620 likes | 1.33k Views
แนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอน การประเมินผลและการตัดเกรด. รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ บัวเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ 3 กรกฎาคม 2555. วิธีสอน. หลักสูตร. ผู้เรียน. ผู้สอน. ปฏิสัมพันธ์. สื่อการสอน. สิ่งแวดล้อม. ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการเรียนการสอน.
E N D
แนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอนการประเมินผลและการตัดเกรดแนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอนการประเมินผลและการตัดเกรด รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ บัวเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ 3 กรกฎาคม 2555
วิธีสอน หลักสูตร ผู้เรียน ผู้สอน ปฏิสัมพันธ์ สื่อการสอน สิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการเรียนการสอน
จุดประสงค์ของการเรียนการสอนจุดประสงค์ของการเรียนการสอน การประเมินผล ก่อนสอน กระบวนกาเรียน การสอน การประเมินผล หลังสอน ผลย้อนกลับ ปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการเรียนการสอน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 22: ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
เดิม TQF วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านความรู้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning)
การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติการเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดหวังให้นักศึกษาพัฒนาขึ้นอย่างน้อย 5 ด้านจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษาได้แก่ 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม 2.ด้านความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้ใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึง ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บางสาขาวิชาที่ต้องพัฒนาทักษะทางกายภาพสูง เช่น ดนตรี พลศึกษา ศิลปศึกษา การแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ จำเป็นต้องเพิ่มการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skills)
การเรียนรู้ 5 ด้าน(5 Domains of Learning) • คุณธรรม จริยธรรม (คิดดี ทำดี รับผิดชอบการกระทำ) • ความรู้ (รู้ เข้าใจ อธิบายได้) • ทักษะทางปัญญา (ปฏิบัติได้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินได้) • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (มนุษยสัมพันธ์ รับผิดชอบการทำงาน/การพัฒนาตนเอง) • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ส่งเสริม/สนับสนุนการเรียนรู้ด้านอื่นๆ และการประกอบอาชีพ)
ปรัชญาการวัดผลทางการศึกษาปรัชญาการวัดผลทางการศึกษา • ดร.ชวาล แพรัตกุล ได้สรุปแนวความคิดหรือมีคติที่ควรยึดถือเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ 1. ถือว่าการสอบเป็นส่วนหนึ่งของการสอน 2. การสอบควรมุ่งวัดศักยภาพมากกว่าที่จะวัความจำ 3. สอบเพื่อวินิจฉัย 4. สอบเพื่อประเมินค่า 5. ทดสอบเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพ
การทดสอบ การวัดผล การประเมินผล ข้อสอบ ชิ้นงาน สังเกต แบบสอบถาม ฯลฯ คะแนน - ผ่าน-ไม่ผ่าน - A, B+, B, C+, C, D - ได้ที่ 1, 2 ฯ
ความถูกต้องของการวัด การวัดไม่ว่าจะเป็นระบบหรือระดับใดก็ตาม ต้องมีความคลาดเคลื่อน (Error) อยู่เสมอ ความคลาดเคลื่อนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
ธรรมชาติของการวัดผลการศึกษาธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา 1. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม 2. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ในตัว 3. การวัดทางการศึกษาเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลที่ได้จากการวัดกับองค์ประกอบอื่น ๆ 4. ผลจากการวัดมีความคลาดเคลื่อนเสมอ
