1 / 115

กฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข vs การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

กฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข vs การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph. D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี E-mail: sangthong.ter @mahidol.ac.th. วัตถุประสงค์.

rose-tate
Download Presentation

กฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข vs การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข vs การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph. D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี E-mail: sangthong.ter@mahidol.ac.th

  2. วัตถุประสงค์ • อธิบายขอบเขตการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของพยาบาลวิชาชีพตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขได้ • อธิบายกฎหมายสถานพยาบาลที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้ • อธิบายกฎหมายยาที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้ • อธิบายกฎหมายโรคติดต่อที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้ • อธิบายกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้ • อธิบายกฎหมายสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้

  3. อ. ค่ะ หนูจบแล้วเป็นพยาบาล ทำไมต้องรู้กฎหมายอื่น??

  4. แนวคิดและความสำคัญของกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุขแนวคิดและความสำคัญของกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข • ควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ตั้งแต่อดีต • พัฒนาไปตามสถานการณ์ของสังคมและสุขภาพที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น • เครื่องมือที่ช่วยคุ้มครองสิทธิของประชาชน • การปฏิบัติการพยาบาลใกล้ชิดผู้ใช้บริการทั้งในและนอก รพ. • พยาบาลวิชาชีพต้องเพิ่มขอบเขตการปฏิบัติ เพื่อสนองตอบปัญหาสุขภาพ • ก้าวล่วงวิชาชีพอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ • ศึกษาขอบเขตการปฏิบัติงานตามกฎหมายอื่น และความรู้ทักษะต่างๆ

  5. กฎหมายการแพทย์และสาธารณสุขกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข • ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2539 • พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 • พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม • พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 • พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 • พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

  6. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2539

  7. เราทำอะไรได้บ้าง ที่ไม่ผิดระเบียบกระทรวงสาธารณสุขฯ

  8. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2539 ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคล ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2539

  9. บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม • ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้น 1 • ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้น 2 • ผู้ที่มีวุฒิประกาศนียบัตรพนักงานอนามัย ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข (พนักงานอนามัย) ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ ประกาศนียบัตรพนักงานสุขภาพชุมชน (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  10. เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม • ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนด • เป็นการปฏิบัติราชการ • อยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์ (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; ดาราพร คงจา, 2548; ปิยรัตน์ นิลอัยยกา, 2539;แสงทอง ธีระทองคำ, 2556;อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  11. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมกิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม • ด้านอายุรกรรม • ด้านศัลยกรรม • ด้านสูติ-นรีเวชกรรม การวางแผนครอบครัว • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค • ด้านปัจจุบันพยาบาล • General anesthesia การเจาะเลือด • การใช้ยาเพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรม (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551 ; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  12. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: อายุรกรรม • การรักษาพยาบาลเบื้องต้น • ไข้และมีผื่นหรือจุด ไข้จับสั่น ไอ หวัด • ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดเอว • ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเดิน คลื่นไส้อาเจียน อาหารเป็นพิษ ดีซ่าน • การอักเสบต่างๆ • โลหิตจาง ขาดสารอาหาร พยาธิลำไส้ • บิด หัด สุกใส คางทูม ไอกรน โรคผิวหนัง และ • โรคติดต่อตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  13. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: อายุรกรรม • การรักษาพยาบาลอื่น • การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยท้องเดินอย่างรุนแรง • การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู • การสวนปัสสาวะ • การล้างกระเพาะอาหารโดยใช้สายยาง ในรายที่สงสัยว่ารับประทานสารพิษ (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  14. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: ศัลยกรรม • ผ่าฝี • เย็บบาดแผลที่ไม่สาหัส • ชะล้าง ทำแผล ตกแต่งบาดแผล • ผ่าเอาสิ่งแปลกปลอม ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ ฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  15. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: สูติ-นรีเวชกรรม • ทำคลอดในรายปกติ • ช่วยเหลือขั้นต้นในรายที่มีการคลอดผิดปกติ แท้ง หรือหลังแท้ง (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  16. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: การวางแผนครอบครัว • การฉีดยาคุมและจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด • เมื่อผ่านการอบรม • ใส่และถอดห่วงอนามัย • การใส่และถอดยาฝังคุมกำเนิด • การผ่าตัดทำหมันหญิงหลังคลอด ต้องทดสอบว่า ไม่ตั้งครรภ์ (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  17. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: ปัจจุบันพยาบาล • การปฐมพยาบาล • การได้รับสารพิษและสัตว์พิษกัดต่อย • การแพ้ยา การแพ้เซรุ่มและวัคซีน • การเสียโลหิต ภาวะช็อค การเป็นลมหมดสติ หยุดหายใจ • กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน • ชัก จมน้ำ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟฟ้าดูด • สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู คอ จมูก และกระเพาะอาหาร • ผู้ป่วยเจ็บหนัก (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  18. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมกิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค • การเจาะโลหิตจากปลายนิ้วหรือหลอดเลือดดำ • การให้ยาสลบเฉพาะชนิด General anesthesia • ไม่รวมถึงการให้ยาชาทางไขสันหลัง หรือการระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง • ต้องได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาหรืออบรมในหลักสูตรวิสัญญีพยาบาล • อยู่ในความควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  19. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: ยาที่ใช้รักษาพยาบาล • บัญชียาสามัญประจำบ้านตามกฎหมายว่าด้วยยา • รายการยาสถานีอนามัย • รายการสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน • ยาสามัญประจำบ้าน • ยาที่ให้ตามคำสั่งแพทย์เฉพาะรายและครั้งคราว • ยาทาภายนอกและเฉพาะที่ -> ใช้ได้ทุกชนิด • ยารับประทาน • ยาฉีดเข้าใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อ (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  20. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: ยาที่ใช้รักษาพยาบาล • ยาบางชนิด • ยารับประทาน • ยากระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกทุกชนิด • ยาคุมกำเนิดตามโครงการวางแผนครอบครัว • ยากล่อมประสาทเฉพาะเบนโซไดอาซีบีน บาบิทูเรต • แอนตี้ฮิสตามีน • ยาปฏิชีวนะเฉพาะเพนนิซิลลิน เตตร้าไซคลิน สเตร็ปโตมัยซิน ซัลฟา • ยาแก้โรคหืด ยาถ่ายพยาธิลำไส้ • ยาวัณโรค ป้องกันและรักษามาลาเรียตามโครงการ (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  21. กิจกรรมที่พยาบาลได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม: ยาที่ใช้รักษาพยาบาล • ยาบางชนิด • ยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง/ กล้ามเนื้อ • ยากระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและการหายใจ • ในรายหอบหืด -> เฉพาะแอดรีนาลิน ขนาด 1:1000 • ยากระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก • แอนตี้ฮิสตามีน ยาแก้ปวดท้องแอนตี้สปาสโมติก • วัคซีนพิษสุนัขบ้า เซรุ่มแก้พิษงู วัคซีนต่างๆ • เข้าเส้นโลหิต -> น้ำเกลือ หรือเด็กชโตร็ส กลูโคส (กระทรวงสาธารณสุข, 2539; สภาการพยาบาล, 2551; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  22. ปุจฉา พยาบาล ประจำสถานีอนามัยออกเยี่ยมบ้าน และพบว่าต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะของผู้ป่วยอัมพาต เนื่องจากนานเกิน 1 เดือน พยาบาลจึงเปลี่ยนให้ที่บ้านผู้ป่วย • พยาบาลสามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด • ขณะใส่สายสวนปัสสาวะ พบ hematuria ควรทำประการใด

