360 likes | 449 Views
ศาสตร์และบทบาท ของ วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และ วิศวกรรมการผลิต ( Manufacturing Engineering). นิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้อง. วิศวกรรม การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ วิ ศวกร ผู้ประกอบวิชาชีพงานวิศวกรรม
E N D
ศาสตร์และบทบาท ของวิศวกรรมอุตสาหการ (IndustrialEngineering)และ วิศวกรรมการผลิต (Manufacturing Engineering)
นิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้องนิยามของคำและข้อความต่างๆที่เกี่ยวข้อง • วิศวกรรม การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ • วิศวกร ผู้ประกอบวิชาชีพงานวิศวกรรม • อุตสาหกรรม การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นกำไร การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมาก การประกอบกิจการโรงงานอุสาหกรรม • อุตสาหการ เกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม • วิศวกรอุตสาหการ วิศวกรที่เป็นสมาชิกของสภาวิศวกรและถือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ความหมาย วิศวกรรมอุตสาหการ • วิศวกรรมอุตสาหการ Industrial Engineering เป็นวิศวกรรมศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนา วางแผน ควบคุม วิจัยดำเนินงาน การบริหารจัดการและติดตามประเมินผลระบบโดยรวม ซึ่งครอบคลุมปัจจัยทุกๆด้าน ทั้งบุคคล ข้อมูล เครื่องจักรอุปกรณ์ วัสดุ พลังงาน การเงิน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
ความหมาย วิศวกรรมการผลิต • วิศวกรรมการผลิต (Manufacturing Engineering) เป็นวิศวกรรมสาขาหนึ่ง ซึ่งเน้น การประยุกต์ใช้ ความรู้ด้าน วิศวกรรมศาสตร์มาผสมผสานกับความรู้ด้านการจัดการเพื่อใช้ ในการวางแผน การดำเนินการและการควบคุม เน้นหนักในการเพิ่มผลิตผลทางอุตสาหกรรม ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล โดยให้ผลตอบแทนสูงสุดและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า
ลักษณะเฉพาะทางวิศวกรรมลักษณะเฉพาะทางวิศวกรรม Industrial Engineering Manufacturing Engineering Mechanical Engineering Material Engineering จัดการภาพรวม เจาะลึกในรายละเอียด
วิศวกรรมศาสตร์ vs. บริหารศาสตร์ Management of Technology Industrial Engineering Manufacturing Engineering Management Engineering
ความเป็นมาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการความเป็นมาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ • พ.ศ.2485คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดสอนสาขานี้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพราะตลาดมีความต้องการวิศวกรไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สมัยนั้น(ตั้งแต่ปี 2480) มีการตั้งโรงงานมากขึ้น เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานทอผ้า ปูนซีเมนต์ กระดาษ สุรา เป็นต้น โรงงานต่างๆต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะในด้านการผลิตเป็นอย่างดี คือความรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิต เครื่องจักรกล การบริหารจัดการ การควบคุมคุณภาพ ฯลฯ
งานที่เกี่ยวข้องกับสาขางานที่เกี่ยวข้องกับสาขา • ถึงแม้คำว่า “วิศวกรรมอุตสาหการ” จะถูกใช้เพื่อสื่อถึงงานทางด้านการผลิตในโรงงาน แต่ในปัจจุบันขอบข่ายของงานได้ครอบคลุมไปถึงงานด้านอื่นรวมถึง ธุรกิจการให้บริการ สาขาอื่นๆที่ใกล้เคียงกับวิศวกรรมอุตสาหการได้แก่ การวิจัยดำเนินงานการบริหารการจัดการวิศวกรรมระบบวิศวกรรมการผลิตวิศวกรรมคุณภาพ เออโกโนมิกส์ (วิศวกรรมปัจจัยมนุษย์) วิศวกรรมการบำรุงรักษา วิศวกรรมความปลอดภัย การจัดการวิศวกรรม
