860 likes | 1.22k Views
การบรรยาย เรื่อง คุณธรรมกับการใช้กฎหมาย. โดย ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในหลักสูตรการฝึกอบรม “การพัฒนาบุคคลากรทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิประชาชน” กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
E N D
การบรรยาย เรื่องคุณธรรมกับการใช้กฎหมาย โดย ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในหลักสูตรการฝึกอบรม “การพัฒนาบุคคลากรทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิประชาชน” กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2552 คณิต ณ นคร : วิอาญา
เอกสารประกอบและแนะนำตำรากฎหมายเอกสารประกอบและแนะนำตำรากฎหมาย • บทความ - คณิต ณ นคร “วิธีพิจารณาความอาญาไทย : หลักกฎหมายกับทางปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน - คณิต ณ นคร “นิติธรรมอำพรางในนิติศาสตร์ไทย” - คณิต ณ นคร “บทบาทของศาลในคดีอาญา” - คณิต ณ นคร “ทนายความกับลูกความ” - คณิต ณ นคร “การร้องทุกข์ในคดีอาญา” - คณิต ณ นคร “การบังคับคดีอาญากรณีศาลลงโทษปรับ” • ตำรากฎหมาย - คณิต ณ นคร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักพิมพ์วิญญูชน พิมพ์ครั้งที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 คณิต ณ นคร : วิอาญา
ความหมายของ “คุณธรรม” ของนักกฎหมาย • ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้สำเร็จการศึกษากฎหมายมาแล้ว จึงคาดว่าได้ศึกษาวิชา “หลักวิชาชีพของนักกฎหมาย” มาแล้วด้วย • วิชาดังกล่าวนี้เป็นการศึกษา “หลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมาย” • หลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมายมี 2 ความหมาย - ความหมายในทางนามธรรม - ความหมายในทางรูปธรรม คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมายในทางนามธรรมหลักธรรมหรือคุณธรรมของนักกฎหมายในทางนามธรรม • ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการทำหน้าที่นักกฎหมาย • ความกล้าหาญในการทำหน้าที่ของนักฎหมาย • ความเป็นกลางในการทำหน้าที่ของนักฎหมาย คณิต ณ นคร : วิอาญา
คุณธรรมหรือหลักธรรมของนักกฎหมายในทางรูปธรรมคุณธรรมหรือหลักธรรมของนักกฎหมายในทางรูปธรรม • ความเข้าใจในความเป็น “ศาสตร์” ของกฎหมาย • ความเข้าใจบทบาทของนักกฎหมาย • ความรู้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเป็นศาสตร์ • ความรู้ในการทำงานสัมพันธ์กับเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในกระบวนการยุติธรรม • ความรู้ความเข้าใจบทบาทขององค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม • ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ขอถือว่าเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการบรรยายเรื่อง “คุณธรรมกับการใช้กฎหมาย” คณิต ณ นคร : วิอาญา
หัวข้อการบรรยายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หัวข้อการบรรยายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ • ระบบการดำเนินคดีอาญา - ระบบไต่สวน - ระบบกล่าวหา • หลักการดำเนินคดีอาญา - การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน - การดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน - การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ • หลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญา • หลักความตกลง และ หลักการตรวจสอบ คณิต ณ นคร : วิอาญา
หัวข้อการบรรยาย (ต่อ) • ฐานะของผู้ถูกกล่าวหาและสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา • เครื่องมือในการดำเนินคดีอาญา • โครงสร้างของการดำเนินคดีอาญา - การดำเนินคดีชั้นสอบสวนฟ้องร้อง - การดำเนินคดีชั้นประทับฟ้อง - การดำเนินคดีชั้นพิจารณา - การดำเนินคดีชั้นบังคับคดี • หลักการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย กับ หลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ • หลักการของการอุทธรณ์ฎีกา คณิต ณ นคร : วิอาญา
