340 likes | 1.02k Views
การรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละภูมิภาค และเขตการค้าเสรี. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ. นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน (Protective Policy). นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy). นโยบายการค้าเสรี คือ นโยบายการค้าที่ส่งเสริมการค้า
E N D
การรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละภูมิภาคการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละภูมิภาค และเขตการค้าเสรี
นโยบายการค้าระหว่างประเทศนโยบายการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการค้าเสรี(Free Trade Policy) นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน(Protective Policy)
นโยบายการค้าเสรี(Free Trade Policy) นโยบายการค้าเสรี คือ นโยบายการค้าที่ส่งเสริมการค้า ระหว่างกัน โดยรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมาก • ส่งเสริมการแบ่งงานกันทำ เลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ชำนาญ • ไม่มีการเก็บภาษีเพื่อคุ้มกัน แต่เก็บเพื่อเป็นรายได้รัฐเท่านั้น • ไม่มีการให้สิทธิพิเศษ หรือไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศ • ต่างๆ
นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน (Protective Policy) ประเทศที่ใช้นโยบายนี้จะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อกีดกันการนำเข้า ได้แก่ • การตั้งกำแพงภาษี เก็บภาษีในอัตราสูง เพื่อคุ้มครอง อุตสาหกรรมในประเทศ • ควบคุมปริมาณนำเข้า ส่งออก • มีการอุดหนุนการส่งออก
รูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • Free Trade Areaภาษีในกลุ่มเป็น 0 • Customs Unionภาษีในกลุ่มเป็น 0 + • ภาษีนอกกลุ่มอัตราเดียวกัน • Common Marketภาษีในกลุ่มเป็น 0 + • ภาษีนอกกลุ่มอัตราเดียวกัน + • เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตโดยเสรี • Economic Unionประสานนโยบายเศรษฐกิจการเงิน • การคลังเป็นหนึ่งเดียว • Supranational Unionมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ เข้มข้นมากที่สุด
ประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • ขยายการค้า • ดึงดูดการลงทุน • กระตุ้นการแข่งขัน และพัฒนาเทคโนโลยี • ช่วยในการปรับตัวของผู้ประกอบการ • สร้างอำนาจต่อรองในเวทีพหุภาคี • ลดอำนาจต่อรองของประเทศใหญ่
การเร่งรัดการเปิดเสรีสินค้าและบริการ 11 สาขา • การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนต.ค. 2546 ณ เกาะบาหลี ตกลงเปิดเสรีสินค้าและบริการในอาเซียนภายในปี 2010 ประกอบด้วย สาขายานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การท่องเที่ยว และการบิน โดยแบ่งกันรับผิดชอบ สาขาที่ไทยรับผิดชอบ คือ การบินและการท่องเที่ยว
การเร่งรัดการเปิดเสรีสินค้าและบริการ 11 สาขา(ต่อ) การบินคาดว่าไทยและสิงคโปร์ จะสามารถลงนามในความ ตกลงเปิดน่านฟ้าเสรี เที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า (Cargo Open Skies Agreement) การท่องเที่ยวASEAN ได้ดำเนินโครงการ Visit ASEAN Campaign(VAC) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อาเซียน และให้อาเซียนเป็น “Single Destination” สำหรับสาขาอื่นยังไม่มีความคืบหน้า
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • อาเซียนมีเป้าหมายจะยกระดับเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2020 โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ รวมทั้งเงินทุนได้อย่างเสรี
เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์อาฟต้าเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์อาฟต้า เป็นสินค้าที่มีการผลิตในอาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งประเทศ รวมกันแล้วคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 40% ของมูลค่าสินค้าและเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีลดภาษีของทั้งประเทศผู้ส่งออกและนำเข้า
สถานะความคืบหน้า การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ
อาเซียน - จีน • ผู้นำอาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามในFramework Agreement on Comprehensive Economic Cooperationในระหว่างการประชุมASEAN-China Summitเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ณ ประเทศกัมพูชา • มีการลดภาษีสินค้ากลุ่มแรกภายใต้ Early Harvest Programmeในพิกัด 01-08 ได้แก่สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ ปลาและอาหารทะเล นมและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ ผักและผลไม้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 และภาษีจะลดลงเหลือ 0% ภายในปี 2549
อาเซียน – จีน (ต่อ) • การลดภาษีสินค้าแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ - สินค้าปกติ (Normal list) เริ่มลดภาษีสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 จนเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2553 สินค้าใน list นี้มีได้ไม่เกิน 150 รายการที่จะยืดเวลาการลดภาษีร้อยละ 0 ออกไป ถึงปี 2555 - สินค้าอ่อนไหว (Sensitive list) เริ่มลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 20 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 0-5% ภายในปี 2561 สินค้าใน list นี้มีได้ไม่เกิน 400 รายการ และไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้า - สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly sensitive list) จะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 50 ของอัตราเดิม ในปี 2558 สินค้าใน listนี้มีได้ไม่เกิน 100 รายการ
ไทย - จีน • ลงนามในความตกลงเร่งลดภาษีผักและผลไม้ เมื่อ 18 มิถุนายน 2546 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน • สาระสำคัญครอบคลุมการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการให้เหลือ 0% ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2546 • ไทยยังประสบกับมาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษีต่างๆ ของจีน เช่น ระเบียบขั้นตอนในการนำเข้าผักผลไม้, มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย และ ยังคงมีการเก็บภาษีภายในของจีน
ไทย – จีน (ต่อ) • มีการจัดทำพิธีสารข้อกำหนดทางเทคนิคการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีน และจีนมาไทย ผลไม้จากไทยไปจีน ครอบคลุมสินค้า 5 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ และมังคุด ผลไม้จากจีนมาไทย ครอบคลุมสินค้า 5 ชนิด ได้แก่ แอปเปิ้ล แพร พืชสกุลส้ม (ส้ม ส้มโอ ส้มแทงเจอรีน มะนาว) องุ่น และ พุทรา
ไทย - อินเดีย • ลงนามในกรอบความตกลงเมื่อ 9 ต.ค. 46 ณ ทำเนียบรัฐบาล • สาระสำคัญครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า (เหลือ 0% ภายใน 2553) การค้าบริการ (ให้เสร็จสิ้นภายใน มกราคม 2549) และการลงทุน นอกจากนี้ ยังได้ตกลงแนวทางการเจรจา เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน รวมถึงการลด/ ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barrier) • ตกลงให้มีการลดภาษีบางส่วนทันที (Early Harvest) โดยทยอยลดปีละ 50% 75% และ 100% ตั้งแต่ 1 มี.ค. 47 ถึง 1 มี.ค. 49 ครอบคลุมสินค้า 84 รายการ
ไทย - บาห์เรน • ลงนามในกรอบความตกลงเมื่อ 29 ธ.ค. 45 โดยจัดทำรายการ ลดภาษีในเบื้องต้น (Early Harvest)626 รายการ โดยมีอัตราภาษีที่ 0% และ 3% • สำหรับรายการสินค้าที่เหลืออีกประมาณ 5,000 รายการ จะได้เจรจาต่อไปให้เสร็จภายในปี 2547 โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งอัตราภาษีจะลดเหลือ 0% ภายในปี 2548 2550 และ 2553 ตามลำดับ
ไทย - เปรู • ลงนามในกรอบความตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เมื่อ 17 ต.ค. 2545 ครอบคลุมสินค้า บริการ และการลงทุน ให้เป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ในปี 2558 (ยกเว้นรายการอ่อนไหว) • เริ่มเจรจาต้นปี 2547 และมีเป้าหมายเจรจาให้เสร็จภายในกลางปี 2548
ไทย - ออสเตรเลีย • ลงนามในความตกลงแล้วเมื่อ 5 ก.ค. 47 ณ กรุงแคนเบอร์รา ซึ่งความตกลงจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 • ออสเตรเลียลดภาษีเหลือ 0% ประมาณ 83% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือจะทยอยลดเหลือ 0% ภายในปี 2553 และ 2558 • ส่วนไทยลดเหลือ 0% ประมาณ 49% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือลดเหลือ 0% ภายใน 10, 15 และ 20 ปี โดยมีมาตรการ Special Safeguard สำหรับสินค้าบางรายการ • ไทยสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจบริการต่าง ๆ ได้