  23. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

  24. พยาบาลเปิดสถานพยาบาลได้ไหม??พยาบาลเปิดสถานพยาบาลได้ไหม??

  25. ความหมายสถานพยาบาล • สถานที่รวมถึงยานพาหนะจัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาลและผดุงครรภ์ และทันตกรรมของเอกชน • กระทำเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ • ไม่รวมร้านขายยา สถานพยาบาลรัฐ (มาตรา 4) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  26. สถานพยาบาลที่ได้รับการยกเว้นสถานพยาบาลที่ได้รับการยกเว้น • จัดสวัสดิการให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้าง ไม่หวังผลกำไร • ยานพาหนะในการออกบริการเคลื่อนที่ชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือและ ไม่เก็บค่าบริการ • ยานพาหนะของสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ออกบริการสุขภาพพนักงาน นักศึกษา ตามสัญญาประกันสุขภาพ • สถานพยาบาล ณ ที่บ้านผู้ป่วย (กระทรวงสาธารณสุข, 2542; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  27. ประเภทสถานพยาบาล (มาตรา 14) • สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน • คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์(ห้ามทำคลอด) • สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน • ไม่เกิน 30 เตียง • สถานพยาบาลผดุงครรภ์ -> ให้การบริการมารดาทารกก่อนและหลังคลอด การทำคลอดปกติ • สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง -> การพยาบาล กายภาพบำบัด เวชกรรมทั่วไป หรือการประกอบโรคศิลปะอื่นๆ • มากกว่า 30 เตียง และมีบริการด้านเวชกรรม ด้านการพยาบาล ด้านเภสัชกรรม และด้านเทคนิคการแพทย์ เรียกว่า โรงพยาบาล (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, กระทรวงสาธารณสุข, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  28. ปุจฉา ข้อใดเป็นสถานพยาบาล ประเภทค้างคืน ที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย • หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. • หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ แสง-ไซ้กี เหตระกูล • คลินิกแสงทองผดุงครรภ์ • สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังไร้ญาติ

