400 likes | 1.56k Views
การจัดการเรียนรู้แบบ สตอ รี่ ไลน์. ( Storyline Method ). เสนอ อาจารย์สุวิ สาข์ เหล่าเกิด. จัดทำโดย 1. นางสาวปริศนา ปากชิน เลขที่ 29 2.นางสาวชไมพร เชื้อดวง พุย เลขที่ 35
E N D
การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ( Storyline Method )
เสนอ อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด
จัดทำโดย 1.นางสาวปริศนา ปากชิน เลขที่ 29 2.นางสาวชไมพร เชื้อดวงพุย เลขที่ 35 3.นางสาวดวงจันทร์ มาตรา เลขที่ 39 4.นางสาววันทนา เพลียมา เลขที่ 43 5.นางสาวจิตรดา วงศิลา เลขที่ 47 ค.บ.ภาษาอังกฤษ กลุ่ม 2
ความหมาย การเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเทคนิคหนึ่งโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ว่าความรู้นั้นมีหลายขั้นตอนและซับซ้อน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากความรู้เดิมผสมผสานกับความรู้ใหม่ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น โดยผ่านการปฏิบัติด้วยตนเอง
ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของสตอรี่ไลน์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จะจัดกิจกรรมแบบบูรณาการประสบการณ์ทักษะในการวิเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์การจินตนาการและการตัดสินใจตลอดจนการทำงานร่วมกันภายในแนวทางการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่องกันซึ่งใช้ศิลปะเป็นสื่อและผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง (Bell & Fifield, 1998 )
วลัย พานิช ( 2542 ) สรุปว่า สตอรี่ไลน์เป็นวิธีสอนแบบบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรและกระบวนการ โดยสามารถรวมวิชาสังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ สิ่งแวดล้อมและภาษาสอนรวมกันได้ภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน
ทฤษฎี/แนวคิด สตอรี่ไลน์ เกิดจากสถานการณ์การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ในสหราชอาณาจักร เนื่องจากนักการศึกษาพบว่าผลดัชนีการเรียนรู้ในประเทศต่างๆ ของทวีปยุโรปอยู่ในเกณฑ์ตกต่ำอย่างน่าเป็นห่วง แต่ในขณะเดียวกันประเทศต่างๆ ในซีกโลกตะวันออกกลับมีการพัฒนาการในด้านต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น จนกลายเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญยากที่จะเอาชนะได้
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรจึงได้กำหนดนโยบายปฏิรูปการศึกษาขึ้น เพื่อให้ระบบการศึกษาของชาติในด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพโดยนำระบบการประกันคุณภาพมาใช้ในวงการศึกษาอย่างจริงจัง หวังที่จะแก้ไขปัญหาให้ได้ภายใน 10 ปี และคุณภาพทางการศึกษาของชาติจะได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการควบคุมคุณภาพการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การค้นคว้าวิจัยตลอดจนระบบการบริหารจัดการทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นต้นแบบให้กับประเทศต่างๆ
ในทวีปยุโรปที่เผชิญปัญหาในวิกฤตการณ์เดียวกันการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์จึงได้เกิดขึ้นและยังเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ได้รับการคิดค้นและพัฒนาในสกอตแลนด์ โดย Professor Steve Bell และ SallieHarknessซึ่งทำงานที่ Inservice department ของ Jordamhill college of education เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ และถือว่าเป็น Origination of Scottish Storyline Method
แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ Steve Bellได้เสนอหลักการที่จะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ไว้ดังนี้ 1.เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้ของตนเองและสิ่งที่สำคัญที่สุด ความรู้ประสบการณ์และทักษะเดิมของผู้เรียนในชั้นจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการออกแบบหัวเรื่องเพื่อสร้างความรู้ ประสบการณ์และทักษะใหม่ๆให้แก่ผู้เรียน
2.สร้างความตื่นตัวให้กับผู้เรียนตลอดเวลาโดยผู้เรียนใช้วิธีตั้งคำถามแล้วผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง โดยเน้นการแก้ปัญหาและการตัดสินใจซึ่งจะช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา ทักษะและทัศนะคติ 3.สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมหรือเป็นเจ้าของในการสร้างเรื่องนั้นๆทั้งในเรื่องของสถานที่ผู้คนที่อยู่อาศัย การดำเนินชีวิตตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผู้เรียนจะร่วมกันคิด และสร้างขึ้นมาจากการศึกษาค้นคว้ารวมทั้งจินตนาการด้วยกัน
