1 / 19

โรคโบทูลิซึม (Botulism)

โรคโบทูลิซึม (Botulism). สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid . ddc . moph . go . th. สถานการณ์โรค โบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย. การระบาดครั้งล่าสุด เมื่อ มีนาคม 2549 ที่ จ. น่าน. ผู้ป่วย 209 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต. สถานการณ์ โรค โบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย.

Download Presentation

โรคโบทูลิซึม (Botulism)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคโบทูลิซึม(Botulism) สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th

  2. สถานการณ์โรคโบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย

  3. การระบาดครั้งล่าสุด เมื่อ มีนาคม 2549 ที่ จ. น่าน ผู้ป่วย 209 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

  4. สถานการณ์โรคโบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย • เดือนเมษายน 2553 มีกรณีสงสัยการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ โบทูลิซึม จากการกินเนื้อหมูป่า ที่บ้านห้วยน้ำ ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง • พบผู้ป่วย 37 ราย เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้ป่วยหนักที่ต้องใส่เครื่องช่วย หายใจ 4 ราย

  5. สถานการณ์โรคโบทูลิซึม (Botulism) ในต่างประเทศ • เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 สำนักงานอาหารปลอดภัย ( FSA ) แห่ง สหราชอาณาจักร ได้มีคำเตือนผู้ปกครองเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่ควรให้ทารกบริโภคน้ำผึ้ง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึมสำหรับทารก (Infant botulism) ซึ่งเป็นโรคอาหารเป็นพิษที่ร้ายแรง แต่การเกิดโรคนี้น้อยมาก เนื่องจากในระยะ 30 ปีที่ผ่านมามีรายงานยืนยันการพบโรคโบทูลิซึมในเด็กทารก 11 ราย แต่มีเพียง 3 รายในจำนวนนี้เกิดขึ้นในปี 2552 ที่เป็นไปได้ว่าเกิดจากการบริโภคน้ำผึ้ง และรายล่าสุดเป็นทารกวัยเพียง 15 สัปดาห์              เนื่องจากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีนั้นระบบทางเดินอาหารยังไม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคโบทูลิซึมได้ที่มา : FSA

  6. โรคโบทูลิซึม • มีความรุนแรง แต่พบได้ ไม่บ่อย • เกิดจากท็อกซิน หรือสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย คลอสทริเดียม โบทูไลนัม (Clostridium botulinum) • ตัวเชื้อมีเกราะหุ้ม (สปอร์) ป้องกันตัวเอง คงทน อยู่ตามพื้นดิน โคลนตม ทะเล ตะกอนในน้ำ ได้เป็นเวลานาน

  7. โรคโบทูลิซึม • ทอกซินที่มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท ทำให้เกิดโรค แบ่งได้ 3 กลุ่ม : - โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism ) - โรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) - โรคโบทูลิซึมที่บาดแผล ( wound botulism )

  8. โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism) • เกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษของเชื้อ คลอสทริเดียม โบทูไลนัมเช่น การกินเนื้อสัตว์ป่าที่ปนเปื้อนเชื้อ • มีการเก็บถนอมอาหารโดยใช้ความร้อนไม่เพียงพอที่จะทำลายเกราะหุ้ม (สปอร์) เมื่อปิดฝาภาชนะสนิท เกิดสภาวะไร้ออกซิเจน อาหารมีความเป็นกรดต่ำ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 30–37 องศาเซลเซียส สปอร์จะเจริญกลับเป็นเชื้อ เพิ่มจำนวน และสร้างสารพิษจำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็ว

  9. โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism) (ต่อ) • สารพิษของเชื้อนี้ทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทอย่างรุนแรง • ผู้ป่วยมักมีอาการเกิดขึ้นหลังจากได้รับสารพิษแล้วเฉลี่ย 12-36 ชั่วโมง และอาจ เร็วกว่า 6 ชั่วโมง หรือนานถึง 10 วัน • จะมีอาการอ่อนเพลียมาก เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว หนังตาตก ปากแห้ง พูดและกลืนอาหารได้ลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก กล้ามเนื้ออัมพาต อ่อนแรง มักไม่มีไข้ ยกเว้นในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน

  10. โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism) (ต่อ) • หากเกิดที่กล้ามเนื้อกระบังลม อาจมีผลทำให้การหายใจล้มเหลวถึงเสียชีวิตได้ • การรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ และให้สารต้านพิษ(antitoxin)โดยเฉพาะที่ถูกต้อง จะช่วยลดอัตราป่วยตายได้ • ในระยะที่หาย การฟื้นตัวจะค่อนข้างช้าเป็นเดือน บางรายอาจเป็นปี