  29. ลักษณะสถานพยาบาล • การควบคุมอาคารให้ถูกสุขลักษณะ • ตั้งอยู่ในทำเลสะดวก ปลอดภัย สะอาด แสงสว่างเพียงพอ การระบายอากาศที่ดี มีห้องตรวจเป็นสัดส่วน มีห้องน้ำห้องส้วม • อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยสะดวก • ไม่ตั้งอยู่ในที่เดียวกับสถานที่ขายยา • มีระบบควบคุมการติดเชื้อที่เหมาะสม • จัดให้มีชื่อสถานพยาบาล • รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาลค่าบริการ และสิทธิของผู้ป่วย (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  30. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการสถานพยาบาลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล • ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล • ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล • ผู้ประกอบวิชาชีพ • ผู้อนุญาต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย • พนักงานเจ้าหน้าที่ (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556) ผู้รับใบอนุญาต ผู้ดำเนินการ และผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล สามารถเป็นบุคคลเดียวกันได้ (มาตรา 27)

  31. คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต • มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ • มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย บุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ (มาตรา 17) • ไม่เคยได้รับโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ • ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศพิษสุราเรื้อรัง โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคจิตร้ายแรง และโรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการสถานพยาบาล (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  32. คุณสมบัติของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล • ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์หรือ อื่นๆ • ไม่เป็นผู้ดำเนินการอยู่แล้ว 2 แห่ง และต้องเป็นผู้ดำเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนได้เพียงแห่งเดียว • สามารถควบคุมกิจกรรมสถานพยาบาลได้อย่างใกล้ชิด • มีเวลาปฏิบัติงานในสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนในเวลาราชการไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง(มาตรา 25) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  33. หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต • แสดงใบอนุญาต (มาตรา 31) • ชื่อสถานพยาบาล • รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล • อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการ และสิทธิของผู้ป่วย (มาตรา 33) • จัดให้มีผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและรับผิดชอบในการดำเนินการสถานพยาบาล (มาตรา 23) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  34. หน้าที่ของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล • ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพ ประกอบวิชาชีพผิดประเภท • มิให้บุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ ทำการประกอบวิชาชีพ • ควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพ ปฏิบัติตามกฎหมายการประกอบวิชาชีพ • ควบคุมและดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียง เว้นแต่กรณีฉุกเฉิน • ควบคุมดูแลสถานพยาบาลให้สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัย (มาตรา 34) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  35. หน้าที่ร่วมของผู้รับใบอนุญาตและผู้ดำเนินการหน้าที่ร่วมของผู้รับใบอนุญาตและผู้ดำเนินการ • จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตลอดเวลาทำการ • จัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล • จัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและผู้ป่วย และเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล โดยต้องเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสถานที่ตรวจสอบได้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จัดทำ • ควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  36. หน้าที่ร่วมของผู้รับใบอนุญาตและผู้ดำเนินการหน้าที่ร่วมของผู้รับใบอนุญาตและผู้ดำเนินการ • ควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน (มาตรา 36) • ควบคุมดูแลมิให้มีการใช้ หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการผิดประเภท (มาตรา 37) • ห้ามมิให้โฆษณา ชักชวนผู้รับบริการจากสถานพยาบาลของตน โดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือโอ้อวดเกินความจริง(มาตรา 38) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  37. ปุจฉา เอ พยาบาลวิชาชีพ อายุ 35 ปี เคยล้มละลาย และเคยถูกจำคุกด้วยคดีหมิ่นประมาท ศาลสั่งจำคุก 5 วัน ยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการคลินิกดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ดำเนินการสถานพยาบาล หากท่านเป็นคณะกรรมการ จะสั่งการอย่างใด

  38. อายุของใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาตอายุของใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาต • การขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตหมดอายุ • ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลให้ใช้ได้ถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่ 10 นับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต (มาตรา 19) • ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่ 2 นับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต (มาตรา 28) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  39. บทกำหนดโทษ • โทษ: พ.ร.บ. สถานพยาบาล • ตักเตือน(มาตรา 49) -> ปฏิบัติไม่ถูกต้อง • ปิดสถานพยาบาลชั่วคราว (มาตรา 50) -> กระทำการให้เกิดอันตราย หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน • เพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 51) • ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ ขาดคุณสมบัติ • ไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตใหม่ จนกว่าจะพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 54) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  40. บทกำหนดโทษ • โทษทางอาญา • จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • ให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสาร (มาตรา 56) • ปรับไม่เกิน 20,000 บาท • ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาล ขณะใบอนุญาตหมดอายุ (มาตรา 62) • จำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • ผู้รับใบอนุญาตให้มีผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 65) • จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • ผู้รับใบอนุญาตไม่จัดให้มีผู้ดำเนินการ (มาตรา 60) • ไม่ช่วยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะอันตราย (มาตรา 66) • จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • ไม่มีใบอนุญาตจัดตั้งสถานพยาบาล (มาตรา 16 วรรคหนึ่ง) หรือดำเนินการสถานพยาบาล (มาตรา 24 วรรคหนึ่ง) (กระทรวงสาธารณสุข, 2541, 2545; วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  41. ปุจฉา เอ ได้รับอนุญาตให้เปิดคลินิกฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เอ ควรยื่นเรื่องขอต่อใบอนุญาตเมื่อใด • ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล • ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล • หากเอไม่ต่อใบอนุญาต ผลที่ตามมาคืออะไร