สิ่งที่ลูกค้าต้องการ : QCD องค์ประกอบขั้นต่ำ 3 ประการที่ลูกค้าต้องการ • Q (Quality) - คุณภาพ • C (Cost) – ต้นทุน (ราคา) • D (Delivery) – การส่งมอบ (ระยะเวลา)
1 กำไร 2 ค่าวัสดุ 3 ราคาขาย ค่าแรง ต้นทุน ค่าโสหุ้ย ปริมาณการขาย สิ่งที่ผู้ผลิตต้องการ 1. ขึ้นราคา 2. เพิ่มปริมาณการขาย 3. ลดต้นทุน กำไร = ราคาขาย - ต้นทุน
Out Out Out Out In In In In การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม (Productivity) เพิ่มผลผลิต แต่ใช้ทรัพยากรเท่าเดิม ผลผลิตเท่าเดิม แต่ใช้ทรัพยากรลดลง การทำงานในอุตมคติ Out In เพิ่มผลผลิตและใช้ทรัพยากรลดลง ลดผลผลิต แต่ใช้ทรัพยากรลดลงในอัตราที่สูงกว่า เพิ่มผลผลิต แต่ใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ต่ำกว่า
วิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้างวิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้าง • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิต เรียนทั้งวิชาทฤษฎี ปฏิบัติการ และกึ่งปฏิบัติการ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างกว้างขวาง • การศึกษาการทำงาน การหาเวลามาตรฐาน • กรรมวิธีการผลิต • การวางแผนและควบคุมการผลิต • การออกแบบโรงงาน • การดูแลซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล
วิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้างวิศวกรรมอุตสาหการ/การผลิตเรียนอะไรบ้าง • การบริหารจัดการ/ การบริหารการผลิต • การควบคุมคุณภาพ/ คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต • ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม • กฎหมายอุตสาหกรรม • การวิจัยและดำเนินงาน/ การออกแบบเครื่องจักรกล • เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • การควบคุมอัตโนมัติในอุตสาหกรรม • คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
ลักษณะของบุคคลที่เหมาะกับวิชาชีพนี้ลักษณะของบุคคลที่เหมาะกับวิชาชีพนี้ • มีความรับผิดชอบสูง ซื่อสัตย์ • มีทัศนคติที่ดีต่อการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง • มีใจเปิดกว้างต่อการรับฟังความเห็นผู้อื่น • ช่างสังเกต ไขว่รู้ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ • มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เชิงวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ • มีทักษะในการบริหารจัดการ • มีทักษะในการพิจารณาใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
ขอบเขตความรับผิดชอบ และลักษณะงาน เป็นสาขาที่มีความสำคัญ ลักษณะงานที่รับผิดชอบต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ การทำงานอาจก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นอันตรายต่อสาธารณะได้ วิชาชีพนี้จึงเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม 2505 1.งานออกแบบและคำนวณ: งานอสก.ของโรงงานที่ใช้ลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 50 -150 คน / สามัญวิศวกร 50 -300 คน ] หรือ ของโรงงานที่ต้องลงทุนตั้งแต่ ห้าล้านบาทขึ้นไป(ไม่รวมที่มูลค่าที่ดิน) [ภาคีวิศวกร 5 -15 ล้าน / สามัญวิศวกร 5 -30ล้าน ] 2. งานควบคุมการสร้าง: การอำนวยการควบคุมดูแลการสร้างในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการให้เป็นไปถูกต้องตามหลักวิชาการ แบบ รูป และข้อกำหนดสำหรับงานอสก.ตามข้อ1
ขอบเขตความรับผิดชอบ และลักษณะงาน 3. งานพิจารณาตรวจสอบ: การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ หรือการหาข้อมูลและสถิติต่างๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยในงานสาขานี้ 4. งานวางโครงการ : การวางแผนผัง หรือการวางแผนงานการสร้างหรือ การประกอบสิ่งใดๆ ในงานสาขานี้ สำหรับโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป[ภาคีวิศวกร 10 -20 ล้าน / สามัญวิศวกร 10-40ล้าน ] 5. งานควบคุมการผลิต : วัสดุสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูป งานหลอมโลหะ งานหล่อโลหะ งานรีดโลหะ งานเคลือบโลหะ งานอบชุบ งานชุบหรือแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ สำหรับงานอุตสาหกรรมของโรงงานตามข้อ 1