ไทย - ญี่ปุ่น • นายกไทย-ญี่ปุ่นร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิด (JTEP) เมื่อ 11-12 ธันวาคม 2546 ณ กรุงโตเกียว • ยังไม่สามารถประกาศเริ่มต้นการเจรจาอย่างเป็นทางการ เนื่องจากประเด็นเรื่องสินค้าเกษตร • มีการประชุมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 1 เมษายน 2548ครั้งที่ 7 ซึ่งผลการหารือของทั้งสองฝ่ายหาข้อสรุปในหลักการได้ในเกือบทุกบท ยกเว้น เหล็ก ยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
ไทย – ญี่ปุ่น (ต่อ) สำหรับในด้านการค้าสินค้า ฝ่ายญี่ปุ่นยอมเปิดตลาดสินค้าเกษตรสำคัญบางตัว อาทิ เนื้อไก่ แป้งมันสำปะหลังแปรรูป กากน้ำตาล ผลไม้ ตลอดจนยอมให้มีความร่วมมือด้านมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)
ไทย - สหรัฐฯ • นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร และประธานาธิบดีบุช หารือกันเมื่อ 19 ต.ค. 2546 ที่กรุงเทพฯ และเห็นชอบที่จะให้มีการเจรจา FTAระหว่างไทย-สหรัฐฯ • การเจรจารอบที่ 1 วันที่ 28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2547 ณ เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย มีการหารือในเรื่องการลดภาษีและการใช้ trigger priceใน special safeguardสินค้าอ่อนไหวของแต่ละฝ่าย
ไทย – สหรัฐฯ (ต่อ) • การเจรจารอบที่ 2 วันที่ 11-15 ตุลาคม 2547 ณ เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย ผลการหารือที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกาจะยกเลิกการใช้มาตรการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่ส่งมายังประเทศคู่ภาคี • รอบที่ 3 วันที่ 4-8 เมษายน 2548 ณ เมืองพัทยา ประเทศไทย สาระสำคัญคือ ไทยและสหรัฐอเมริกาแสดงท่ามีชัดเจนในเรื่องการลดการอุดหนุนการผลิต และการส่งออกสินค้าเกษตร ระบบการลดภาษี
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไทยประสบอยู่ในปัจจุบันมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไทยประสบอยู่ในปัจจุบัน มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD) สหรัฐฯ:สับปะรดกระป๋อง เฟอร์ฟูลอัลกอฮอล์ ข้อต่อเหล็ก และท่อเหล็ก แคนาดา :สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อน สหภาพยุโรป :โทรทัศน์สี, ข้อต่อท่อเหล็ก, เส้นใยสงเคราะห์ชนิดสั้น, เม็ดพลาสติก, เส้นลวดเหล็กเกลียว
มาตรการด้านสุขอนามัย ออสเตรเลีย:ไก่ ทุเรียน เม็กซิโก:ข้าว สหภาพยุโรป:สมุดปกขาวเรื่องความปลอดภัยของอาหาร
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการบรรจุภัณฑ์ มาตรการฉลากสีเขียว มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานแรงงานและสิทธิมนุษยชน การให้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP)
การปรับตัวของไทย ภาครัฐ • ดูแลให้การจัดทำกฎระเบียบของไทยมีความสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของโลก รับรู้และตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การค้า ปรับปรุงกฎหมายและมาตรการของไทยให้มีความพร้อม ปรับโครงสร้างการผลิตทั้งด้านการเกษตอุตสาหกรรมและบริการ
การปรับตัวของไทย (ต่อ) ภาครัฐ(ต่อ) • ปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรทั้งระบบให้เหมาะสม ปรับโครงสร้างของกระทรวง ทบวง กรม ให้มีประสิทธิภาพ เร่งรัดนโยบาย e-Thailand และ e-Government
การปรับตัวของไทย (ต่อ) ภาคเอกชน • ติดตามความเคลื่อนไหวของทิศทางการค้าโลกอยู่เสมอ ร่วมมือในการให้ข้อคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ในการเจรจากับภาครัฐ ปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาทรัพยากรบุคคลในระดับต่างๆ รองรับ เทคโนโลยีใหม่ๆ
การปรับตัวของไทย (ต่อ) ภาคเอกชน(ต่อ) • ขยายการลงทุนออกไปในต่างประเทศ ปรับกลยุทธ์ทางการค้า รวมทั้งสร้างพันธมิตร ทางการค้าในตลาดต่างประเทศ ประสานความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม