรถบรรทุกก๊าซ ๖ตู้สินค้าหรือคอนเทนเนอร์
การคิดค่าระวางสินค้าเหมาหลังให้คิดตามประเภทสินค้าที่บรรทุกส่งและช่วงระทางเป็นกิโลเมตรตามบัญชีรายชื่อสินค้าและแบบสำเร็จอัตราค่าระวางท้ายกฎข้อบังคับการคิดค่าระวางสินค้าเหมาหลังให้คิดตามประเภทสินค้าที่บรรทุกส่งและช่วงระทางเป็นกิโลเมตรตามบัญชีรายชื่อสินค้าและแบบสำเร็จอัตราค่าระวางท้ายกฎข้อบังคับ • จำนวนเงินค่าระวางที่คิดได้ครั้งสุดท้ายถ้ามีเศษไม่ถึง๕บาทให้ยกขึ้นเป็น๕บาทหากเกิน๕บาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง๑๐บาทให้ยกขึ้นเป็น๑๐บาท • ค่าระวางอัตราด่วนสำหรับสินค้าเหมาหลังให้คิด 2 เท่าของอัตราค่าระวางในแบบสำเร็จท้ายกฎข้อบังคับ
ค่าระวางขั้นต่ำสำหรับการส่งสินค้าเหมาหลังค่าระวางขั้นต่ำสำหรับการส่งสินค้าเหมาหลัง • ส่งจากหรือถึงสถานีต่างๆตลอดทางทุกสายยกเว้นสถานีปาดังเบซาร์ให้คิดหลังละ๕๐๐บาทสำหรับรถ๔ล้อและหลังละ๑,๐๐๐บาทสำหรับรถ๘ล้อ • ส่งจากสถานีต่างๆถึงสถานีปาดังเบซาร์ให้คิดหลังละ๘๐๐บาทสำหรับรถ๔ล้อและหลังละ๑,๖๐๐บาทสำหรับรถ๘ล้อ • อัตราด่วนให้คิดค่าระวางขั้นต่ำ๒เท่า
ตัวอย่าง ขนส่งสป.น้ำหนักรวม๙,๕๐๐กก.จากที่รับส่งสินค้าพหลโยธินไปพิษณุโลก โดยวิธีเหมาหลังใช้รถตญ.จงคิดค่าระวางบรรทุก รถตญ.มีพิกัดบรรทุก๑๓,๕๐๐กก.คิดน้ำหนักขั้นต่ำ๑๐,๐๐๐กก. สป.หนัก๙,๕๐๐กก.ไม่ถึงขั้นต่ำคิดตามน้ำหนักขั้นต่ำ๑๐,๐๐๐กก. ระยะทางจากที่รับส่งฯถึงพิษณุโลก=๓๘๙ – ๗=๓๘๒กม. ตามแบบสำเร็จ(ผนวกจ)คิดอัตราค่าระวางสินค้าประเภท๔ ระยะทาง๓๘๒กม.สป.หนัก๑,๐๐๐กก.ค่าระวาง=๒๒๑บาท สป.หนัก๑๐,๐๐๐กก.ค่าระวาง=๒๒๑x๑๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐ = ๒,๒๑๐ จะต้องเสียค่าระวางบรรทุกวิธีเหมาหลัง=๒,๒๑๐บาท