2.39k likes | 6.19k Views
การควบคุมคุณภาพ Quality Control. การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน. การควบคุมคุณภาพ คุณภาพ หมายถึง ลักษณะและคุณสมบัติทั้งหมดของสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้. การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน. ลักษณะคุณภาพ จำแนกได้ดังนี้ หน้าที่ใช้งาน ความทนทานและอายุการใช้งาน
E N D
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน การควบคุมคุณภาพ • คุณภาพ หมายถึง ลักษณะและคุณสมบัติทั้งหมดของสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน • ลักษณะคุณภาพ จำแนกได้ดังนี้ • หน้าที่ใช้งาน • ความทนทานและอายุการใช้งาน • รูปร่างลักษณะ • การบริการหลังการขาย
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน ความสำคัญของคุณภาพ • ชื่อเสียงขององค์กร • กำไรขององค์กร • ลูกค้าเชื่อถือ ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ขยายกำลังการผลิต ต้นทุนลดลง • ตั้งราคาได้สูงขึ้น
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน • จำนวนของเสียลดลง ลดการซ่อมแซมสินค้า ต้นทุนการผลิตลดลง • ลดต้นทุนการประกันคุณภาพ ต้นทุนการบริการหลังการขายลดลง 3. ความไว้วางใจต่อองค์กร 4. ชื่อเสียงของประเทศชาติ
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน • การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หมายถึง การจัดเกี่ยวกับการควบคุมวัตถุดิบ และการควบคุมการผลิตเพื่อป้องกันไม่ให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีข้อบกพร่อง และเกิดการเสียหาย การควบคุมเป็นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข
ตัวอย่างเครื่องมือในการวัดคุณภาพตัวอย่างเครื่องมือในการวัดคุณภาพ TQC JIT TPM QCC Suggestion QC VE Kaizen KYT ISO9000 ISO 14000 Problem Solving สร้างนิสัย (Shisuke) A สะสาง (Seiri) P C D สุขลักษณะ (Seiketsu) สะดวก (Seiton) สะอาด (Seiso)
ตัวอย่างเครื่องมือในการวัดคุณภาพ TQC JIT TPM QCC Suggestion QC VE Kaizen KYT ISO9000 ISO 14000 Problem Solving สร้างนิสัย (Shisuke) A สะสาง (Seiri) P C D สุขลักษณะ (Seiketsu) สะดวก (Seiton) สะอาด (Seiso)
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน ระบบเพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ที่เป็นที่นิยม • อนุกรมมาตรฐาน ISO9000 หรือเรียกย่อว่ามาตรฐาน ISO9000
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน • ISO หมายถึง องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) • มาตรฐาน ISO แบ่งออกเป็นเรื่องต่างๆ เช่น ISO9000 เป็นมาตรฐานการบริหารงานคุณภาพ และประกันคุณภาพ แนวทางการเลือกและการใช้
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน มาตรฐาน ISO9000 มีมาตรฐานเพื่อการขอรับรอง3มาตรฐาน • ISO9001 ระบบคุณภาพแบบการประกันคุณภาพในการออกแบบ/พัฒนา การผลิต การติดตั้งและการบริการ ประยุกต์ใช้กับธุรกิจที่ทำการออกแบบสินค้าหรือบริการเอง ผลิตติดตั้งและให้บริการลูกค้า มีกิจการครบทุกขั้นตอนตั้งแต่ออกแบบจนถึงบริการหลังการขาย
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน 2. ISO9002 ระบบคุณภาพแบบการประกันคุณภาพในการผลิต ติดตั้ง และบริการ ประยุกต์ใช้กับธุรกิจที่มิได้ทำการออกแบบสินค้าเอง โดยอาจจะใช้แบบที่ลูกค้ากำหนดให้หรือโรงงานที่ใช้แม่แบบจากบริษัทแม่ส่งมา
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน 3. ISO9003 ระบบคุณภาพแบบประกันคุณภาพในการตรวจและการทดสอบขั้นสุดท้าย ประยุกต์ใช้กับธุรกิจที่มิได้ผลิตสินค้าเอง ทำแต่เฉพาะการตรวจสอบและทดสอบสินค้าเท่านั้น
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดหาและการผลิต การตรวจสอบและทดสอบ การติดตั้ง การบริการ ISO9003 ISO9002 ISO9001