ระบบการดำเนินคดีอาญา • ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) • ระบบกล่าวหา (Accusatorial System) คณิต ณ นคร : วิอาญา
การดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวนการดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวน • ไม่มีการแยก “หน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง” กับ “หน้าที่พิจารณาพิพากษา” ออกจากกัน ให้องค์กรที่ต่างหาจากกันเป็นผู้ทำหน้าที่ทั้งสอง กรณีจึงมีแต่ “ผู้ไต่สวน” และ “ผู้ถูกไต่สวน” เท่านั้น • ผู้ถูกกล่าวหาเป็น “กรรมในคดี”(Prozess-objekt) คณิต ณ นคร : วิอาญา
การดำเนินคดีอาญาระบบกล่าวหาการดำเนินคดีอาญาระบบกล่าวหา • แยกหน้าที่ “สอบสวนฟ้องร้อง” และหน้าที่ “พิจารณาพิพากษา” ออกจากกัน ให้องค์กรที่ต่างหากจากกันเป็นผู้ทำหน้าที่ • ยกฐานะของผู้ถูกกล่าวหาขึ้นเป็น “ประธานในคดี”(Prozess-subjekt) คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักการดำเนินคดีอาญา • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน (Private Prosecution) • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน (Popular Prosecution) • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (Public Prosecution) คณิต ณ นคร : วิอาญา
การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชนการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน • เป็นการดำเนินคดีอาญาดั้งเดิม • เป็นการดำเนินคดีอาญาโดยผู้เสียหายเอง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่มีลักษณะคล้ายกับการดำเนินคดีแพ่ง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่มีคู่ความ คณิต ณ นคร : วิอาญา
การดำเนินคดีอาญาโดยประชาชนการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่เกิดเคียงข้างการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ประชาชนทุกคนฟ้องคดีอาญาได้ • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่มีคู่ความในลักษณะของการต่อสู้ • เป็นการดำเนินดคีอาญาที่การสืบพยานเป็นไปในรูปแบบ “การถามค้าน”(Cross Examination) • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่สอดคล้องกับ “หลักการต่อรองคำรับสารภาพ” (plea bargaining) คณิต ณ นคร : วิอาญา
นิติสัมพันธ์ในทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยประชาชนเป็นนิติสัมพันธ์สามฝ่ายนิติสัมพันธ์ในทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยประชาชนเป็นนิติสัมพันธ์สามฝ่าย ศาล โจทก์ จำเลย คณิต ณ นคร : วิอาญา
การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ถือว่ารัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ไม่มีคู่ความ เป็นการอำนวยความยุติธรรมโดยรัฐ พนักงานอัยการอัยการจึงไม่เป็นคู่ความในเนื้อหา • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่องค์กรดำเนินคดีฝ่ายรัฐทุกองค์กรต้องร่วมมือกันในการตรวจสอบค้นหาความจริง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่ทุกฝ่ายต้องกระตือรือร้นในการตรวจสอบค้นหาความจริง • เป็นการดำเนินคดีอาญาที่องค์กรของรัฐต้องมีความเป็นภาวะวิสัย คณิต ณ นคร : วิอาญา
นิติสัมพันธ์ทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยรัฐเป็นนิติสัมพันธ์สองฝ่ายนิติสัมพันธ์ทางวิธีพิจารณาของการดำเนินคดีโดยรัฐเป็นนิติสัมพันธ์สองฝ่าย รัฐผู้ถูกกล่าวหา ศาล(ผู้ต้องหา / จำเลย) อัยการ (ตำรวจ) และอื่น ๆ คณิต ณ นคร : วิอาญา