4.ทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถเท่าเทียมกันผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นผู้จะเป็นผู้ที่ทำให้การเรียนรู้ค่อยๆ พัฒนาไปอย่างมั่นคง ผู้เรียนจะรู้สึกตัวเองไม่ถูกทอดทิ้งและมีโอกาสเท่าเทียมกันในการแสดงความสามารถที่แต่ละคนถนัดและสนใจใฝ่รู้ เพราะ โครงเรื่องที่เขียนขึ้นนั้นทุก 5.เชื่อมการฝึกทักษะพื้นฐานเข้ากับการดำรงชีวิตจริงโดยผู้เรียนจะสามารถฝึกทักษะนั้นๆซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นลักษณะการเรียนการสอนเรื่องราวสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุด เช่น ตัวเรา บ้านของเรา ครอบครัวของเรา
6.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งที่กว้างขวางกว่าที่มีไว้ในหลักสูตร เมื่อผู้เรียนได้สร้างจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและผู้อาศัยขึ้นมาแล้ว เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ค่านิยมทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น 7.ส่งสริมให้เกิดอารยธรรมขึ้นระหว่างผู้สอนและผู้เรียนโดยเรื่องราวต่างๆในกระดาษจะมีชีวิตจริงขึ้นมาได้ โดยการทำกิจกรรมและจินตนาการของผู้เรียนในห้องเรียน โดยทีครูทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการทำงานร่วมกัน และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
8.สงเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอุปกรณการเรียนการสอนที่เป็นของจริงตามเนื้อหาที่กำหนดซึ่งผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นผู้ใช้และฝึกฝนจนสามารถใช้ได้ดี 9.ช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียนรายบุคคลการที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของหนังสือภาพหรือหนังสือ เล่มเล็กที่สร้างขึ้นมารวมทั้งร่วมกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ภาษา ทำให้ผู้เรียนที่มีจุดอ่อนได้รับการพัฒนาอย่างมาก
10.เน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมหลายรูปแบบซึ่งคณะทำงานแบ่งกลุ่มเป็นงานเดียว จับคู่ กลุ่มย่อย หรือเรียนร่วมกันทั้งชั้น การเรียนรู้ร่วมกันจึงเป็นการพัฒนาวุฒิภาวะทางสังคม ทั้งนี้ในชีวิตจริงของคนในสังคมต่างก็ต้องช่วยกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน 11.ก่อให้เกิดการฝึกทักษะปฏิบัติที่ซ้ำๆกันแต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่การสอนแบบสตอรี่ไลน์ นอกจากจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียนยุเสมอ บ่อยครั้งยังเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะการปฏิบัติอีกด้วย
12.เน้นให้เห็นความสำคัญของการกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนารูปแบบความคิดรวบยอดด้วยตนเองก่อน ก่อให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงพัฒนางานซึ่งเป็นลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพนั่นเอง 13.เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการสตอรี่ไลน์เป็นวิธีการเรียนรู้แบบบูรราการทั้งเนื้อหาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โดยสามารถหลอมรวมเนื้อหาวิชาต่างๆเช่น สังคมศึกษา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาอังกฤษ ดนตรีนาฏศิลป์ ฯลฯ เข้ามาจัดการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน
14.เน้นเรื่องการตั้งคำถามของครูผู้สอน การตั้งคำถามของครูผู้สอนเป็นหัวใจของการเรียนการสอนแบบสตอรี่ไลน์เพราะคำถามหลักจะเป็นสื่อนำไปสู่ปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนอย่างหลากหลายและจะเป็นตัวเชื่อมโยงการดำเนินเรื่อง 15. เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้หรือวิธีสอนที่หลากหลาย ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบต่างๆ เช่น เกม บทบาทสมสุติ กระบวนการสอน สถานการณ์จำลอง สาธิต ทดลอง โครงงาน และการใช้แหล่งรู้ในท้องถิ่นเป็นต้น