รูปแบบพื้นฐานของการเรียนการสอน จะเห็นว่าการวัดผลจะเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ 3 ตอน คือ • การวัดผลก่อนการเรียน (Pre -evaluation) • การวัดผลระหว่างเรียน (Formative evaluation) • การวัดผลหลังการเรียน(Summative evaluation)
1. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm – Referenced Evaluation) มีจุดประสงค์เพื่อกระจายบุคคลทั้งกลุ่มไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล ลักษณะของข้อสอบต้องมีค่าอำนาจจำแนกสูงเพื่อจำแนกบุคคลในกลุ่ม และมีความยากง่ายพอเหมาะ จะแปลผลโดยใช้กลุ่มเป็นหลักในการเปรียบเทียบโดยดูว่าใครเด่น - ด้อยอย่างไร ใครเป็นอันดับที่เท่าใดของกลุ่ม 2. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion – Referenced Evaluation ) มีจุดประสงค์เพื่อพิจารณาว่า เมื่อเรียนจนจบแต่ละหน่วยแล้วผู้เรียนมีความรอบรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่เป็นการวัดพฤติกรรมที่คาดหวังที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อแสดงความงอกงามของผู้เรียน จะแปลผลในรูปที่ว่าผู้รียนรอบรู้หรือยังไม่รอบรู้ โดยบอกให้ทราบว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถทำอะไรได้บ้างจากการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ การประเมินผลการเรียน
การแปลความหมายของคะแนนการแปลความหมายของคะแนน
ลักษณะของคะแนน 1. คะแนนที่ได้จากการสอบ เป็นเพียงตัวเลขที่บอกจำนวนของผลงานที่ผู้สอบทำได้ถูกต้อง ไม่สามารถที่จะบ่งบอกถึงจำนวนหรือปริมาณความสามารถที่แท้จริงของผู้สอบได้ 2. ข้อสอบที่ใช้สอบในแต่ละครั้ง เป็นเพียงตัวแทนของข้อคำถามหรือปัญหาในเรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น ดังนั้นคะแนนที่ได้จากข้อสอบ จึงมิอาจแทนจำนวนจริงของความรู้ความสามารถได้ 3. คะแนนที่ได้จากการสอบวัดในแต่ละครั้งนั้น จะต้องมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ
การตัดสินผล เก่ง อ่อน ผ่าน ไม่ผ่าน
องค์ประกอบในการให้ระดับคะแนนองค์ประกอบในการให้ระดับคะแนน 1. ผลการวัด 2. เกณฑ์การพิจารณา 3. วิจารณญาณ และคุณธรรมต่างๆ
คะแนนมาตรฐาน T ปกติ (T Normalized) คะแนนมาตรฐาน T เชิงเส้น มีค่าเฉลี่ย 50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 10 สามารถเขียนเป็นสมการคำนวณได้ว่า T = 50 + 10Z
ประโยชน์ของคะแนนมาตรฐานประโยชน์ของคะแนนมาตรฐาน 1. สามารถนำคะแนนมาเปรียบเทียบกันได้ ทราบว่าใครเก่งอ่อนมากน้อยเท่าใด 2. สามารถนำคะแนนมาใช้ในการนำเสนอผลความสามารถของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น อาจจะใช้เส้นภาพ (Profile) ในการนำเสนอผลการสอบ อันจะช่วยให้ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องทราบความสามารถที่แท้จริงในด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน 3. ช่วยให้ผลการสอบวัดมีหน่วยเดียวกัน โดยหน้าที่แปลงคะแนนที่สอบวัดมาจากต่างเนื้อหากัน หรือวิชาต่างกัน หรือคะแนนเต็มต่างกัน ให้เข้ามาอยู่ในหน่วยเดียวกัน จึงทำให้สามารถนำมารวมกันได้
(Norman E.Gronlund& Robert L. Linn. Measurement and Evaluation in Teaching6th ed.1990)
การตัดเกรด การตัดเกรด (grading) หรือการให้ระดับคะแนน เป็นวิธีการสรุปผลการเรียน เพื่อประเมินผลและกำหนดระดับของความสามารถในการเรียนของผู้เรียนว่าผ่านหรือไม่ผ่าน เก่งหรืออ่อน ระดับ A B C D หรือ F การตัดเกรดจึงเป็นการนำผลการสอบวัดในทุก ๆ ระยะของการเรียนการสอน และทุกชนิดไปใช้ประเมิน
องค์ประกอบของการตัดเกรดองค์ประกอบของการตัดเกรด 1. ผลการวัด (measurement) 2. เกณฑ์การพิจารณา (criteria) 3. วิจารณญาณและคุณธรรมต่าง ๆ (value judgement)