การดำเนินคดีโดยรัฐกับผู้เสียหายการดำเนินคดีโดยรัฐกับผู้เสียหาย • ในประเทศส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ผู้เสียหายดำเนินคดีการดำเนินคดีอาญาในประเทศส่วนใหญ่จึงผูกขาดโดยรัฐ • ประเทศเยอรมันอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องคดีได้ประมาณ10 ความผิดซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความผิดที่มีความเป็นส่วนตัวโดยแท้ • ในประเทศไทยเรารัฐไม่ผูกขาดการดำเนินคดีอาญาและการดำเนินคดีอาญาโดยผู้เสียหายเกือบไม่มีขอบเขต • แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องคดีได้และรัฐเป็นใหญ่ แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปในทำนองการดำเนินคดีคู่ขนาน คณิต ณ นคร : วิอาญา
ขั้นตอนของการดำเนินคดีอาญาขั้นตอนของการดำเนินคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาแบ่งออกเป็น 2 ชั้น - กำหนดคดีอาญาชั้นกำหนดคดี (Erkenntnisverfahren) - การดำเนินคดีอาญาชั้นบังคับคดี(Vollstreckungsverfahren) • สิ่งเชื่อมโยงของการดำเนินคดีอาญาทั้งสองชั้น คือ คำพิพากษาถึงที่สุด • การเริ่มคดีอาญา • การบังคับคดีอาญากับการบังคับโทษอาญา คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญาหลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญา • หลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา • หลักฟังความทุกฝ่าย • หลักวาจา • หลักพยานโดยตรง • หลักเปิดเผย • หลักความเป็นอิสสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน • หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย (in dubiopro reo) คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักการค้นหาความจริงในเนื้อหาหลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา • เจ้าพนักงาน (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) มีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหา (มาตรา 131, 98, 138, 143) แต่ในทางปฏิบัติตามปกติยังไม่มีความเป็นภาวะวิสัยเท่าที่ควร • ศาลก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหาเช่นเดียวกับการตรวจสอบความจริงในชั้นเจ้าพนักงาน (มาตรา 228, 229, 175) แต่ในทางปฏิบัติศาลไม่กระตือรื้อร้น (active) ในการตรวจสอบความจริงเท่าที่ควร เพราะความเข้าใจของนักกฎหมายในเรื่อง “ความเป็นกลาง” กับ “ความเป็นภาวะวิสัย” ไม่ถูกต้อง คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักฟังความทุกฝ่าย • หัวใจของมาตรา 120 คือ “การสอบสวนปากคำผู้ต้องหา” ซึ่งจำเป็นต้องกระทำเมื่อจะฟ้องเท่านั้น • เจ้าพนักงานต้องแจ้ง “ข้อหา” แก่ผู้ต้องหา แต่การแจ้งข้อหาก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก การแก้ไขกฎหมายเรื่อง “ข้อหา” สร้างความชัดเจนเพียงบางส่วนเท่านั้น • ต้องแจ้งสิทธิที่จะได้รับการแนะนำและตักเตือน และแจ้งสิทธิที่จะให้ทนายหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำแก่ผู้ต้องหา (มาตรา 134/4) คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักฟังความทุกฝ่าย (ต่อ) • ต้องแจ้งเรื่องความเป็นมาแห่งชีวิตและความประพฤติอันเป็นอาจิณให้ผู้ต้องหาทราบ (มาตร 138) • ต้องแจ้งผู้ถูกจับเมื่อมีการจับ (มาตรา 83, 84) • ต้องอ่านบันทึกการค้นและต้องให้ลงชื่อรับทราบ (มตรา 103) • ต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี กล่าวคือ ต้องบรรยายการกระทำของจำเลย [มาตรา 158 อนุมาตรา (5)] • ศาล (ในต่างประเทศ “พนักงานอัยการ”) ต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และต่อจากนั้นศาลต้องถามจำเลยเรื่องการกระทำผิด (มาตรา 172 วรรคสอง) คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักวาจา • ทุกอย่างต้องกระทำด้วยวาจาจึงจะนำมาประกอบการพิจารณาพิพากษาได้ • การให้การเป็นหนังสือก็ต้องสอบวาจากันอีกครั้ง • หลักวาจาให้เฉพาะกับเรื่องที่เกี่ยวกับความผิด แต่ไม่ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับ “เงื่อนไขให้อำนาจดำเนินดดี” หรือ “เงื่อนไขระงับคดี” คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักพยานโดยตรง • หลักพยานโดยตรงมีหลักอยู่ 2 ประการ คือ (1) การสืบพยานเป็นหน้าที่ของศาล และ (2) ศาลต้องวินิจฉัยตามเหตุผลที่ได้จากการสืบพยาน • ตามกฎหมายการสืบพยานเป็นหน้าที่ของศาล (มาตรา 229) แต่อิทธิพลของอังกฤษทำให้ทางปฏิบัติเปลี่ยนแปลงหรือผิดเผี้ยนไป (นิติธรรมอำพรางในนิติศาสตร์ไทย หน้า 9) • ศาลต้องวินิจฉัยตามเหตุผลที่ได้จากการสืบพยาน จะใช้บันทึกที่จดไว้แทนการมาเบิกความไม่ได้ • พยานที่เป็นผู้ชำนาญการพิเศษก็ต้องมาให้การต่อศาล (มาตรา 243) คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักเปิดเผย • การพิจารณาคดีต้องกระทำโดยเปิดเผย (มาตรา 172) • การพิจารณาลับกระทำได้ภายในกรอบที่จำกัด (มาตรา 177) • การพิจารณาคดีไม่ใช่การแสดง (show business) • การพิจารณาคดีที่ต้องกระทำโดยเปิดเผยก็เพื่อให้เกิดการตรวจสอบจากภายนอก แต่การแสดงเป็นการเรียกร้องผู้ชมผู้ฟัง • การพิจารณาคดีที่เปิดเผยจนเป็นการแสดงย่อมกระทบต่อ - ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ - ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานหลักความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน • ศาลมีความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 227) • การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเป็นเรื่องของศาลโดยเฉพาะ • ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานไม่มีหลักเกณฑ์ผูกมัดศาล แต่อิทธิพลของนักกฎหมายที่จบจากประเทศอังกฤษได้สร้างสิ่งแปลกปลอมขึ้นมา (ฎีกาแผ่นสไลด์ถัดไป) • คำผู้ชำนาญการพิเศษหรือพยานผู้เชี่ยวชาญก็ต้องมีการชั่งน้ำหนัก คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานฯ (ต่อ) • ฎีกาที่ 353/3530 : เกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่ให้รับฟังคำบอกกล่าวของผู้ตาย คือ ผู้ตายต้องระบุชื่อผู้ทำร้ายในขณะที่ผู้ตายรู้ตัวว่าหมดหวังที่จะมีชีวิตรอดอยู่ ทั้งนี้ เพราะคนที่รู้สึกตัวว่าหมดหลังที่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้แล้ว กล่าวถ้อยคำใดนั้นถือว่ากล่าวโดยสาบานตัวแล้ว และไม่ต้องการกล่าวเท็จก่อเวรกรรมอีกต่อไป ส่วนจะถึงแก่ความตายเมื่อใดหาเป็นข้อสำคัญไม่ • วิจารณ์: ตามมาตรา 226 พยานหลักฐานทุกชนิดรับฟังได้ เมื่อคำบอกกล่าวของผู้ตายรับฟังได้ศาลก็มีหน้าที่ต้องชั่งน้ำหนักคำบอกกล่าวของผู้ตาย กฎเกณฑ์ตามนัยแห่งฎีกาดังกล่าวนี้จึงไม่ถูกหลักกฎหมาย คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยหลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย • หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย (มาตรา 227 วรรคสอง) ใช้เฉพาะความสงสัยในข้อเท็จจริงเท่านั้น • ฎีกาที่ 899/2487: คดีอาญาต้องมีพยานหลักฐานมาสืบให้ปราศจากสงสัย แต่ในคดีแพ่งศาลต้องดูพยานหลักฐานทุก ๆ ฝ่ายแล้วพิจารณาว่า พยานหลักฐานทั้งหมดนั้นเจือสมหนักไปฝ่ายใด แม้ว่าไม่ถึงกับปราศจากข้อสงสัย ศาลก็ยังชี้ขาดให้ฝ่ายนั้นชนะคดีได้ • ดั่งนี้ หลักในการฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาแตกต่างจากหลักการฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย (ต่อ) • ศาลต้องให้เหตุผลในการตัดสินทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย [มาตรา 186 (6)]และต้องให้เหตุผลอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยที่อาจตรวจสอบได้ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และรวมถึงระดับโทษที่ลงนั้นด้วย • การไม่ให้เหตุผลในการตัดสินคดีเป็นการกระทำที่ขัดต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษา เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบภายนอก • หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยใช้กับ “เงื่อนไขให้อำนาจดำเนินคดีด้วย (ฎีกาที่ 1875/2530) คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักความตกลง กับ หลักการตรวจสอบ • การดำเนินคดีแพ่ง ใช้ “หลักความตกลง” • หลักความตกลงนี้ภาษาเยอรมันเรียกว่า Verhandlungsprinzip ซึ่งอาจจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Negotiation Principle • การดำเนินคดีอาญา ใช้ “หลักการตรวจสอบ” • หลักการตรวจสอบนี้ภาษาเยอรมันเรียกว่า Untersuchungsprinzip ซึ่งอาจจะเรียกเป็นภาษาอังกฤตว่า Examination Principle คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักความตกลง • เป็นหลักการดำเนินคดีในคดีแพ่งเท่านั้น • คดีแพ่งเริ่มเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาล ก่อนหน้านั้นยังไม่มีคดี • คดีแพ่งเป็นเรื่องของคู่ความสองฝ่ายที่มีความเท่าเทียมกัน เป็นคดีที่เอกชนเป็นใหญ่ เป็นคดีที่เป็นเรื่องของการต่อสู้กันโดยศาลเป็นเพียงผู้ชี้ขาดตัดสิน เป็นคดีที่มีเรื่องหน้าที่นำสืบ • คดีแพ่งคู่ความต้องรับผิดชอบในเรื่องพยานหลักฐาน • คดีแพ่งบางประเภทต้องใช้หลักการตรวจสอบ เช่น คดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ป.วิแพ่ง มาตรา 189 ทวิ วรรคสอง) คณิต ณ นคร : วิอาญา
หลักการตรวจสอบ • คดีอาญาใช้ “หลักการตรวจสอบ” โดยไม่มีข้อยกเว้น • คดีอาญาเริ่มดำเนินการตรวจสอบความจริงเมื่อรู้ ซึ่งอาจเป็นการรู้เองหรือรู้จากคำบอกกล่าว • การตรวจสอบความจริงในคดีอาญาเป็นเรื่องของรัฐ กล่าวคือ เป็นเรื่องของเจ้าพนักงาน (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) และศาล • การตรวจสอบความจริงในคดีอาญาต้องทำอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยในทุกขั้นตอนของการดำเนินคดี คณิต ณ นคร : วิอาญา
การตรวจสอบความจริงในการดำเนินคดีอาญาการตรวจสอบความจริงในการดำเนินคดีอาญา • การตรวจสอบตรวจจริงในคดีอาญามี 2 ชั้น คือ การตรวจสอบชั้นเจ้าพนักงาน และการตรวจสอบชั้นศาล • การตรวจสอบความจริงในชั้นเจ้าพนักงานต้องกระทำอย่างมีความเป็นภาวะวิสัย • การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลก็ต้องกระทำอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยเช่นเดียวกัน • คดีอาญาไม่มีเรื่องหน้าที่นำสืบแต่ในการเรียนการสอนก็ว่ามีหน้าที่นำสืบ ซึ่งก็เป็นผลพวงของนักกฎหมายที่เป็นผู้สอนที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ คณิต ณ นคร : วิอาญา
การตรวจสอบความจริงชั้นเจ้าพนักงานการตรวจสอบความจริงชั้นเจ้าพนักงาน • เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องตรวจสอบความจริง คือ พนักงานสอบสวนหรือตำรวจและพนักงานอัยการ • กระบวนการตรวจสอบความจริงในชั้นเจ้าพนักงานเป็นกระบวนการเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีในชั้นเจ้าพนักงานคือพนักงานอัยการ • พนักงานอัยการต้องทราบหรืออยู่ในวิสัยที่จะทราบการดำเนินการของพนักงานสอบสวนหรือตำรวจได้ แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นที่กล่าวมา คณิต ณ นคร : วิอาญา
การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลการตรวจสอบความจริงในชั้นศาล • การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลเป็นเรื่องของความร่วมมือของทุกฝ่าย • การประทับฟ้องเป็นการตรวจสอบที่สำคัญเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีมีความหนักแน่นมั่นคง หรือเป็นการตรวจสอบอำนาจฟ้อง • เครื่องมือของการประทับฟ้อง คือ สำนวนการสอบสวน / ความไว้วางใจ • การตรวจสอบความจริงในชั้นศาลไม่ใช่เป็นการเริ่มต้นการตรวจสอบกันใหม่ แต่เป็นการตรวจสอบสิ่งที่เจ้าพนักงานได้ดำเนินการอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยมาแล้วนั้นอีกครั้งหนึ่ง • เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความจริงของศาล คือ สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงาน การแถลงเปิดคดีของพนักงานอัยการ คณิต ณ นคร : วิอาญา
การตรวจสอบความจริงในชั้นศาล (ต่อ) • ศาลเป็นผู้รับผิดชอบในการสืบพยานหรือการตรวจสอบความจริง แต่อิทธิพลของอังกฤษทำให้ทางปฏิบัติผิดเพี้ยนไป • การถอนฟ้องต้องได้รับอนุญาตจากศาลในทุกกรณี และหากการถอนฟ้องกระทำหลังจากจำเลยให้การแล้วและจำเลยคัดค้านการถอนฟ้องศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องไม่ได้ (มาตรา 35) • การยุติคดีโดยการถอนฟ้องจึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงานอัยการและศาล แต่ในทางปฏิบัติพนักงานอัยการรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว คณิต ณ นคร : วิอาญา
สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการสถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ • พนักงานอัยการ กับ ไม่เป็น “คู่ความในเนื้อหา” ในทุกขั้นตอน • คำปรารภให้มีพนักงานอัยการ: “.....จึงได้สร้างวิธีขึ้นเอาอย่างฝรั่งให้มีอัยการไทยฟ้องร้องจำเลยในศาล อัยการนี้แทนแผ่นดิน ถ่อมยศแผ่นดินลงไปเป็นโจทก์เหมือนหนึ่งราษฎรไปเป็นโจทก์ในศาลเขา ทั้งนี้แปลว่ารัฐบาลสมมติตัวเองว่าเป็นราษฎรผู้หนึ่งให้ศาลไทยและศาลกงสุลเป็นกลางชำระ.....” คณิต ณ นคร : วิอาญา
สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ (ต่อ) • ฎีกาที่ 791/2455 :ทำราชการเป็นอัยการว่าความแผ่นดิน ควรเข้าใจว่าต้องรักยุติธรรม ไม่ถือรัดเอาเปรียบคนยาก ไม่พอจะให้ความลำบากก็อย่าแกล้งให้มีขึ้น ไม่ใช่ว่าคาดหมัดตั้งมวยเป็นคู่แพ้ชนะกับราษฎร เขม้นขมักที่จะว่าความให้ได้จริงกระจ่างปรากฏปลดเปลื้องข้อสงสัยในอรรถคดี ทำดังนี้ดอกได้ชื่อว่าตรงต่อหน้าที่ราชการ • สรุป: โดยนัยแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาแสดงว่า พนักงานอัยการไม่ใช่คู่ความในเนื้อหา พนักงานอัยการต้องมีความเป็นกลางและต้องมีความเป็นภาวะวิสัยในการปฏิบัติหน้าที่ คณิต ณ นคร : วิอาญา
สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ (ต่อ) • คำสั่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าถึงผู้ว่าราชการเมืองในมณฑลกรุงเก่า กล่าวว่า : “บรรดาความในหน้าที่พนักงานอัยการที่ได้ว่ากล่าวในเวลาใด ๆ พนักงานอัยการไม่ควรคิดให้ความชนะอย่างเดียว ถึงความเรื่องนั้นจะชนะเป็นไปตามความประสงค์ได้ แต่เมื่อเห็นว่าไม่ใช่ความจริงและปราศจากความยุติธรรมแล้ว พนักงานอัยการก็ไม่ควรคิดให้ความชนะที่จะเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่มีความผิดต้องรับโทษเลย” • สรุป: คำสั่งนี้ก็ยืนยันว่า พนักงานอัยการไม่เป็นคู่ความในเนื้อหา และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางและด้วยความเป็นภาวะวิสัย คณิต ณ นคร : วิอาญา
สถานะทางกฎหมายของพนักงานอัยการ (ต่อ) • พนักงานอัยการไม่ใช่คู่ความในทางเนื้อหาจึงมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่จำเลยได้ • ฎีกาที่ 3436/2524 :พนักงานอัยการฟ้องจำเลยแต่ไม่ได้ขอให้ริบของกลาง เพราะเห็นว่าของกลางนั้นไม่ใช่สิ่งที่พึงริบ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลาง พนักงานอัยการอุทธรณ์ฝ่ายเดียวไม่ให้ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน พนักงานอัยการฎีกาต่อไปขอไม่ให้ริบของกลาง ศาลฎีกาพิพากษากลับไม่ริบของกลาง คณิต ณ นคร : วิอาญา
ความรับผิดชอบในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการความรับผิดชอบในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ • การสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ • ความรับผิดชอบในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการมี 4 ประการ คือ - ความรับผิดชอบในความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน - ความรับผิดชอบในความถูกต้องชอบด้วยระเบียบของการสอบสวน - ความรับผิดชอบในความละเอียดรอบคอบของการสอบสวน - ความรับผิดชอบในความเชื่อถือได้ของการสอบสวน คณิต ณ นคร : วิอาญา
ผู้เสียหายกับความผิดต่อส่วนตัวผู้เสียหายกับความผิดต่อส่วนตัว • ฎีกาที่ 1319/2462 :จำเลยได้ใช้ศัสตราวุธฟันสับประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย อัยการจึงฟ้องขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ ปัญหามีว่าอัยการจะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ ตัดสินว่า ถึงแม้จะเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็ดี อัยการก็มีอำนาจฟ้องได้เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง • เป็นคำพิพากษาฎีกาก่อนใช้ป.วิอาญา • สรุป: ตามนัยแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกา กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ความผิดฐานทำให้ทรัพย์ของรัฐเสียหายไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวตามความหมายของกฎหมาย คณิต ณ นคร : วิอาญา
ผู้เสียหายกับความผิดต่อส่วนตัว (ต่อ) • ความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด: ทรัพย์สินของนิติบุคคลซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม ฉะนั้น ความผิดฐานฉ้อโกงที่กระทำต่อนิติบุคคลที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ที่จะต้องห้ามตามมาตรา 121 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การดำเนินคดีกับผู้ฉ้อโกงทรัพย์สินขององค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงกระทำได้โดยมิพักต้องมีการร้องทุกข์ (อัการนิเทศ เล่มที่ 61 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2541) • สรุป: ความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดมีนัยเดียวกันกับศาลฎีกา คณิต ณ นคร : วิอาญา
ผู้ถูกกล่าวหา • มนุษย์ต้องเป็น “ประธานแห่งสิทธิ” ไม่อาจเป็น “กรรมแห่งสิทธิ” ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ฉะนั้น มนุษย์จึงต้องเป็นผู้ทรงสิทธิหรือ subject of law • แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐหรือถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางประการ แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็เป็นมนุษย์ ฉะนั้น สภาพความเป็น “ประธานในคดี” ของผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมีอยู่ตลอดเวลา • การใช้อำนาจกับผู้ถูกกล่าวหาจะกระทำได้ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจ ไม่ใช่ใช้หลักว่าไม่มีกฎหมายห้ามย่อมทำได้ (ฎีกาที่ 1368/2500) • การเป็น “ประธานในคดี” คือ การมีสิทธิต่าง ๆ ในคดี คณิต ณ นคร : วิอาญา
สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา • สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ - สิทธิในทางกระทำ (active right) - สิทธิในทางที่อยู่เฉยหรือไม่กระทำ (passive right) • สิทธิในทางกระทำตามกฎหมายของเรา เช่น - สิทธิที่จะอยู่ร่วมด้วยในการดำเนินคดี (มาตรา 165, 172) - สิทธิที่จะมีทนายแก้ต่าง (มาตรา 7 ทวิ, 134/4 (2)) - สิทธิที่จะให้การ (มาตรา 134/4, 172) - มาตรา 138 ก็เป็นเรื่องสิทธิ ในทางกระทำ คณิต ณ นคร : วิอาญา