ขอบเขตความรับผิดชอบ และลักษณะงาน 6. งานควบคุมการถลุงแร่ และงานทำโลหะให้บริสุทธิ์: สำหรับปริมาณการผลิตดังนี้ ดีบุก วันละ 2 ตันขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 2-10 ตัน / สามัญวิศวกร 2-10 ตัน ] ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือ พลวง ตั้งแต่วันละ 5 ตันขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 5-20 ตัน / สามัญวิศวกร 5-200 ตัน ] เหล็กหรือ เหล็กกล้าตั้งแต่วันละ 10 ตันขึ้นไป [ภาคีวิศวกร 10-20 ตัน / สามัญวิศวกร 10-200 ตัน ] 7. งานให้คำปรึกษา : ข้อแนะนำและการตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขานี้
วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมอุตสาหการปฏิบัติงานตามขอบเขต ๗ ลักษณะงานของวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมอุตสาหการได้ทุกอย่างและทุกขนาด งานออกแบบแผนผังโรงงาน (plant lay-out design) อาทิเช่น การจัดทำเอกสารขั้นตอนการผลิต การจัดทำแบบแปลนรวมอาคารและบริเวณโรงงาน งานจัดทำแผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักรและการประเมินแรงม้าเครื่องจักรโรงงาน งานออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน งานออกแบบระบบบำบัดอากาศเสียโรงงาน งานออกแบบระบบขจัดมลพิษเสียงโรงงาน และงานจัดการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายโรงงาน เป็นขอบเขตลักษณะงานและความรับผิดชอบของวิศวกรสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมอุตสาหการกับการพัฒนาอุตสาหกรรมวิศวกรรมอุตสาหการกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • ก.ค. 2518 ทีมอาจารย์วิศวฯ ม.อ. ได้ไปเยี่ยมชมนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ สตูล และ ดร.สัณห์ชัยกับทีมงานจากภาค IE ได้ช่วยประกอบเครื่องหีบน้ำมันปาล์มแบบไฮโดรลิคส์ที่สั่งซื้อมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ • ก.ย.2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จทอดพระเนตรสวนปาล์มน้ำมันที่นิคม ดร.สัณห์ชัยกับทีมงานจากภาค IE ได้ถวายการสาธิตเครื่องหีบน้ำมันปาล์ม พระองค์ทรงรับสั่งให้ทีม อาจารย์ลองออกแบบและสร้างเครื่องจักรสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กให้ครบกระบวนการโดยไม่ต้องจัดซื้อจากต่างป.
โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • ก.ย.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ สมเด็จพระเทพฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ได้เสด็จมายังนิคมอีก ทีมดร.สัณห์ชัยได้ถวายการสาธิตเครื่องเครื่องจักรและอุปกรณ์สกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่ได้ออกแบบและสร้างไว้แล้ว • ต.ค.2526 ทรงมีพระราชดำริให้คณะวิศวฯ ม.อ. ทำการออกแบบและพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กสำหรับกลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อย • 2533 คณะวิศวฯ ม.อ. สร้างโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ. นราธิวาส
โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • 2540 สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มระบบทอดสุญญากาศขนาด 1 ตันทะลายต่อชม.ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ. นราธิวาส • 2545 สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มระบบทอดสุญญากาศขนาด 2 ตันทะลายต่อชม.ที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ. กระบี่ • 2545 สร้างรง.ผลิตไบโอดีเซลขนาด 1000 ลิตร ขึ้นที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และได้จำหน่ายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย รง.อสก.และบุคคลทั่วไป แล้วกว่า 800,000 ลิตร • 2546 สร้างรง.ผลิตไบโอดีเซลขนาด 400 ลิตร ขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ. นราธิวาส และ 2549 ขยายกำลังผลิตเป็น 1000 ลิตร
โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซลสนองพระราชดำริฯ • 2548-49 มูลนิธิชัยพัฒนามอบหมายให้ คณะวิศวฯ ม.อ. รับผิดชอบการออกแบบและสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและผลิตไบโอดีเซลระดับชุมชน (ขนาด 400 ลิตร/วัน ) ที่ ต. หนองพลับ หัวหิน ประจวบฯ • ม.ค.2549 สมเด็จพระเทพฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรรง.สกัดน้ำมันปาล์มและผลิตไบโอดีเซลที่คณะวิศวะฯ ม.อ. • จนถึงปัจจุบัน มูลนิธิชัยพัฒนาได้อนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไบโอดีเซลให้กับคณะวิศวะฯ ม.อ. อย่างต่อเนื่อง
การออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็กการออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็ก ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมากกว่า 200,000 ไร่ เพื่อส่งเป็นวัตถุดิบให้รง แปรรูปเพื่อการส่งออก ทำรายได้ให้ประเทศปีละประมาณ 80,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็น กุ้งไว้หัว กุ้งเด็ดหัว กุ้งยืด ก้งชุบแป้งขนมปัง กุ้งต้มแช่แข็ง เป็นต้น • ที่มาของปัญหา ฟาร์มเลี้ยงกุ้งแห่งหนึ่ง ใน อ.เทพา สงขลาได้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ และกุ้งขาวแวนาไมด้วยระบบปิด ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่คือกุ้งขาวแวนาไมรมควันทั้งชนิดเย็น และร้อน
การออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็กการออกแบบวางผังรง.ผลิตกุ้งรมควันขนาดเล็ก • แนวทางการทำงาน ศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และกรรมวิธีการผลิต รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ทำการออกแบบเครื่องจักร-เครื่องอบรมควันกุ้ง ระบบเครื่องทำความเย็นสำหรับฟรีซกุ้งรมควันเย็น คำนวณ จน.คนงานที่ต้องใช้ แล้วทำการออกแบบวางผังรง. และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ตามขนาดกำลังผลิตที่กำหนด คำนวณต้นทุนการแปรรูป งบประมาณการลงทุน วิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน • ผล โรงงานกุ้งรมควันต้องใช้งบประมาณลงทุนรวม 32.60 ล้านบาท ได้ผลตอบแทนการลงทุนภายใน (IRR) 59.11%มีระยะเวลาคืนทุน 3.2 ปี
การประยุกต์ระบบควบคุมคุณภาพสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากโลหะแผ่นการประยุกต์ระบบควบคุมคุณภาพสำหรับโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากโลหะแผ่น • ปัญหาคือ ด้านคุณภาพ(ของเสียในกระบวนการผลิตสูงมาก) ขาดระบบคุณภาพที่ดี ไม่มีการนำสถิติมาใช้ ไม่มีคู่มือวิธีการทำงาน ไม่มีแผนคุณภาพในการตรวจสอบ ไม่มีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง • การแก้ไข นำระบบคุณภาพที่เหมาะสมกับโรงงานมาประยุกต์ใช้ จัดทำรายละเอียดข้อกำหนดหน้าที่งาน สร้างระบบคุณภาพเพื่อให้สามารถ วัด วิเคราะห์ ปรับปรุง และควบคุมคุณภาพในการผลิต • ผลคือ ลดของเสียในหน่วยพ่นสีจาก 31.5%เหลือเพียง 8.5%และลดการส่งคืนผลิตภัณฑ์จากลูกค้า จาก 2.6%เหลือ 0.8%