การวางแผนการผลิต และการดำเนินงาน ประโยชน์ของการควบคุมคุณภาพ • ลดค่าใช้จ่าย เช่น ลดความเสียหายในการผลิต ลดการทำงานซ้ำซ้อน • ลดค่าใช้จ่ายภายนอกโรงงาน เช่น ค่าโฆษณา • ทำให้ขายผลผลิตได้ในราคาที่ตั้งไว้ เพราะสินค้ามีคุณภาพ • ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น • ทำให้ขวัญ กำลังใจของพนักงานดีขึ้น และอื่นๆ
การควบคุมคุณภาพเชิงรวมTotal Quality Control(TQC)
มารู้จักกับ TQC • ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร • TQC คือกิจกรรมที่พนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกหน่วยงานทําหรือ ร่วมกันทําเป็นประจํา เพื่อปรับปรุงงานอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง โดยทํ าอย่างมีระบบ ทําอย่างเชิงวิชาการ อิงข้อมูล และมีหลักการที่สมเหตุ สมผล เพื่อจุดมุ่งหมายที่ทํ าให้ลูกค้าพึงพอใจในคุณภาพสินค้าและบริการ • T = TOTAL หมายถึง ทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงาน และทุกวัน • Q = QUALITY หมายถึง คุณภาพสินค้า คุณภาพบริการ และคุณภาพ ของงานประจํ าวันทุกชนิด (DAILY WORK)
QUALITY ตามความหมาย TQC มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ 1. คุณภาพ (Quality = Q) หมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการ และคุณภาพของงานระหว่างทำ 2. ต้นทุน (Cost = C) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ และการทำงาน ซึ่งจะมีผลต่อราคาสินค้า และบริการนั้น 3. การส่งมอบ (Delivery = D) หมายถึง การส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง ไปในสถานที่ที่ถูกต้อง และตรงตามเวลาที่นัดหมาย 4. ความปลอดภัย (Safety=S) ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ/ลูกค้า รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ 5. ขวัญของพนักงาน (Morale = M) หมายถึง การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีความเชื่อว่าขวัญและกำลังใจของพนักงานมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน และการปรับปรุงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ความหมายของ TQC ในมุมมองต่างๆ (ต่อ) • ดร. เฟเกนบาม ( Dr. Feigenbaum ) กล่าวไว้ว่า TQC คือ ระบบหรือวิธีการที่รวบรวมความพยายามของกลุ่มต่างๆในองค์กร ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพในอันที่จะให้การผลิตและการบริการอย่างประหยัดที่สุด โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าอย่างรอบคอบ • ดร. จูแรน ( Dr. Juran ) ผู้ศึกษาและพัฒนา TQC อีกผู้หนึ่ง กล่าวว่า TQC เป็นกิจกรรมทุกกิจกรรมที่สมเหตุสมผล ที่ทำให้คุณภาพเป้าหมายสัมฤทธิ์ผล *
ความหมายของ TQC ในมุมมองต่างๆ • อิชิโร มิยาอูชิ ( Ichiro Miyauchi ) ให้คำจำกัดความของ TQC คือ กิจกรรมที่จะสร้างระบบควบคุมคุณภาพเชิงรวมหรือที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยการร่วมมือกันทั้งบริษัททำการพัฒนาผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่มีความเชื่อถือได้สูง เพื่อที่จะให้ผู้ใช้สินค้านั้นมีความพอใจในสินค้าในระยะยาว *
ในอดีตผู้ผลิตสินค้าจะเน้นความพอใจของผู้ผลิตเป็นสำคัญ นั่นคือ ยึดถือคุณภาพของสินค้าตามที่ผู้ผลิตกำหนดเป็นมาตรฐานในการผลิตเท่านั้น
ต่อมาในปัจจุบัน ความหมายตามแนวความคิดดั้งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปคำจำกัดความของคุณภาพคือ ความพอใจของผู้ใช้หรือคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ความหมายของการควบคุมคุณภาพเชิงรวมความหมายของการควบคุมคุณภาพเชิงรวม มีความหมาย 3 ประการ 1. เป็นการรวมกิจกรรมทุกๆ อย่างในองค์กรเข้าด้วยกัน 2. เป็นการร่วมมือกันของทุกๆ ฝ่ายในองค์กร 3. เป็นการร่วมมือกันของทุกคนในองค์กร *
TQC วิวัฒนาการของการควบคุมคุณภาพ • TQC เป็นวิวัฒนาการอีกชั้นหนึ่งของการควบคุมคุณภาพ (QC) • เริ่มเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 • โดยที่ญี่ปุ่นได้แรงจูงใจมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา • เริ่มแรกนั้นเป็นการใช้ QC ในเชิงสถิติ SQC( StatisticalQualityControl ) แล้วก็เกิดกลุ่ม QCC( QualityControlCircle ) *