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการนำวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์มาใช้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้มีดังนี้ อรทัย มูลคำ และคณะ(2542) 1.การสังเคราะห์และวิเคราะห์เนื้อหาของรายวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์แล้วแต่กรณีด้วยการร่วมมือกันในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และผู้สอน เพื่อพิจารณาอย่างละเอียดว่าองค์ความรู้ที่พึงประสงค์ จะจัดให้แก่ผู้เรียนนั้นได้แก่อะไรบ้าง แล้วกำหนดองค์รวมแห่งองค์ความรู้ที่พึงประสงค์ไว้ให้ชัดเจนในรูปของหลักสูตร หรือในรูปของหัวเรื่อง
2.การเขียนหลักสูตรหรือแผนการสอน โดยใช้เส้นทางการเดินเรื่อง (Topic line) ของวิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์เป็นกรอบในการเขียน โดยมีหัวเรื่องเป็นเครื่องกำหนดเนื้อหา ความแตกต่างของการบูรณาการหลักสูตรและการบูรณาการเรียนการสอนอยู่ที่คำถามนำที่ใช้แต่ละองค์ 3.การกำหนดเส้นทางการเดินเรื่องให้สอดคล้องกับหลักสูตรหรือหัวเรื่อง เส้นทางการเดินเรื่อง (Topic line) ที่ใช้เป็นกรอบสำหรับการดำเนินการโดยวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 องค์ด้วยกัน คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์ ลักษณะองค์ (episode)ทั้ง 4 ของวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ มีดังนี้
3.1ฉาก (setting)ได้แก่ สถานที่หรือภาพกว้างๆที่เป็นความคิดรอบยอดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของตัวละครในเรื่องนั้นๆและจะมีเงื่อนไขของเวลาเป็นตัวกำกับด้วย เช่น เวลาปัจจุบัน เวลา ในยุคประวัติศาสตร์ เป็นต้น 3.2ตัวละคร (character) ได้แก่ คนหรือสัตว์ที่มีชีวิตโลดแล่นอยู่ในเนื้อเรื่องโดยต้องคำนึงอยู่เสมอว่า จะต้องให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องที่จะเรียนด้วย โดยผู้เรียนจะมีฐานะเป็นตัวละครตัวหนึ่งของเรื่อง
3.3วิถีชีวิต หรือการดำเนินชีวิต(a way of life) ได้แก่ เรื่องราวที่เป็นการดำเนินชีวิตโดยปกติของตัวละครในสถานที่และเวลาตามฉากที่กำหนด 3.4 เหตุการณ์ (events)ได้แก่ เหตุการณืต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่ตัวละครต้องเผชิญ เช่น การผจญภัย การท่องเที่ยว เป็นต้น
ชนาธิป พรกุล (2543) ได้อธิบายการเรียนการสอนแบบสตอรี่ไลน์ว่า ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสร้างฉากให้ปรากฏด้วยการใช้เทคนิคแห่งศิลปะในการประดิษฐ์ฉาก จะช่วยกระตุ้นในการฝึกทักษะตามที่ครูวางแผนไว้จากการออกแบบคำถามสำคัญ (key questions)ให้เป็นไปตามขั้นตอนของการทำกิจกรรมโดยที่ผู้สอนจะกำหนดเส้นทางเดินเรื่อง แต่รายละเอียดของเนื้อหาผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนดเท่านั้น ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
ขั้นที่ 1ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสร้างครอบครัว โดยแสดงวิธีสร้างตัวละครของสมาชิกในครอบครัว ขั้นที่ 2ให้ผู้เรียนกำหนดบทบาทของสมาชิกในครอบครัวตามแผนของผู้สอน ผู้เรียนจะต้องสร้างประวัติของตนโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับงานอดิเรก ความสนใจ บุคลิกภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและปัญหา ขั้นที่ 3ผู้สอนตั้งคำถามสำคัญ ตัวอย่างเช่น “ครอบครัวท่านมีใครบ้าง ขอให้ตัวแทนสมาชิกในครอบครัว 1 คน ทำหน้าที่แนะนำคนในครอบครัว”
ข้อค้นพบจากการวิจัย จากผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อค้นพบดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ธาริณี วิทยาอนวรรตน์ (2542) และเกรียงไกร ยิ่งสง่า (2543)ได้วิจัยพบว่าเป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น
2.การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต สุรินธร วังคะฮาด (2543) ได้วิจัยพบว่านักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้) ได้วิจัยพบว่านักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.เจตคติต่อการเรียน ธารินี วิทยาอนิวรรตน์ (2542) ได้พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ในเกณฑ์ที่สูง รวมทั้งเกรียงไกร ยิ่งสง่า (2543)และ จีรภัทร์ บัวสุวรรณ (2543)ได้วิจัยพบว่า วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ ส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อเรื่องที่เรียน
4.คุณลักษณะของผู้เรียน เกรียงไกร ยิ่งสง่า (2543)ได้วิจัยพบว่าวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสุรินทร วังคะฮาด (2543) วิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ใฝ่เรียนรู้ รู้จักการวางแผนการทำงาน และผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