รูปแบบของการตัดเกรด 1. แบบใช้เกณฑ์ที่คาดหวัง หรือเป็นแบบตั้งเกณฑ์ไว้ตายตัว (absolute marking system) เป็นระบบการให้เกรดที่ใช้คะแนนดิบหรือเปอร์เซ็นต์ที่เด็กสอบได้เป็นหลักในการตัดเกรด เช่น เด็กได้ 90% ขึ้นไป ให้เกรด A ได้ 75% - 89% ให้เกรด B เป็นต้น 2. แบบใช้เกณฑ์สัมพันธ์ (relative marking system) เป็นระบบการให้เกรดโดยการเปรียบเทียบคะแนนของเด็กภายในกลุ่ม แล้วใช้วิจารณญาณของผู้สอนกำหนดเกณฑ์การพิจารณาตามสภาพของกลุ่มนั้น
ขั้นตอนการตัดเกรดแบบใช้เกณฑ์สัมพันธ์ขั้นตอนการตัดเกรดแบบใช้เกณฑ์สัมพันธ์ 1. แปลงคะแนนดิบหรือผลการสอบวัดต่าง ๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการให้เกรด ให้เป็นคะแนนมาตรฐาน 2. ใช้วิจารณญาณอย่างมีคุณธรรมตัดสินใจกำหนดจำนวนเกรดที่จะให้ ว่าผลการศึกษาครั้งนี้มีระดับผลสัมฤทธิ์หรือความสามารถของเด็กอยู่ในระดับเกรดใดบ้าง ควรมี A หรือ F หรือไม่ 3. เมื่อกำหนดจำนวนเกรดได้แล้ว ให้หาพิสัย (range) ของคะแนนที่จะนำมาใช้กำหนดเกรดว่ามีช่วงกว้างเท่าไร โดยใช้คะแนนสูงสุดลบด้วยคะแนนต่ำสุด (คะแนนมาตรฐาน) 4. หาความกว้างของแต่ละช่วงเกรด เพื่อกำหนดว่าแต่ละเกรดที่จะให้นั้นจะมีช่วงกว้างเพียงใด หาได้โดยการนำช่วงคะแนน (ข้อ 3) หารด้วยจำนวนเกรดที่กำหนดไว้ (ข้อ 2)
5. กำหนดเกรด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นไปได้ 2 กรณีคือ ก. ถ้าจำนวนเกรดที่กำหนดให้ (ข้อ 2) เป็นจำนวนคู่ (เช่น 2, 4 เกรด) ให้กำหนดช่วงหรือแบ่งช่วงของเกรดตั้งแต่คะแนน (มาตรฐาน) เฉลี่ยเป็นต้นไป (คือที่ z= 0, T = 50 ขึ้นและลงไป) ข. ถ้าจำนวนเกรดที่กำหนดจะให้ (ข้อ 2) เป็นจำนวนคี่ (เช่น 3, 5 เกรด) ให้กำหนดช่วงหรือแบ่งช่วงของเกรด โดยให้เกรดกึ่งกลางคร่อมคะแนนเฉลี่ย ดังนั้นเกรดที่อยู่กลางจึงมีค่าเท่ากับช่วงของเกรดหาร 2 แล้วนำไปบวกลบกับคะแนนมาตรฐานเฉลี่ยแล้วจึงหาช่วงต่อไปทั้งขึ้นและลง
คะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ คือ คะแนนที่แสดงให้ทราบว่าที่ตำแหน่งค่าคะแนนนั้นผู้เข้าสอบ มีจำนวนร้อยละเท่าไหร่ ที่ได้คะแนนต่ำกว่าคะแนนดังกล่าว เช่น นักเรียนได้คะแนน 80 อยู่ที่ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 70 หมายความว่าร้อยละ 70 ของผู้เข้าสอบได้คะแนนต่ำกว่า 80
Percentile = (cf + ½ f) 100 N f = ความถี่ของคะแนนแต่ละคะแนน cf = ความถี่สะสม (cf + ½ f) = ความถี่สะสมแท้จริง = ความถี่สะสม ในชั้นล่างถัดไป + ½ ความถี่ของชั้น คะแนนนั้น N = จำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด
ตารางแสดงตัวอย่างการคิดค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ตารางแสดงตัวอย่างการคิดค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์
ตัวอย่าง การแปลงคะแนนดิบให้เป็นเปอร์เซนต์ไทล์ การคำนวณคะแนนเปอร์เซนต์ไตล์ของคะแนนดิบ 33 เปอร์เซ็นต์ไทล์ของคะแนนดิบ 33 = { 36 + (1/2 x 8) } x 100 58 = 68.97 = 69
T - score เป็นคะแนนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยของคะแนนเป็น 50 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น = 10 T = 10 z + 50
ตัวอย่างการแปลงคะแนน z เป็น T ผลการสอบมีนักศึกษาได้คะแนน 14 15 18 20 21 24 26 x = 19.71 SD = 4.405 4.405 4.405 4.405 4.405
การแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนชุดใหม่ ( T- score )
การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มโดยวิธี NormalizedT-Score
วิธีตัดเกรดแบบ Normalized T-Score • เป็นวิธีการตัดเกรดแบบอิงกลุ่มวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม และเป็นที่ยอมรับจากนักวัดผลว่า เป็นวิธีที่เหมาะสมในการวัดระดับความสามารถของผู้เรียนจริง • โดยการหาตำแหน่ง Percentile ของคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนออกมา จากนั้นนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าในตารางคะแนนมาตรฐาน จะได้คะแนน T
คะแนนที (T-score) • เป็นคะแนนที่นำคะแนนดิบมาผ่านขั้นตอนทางสถิติ • ทำให้สามารถวัดได้ว่าผู้เรียนมีความสามารถเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับผู้เรียน (ในวิชาเดียวกัน) ทั้งหมด • สามารถบอกได้มีผู้ได้คะแนนมากกว่า ผู้เรียน กี่คน และผู้เรียน ทำคะแนนมากกว่าผู้เรียนคนอื่น ๆ กี่คน
เกณฑ์ปกติคะแนนที (T-Score Norms) • เป็นมาตราของคะแนนจากที่เทียบคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน • วิธีแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนทีปกติ ทำได้โดย • แปลงคะแนนดิบให้เป็นตำแหน่ง Percentile • เทียบ Percentile ให้เป็นคะแนนทีปกติโดยดูว่า Percentile นั้นเท่ากันหรือใกล้เคียงที่สุดกับค่า Percentile ใดก็จะอ่านค่าทีปกตินั้น
เกณฑ์ปกติคะแนนที (ต่อ) • โดยจะมีการแสดงลงในตารางเพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนดิบกับคะแนนทีปกติ (Normalized T-Score) • คะแนนทีปกติ นิยมใช้กันมากเพราะเป็นคะแนนมาตรฐานสามารถนำมาบวกลบและเฉลี่ยได้ • มีค่าเหมาะสมในการแปลความหมาย คือ มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 มีคะแนนเฉลี่ย 50 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10
ขั้นตอนการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนน Normalized T-Score
ขั้นตอน • เรียงคะแนนจากน้อยไปมาก • หาความถี่ (f) ของการเกิด โดยคัดเลือกคะแนนที่ไม่ซ้ำ และที่ซ้ำกันมา 1 ตัว (ปกติจะต้องขีดนับหรือ tally) • หาความถี่สะสม (Cumulative Frequency : cf) • หาค่า cff โดย Cff= cf + 0.5 x f โดยถ้าจะหาค่านี้ของข้อมูลชั้นใด (record) ต้องใช้ใช้ค่า cf ที่อยู่ก่อนชั้นนั้น แต่ใช้ค่า f ของชั้นนั้น
ขั้นตอน (ต่อ) • นำค่าที่ได้จากขั้นที่ 4 ไปคูณด้วย 100/N โดยที่ N คือจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งจะได้ Percentile Rank • นำค่าจากขั้นที่ 5 ไปเทียบกับค่า Percentile Rank ในตารางมาตรฐาน จากนั้นดึงเอาคะแนน T ในตำแหน่ง Percentile นั้นหรือใกล้เคียงตำแหน่งนั้นที่สุดออกมา • นำคะแนน T ที่ได้จากขั้นที่ 6 ไปพิจารณาตัดเกรด
การตัดเกรด • พิจารณาว่าต้องการตัดกี่เกรด เช่น ตัด 8 เกรด (A, B+, B, C+, C, D+, D, F) • แบ่งคะแนนเป็นกลุ่ม ตามจำนวนเกรด เช่น 8 กลุ่ม • หาช่วงห่างของคะแนนได้จาก ค่าพิสัย/จำนวนเกรดที่จะตัด
การแบ่งเกรด 1. แบ่งออกเป็น 5 เกรดในกรณีที่ผู้เข้าสอบมีความสามารถแตกต่างกันมาก คือคนเก่งก็เก่งจริง คนอ่อนก็อ่อนจริง และจะต้องมีผู้เข้าสอบมากพอสมควร 2. แบ่ง 4 เกรด ใช้ในกรณีที่นักเรียนกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันไม่มาก คือ - A.B.C.D ถ้าคนอ่อนยังไม่ถึงขั้นสมควรตก - B.C.D.F ถ้าคนเก่งยังไม่ถึงขั้นได้ A คนอ่อนก็ไม่สมควรสอบได้ 3. แบ่ง 3 เกรด ใช้ในกรณีที่นักเรียนกลุ่มมีความสามารถไล่เลี่ยกัน คือ - A.B.C. ถ้ายอดของกลุ่มเก่งควรได้ A และคนอ่อนพอใช้ได้ - B.C.D. ถ้ายอดของกลุ่มไม่ถึงขนาดได้ A และคนอ่อนก็อ่อนมาก - C.D.F. ถ้ายอดของกลุ่มไม่เก่งและท้ายกลุ่มก็อ่อนมาก
ข้อควรระวังเมื่อประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ข้อควรระวังเมื่อประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ • ข้อสอบต้องมีคุณภาพดี - Validity - Reliability 2. การตั้งเกณฑ์ผ่าน
ข้อควรระวังเมื่อประเมินผลแบบอิงกลุ่ม โดย T- score 1. การให้คะแนนแบ่งเป็นช่วงใต้โค้งปกติ ดังนั้น ต้องแปลงคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐาน T 2. การให้คะแนนผู้เรียนสองกลุ่มที่มีคะแนนต่างกันอาจไม่ยุติธรรม จึงควรต้องหาเกณฑ์ผ่านก่อนแล้วมาตัดเกรด