จุดบกพร่องในกิจกรรม QC มีสาเหตุดังต่อไปนี้ 1. คิดว่า เมื่อได้แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ QC แล้วก็ถือว่าการทำ QC นี้สมบูรณ์ 2. คิดว่า ตัวเองไม่จำเป็นต้องไปสนใจในเรื่อง QC มากนัก 3. คิดว่า บริษัทได้ทำกิจกรรม QC มาตั้งเกือบ 10 ปีถือว่าเพียงพอแล้ว 4. คิดว่าได้ส่งพนักงานบริษัทไปรับการอบรมเรื่อง QC ก็เป็นสิ่งเพียงพอแล้ว 5. คิดว่า ไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าและงานที่ทำก็ได้หากต้นทุนลดต่ำลง *
หลักการของ TQC (ต่อ) TQC ได้วิวัฒนาการมาจาก QCC กิจกรรมกลุ่ม QCC เป็นพื้นฐานที่ค้ำจุน TQC ดังนั้น TQC จะต้องมีกิจกรรมกลุ่ม QCC อยู่ด้วยเสมอ โดยมีหลักการดังนี้ 1. เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ภายใต้ความสำนึกที่ว่ากิจการที่ทำอยู่ในองค์กรเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกิจการของตนเอง ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีหน้าที่พัฒนาปรับปรุงงานต่างๆ ภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ภายใต้การปฏิบัติงานที่มีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานอย่างเปิดเผย *
2. รับฟังความคิดเห็นต่างๆ โดยให้ความเคารพในความคิดเห็นของบุคคลอื่น พูดจาด้วยเหตุและผล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นหลัก ตัดเรื่องปัญหาภูมิหลังต่างๆ ของเพื่อนร่วมงานออกไป เสริมสร้างให้มีการแสดงออกอย่างเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพอันดี และจะเป็นผลทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่น่าอยู่ น่าสนุกสนาน * . หลักการของ TQC
ผลจากจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ (ต่อ) 1. ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน เสริมสร้างความเข้าใจให้พนักงาน รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ 2. ก่อให้เกิดความรู้ ความสามารถมากขึ้น 3. ทุกคนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น เป็นการแสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ เป็นการยกระดับจิตใจของพนักงานก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงานของสำนักงาน 4. เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน 5. สามารถนำความรู้ในการสร้างคุณภาพมาใช้ประโยชน์ต่อตนเอง *
ผลจากจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติผลจากจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ 6. ทำให้ทุกคนมีความสบายใจในการทำงาน ไม่มีความขัดแย้งกันในการ ปฏิบัติงาน หันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษา 7. ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงาน 8. ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เข้าสู่คำว่า “คุณภาพ” อย่างแท้จริง 9. ลดความสูญเสียของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ 10. ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 11. ลดค่าใช้จ่ายการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ 12. ก่อให้เกิดระบบการควบคุมคุณภาพทั้งองค์กร สร้างความเจริญให้กับ องค์กรที่ตนเองปฏิบัติอยู่ *
ขั้นตอนการปฏิบัติการสร้างกลุ่มสร้างคุณภาพขั้นตอนการปฏิบัติการสร้างกลุ่มสร้างคุณภาพ วัฏจักรของเดมิ่ง (Deming Cycle) คือ 1. การวางแผน ( plan : P ) 2. การปฏิบัติ ( do : D ) 3. การตรวจสอบ ( check :C ) 4. การปรับปรุงแก้ไข ( action : A ) *
1. ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มสร้างคุณภาพ กลุ่มสร้างคุณภาพจะเกิดขึ้นได้สิ่งสำคัญ คือ จะต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติกลุ่มสร้างคุณภาพ ด้วยการจัดอบรมปูพื้นความคิด พื้นฐานในหลักการปฏิบัติกลุ่มสร้างคุณภาพ และขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมการสร้างคุณภาพ ชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกลุ่มสร้างคุณภาพ *
2. ขั้นตอนการปฏิบัติในกลุ่มสร้างคุณภาพ • ขั้นวางแผน • ขั้นการปฏิบัติ • ขั้นการตรวจสอบ • ขั้นการปรับปรุง *