สิทธิของผู้ถูกกล่าวหา (ต่อ) • สิทธิที่จะอยู่เฉยหรือสิทธิที่จะไม่กระทำตามกฎหมายของเรา เช่น - สิทธิที่จะไม่ให้การในชั้นสอบสวน [มาตรา 134/4 (1)] - สิทธิในเสรีภาพในการตัดสินใจ (มาตรา 135) - สิทธิที่จะไม่ให้การในชั้นศาล (มาตรา 172) • ผลของการละเมิดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา คือ การใช้ข้อเท็จจริงนั้นยันผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ (มาตรา 134/4วรรคสาม และมาตรา 226) คณิต ณ นคร : วิอาญา
ประธานในคดีกับการใช้อำนาจรัฐประธานในคดีกับการใช้อำนาจรัฐ • การใช้อำนาจรัฐต่อตัวบุคคลไม่ว่าต่อผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาต้องมีกฎหมายให้อำนาจและอยู่ในกรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจ (มาตรา 132) • ตามกฎหมายปัจจุบันการบังคับตรวจ เช่น การบังคับให้เป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอลล์ การบังคับให้ปัจสาวะ การเจาะเลือด ยังกระทำไม่ได้ • ผลของการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือเกินกรอบตามกฎหมาย คือ สิ่งที่ได้มาจะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ (มาตรา 135, 226) • การใช้อำนาจรัฐในหลายกรณียังมีปัญหา คณิต ณ นคร : วิอาญา
ปัญหาการใช้เครื่องจับเท็จในการสอบสวนผู้ต้องหาปัญหาการใช้เครื่องจับเท็จในการสอบสวนผู้ต้องหา • หัวใจของมาตรา 135คือ เสรีภาพในการตัดสินใจของผู้ต้องหา • เครื่องจับเท็จเป็นเครื่องมือวัดความผิดปกติของการเต้นของหัวใจและการหายใจของมนุษย์ แต่ระบบประสาทที่ควบคุมการเต้นของหัวใจและการหายใจเป็นระบบประสาทที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ • ในการใช้เครื่องจับเท็จแม้ผู้ต้องหาจะมีเสรีภาพในการที่จะตอบคำถามหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อผู้ต้องหาไม่อาจควบคุมระบบประสาทที่ควบคุมการเต้นของหัวใจและการหายใจได้ ถือว่าผู้ต้องหาขาดเสรีภาพในการตัดสินใจ ดังนั้น กรณีจึงเป็นการสอบสวนที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติยังกระทำกันอยู่ประปราย ซึ่งไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง คณิต ณ นคร : วิอาญา
ปัญหาความพอดีของการพิจารณาโดยเปิดเผยปัญหาความพอดีของการพิจารณาโดยเปิดเผย • การพิจารณาคดีอาญาไม่ใช่การแสดง • การพิจารณาคดีอาญาที่กระทำโดยเปิดเผยจนเกินความพอดีย่อมกระทบต่อความเป็นประธานในคดี • การพิจารณาคดีอาญาที่กระทำโดยเปิดเผยจนเกินความพอดีกระทบต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษาได้ เพราะแทนที่จะเป็นการควบคุมโดยประชาชน แต่อาจจะกลายเป็นการครอบงำโดยประชาชนไป กล่าวคือ ทำให้สาธารณชนเกิดความเห็นใจจำเลยได้ และสภาพเช่นนี้ย่อมทำให้ผู้พิพากาษาเกิดความหวั่นไหวได้ คณิต ณ นคร : วิอาญา
ปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินคดีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินคดี • คดีลักทรัพย์หรือรับของโจรที่เกิดกับผู้บรรยายขณะอยู่ภูเก็ต • ความสามารถในการดำเนินคดี (มาตรา 14) ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับวิกลจริตอย่างเดียว แต่รวมถึงการป่วยด้วย (ฎีกาที่ 690/2483) • การพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าจำเลย หมายความว่า จำเลยต้องอยู่ในสภาพที่ทั้งทางร่างกายและจิตใจสามารถรับรู้กระบวนพิจารณาได้อย่างถูกถ้วนสมบูรณ์ • การพิจารณาคดีจนดึกดื่น (เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525) จึงกระทบต่อความสามารถในการดำเนินคดีของจำเลย เพราะความง่วงเป็นอุปสรรคต่อการรับรู้กระบวนพิจารณาที่ถูกถ้วนสมบูรณ์ คณิต ณ นคร : วิอาญา