การเพิ่มผลผลิตในโรงงานถักผ้าโดยการบำรุงรักษาเชิงป้องกันการเพิ่มผลผลิตในโรงงานถักผ้าโดยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน • ปัญหา ผลผลิตและประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรต่ำ โดยสาเหตุมาจากขาดการดำเนินงานในด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี • แก้ไข โดยการจัดระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน preventive maintenance system • ผล คือ ลดต้นทุนการผลิต จาก การลดความสูญเสียเวลาเนื่องจากเครื่องจักรหยุดการผลิต และเนื่องจากของเสียจากกระบวนการทำให้โรงงานมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 6.7 %
การปรับปรุงผังโรงงานให้เหมาะสมโดยการจำลองแบบทางคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ • ปัญหา การวางตน.เครื่องจักรไม่เหมาะสม ส่งผลให้พนง.ใช้ระยะทาง และเวลาในการขนถ่ายลำเลียงมากเกินความจำเป็น • แก้ไข ศึกษาและปรับปรุงผังรง.ในสายการผลิตชิ้นส่วนขึ้นรูปโดยใช้โปรแกรม ชื่อ promodelมาใช้ในการจำลองแบบปัญหา • ผลคือลดเวลาในการขนถ่ายลำเลียงเพราะลดระยะทางการเคลื่อนที่ลงได้ 64.9 %
การเพิ่มประสิทธิภาพการต้มเยื่อสาโดยใช้หม้อต้มความดันการเพิ่มประสิทธิภาพการต้มเยื่อสาโดยใช้หม้อต้มความดัน • ปัญหา คือ มลพิษจากการผลิต เนื่องจากการผลิตกระดาษสาเป็นอสก. ที่ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากในการผลิต และใช้น้ำในขั้นตอนการต้มเยื่อในปริมาณมาก • แก้ไข ปรับปรุงการผลิต โดยการใช้หม้อต้มความดันแทนวิธีการเดิม และศึกษาวิเคราะห์หาสภาวะการต้มที่เหมาะสม ปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม แต่คุณภาพไม่ด้อยกว่าเดิม • ผลที่ได้คือ การใช้หม้อต้ม ขนาด 0.54 ลบ.ม. ต้มได้ครั้งละ 50 กก. ต้มที่ความดัน 1.2 บาร์ อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 2.5 ชม. พบว่า การใช้น้ำลดลง 25% การใช้สารเคมีลดลง 50 %ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการต้มเยื่อ 100 กก.ลดลงจาก 498 บาท เหลือ 295 บาท
การลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ กรณีศึกษา บริษัทสยามฟิตติ้งส์ จำกัด • ปัญหา คนงานมีอาการปวดหลัง และเมื่อยล้า จากการสำรวจสุขภาพ พนง. 12 คน พบว่า ปวดเอว 84 % ปวดหลัง และ ข้อมือ อย่างละ 8 %เท่ากัน • การแก้ไข ต้องการลดและป้องกันอาการปวดหลัง และเมื่อยล้า ของคนงานในแผนกทำแบบ จึงวิเคราะห์ท่าทางการทำงาน และลักษณะงานในปัจจุบัน พบว่า มีการยกวัตถุชิ้นงานที่มีนน.เกินค่า RWL มีการหมุนตัวแลบิดตัวมากเกินไป ความสูง ความลาดเอียง และระยะห่างไม่เหมาะสม • การปรับปรุง และผล คือ ปรับปรุงสถานีงานใหม่ พร้อมทั้งท่าทางการทำงาน ทำให้ค่า RWL สูงขึ้น ถึง 48.85% และพนักงานลดการบาดเจ็บจากการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญ
การจัดตารางการผลิต โรงงานประกอบโคมไฟฟ้าสำเร็จรูป • ปัญหา มีการปรับแผนการผลิตบ่อยครั้งเพื่อสนองตอบต่อความต้องการลูกค้า เช่น เลื่อนแผนการผลิตเดิมให้เร็วขึ้น หรือช้าลง การเพิ่มขึ้นหรือยกเลิกจน.การผลิตอย่างกะทันหัน การแทรกงานใหม่เข้ามา การสลับลำดับการผลิตของสินค้าต่างรุ่น เนื่องจากความล่าช้าของชิ้นส่วนที่จะนำมาใช้ การเสียเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร ปัจจุบันผจก. ฝ่ายผลิต เป็นคนทำหน้าที่วางแผนการผลิต และปรับแผนให้เหมาะสม และเนื่องจากงานที่นำมาจัดมีจำนวนมาก ทำให้ตารางที่จัดขึ้นมีปสภ.ต่ำ • การแก้ไข และผล พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดตารางการผลิต ซึ่งโครงสร้างโปรแกรม ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน การจัดตาราง การเปลี่ยนแปลงตาราง และการแสดงผล ผลการทดสอบโปรแกรมพบว่า จน.งานที่ล่าช้า เวลาปิดของงาน เวลาเฉลี่ยของงานในระบบ ลดลงอย่างชัดเจน
คำปฏิญญาวิศวกร ข้าฯ คือวิศวกร ข้าฯ มีความภูมิใจอย่างยิ่งกับอาชีพของข้าฯ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะความอหังการ ข้าฯ มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามโดยดุษฎี.................. ขอบคุณ