ขั้นการวางแผน ก. ระบุถึงปัญหาต่างๆ ที่ต้องการปรับปรุง ข. เก็บรวบรวมข้อมูล ค. กำหนดหัวข้อและแสดงภาพของปัญหา ง. กำหนดเป้าหมายที่แน่นอน จ. เลือกวิธีการแก้ไขปรับปรุง *
ขั้นการปฏิบัติ หลังจากได้ดำเนินการวางแผนขั้นต่าง ๆ แล้ว ในขั้นไปนี้จะเป็นขั้นของการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สาเหตุของแต่ละสาเหตุ *
ขั้นการตรวจสอบ เมื่อทำในขั้นที่2 แล้ว จะต้องตรวจติดตามผลงานที่ปฏิบัติไปด้วย *
ขั้นการปรับปรุง เป็นผลจากขั้นตอนการตรวจสอบจากที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 3 ที่ว่าถ้าได้ผลตามเป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายก็ได้นำผลการปฏิบัติต่างๆ มาจัดทำเป็นมาตรฐาน และถ้าได้ผลต่ำกว่าเป้าหมายก็ให้รีบแก้ไขปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น แล้วจึงจัดทำเป็นมาตรฐานงานการปฏิบัติเพื่อเสนอรายงานผลงานให้กลุ่มอื่นได้ทราบต่อไป *
ประโยชน์และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม TQC เมื่อมีการดำเนินกิจกรรม TQC กันแล้ว ก็จะเกิดผลที่ดีคือ ทำให้ 1. มีความสามารถในการค้นหาปัญหา 2. เห็นความสำคัญของการวางแผนงาน 3. เห็นความสำคัญของงานที่เป็นกระบวนการ 4. สามารถมุ่งสู่จุดหลักที่สำคัญได้ 5. พนักงานทุกคนรู้ซึ้งถึงความเป็นระบบ *
ข้อควรคำนึงในการดำเนินกิจกรรมข้อควรคำนึงในการดำเนินกิจกรรม 1. กำหนดจุดยืนและแนวความคิดในเรื่องการทำกิจกรรม TQC 2. กำหนดแนวทางให้แน่ชัด 3. การดำเนินการไปทั้งโครงสร้างนั้นจำเป็นจะต้องจัดสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบที่ดี 4. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างแน่นอนและมีประสิทธิภาพ จำเป็น จะต้องให้การศึกษากับพนักงานทุกคนในเรื่องของความคิดเกี่ยวกับ TQC รวมทั้งเทคนิควิธีด้วย *
ขั้นตอนการทำ TQC 1. จะต้องกำหนดระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน 2. ให้ทุกๆ ฝ่ายในบริษัททำความเข้าใจความคิด PDCA 3. ทำงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และทำให้พร้อมเพรียงทั้งบริษัท 4. ใช้เทคนิคทางสถิติ ( เครื่องมือ 7 อย่างของ QC ) ทั่วทั้งบริษัท 5. สร้างบริษัทให้มีระบบที่สามารถหาข้อบกพร่องได้อยู่เสมอ 6. พนักงานทุกคนในบริษัทจะต้องเข้าใจเรื่อง QCC ได้อย่างถูก 7. แม้จะอยู่ในบริษัทเดียวกันก็ตาม ให้คิดว่าผู้ที่ทำงานในขั้นตอนต่อไปคือลูกค้าที่ต้องให้ความสำคัญอย่างที่สุด *
เทคนิคการวิเคราะห์ 7 อย่าง 1. ใบตรวจสอบ ( check sheet ) 2. ฮีสโตแกรม ( histogram ) 3. แผนภูมิพาเรโต ( Pareto diagram ) 4. ผังก้างปลา ( fish – bone diagram ) หรือผังเหตุและผล ( Cause – Effect diagram ) 5. กราฟ ( graph ) 6. แผนภูมิกระจาย ( scatter diagram ) 7. แผนภูมิควบคุม ( controlchart )
1. ใบตรวจสอบ ( check sheet ) ชื่อผลิตภัณฑ์………………………………..หมายเลข………… ลักษณะที่วัด………………………………………………… ล็อตที่……………………………………….วันที่………………………… ขนาดของล็อต……………………………หน่วยที่ตรวจสอบ…………………… จำนวนที่ตรวจสอบ…………………………ตรวจสอบโดย……………………… หมายเหตุ………………………………………………………………………
3. แผนภูมิพาเรโต ( Pareto diagram )
4. ผังก้างปลา ( fish – bone diagram ) หรือผังเหตุและผล
6. แผนภูมิกระจาย ( scatter diagram )
ปัจจัยสำคัญในการบริหารงาน TQC • องค์กรมีนโยบายและเขียนเป็นนโยบายชัดเจน • มีอุดมการณ์ที่เน้นเรื่อง “คน” / ทํ าความเข้าใจอย่างชัดเจนในกลุ่ม พนักงานทุกระดับ • วางระบบบริหารคุณภาพทั้ง TOP-DOWN & BOTTOM-UP • เน้นการฝึกอบรม ให้ความรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง • TOP MGMT เป็นผู้นํ าในการปฏิวัติแนวความคิดใหม่ที่จะนํ าไปสู่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร • TQC ต้องทํ างานเป็นทีม ทํ าอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิงจาก • http://www.itech.lpru.ac.th/jakkit/iqm/4%E0%BE%D2%E0%C7%CD~1.PPT • http://www.isothai.com/Webboard/question.asp?QID=663