  42. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

  43. ขายยาดีกว่า รวยดี พยาบาลทำได้ด้วยหรือ??

  44. ความหมายของยา • วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาว่าเป็นยาแผนปัจจุบัน/ แผนโบราณ • วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัยโรค บำบัด บรรเทา รักษา หรือ ป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์ • วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป • วัตถุที่มุ่งหมายให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือ การกระทำหน้าที่ ร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ (คณะกรรมการอาหารและยา, 2510; กระทรวงสาธารณสุข, 2522; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556) เภสัชเคมีภัณฑ์ -> สารอินทรีย์เคมีหรืออนินทรีย์เคมี ซึ่งเป็นสารเดี่ยวที่ใช้ปรุงแต่ง เตรียม หรือผสมเป็นยา เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป -> สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์เคมี ทั้งที่เป็นสารเดี่ยวหรือสารผสม ที่อยู่ในลักษณะพร้อมใช้เป็นยาสำเร็จรูป

  45. วัตถุที่ไม่ใช่ยา • วัตถุที่เป็นยา แต่นำไปใช้ในการเกษตรหรืออุตสาหกรรม • วัตถุที่ใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา เครื่องมือในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง • วัตถุที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ หรือการชันสูตรโรค (คณะกรรมการอาหารและยา, 2510; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  46. ปุจฉา สิ่งใดคือยา • Penicillin กำจัดแบคทีเรียต้นมะลิ • ยาฉีดกลูต้าไธโอนสำหรับผิวขาว • ให้วัคซีนไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 แก่หมู • ครีมพญายอทาเพื่อบรรเทาโรคเริม

  47. ประเภทของยา • ยาแผนปัจจุบัน: แอมพิซิลิน บัสโคแพน พลาซิล • ยาแผนโบราณ: ยาหอม ยาขม ยาเขียว ยาเม็ดฟ้าทะลายโจร • ยาควบคุมพิเศษ: ยาโรคมะเร็ง ยาสลบ ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ ซูโดเอฟรีดีน • ยาอันตราย : ยาลดความดันโลหิต ยาขยายหลอดเลือด ยาไขมัน • ยาสามัญประจำบ้าน 70 รายการ : พาราเซตามอล คลอเฟนนิลามีน (คณะกรรมการอาหารและยา, 2510; กระทรวงสาธารณสุข, 2522; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556)

  48. ประเภทของยา • ยาบรรจุเสร็จ -> เด็กซโตรเมทโทแฟน ไดเมนไฮตริเนท อีริทโทรมัยซิน • ยาใช้ภายนอก : Dermavate, Chloramphenical ointment, Zinc paste • ยาใช้เฉพาะที่ : Hista-oph, Doproct • ยาสมุนไพร : รากโสม ชะเอม มหาหิงคุ์ ดีงู (คณะกรรมการอาหารและยา, 2510; กระทรวงสาธารณสุข, 2522; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556) ถ้านำสมุนไพรแปรสภาพ เช่น ทิงเจอร์ขิง จะไม่เรียกว่าเป็นสมุนไพร

  49. ยาบรรจุเสร็จ • ยาแก้ท้องเสีย: Phthalylsulphathiazole • ยาแก้แพ้: Chlorpheniramine maleate • ยาแก้ไอ: Dextromethorphan hydrobromide • ยาคุมกำเนิด • ยาถ่ายพยาธิ: Mebendazole • ยาบรรเทาหวัด ->Paracetamol + CPM + Phenylpropanolamine hydrochloride

  50. ยาบรรจุเสร็จ • ยาบรรเทาหอบหืด: Aminophylline, Theophyllin anhydrous + Ephedrine HCI • ยาป้องกันอาการเมารถเมาเรือ: Dimenhydrinate • ยารักษาไข้มาเลเรีย: Sulphadoxine + Pyrimethamine • ยารักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ • สำหรับผู้ใหญ่ Sulphamethoxazole + Trimethoprim • สำหรับเด็ก Penicillin V Potasssium equivalent to Penicillin V 200,000 units • ยาลดความดันโลหิต: Hydrochlorothiazide

More Related