  11. โรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) • พบได้น้อย อาจเกิดกับเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือผู้ใหญ่ที่มีระบบทางเดินอาหาร หรือแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ผิดปกติ ทำให้ไม่มีความทานต่อเชื้อ • โรคนี้เกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเกราะหุ้ม (สปอร์) ของเชื้อในต่างประเทศพบในเด็กทารกที่กินน้ำผึ้งอาจได้รับเชื้อโดยตรงจาก ดิน ฝุ่น โดยเชื้อเจริญเพิ่มจำนวนในลำไส้ และสร้างสารพิษขึ้นได้

  12. โรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) (ต่อ) • อาการของโรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) ได้แก่ ท้องผูก กินอาหารได้น้อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คออ่อน ตัวอ่อนปวกเปียก • ทารกบางราย อาจมีอาการหายใจลำบาก หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตกะทันหัน

  13. โรคโบทูลิซึมที่บาดแผล ( wound botulism ) • พบได้น้อย • เกิดจากการปนเปื้อนเกราะหุ้ม(สปอร์)ของเชื้อ ที่บาดแผลตามผิวหนัง • เชื้อจะเพิ่มจำนวนได้ หากแผลอยู่ในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ • ในต่างประเทศพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด • อาการของโรคโบทูลิซึมที่บาดแผล ( wound botulism ) จะคล้ายกับอาการทางระบบประสาทจากโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม

  14. การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) • โรคโบทูลิซึม สามารถป้องกันได้ โดยการรักษาสุขอนามัย • การใช้ความร้อนที่เพียงพอในการถนอมอาหาร รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ • ป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อและเกราะหุ้ม(สปอร์) ในการถนอมอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท เช่น ขวด กระป๋อง ปี๊บ โดยเฉพาะพืช ผัก ที่มีความเป็นกรดต่ำ ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเพิ่มจำนวนของเชื้อและการเกิดสารพิษ โดยเลือกใช้พืช ผัก ปลา ที่สดใหม่

  15. การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) (ต่อ) • ล้างทำความสะอาดพืช ผัก ปลา ภาชนะ พื้นผิวบริเวณเตรียมอาหารอย่างทั่วถึง และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ระหว่างกระบวนการถนอมอาหารด้วย • ทำลายเกราะหุ้มที่อาจปนเปื้อนมา ในภาคอุตสาหกรรมจะใช้หม้อต้มความดันสูง ซึ่งให้ความร้อนสูงถึง 121 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน 0.68 - 0.97 เอทีเอ็ม (10-15 ปอนด์/ตารางนิ้ว) ในเวลานานอย่างน้อย 20 -100 นาที แล้วแต่ปริมาณของอาหาร

  16. การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) (ต่อ) • การถนอมอาหารในระดับครัวเรือนหรือชุมชน อาจใช้การทำให้อาหารมีความเป็นกรดอ่อน ๆ ป้องกันไม่ให้เชื้อ หรือเกราะหุ้ม เจริญเติบโตได้ เช่น การผสมกรดมะนาว (กรดซิตริก) ความเข้มข้น 0.65 % ในกระบวนการผลิตหน่อไม้ปี๊บ เป็นต้น • ควรเก็บรักษาอาหารบรรจุในภาชนะ ขวด กระป๋อง หรือ ปี๊บ ฯลฯ ไว้ในตู้เย็น หรือ ห้องเย็น และไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป • ก่อนรับประทานอาหารเหล่านี้ ควรต้มให้เดือด และสุกด้วยความร้อน 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป นาน 30 นาที (หรือที่ 100 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที) เพื่อทำลายสารพิษที่อาจปนเปื้อนอยู่ให้หมดไป

  17. การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) (ต่อ) • เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากชัดเจน และมีหน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหารรับรอง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฯลฯ • ไม่ควรกินอาหารที่ภาชนะบรรจุมีลักษณะบวม โป่ง บุบ รั่ว มีกลิ่นบูด หรือกลิ่นผิดปกติ เป็นสนิม หมดอายุ • ไม่ควรให้เด็กทารกรับประทานน้ำผึ้ง • ไม่ฉีดสารเสพติดทุกชนิด

  18. แจ้งการระบาดของโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) ได้ที่.... • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ สถานีอนามัยทุกแห่ง • สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร. 0 2590 1882 , 0 2590 1775 • กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2245 8106 , 0 2246 0358 , 0 2354 1836 และศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯทุกแห่ง

  19. สวัสดี

More Related