170 likes | 321 Views
บริหารจัดการภาครัฐ ปี 2551. การพัฒนาคุณภาพการ. Public Sector Management. Quality Award ( PMQA ). ความเป็นมา.
E N D
บริหารจัดการภาครัฐ ปี 2551 การพัฒนาคุณภาพการ Public Sector Management Quality Award (PMQA)
ความเป็นมา • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 ได้เห็นชอบให้นำการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมาใช้ ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อเป็นเครื่องมือผลักดันให้การพัฒนาระบบราชการมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการทำงานไปสู่ระดับมาตรฐานสากล
ความหมาย • เป็นเครื่องมือในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self Assessment) • ทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการอยู่ (ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) • เปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ • ได้ข้อมูล จุดแข็ง และโอกาสปรับปรุงองค์กร • ตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระดับที่พอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ • ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงองค์กร • ต้องประเมินจากข้อมูลที่มีอยู่จริง ไม่ใช่จากการคาดเดา หรือลางสังหรณ์ • สามารถประเมินองค์กรได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ทำให้เกิดการปรับปรุงตลอดเวลา
แนวคิดหลักของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐแนวคิดหลักของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ • ก.พ.ร.ต้องการที่จะเห็นสำนักงานเกษตร ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นให้การนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตนเอง มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศอย่างแท้จริง และทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นสำคัญ
เป้าหมายการพัฒนาปี 2551 ไม่เน้นความเป็นเลิศ แต่เน้นการตื่นตัว กระตุ้นให้รู้ เข้าใจและยอมรับ หรือเห็นด้วยPMQA MODEL ว่าเจ้าหน้าที่เรา ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร ภายใต้ปัจจัยภายนอก ที่บีบคั้นอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ลักษณะสำคัญขององค์กร เป็นการอธิบายภาพรวมของสำนักงานเกษตร สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับผู้รับบริการ ส่วนราชการ และเกษตรกร สิ่งที่มีผลต่อการดำเนินการ และความท้าทายที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 15 ข้อคำถาม 2. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบ่งออกได้ 7 หมวด 90 ข้อคำถาม ดังนี้
แนวทางการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐแนวทางการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 1. ประเมินด้านข้อมูลการปฏิบัติราชการ การจัดทำรายงานใช้วิธีการประเมินองค์กรด้วยตนเองจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อคำถาม พร้อมทั้งอ้างอิงหลักฐานในการดำเนินการ 2. ใช้วิธีตรวจประเมินจากมาตรฐานที่กำหนด โดยคณะทำงานใช้วิธีตรวจประเมินจากมาตรฐานที่กำหนด (Check List ) และประเมินวงจรการจัดการที่ดี ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์กระบวนการคือ ADLI และส่วนของการวิเคราะห์ผลลัพธ์ คือ LeTCLi โดยมีการประเมินผลค่าระดับในทุกคำถามตามวงจรการจัดการที่ดี ที่สามารถนำเสนอได้ในรูปตารางคะแนนหรือกราฟคะแนน เพื่อใช้ประโยชน์ในการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงจุดแข็งและโอกาสที่ต้องปรับปรุงองค์กร
3. เป็นการประเมินที่บูรณาการตัวชี้วัด ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการในมิติที่ 4 เข้าด้วยกัน ปีงบประมาณ 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ผนวกรวมตัวชี้วัดที่อยู่ในมิติที่ 4 ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ( HR Scorecard) การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล(Individual Scorecard)การบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ(IT) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เข้ารวมอยู่ในตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA)
4. มีการตรวจประเมินผลโดยผู้ตรวจประเมินภายนอก4. มีการตรวจประเมินผลโดยผู้ตรวจประเมินภายนอก ปีงบประมาณ 2551 ก.พ.ร. ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกมาประเมินภายหลังการประเมินองค์กรด้วยตนเองแล้ว ตามกรอบการประเมินวงจร ADLT และ LeTCLi ซึ่งสำนักงานเกษตรจะต้องเตรียมหลักฐานอ้างอิงยืนยันผลการประเมินตนเอง 5. มีการนำผลคะแนนประเมินไปใช้พิจารณาระดับความก้าวหน้าด้วย ปีงบประมาณ 2551 มีการประเมินผลเพื่อวัดระดับผลการดำเนินการพัฒนาปรับปรุงองค์กร เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และนำผลไปสู่การปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆไป
ตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2551 ก.พ.ร. ได้กำหนดตัวชี้วัดที่ 11 ได้แก่ ระดับความสำเร็จ ของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(เน้นหนักร้อยละ 20 ) แบ่งออกเป็น 3 ตัวชี้วัดย่อยดังนี้ ตัวชี้วัด 11.1 ระยะเวลาการส่งรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนักร้อยละ 1 ตัวชี้วัด 11.2 ระดับความสำเร็จเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของความครบถ้วนของการจัดทำ รายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนัก 6 ตัวชี้วัด 11.3 ผลคะแนนจากรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง ตามเกณฑ์ 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 13
รายละเอียดตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ 11.1 ระยะเวลาการส่งรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง ไปยังสำนัก บริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 4 ชุด พร้อมข้อมูลบรรจุในแผ่น CD จำนวน 2 แผ่น ภายในวันที่ 31 ต.ค. 2551 ตัวชี้วัดที่ 11.2 ระดับความสำเร็จเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของความครบถ้วนของการจัดทำ รายงาน การประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนักร้อยละ 6 แยกเป็น 1. ความครบถ้วนของการจัดทำรายงานลักษณะสำคัญของ องค์กร น้ำหนักร้อยละ 1 2. ความครบถ้วนของการจัดทำรายงาน ประเมินองค์กรด้วย ตนเอง หมวด 1-7 น้ำหนักร้อยละ 1
3. ความครบถ้วนของการแสดงผลกราฟระดับคะแนนการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามรายหัวข้อ ที่ปรากฏใน 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 1 4. ความครบถ้วนของการจัดทำ รายงานจุดแข็ง และโอกาส ในการปรับปรุงใน 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 1 5. ความครบถ้วนของการจัดทำรายการ การจัดลำดับความสำคัญของโอกาสในการปรับปรุงองค์กร ใน 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 0.5 6. ความครบถ้วนของการจัดทำแผนปรับปรุงองค์กร อย่างน้อย 2 แผน น้ำหนักร้อยละ 0.5 7. ความครบถ้วนของการจัดทำรายงานผลการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับ PMQA ให้กับเจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ 2 ครั้ง น้ำหนักร้อยละ 1
ตัวชี้วัดที่ 11.3 ผลคะแนนจากรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามเกณฑ์ 7 หมวด น้ำหนักร้อยละ 13 แยกเป็น ผลการประเมินองค์กร ด้วยตนเองเชิงคุณภาพน้ำหนักร้อยละ 8 และความครบถ้วนของ หลักฐานประกอบผลการประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนัก ร้อยละ 5
ผลระดับคะแนน การประเมินสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ
ผลกราฟระดับคะแนนการประเมินสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ รายหัวข้อ